Review : ZOTAC ZBOX Nano XS AD11
Share | Tweet |
Review : ZOTAC ZBOX Nano XS Plus
…ตลาดของ Mini PC ในบ้านเรานั้นกล่าวได้ว่า ไม่ค่อยจะคึกคักเสียเท่าไหร่ครับ เราจึงไม่ค่อยจะได้เห็นผลิตภัณฑ์แนวๆนี้มาวางขายกันแบบ mass มากนัก ซึ่งจริงๆแล้วทางเว็บเราก็เคยได้รีวิว Mini PC จาก Zotac ไปแล้วในรุ่น Zbox ธรรมดา แต่สำหรับวันนี้ Zbox Nano XS นั้นจัดว่าเป็น Mini PC เหมือนๆกับ Zbox และมีฟีเจอร์หลายๆจุดที่เหมือนๆกันนั้นแหละครับ เพียงแค่มีขนาดที่เล็กกว่า โดยคอนเซ็ปต์ของ Zbox Nano XS นี้คือ Mini PC ที่มีขนาดเพียง “ฝ่ามือ” ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ผมก็ขอยกเอาตารางสเป็ค ตามสไตล์ของผม มาให้ดูกันต่างหน้าก่อนก็แล้วกันนะครับ
Processor | AMD E-450 1.6GHz |
Chipset | Hudson-1 (FCH) |
Memory | 2GB DDR3-1333 |
Graphics Adapter | AMD Radeon HD6320 (On chip) |
Display | HDMI Output |
Harddisk | 64GB SSD |
Optical Drive | N/A |
Network | Wireless N + Gigabit Ethernet |
Connection Port | USB3.0×1 USB2.0 x2+1, HDMI, RJ45, eSATA combo port |
Battery | N/A |
Weight | UNKNOWN |
OS Bundled | UNKNOWN |
…เมื่อผมเริ่มตรวจสอบรายละเอียดเชิงเทคนิคก็พบว่าเจ้า mini pc หรือที่สมัยก่อนเราอาจจะเคยได้ยินคำว่า Nettop ตัวนี้ใช้ขุมพลัง AMD E-450 ซึ่งผมเคยทดสอบไปแล้วในการทดสอบในแพลตฟอร์มของ Notebook ซึ่งก็ถือว่าเป็นซีพียูประหยัดพลังงานราคาย่อมเยาว์สำหรับคอนเทนท์ระดับ HD ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างดี และผมเชื่อว่าดีกว่า Atom จาก Intel เนื่องจากตัวกราฟฟิค HD6320 ที่อินติเกรตอยู่ในตัวซีพียู (AMD เรียกว่า APU) นั้นสามารถถอดรหัสวีดีโอ HD 1080P ได้อย่างสบายๆโดยไม่ต้องพึ่งกำลัง CPU มากนักครับ
…นอกจากเรื่องของขุมพลังที่เป็นจุดสนใจของเครือ่งนี้แล้ว เรื่องของ Storage ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ คือใน Zbox รุ่นธรรมดา เขาจะใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนที่มีอินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อแบบ SATA ธรรมดา (ขนาด 1.8 หรือ 2.5 ผมจำไม่ได้แน่) แต่สำหรับใน Zbox Nano เนื่องจากมันมีขนาดเล็กมาก จึงมีการนำเอา SSD แบบที่มีอินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อไม่เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ทั่วๆไปมาใช้นั้นเองครับ ซึ่งจะเห็นว่าตัวโปรแกรม AIDA นั้นรายงานผลออกมาว่าเป็นฮาร์ดดิสก์ ATA ธรรมดาๆนั้นเอง
…กล่องนั้นเป็นกล่องกระดาษอย่างดีพอสมควร ระบุคุณสมบัติและการใช้งานได้กระจ่างเห็นภาพดีมากๆ ตลอดจนแสดงพอร์ตเชื่อมต่อรอบๆเครื่องให้ดูกันหน้ากล่องเลยทีเดียว
..มาดูที่ตัวเครื่องก็พบว่ามีขนาดไม่มากจริงๆ น้ำหนักก็ค่อนข้างเบาครับ ดูแล้วเหมือนกล่องใส่ฮาร์ดดิสก์มากเสียกว่าจะเป็น Mini PC เสียอีก
…ในชุดก็จะประกอบไปด้วยรีโมตคอนโทรล ตัวรับสัญญาณรีโมตคอนโทรลที่ต้องเสียบเข้าพอร์ต USB ตัวรีโมตนี้ก็เหมือนกับจะออกแบบมาให้ใช้งานกับ Windows 7 คือตัวโปรแกรม Media Center โดยเฉพาะเลยครับ นอกจากนี้ยังมี Wireless Adaptor ที่สนับสนุนได้ถึงมาตรฐาน 802.11N (Wireless N) และ VESA mount สำหรับติดตั้งบนผนังหรือบริเวณด้านหลังมอนิเตอร์ที่รองรับครับ
ด้านข้างนี้จะมีช่องระบายอากาศอยู่
พอร์ตเชื่อมต่อตรงส่วนที่เรียกว่าเป็นด้านหน้าตัวเครื่อง ก็จะมีพอร์ตที่ต้องใช้กันบ่อยๆอย่าง Cardreader ที่สามารถอ่าน MS, SD ทั้งแบบ XC และ HC ได้ด้วยครับ ส่วนพอร์ตข้างๆนั้นคือพอร์ต eSATA ที่สามารถเสียบใช้งานเป็น USB2.0 ได้ในตัว และสุดท้ายก็คือช่องหูฟังและไมค์
…ด้านหลังก็จะพบว่ามีช่องสำหรับเสียบไฟจาก supply DC ภายนอก พอร์ต HDMI , USB3.0 2 พอร์ต 2.0 อีก 2 พอร์ต และ RJ45 สำหรับ Gigabit Ethernet ซึ่งถ้าจะนับกันจริงๆแล้วก็จะพบว่าหากต่อใช้งาน Wireless Adaptor และตัวรับสัญญาณรีโมตแล้ว ก็จะเหลือ USB ให้ใช้งานจริงๆเพียง 2 ช่องเท่านั้นครับ (ถ้าไม่นับรวม eSATA Combo port ด้านหน้า)
ฝาด้านหลังนี้เป็นฝาโลหะที่ผมคิดว่าน่าจะทำให้การระบายความร้อนได้ดี
ตัวไวเรสอะแดปเตอร์ สนับสนุนการใช้งานกับฟีเจอร์ WPS บนตัวมันเลย การใช้งาน WPS ก็คือสมมุตมี Wireless Router 1 ตัวและคุณตั้งรหัสผ่านเอาไว้ แต่ในขั้นตอนจะเชื่อม Zbox เข้ากับเครือข่าย คุณไม่อยากใส่รหัสผ่านให้วุ่นวาย วิธีก็คือให้กดปุ่ม WPS ที่ตัว Wireless Router และมากดปุ่ม WPS ที่ตัวอะแดปเตอร์นี้แหละครับ มันก็จะทำการเชื่อมต่อกันเองโดยอัตโนมัติ
เปิดฝาด้านหลังก็จะพบกับแผงวงจรข้างใน เราจะเห็นได้ว่าเมมโมรีนั้นเป็นแบบ SO-DIMM แบบ DDR3 แบบเดียวกับในโน๊ตบุ๊กเลย
ส่วนการ์ดที่ท่านเห็นนั้นเป็นการ์ดของฮาร์ดดิสก์ SSD ขนาด 64GB ครับ
Performance
- รายละเอียดเครื่อง
…เอาละครับมาถึงการตรวจสอบรายละเอียดด้วย CPUZ ก็พบว่ารายละเอียดแสดงได้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ได้ชมไปในสเป็คตั้งแต่ตอนแรก E-450 นั้นก็รายงานมาว่าเป็น Dual-Core ครบถ้วนดี
Super PI 1M
เปิดมาก็ทดสอบ Super PI1m กันก่อน ซึ่งเป็นที่รู้ๆกันว่าเจ้า Super PI นี่แพลตฟอร์มจากทาง AMD นั้นจะเร็วสู้ Intel หลายๆรุ่นไม่ได้ แต่ที่แน่นอนไปกว่านั้นคือ 48 วินาทีนี่ ยังถือว่าเร็วกว่า Intel Atom ครับ
Cinebench R10
คะแนนของ Cinebench R10 นั้นก็เรียกได้ว่าทำได้ในระดับพอถูไถ คะแนน Open GL นั้นก็อยู่ในเกณฑ์ที่พอรับได้
Ciebench R11.5
ซึ่งคะแนนก็จะดูด้อยๆไปอีกเมื่อเป็นเวอร์ชั่นใหม่ขึ้น แต่เชื่อเถอะครับว่าคะแนนเฉพาะกราฟฟิคระดับนี้ ดีกว่า เร็วกว่าพวก netbook หรือ nettop ที่เป็น Intel Atom แน่นอน
Disk Benchmark
คะแนนอ่านเขียนฮาร์ดไดร์ฟ อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเลยทีเดียว โดยรวมๆแล้วก็ถือว่าน่าพอใจครับเพราะเร็วกว่าพวกฮาร์ดดิสก์จานหมุนอยู่ในระดับเท่าตัวเลยทีเดียว (ฮาร์ดดิสก์จานหมุนตจะอยู่ช่วง 80-100 นิดๆเท่านั้น)
Cache & Memory speed
PCMark 05
คะแนนของ PCMark ก็อยู่ในเกณฑ์ที่น่าจะนำเครื่องให้พอใช้งานในชีวิตประจำวันได้ เพราะให้สังเกตที่คะแนน HDD Score ดีดีครับ ว่าแรงทะลุมิติแค่ไหน
PCmark 7
ส่วน PCMark 7 ก็ไม่ได้ขี้เหร่อะไรเลย
3Dmark06
3DMark 06 ได้คะแนนระดับสองพันแต้มนี่ก็ถือว่าดีแล้วสำหรับเครื่องขนาดนี้
3Dmark 11
ส่วน 3Dmark 11 ผมขอบอกเลยว่า เปิดทดสอบผ่านได้จนจบ ก็ถือว่าดีมากๆแล้วครับ
.
… Zbox Nano XS Plus นั้นก็เป็น Mini PC ที่ใช้ขุมพลังจากทางฝั่ง AMD ที่เรียกได้ว่ามือชื่อในเรื่องของแพลตฟอร์มระดับนี้ที่ดีอยู่แล้ว จากผลทดสอบเก่าๆ ผมก็ยังคงยืนยันครับว่าสำหรับแพลตฟอร์มขนาดเล็กๆแบบนี้ AMD นั้นได้เปรียบทางฝั่ง Atom อย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยขุมพลังกราฟฟิคที่แรงกว่า ซึ่งสำหรับการใช้งานโดยรวมถือว่าน่าประทับใจครับ อาจจะเป็นเพราะได้ความแรงจาก SSD 64GB จาก Kingston มาช่วยอีกแรงด้วย ซึ่งตรงนี้ก็จะทำให้การใช้งาน Zbox ตัวนี้เป็น HTPC จริงๆนั้น อาจจะต้องมีการพึ่งพา Storage ภายนอกควบคู่กันไปด้วย เพราะลำพังขนาดเพียงดแค่ 64 GB คงจะใช้งานได้แค่ลงโปรแกรมพื้นๆไว้ใช้งานก็น่าจะเกือบเต็มแล้ว ไว้เก็บไฟล์วีดีโอคงจะไม่ไหว ซึ่งก็น่าจะเป็นข้อเสียอย่างหนึ่งที่น่าเสียดายครับ แลกมาด้วยขนาดที่เล็กลง และความเร็วในการตอบสนองการใช้งานทั่วๆไปที่ดีขึ้นจากข้อดีของ SSD ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อนั้น สำหรับเครื่องไซส์นี้ถือว่าให้มาครบครันพอใช้งานได้ อาจจะลำบากหน่อยสำหรับคนที่ยังอยากใช้ DSUB (VGA) เพราะว่าตัวนี้มีแต่ HDMI ก็อาจจะต้องหาสายแปลง HDMI to DSUB หรือ DVI อะไรก็ตามเรื่องราวกันไป แต่ถ้ามองในการใช้งานจริง คนใช้ส่วนใหญ่ก็คงจะนำไปใช้งานกับ LCD TV สมัยใหม่ซึ่งมีการเชื่อมต่อ HDMI เป็นมาตรฐานอยู่แล้วนั้นเองครับ
.
.
ขอขอบคุณ
ZOTAC
.