Tenda W300D Wireless-N ADSL2+ Rounter
Share | Tweet |
Introduction
สวัสดีครับพี่น้องชาวVMODTECH ทุกท่าน วันนี้ผมมีโปรดักต์เน็ตเวิร์กโซลูชั่นจาก Tenda มารีวิวในวันนี้ เป็นโมเด็ม Wireless N ADSL 2+ Router ความเร็ว 300Mbps ซึ่งทุกวันนี้กลุ่มผู้ใช้งานอย่างเราๆ ก็คงหนีไม่พ้นอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ไฮสปีดอินเตอร์เน็ต ซึ่งในบ้านเราก็มีผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่หลายเจ้า พร้อมข้อเสนอโปรโมชั่นต่างๆที่ดูน่าสนใจไม่น้อยเลยครับ เมื่อวันเวลาผ่านไป ส่วนใหญ่อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะให้ความสำคัญเป็นลำดับท้ายๆ เลยทีเดียว ซึ่งปัญหาเน็ตตัด เน็ตหลุด หรือเน็ตไม่ยอมเชื่อมต่อเป็นระยะเวลานานอาจเป็นปัญหากวนใจของเรา ซึ่งสาเหตุอาจไม่ได้มาจากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานหรือสายสัญญาณเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการก็เป็นไปได้เช่นกันครับ ซึ่งประจวบเหมาะพอดีที่บ้านผมมีปัญหาอินเตอร์เน็ตหลุดแล้วไม่ยอมเชื่อมต่อ อาจเป็นปัญหาจากโมเด็มตัวเดิมที่เหนื่อยล้าก็เป็นได้ครับ
Product Appearance
กล่องสีทองสดใสดูดีมีระดับจาก Tenda W300D พร้อมระบุคุณสมบัติต่างๆเอาไว้ครับ
ด้านหลังบอกฟีเจอร์เปรียบเทียบกับรุ่นน้องเล็กครับ เหนือกว่าเห็นๆเลยครับ เอิ้กๆ
ตัวโมเด็มสีขาวมันวาว พร้อมเสาสัญญาณคู่ตัวใหญ่ แลดูโมเด็ม Tenda W300D เล็กลงไปเลยครับ
ด้านหลังออกแบบให้มีช่องระบายอากาศตลอดแนวพร้อมที่แขวนฝาผนังครับ
ด้านหลังพอร์ตเชื่อมต่อ สายโทรศัพท์ พร้อมหัวแลนความเร็ว 10/100Mbps จำนวน 4 ช่อง พร้อมปุ่มรีเซ็ต และ switch เปิด ปิด
ด้านหน้าเป็นไฟบอกสถานะการทำงานของโมเด็มครับ
ของแถมที่ให้มาในกล่อง มีคู่มือการใช้งานพร้อมแผ่นซอฟต์แวร์ อะแดปเตอร์ สายโทรศัพท์ และสปริตเตอร์ครับ
Connection Setting
เปิดมาหน้าแรกหลังจากล็อกอิน เซ็ต config อย่างง่ายครับมีครบทุกค่ายเลย ไม่ต้องปรับค่า vpi กับ vci ให้งงงวยกันอีกต่อไป ที่เหลือใส่รหัสอินเตอร์เน็ตของท่านและชื่อหรือรหัส wireless
หลังจากกดปุ่ม Advanced Settings ก็เข้ามาเห็นรายละเอียดเชิงลึกแล้ว อะไรก็ไม่รู้เยอะแยะตาลายไปหมด แบ่งเป็น 3 หมวด หมวดแรก System Information หมวดถัดมา Status WAN connection จะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับ ความเร็วเน็ต และ IP ของเรา หมวดสุดท้าย จะบอกคุณสมบัติของ Wireless เท่าที่ดูรองรับเกือบหมดเลยนะครับเนี่ย
ถัดมา เราสามารถเลือกได้ ว่าเป็น DSL Mode เป็นโหมดที่เราใช้งานกันปรกติเนี่ยล่ะครับ หรือ Ethernet Mode ใช้สำหรับต่อผ่านไปยัง Server หรือต่อไปยัง Router ชนิดที่ไม่มีสายโทรศัพท์ก็ได้ครับ
IP ตัวเร้าเตอร์สามารถเปลี่ยนได้ทั้ง IP และ Subnet Mask
DHCP Server สามารถปรับแต่งได้เช่นเดียวกัน เสริมความปลอดถัยด้วยระยะเวลาการคงอยู่ในระบบ (1ชม.จนถึง7วันเลยครับ)
DHCP Client Info บอกรายละเอียดของเครื่องในวงแลนของเราพร้อมเวลาที่คงเหลืออยู่ในระบบ
Forward Port เอาไว้เล่น DotA กันเซทง่ายๆกันอย่างที่เห็นในรูปเลยครับ
Port Triggering เป็นคุณสมบัติย่อยคล้ายๆ Forward Port แต่จะมีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขบางอย่างไม่เหมือน Virtual Server นะครับ
DMZ ไว้ใช้สำหรับกรณีเปิดเวปจากในวงแลนของเราให้สามารถติดต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสาธารณะได้ (สรุปง่ายๆ เปิดเวปไซต์ภายในบ้านเรานี่ล่ะ)
Connection Setting (Con’t)
URL Filter เอาไว้สำหรับ บล็อกเว็ปไซต์ไม่พึงประสงค์ หรือจะเอาไว้ให้เข้าแต่เฉพาะเว็บไซต์ที่กำหนดไว้เท่านั้น(จะเป็นการบล็อกไซต์ที่เหลือทั้งหมดไปโดยปริยายครับ)
ฟังก์ชั่น Access Time Restriction เหมาะสำหรับเครื่องในสำนักงานที่ไม่ต้องการให้พนักงานของเราใช้งานอินเตอร์เน็ตในเวลาที่เรากำหนดไว้ (เช่น 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น)
ฟังก์ชั่น QoS จะเลือกความสำคัญของแพ็คเกจ สำคัญมากหรือสำคัญน้อย เพื่อเวลาใช้งานไม่พึงประสงค์ เช่นมีคนแอบโหลดอะไรสักอย่างจนเราอาจส่งเมล์ให้ลูกค้าไม่ได้ ฟังก์ชั่น Qos จะจัดการแบ่ง Bandwith ให้งานที่มีความสำคัญมากกว่าครับ
Wireless Setting สามารถตั้งชื่อได้ตามใจชอบเลยนะครับ แต่ข้อสังเกตุสามารถรองรับอุปกรณ์ไร้สายสูงสุดได้แค่ 16 เครื่องเท่านั้นเอง
เราสามารถตั้งค่ารหัสผ่าน Wireless พร้อมเลือกโหมด Security ได้ตามมาตรฐานปัจจุบันครับ
MAC Filter เลือกให้เฉพาะ MAC Address ที่ต้องการเข้ามาใช้งานเท่านั้น หรือจะ Banned MAC Address ไม่พึงค์ประสงค์ไม่ให้เข้ามาใช้ตลอดชาติเลยก็ได้ครับ
โหมด Wireless Bridge เอาไว้สำหรับ ต่อ Access Point เหมือนกับ Wireless Hotspot ตามร้านกาแฟครับ
System Log เก็บล็อกไฟล์ ใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไหร่ รู้หมดใส้หมดพุงครับ
Benchmark
ภาพบรรยากาศในการทดสอบ
เรามาทดสอบการเชื่อมต่อกับเร้าเตอร์ Tenda W300D ครับ (ระยะห่าง 15 เมตรผ่านกำแพง 4 ชั้นเลยครับ)
ความเข้มข้นของสัญญาณครับ ประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์ครับ ส่วนความเร็วนั้นสูงถึง 270Mbps เลยครับ
ทดลองคัดลอกข้อมูลขนาดแผ่น DVD 5 ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 2.5MB/Sec ความเร็วสัญญาณในการเชื่อมต่อดร็อปลงเหลือ 216Mbps ครับ
เปรียบเทียบความเร็วกับการถ่ายข้อมูลผ่าน HDD Dock USB 2.0 ความเร็ว ประมาณ 7-8 MB/Sec ครับ
เปรียบเทียบความเร็วในการถ่ายข้อมูล DVD 5 1 แผ่น ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 130MB/Sec ครับ
เปรียบเทียบกับสัญญาณ Wireless ในละแวกเดียวกันครับ (ยิ่งลบน้อยยิ่งดีครับ)
Conclusion
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ Tenda W300D Wireless-N ADSL2+ Rounter ที่ได้ทดสอบกันไปวันนี้ เริ่มจากการเซ็ตติ้งการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ดูเหมือนเป็นเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย สะดวก รวดเร็ว ในส่วนการจัดการทางด้านเครือข่ายนั้นสามารถ forward port เพื่อเล่นเกมออนไลน์ หรือโหลดบิตทอร์เร้นต์ได้ พร้อมฟังก์ชั่นเด็ด QoS ที่จะจัดสรรแบ่งความสำคัญของสรรพยากรในระบบที่มีเหลืออยู่อย่างชาญฉลาด ส่วนทางด้านความปลอดภัยนั้นมีลูกเล่น Access Time Restriction ที่สามารถบล็อกการใช้งานตามวัน เวลาได้ตามต้องการ ความสเถียรในการใช้งานเรียกว่าไม่ออกอาการเอ๋อให้เห็นเลยครับ เปิดทิ้งไว้เป็นเดือน โหลดหนักๆ ใช้งานพร้อมกันหลายๆเครื่องในวงแลนเกือบตลอด 24 ชม.เลยครับ (โหดไปมั้ย) ส่วน Wireless นั้นสามารถให้บริการอุปกรณ์ไร้สายภายในเครื่อข่ายได้สูงสุดเพียง 16 เครื่องเท่านั้น firmware ที่ทดสอบนั้น ไม่สามารถ fix IP ให้กับเครื่องลูกข่ายได้ครับ
ประสิทธิภาพในการใช้งานนั้นเรียกได้ว่าเร็วขึ้นจนรู้สึกได้เลยทีเดียว อาจเป็นเพราะได้ฟังก์ชั่น QoS ช่วยในการบริหารก็เป็นได้ครับ ความเข้มข้นของสัญญาณนั้นทำได้ไม่เลวซักเท่าไหร่ สามารถทะลุสิ่งกีดขวางหรือพนังหลายชั้นได้สบาย ในส่วนของการโอนถ่ายข้อมูลผ่านเครือข่ายนั้นอาจดูด้อยไปสักนิดเพราะข้อจำกัดของตัวโมเด็มที่รองรับสัญญาณเครือข่ายแบบมีสายได้สูงสุดเพียง 100Mbps ซึ่งนั่นหมายความว่า การส่งข้อมูลแบบไร้สายนั้นจะถูกจำกัดตามสายแลนทำให้น่าเสียดายในจุดนี้ครับ แต่อย่างว่าด้วยราคาค่าตัวที่เปิดมาเพียง 1,990 บาทนั้น ถูกมากเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้รับ Modem Wireless ความร็ว 54-150Mbps บางยี่ห้อราคาอาจหนีกันไม่เท่าไหร่ครับ เอาเป็นว่างบประมาณไม่เกิน 2 พันบาทมีทอน เห็นได้ข่าวแว่วๆ มาว่า หากซื้อ Tenda W300D จะแถม USB Wireless N 300Mbps มาด้วยอีก 1 ตัว ด้วยครับ ไม่รู้ว่าจะหมดเขตวันไหนเหมือนกันครับ อิอิกำ
ขอขอบคุณ