สรุปเหตุการณ์สำคัญในรอบปี 2557 ของอินเทล
Share | Tweet |
…สวัสดีครับ ทางทีมงาน Vmodtech.com เราก็ได้รับเชิญจากทาง บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ไปร่วมงาน “สรุปเหตุการณ์สำคัญในรอบปี 2557 ของอินเทล” ทางเราก็ขอนำภาพและเนื้อหาในงานนี้มาฝากท่านผู้อ่านกันนะครับ ซึ่งปีนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปีแห่งความสำเร็จสำหรับอินเทลและอุตสาหกรรมไอทีในภาพรวม โดยที่ตลาดในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรอบ ตัวเรา ทั้งในด้านที่สัมผัสได้โดยตรงอย่างศักยภาพของอุปกรณ์ที่เราพกพาและเครือข่าย Internet of Things (IoT) และด้านโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้งานอยู่เบื้องหลัง ซึ่งล้วนแล้วแต่นำพาเราให้ก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่ที่หลากหลายเทคโนโลยีทำงานประสานกันเป็นหนึ่ง
และเพื่อเป็นการส่งท้ายปี 2557 เราจะนำท่านย้อนไปทบทวนสิบเหตุการณ์สำคัญในรอบปีที่ผ่านมาของอินเทล ดังต่อไปนี้:
คุณสนธิญา หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวแถลงสรุปภาพรวมเทคโนโลยีเด่นในปี 2014 พร้อมอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางของอุตสาหกรรมไอทีจากมุมมองของอินเทลในปี 2015
1.อินเทลตั้งเป้าหมายการส่งมอบแท็บเล็ตที่ใช้ อินเทล® อะตอมTM โปรเซสเซอร์ 40 ล้านเครื่องในปี 2557
นายไบรอัน เคอซานิทช์ ซีอีโอของอินเทล ได้เปิดศักราชใหม่ในงานคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ โชว์ (CES) ด้วยการประกาศเป้าหมายอันท้าทายที่จะส่งมอบแท็บเล็ตที่ใช้หน่วยประมวลผลของอินเทลออกสู่ตลาดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 40 ล้านเครื่องในปี 2557 นี้ ซึ่งเป็นยอดที่สูงกว่าในปีก่อนหน้าถึง 30 ล้านเครื่อง ถึงแม้ว่าเป้าหมายใหม่นี้จะสูงกว่ายอดเดิมอย่างมาก แต่อินเทลก็กำลังจะประสบความสำเร็จได้ตามเป้า ด้วยนวัตกรรมด้านการพัฒนาหน่วยประมวลผลแบบ System-on-a-Chip (SOC) รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและการลงทุนเพื่อสนับสนุนศักยภาพในการพัฒนามากมาย เช่น การเปิดศูนย์นวัตกรรมสมาร์ทอุปกรณ์ของอินเทลในเสิ่นเจิ้น ประเทศจีน และการลงทุนมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในกองทุนเพื่อการพัฒนานวัตกรรมสมาร์ทอุปกรณ์ในประเทศจีน เมื่อนับถึงช่วงสิ้นไตรมาสที่สามในปีนี้ อินเทลได้ส่งมอบแท็บเล็ตออกสู่ตลาดแล้วกว่า 30 ล้านเครื่อง มีแท็บเล็ตออกวางจำหน่ายกว่า 250 รุ่นใน 150 ประเทศทั่วโลก ทั้งยังได้รับการจัดอันดับโดยบริษัท สแตรทิจี แอนาไลติกส์[1] ให้เป็นผู้ผลิตชิปประมวลผลสำหรับ แท็บเล็ตอันดับสองของโลกอีกด้วย หน่วยประมวลผลของอินเทลเป็นหัวใจที่ขับเคลื่อนอุปกรณ์มากมายหลายรุ่นสำหรับทุกความต้องการ รวมถึงแท็บเล็ตดีไซน์แปลกใหม่จากแบรนด์เอเชียอย่าง Acer Aspire Switch 10, Asus Memo Pad 7, LG Tab Book และ the Toshiba Dynabook Tab S3.
2.นวัตกรรมหน่วยประมวลผลบนอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบ
อินเทลยังคงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับหน่วยประมวลผลในอุปกรณ์พกพา เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ มีประสิทธิ ภาพสูงขึ้น แบตเตอรี่ใช้งานได้นานยิ่งขึ้น และมีคุณสมบัติที่หลากหลายกว่าเดิม ทั้งยังมีรูปลักษณ์ที่บางเบา พกพาได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นในรูปของคอมพิวเตอร์พีซี แล็ปท็อป อัลตราบุ๊ค แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์แบบ ทูอินวันก็ตาม
ในปีนี้ อินเทลเป็นผู้พัฒนาหน่วยประมวลผลรายแรกของโลกที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ระดับ 14 นาโนเมตร โดยอุปกรณ์รุ่นแรกๆ ที่ใช้ Intel® CoreTM M processors (อินเทล® คอร์TM เอ็ม โปรเซสเซอร์) จะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงสิ้นปีนี้ ตามด้วยผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายอื่นๆ จะทยอยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเต็มรูปแบบยิ่งขึ้นในช่วงต้นปี 2558 ทั้งนี้ แบรนด์ผู้ผลิตหลายรายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เผยโฉมอุปกรณ์ที่ใช้ อินเทล คอร์ เอ็ม โปรเซสเซอร์ ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ Lenovo® Yoga 3 Pro, Acer Aspire Switch 12 และAsus Zenbook UX305.
ขณะเดียวกัน ยังได้มีการเปิดตัวอุปกรณ์ที่ใช้ชิป Intel® AtomTM processor Z3000 series (อินเทล® อะตอมTM Z3000 ชื่อรหัส เบย์ เทรล) เพื่อเสริมสมรรถนะและมอบประสบการณ์การใช้งานของอุปกรณ์ขนาดพกพาที่ใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 และแอนดรอยด์ นอกจากนี้ อินเทลยังได้เปิดตัวชิปเซ็ตโมเด็มเทคโนโลยี LTE-Advanced รุ่น XMMTM 7260 ในสมาร์ทโฟน ซัมซุง กาแลคซี่ อัลฟ่า โดยโมเด็ม LTE-Advanced รุ่นนี้ ได้ผ่านการรับรองโดยไชน่า โมบาย ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน จึงเปิดโอกาสให้อินเทลได้เข้าไปมีบทบาททำงานร่วมกับหนึ่งในตลาด LTE ที่คึกคักที่สุดในโลก
3.สร้างสรรค์เทคโนโลยีสำหรับทุกคน
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกลุ่มประสิทธิภาพเบื้องต้นและราคาไม่สูง อินเทลได้เปิดตัว SoFIA ชิป SoC สำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระดับพื้นฐานที่รวมหน่วยประมวลผลอินเทล® อะตอมTM แบบดูอัลคอร์เข้ากับโมเด็ม 3G ที่ใช้งานได้กับทุกคลื่นความถี่ทั่วโลก ชิป SoFIA นี้ พัฒนาขึ้นในประเทศสิงคโปร์ จึงถือเป็นตัวอย่างของนวัตกรรมใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปเอเชีย โดยจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุปกรณ์คุณภาพในระดับราคาที่เหมาะสมกับตลาดในประเทศกำลังพัฒนา
และในปี 2558 อินเทลก็มีแผนที่จะเปิดตัวชิป SoFIA แบบควอดคอร์ที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ 4G LTE นอกจากนี้ ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างอินเทลและร็อคชิพ ผู้พัฒนาหน่วยประมวลผลเซมิคอนดักเตอร์จากประเทศจีนจะเปิดโอกาสให้เราได้นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านสถาปัตยกรรมระบบและการสื่อสารอย่างกว้างขวางและรวดเร็วยิ่งขึ้น ผ่านทางแท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่มีราคาต่ำ โดยเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้นับรวมถึงชิป SoFIA ควอดคอร์รุ่น 3G ที่มีกำหนดเปิดตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2558
4.สานต่อมรดกแห่งนวัตกรรม
อินเทลยังคงพัฒนาชิปประมวลผลให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกฎของมัวร์ ด้วยการลงทุนในนวัตกรรมล่าสุดสำหรับทุกตลาด ทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงาน การใช้พลังงาน จำนวนทรานซิสเตอร์ และความคุ้มค่า ความก้าวหน้าในด้านต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชิป อย่างไม่หยุดยั้ง จนนำไปสู่การนำหน่วยประมวลผลเทคโนโลยี 14 นาโนเมตรรุ่นแรกของโลกเข้าสู่สายการ ผลิตก่อนคู่แข่งทุกรายในตลาด ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ผลิตอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงที่ทำงานโดยใช้พลังงานเพียงน้อยนิด ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องใช้อัจฉริยะที่เชื่อมต่อกับ Internet of Things
เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 20 ปีของแบรนด์ Pentium® (เพนเทียม®) อันเป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ของอินเทล เราจึงได้เปิดตัวชิปประมวลผลเพนเทียม G3258 รุ่นพิเศษ ที่ผู้ใช้สามารถโอเวอร์คล็อกได้
5.ยกระดับประสบการณ์การใช้งาน
อินเทลได้เปิดตัวเทคโนโลยี RealSenseTM (เรียลเซนส์) เพื่อยกระดับนวัตกรรมด้านการรับคำสั่งจากสภาพ แวดล้อมของอุปกรณ์ต่างๆ (หรือ Perceptual Computing) ผ่านทางคุณสมบัติอย่างระบบกล้องที่สามารถอ่านความลึกจากภาพได้ทำให้สามารถรับคำสั่งจากท่าทางมือของผู้ใช้ แผงไมโครโฟนคู่ เทคโนโลยีสแกนภาพสามมิติ จดจำใบหน้าผู้ใช้ และระบบรับคำสั่งด้วยเสียง คุณสมบัติทั้งหมดของ RealSenseTM ทำให้เราสามารถพัฒนาอุปกรณ์รูปแบบใหม่ที่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้ จึงถือเป็นการบุกเบิกยุคใหม่อย่างแท้จริง ขณะนี้ มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระกว่า 60 ราย ที่กำลังสร้างสรรค์โซลูชั่นต่างๆ สำหรับแพลตฟอร์มนี้ ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้งานเทคโนโลยี RealSenseTM รุ่นแรกอย่างแท็บเล็ต Dell Venue 8 7000 Series (เดลล์ เวนิว 8 7000 ซีรีส์) ก็ได้เปิดตัวออกสู่สายตาชาวโลกไปเป็นที่เรียบร้อยในงานไอดีเอฟ ทั้งนี้ อินเทลยังได้ประกาศการพัฒนาเทคโนโลยีอีกมากมายเพื่อพลิกโฉมการใช้งานคอมพิวเตอร์พีซีให้กลายเป็นประสบการณ์แบบไร้สายที่สมบูรณ์แบบ และขจัดความวุ่นวายของสายไฟและสายเคเบิลเชื่อมต่ออุปกรณ์ชนิดต่างๆ ส่วนเทคโนโลยีสแกนม่านตา ActiveIRIS® (แอคทีฟไอริส) ที่นำมาจัดแสดงบนสมาร์ทโฟนรุ่นต้นแบบที่ใช้ชิปประมวลผล Intel® AtomTM Z3500 processor series ก็ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ด้านความปลอดภัยที่ทั้งรวดเร็วและเชื่อถือได้สำหรับผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน
คุณสติยา ลังการ์พินธุ์ ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการศึกษา บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
6.บุกเบิกอุปกรณ์เพื่อการสวมใส่
นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่าตลาดอุปกรณ์ประมวลผลเพื่อการสวมใส่ ( wearables) จะเติบโตขึ้นถึง 4 เท่า ตัวภายในปี 2560[2] ด้วยเหตุนี้ อินเทลจึงเดินหน้าจับมือกับพันธมิตรทางเทคโนโลยีหลายราย ไม่ว่าจะเป็น Fossil Group, Inc*, Opening Ceremony* และ SMS Audio LLC* เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ประมวบผลเพื่อการสวมใส่สำหรับการใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม นอกจากนี้ อินเทลยังได้ซื้อกิจการของบริษัท BASIS Science Inc ผู้พัฒนาอุปกรณ์เก็บข้อมูลด้านสุขภาพที่ล้ำยุคที่สุดอย่าง Basis band.
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในตลาดอุปกรณ์เพื่อการสวมใส่และเซนเซอร์ตรวจจับต่างๆ อินเทลจึงได้จัดตั้งโครงการและการแข่งขันในด้านดังกล่าวมากมาย ทั้งในรายการ Make it Wearable, Analytics for Wearables และ RealSense Technology App ส่วนการเปิดตัว Intel® Edison (อินเทล® เอดิสัน) คอมพิวเตอร์ดูอัลคอร์ขนาดจิ๋วที่ใช้หน่วยประมวลผลควาร์ก (Quark-based computer) มีราคาต่ำ และมีรูปร่างและขนาดเท่ากับเอสดีการ์ดทั่วไป ก็ถือเป็นการสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ในวงการนี้เช่นกัน
7.เชื่อมต่อเครือข่ายแห่งอนาคต
เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) จะเชื่อมต่อสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ กว่า 50,000 ล้านชิ้นเข้าด้วยกันภายในปี 2563[3] และเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น อินเทลได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Open Interconnect Consortium และ Industrial Internet Consortium เพื่อร่วมสนับสนุนการเติบโตของเทคโนโลยีดังกล่าวและผลักดันให้เกิดการสร้างมาตรฐานสำหรับการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ อินเทลยังได้จับมือกับพันธมิตรหลายรายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำเทคโนโลยีเครือข่ายไปใช้งานอย่างกว้างขวางในหลากหลายอุตสาหกรรม ดังเช่นในโครงการวิจัยร่วม Project Mobii ซึ่งเป็นการร่วมค้นคว้าวิจัยด้านยานยนต์อัจฉริยะร่วมกับฟอร์ด
อินเทลและชุงฮวา เทเลคอม ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านนวัตกรรม IoT คลาวด์ และเครือข่ายที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ (Software-Defined Networking; SDN) โดยชุงฮวา เทเลคอมเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายแรกของเอเชียที่จับมือกับอินเทลเพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี IoT และความร่วมมือนี้ก็เป็นโครงการวิจัยนวัตกรรม IoT โครงการที่ห้าของอินเทลทั่วโลก โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนาระบบสมาร์ทโฮม ระบบจัดการพลังงาน และระบบจัดการยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์เป็นหลัก
นอกจากนี้ อินเทลและมิตซูบิชิ อิเล็กทริก ยังได้ประกาศความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานเทคโนโลยี IoT แบบครบวงจร ควบคู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบดังกล่าว ทั้งสองบริษัทได้ร่วมกันนำระบบอัตโนมัติรูปแบบใหม่นี้มาทดลองใช้ที่โรงงานของอินเทลในประเทศมาเลเซีย เพื่อพิสูจน์ถึงคุณประโยชน์ของเทคโนโลยี IoT ในภาคธุรกิจ ทั้งการใช้งานเครื่องจักรกลที่ต่อเนื่องและยาวนานยิ่งขึ้น ศักยภาพการผลิตที่แข็งแกร่งขึ้น และการวางแผนซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่างๆ ล่วงหน้า ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่ชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบจะเสื่อมสภาพลงจนไม่สามารถใช้งานได้
สำหรับประเทศไทย อินเทลได้ทำงานใกล้ชิดกับพันธมิตรทางธุรกิจ Embedded อาทิ Advantech, ADLINK, Dell OEM, และ QNAP เพื่อให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ของ loT ใช้งานได้จริง รวมถึงการสรรสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆในโครงสร้างภายในของ loT แบบครบวงจร ทั้งในภาคธุรกิจค้าปลีก อุตสาหกรรม พลังงาน และการสื่อสารร
คุณสติยา ลังการ์พินธุ์ ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการศึกษา บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กับกาลิเลโอ บอร์ด (Galileo Board) นวัตกรรมจากอินเทลที่จะช่วยส่งเสริมวงการศึกษาวิทยาศาสตร์ไทย
8.เปิดโลกใหม่กับ “บิ๊ก ดาต้า”
อินเทลได้เปิดตัวชิปประมวลผลตระกูล Intel® Xeon® processor E7 v2 (อินเทล ซีออน E7 V2 โปรเซสเซอร์) และ Intel® Xeon® processor E5-2600/1600 v3 (อินเทล ซีออน E5-2600/1600 V3 โปรเซสเซอร์) ออกสู่ตลาดเพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมสามารถจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน กว่าร้อยละ 81 ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังที่สุด 500 เครื่องทั่วโลก[4]เลือกใช้ชิปประมวลผลจากอินเทล และชิปรุ่นใหม่เหล่านี้ก็จะเข้ามาตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของผู้ใช้งานระบบศูนย์ข้อมูล (data center) เพื่อให้สามารถรับมือได้กับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการใช้พลังงานและความปลอดภัยอีกด้วย
9.ผู้นำแห่งอนาคต
อินเทลเชื่อว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่เป็นหัวใจของการสร้างสรรค์นวัตกรรม ดังจะเห็นได้จากงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนานาชาติของอินเทล (Intel ISEF) ซึ่งเป็นการแข่งขันโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมปลายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยในปีนี้ นาธาน ฮาน วัย 15 ปี สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศไปครองได้สำเร็จจากผลงานซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาวิจัยการกลายพันธุ์ของยีนอันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม ส่วนในปีนี้ โครงงานวิทยาศาสตร์ “ผลของสารจากพืชบางชนิดที่มีต่อเปอร์เซ็นต์การฟักเป็นตัวของไข่และการตายของหอยเชอร์รี่ หอยทากสยาม และหอยทากยักษ์แอฟริกา” โดยนายวันทา กำลัง และนายภัทรพงศ์ ลิมปวัฒนะ จาก โรงเรียนพนมสารคามพนมอดุลวิทยา ประเทศไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศมูลค่า 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นรางวัลที่ 4 ในหมวดพืชวิทยา
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเลือกเป็นองค์กรดีเด่นผู้ทำประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน ในสาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี จากทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รางวัลอันทรงเกียรตินี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีในหมู่เยาวชน ซึ่งรวมไปถึงการสนับสนุนการแข่งขันวิทยาศาสตร์ระดับชาติของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เช่นเดียวกับการสนับสนุนการพัฒนาศูนย์สะเต็มศึกษาในประเทศไทย (สะเต็มศึกษาประกอบด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์)
คุณสนธิญา หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กับคอมพิ้วต์ สติ๊ก (Compute Stick) นวัตกรรมล่าสุดจากอินเทลที่จะยกระดับประสบการณ์การใช้งานอุปกรณ์ไอทีในยุค The Era of Integration
10.เพื่อโลกในอนาคตที่ดีกว่า
นอกจากความสำเร็จในด้านนวัตกรรมแล้ว อินเทลยังคงมุ่งมั่นเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลกด้วยเทคโนโลยี โดยบริษัทได้ประกาศแผนงานที่จะยุติการนำเข้าแร่วัตถุดิบจากพื้นที่ภายใต้ข้อขัดแย้ง (conflict minerals) ในทุกขั้นตอนการผลิต[5] และยังได้รับเลือกให้เป็นองค์กรดีเด่นอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกาในด้านการใช้พลังงานหมุนเวียนอีกด้วย
อินเทลยังคงมุ่งมั่นในการลดช่องว่างด้านการเข้าถึงรเทคโนโลยีและเสริมสร้างความเท่าเทียมทางสิทธิระหว่างชายและหญิง ผ่านการเปิดโอกาสให้เด็กผู้หญิงในหลายประเทศทั่วโลกได้พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ และก้าวเดินสู่อนาคตได้อย่างมั่นใจ สำหรับประเทศไทย อินเทลได้ร่วมมือกับ Plan International ในโครงการ Intel® Learn Easy Steps เพื่อเปิดศูนย์ฝึกอบรมอาชีวศึกษา 2 แห่ง (จังหวัดระยองและนครปฐม) เยาวชนหญิงในศูนย์ฝึกอบรมทั้งสองแห่งนี้ได้ทำงานร่วมกันและริเริ่มธุรกิจขนาดเล็ก โดยใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีในการพัฒนาแผนธุรกิจ การคำนวณต้นทุน และการติดตามการดำเนินงานธุรกิจ นอกจากนี้ อินเทลร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในการพัฒนาและทดสอบค่ายต้นแบบฝึกสอนการเขียนแอพพลิเคชั่นมือถือสำหรับเยาวชนหญิงในระดับมัธยมต้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนหญิงเหล่านี้เห็นภาพว่าตนเองสามารถเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีได้ในอนาคตได้เช่นเดียวกัน
คุณสนธิญา หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และคุณสติยา ลังการ์พินธุ์ ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการศึกษา บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนที่มาร่วมงานในช่วงปิดท้ายอย่างเป็นกันเอง
ตลอดระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา อินเทลได้ร่วมอบรมและเสริมศักยภาพให้กับบุคลากรครูกว่า 10 ล้านคนทั่วโลก เพื้อสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้แก่การพัฒนาศึกษาในอนาคต ในปีนี้ อินเทล ประเทศไทย ได้เปลี่ยนรูปแบบการอบรมเป็นแบบออนไลน์ด้วยหลักสูตร Intel Teach Element นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรฝึกอบรม Intel Educate Future Scientists ที่กำลังเริ่มใช้ในปีนี้ โดยเป็นการร่วมมือการระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติและองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) อินเทลได้เปิดโครงการความร่วมมือในการเร่งการพัฒนาสะเต็มศึกษา (STEM Acceleration Partnership) ด้วยการทำงานร่วมกับหลากหลายสถาบันโดยเฉพาะ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เพื่อส่งเสริมสะเต็มศึกษาในประเทศไทย
นอกจากนี้ อินเทลยังเล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลในปริมาณมหาศาล (big data analytics) ในการรักษาโรคร้ายต่างๆ จึงได้ประกาศความร่วมมือกับ มูลนิธิไมเคิล เจ ฟ็อกซ์เพื่อทำการวิจัยและรักษาโรคพาร์กินสัน
อินเทลเผยวิสัยทัศน์เทคโนโลยีปี 2558
คาดการณ์อนาคตอุตสาหกรรมไอที - มุ่งหน้าสู่ยุคแห่งการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียว
และแล้วเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงก็มาถึงอีกครั้ง กับการเตรียมตัวก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจด้วยนวัตกรรมไอที ใหม่ๆ มากมายที่จะพาโลกของเราให้ก้าวล้ำต่อไป ในโอกาสนี้ ผู้บริหารอินเทลจึงได้เผยถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทในด้านเทรนด์และความเปลี่ยน แปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งปีข้างหน้านี้
เดินหน้าสู่ยุคแห่งการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียว (Era of Integration)
เทคโนโลยีและศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ ได้ทำให้โลกของเราเปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ และเราไม่อาจพึ่งพาอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียวคู่กับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย แบบพื้นฐานได้อีกต่อไป ปัจจุบัน เราต่างก็ต้องการที่จะใช้อุปกรณ์มากมายหลายแบบ ทั้งอุปกรณ์ประมวลผลเพื่อการสวมใส่ (wearables) สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์พีซี ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เชื่อมต่อถึงกันเป็นหนึ่งเดียวจนเกิดเป็น ประสบการณ์การใช้งานที่ปรับแต่งได้ตามใจผู้ใช้งาน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กำลังค่อยๆ พลิกโฉมโลกของเรา จากยุคที่เต็มไปด้วยสารพัดหน้าจอและอุปกรณ์ มาเป็นยุคแห่งประสบการณ์การใช้งานที่แทรกซึมเข้าสู่ทุกด้านของชีวิต
“ตอนนี้เราทุกคนกำลังอยู่ใน “ยุคที่ผู้ใช้อุปกรณ์ที่มีหน้าจอทุกขนาด” (Screenification) ของการใช้คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการใช้คอมพิวเตอร์แบบ ‘ไร้จอ’ ในปี 2558 โดยคอมพิวเตอร์จะแฝงอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นนาฬิการะบบจีพีเอส หรือเครื่องใช้ต่างๆในบ้านที่มีการเชื่อมต่อ ในฐานะผู้บริโภค เราสามารถโอนข้อมูลเหล่านี้ย้ายเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มใดๆก็ตามที่มีหน้าจอ เพื่อวิเคราะห์และเพิ่มคุณค่าของข้อมูลต่างๆได้” - ไบรอัน เดวิด จอห์นสัน, Intel Futurist
ยุคแห่งการการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
เพื่อให้เราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ได้อย่างเต็มตัว อุปกรณ์ที่เราใช้งานก็มีเทคโนโลยีอัจฉริยะใหม่ๆ ที่ช่วยให้เราทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจอแสดงผลที่พับได้ อุปกรณ์สมรรถนะสูงที่ใช้พลังงานเพียงเล็กน้อย หรือแม้แต่อุปกรณ์พกพาราคาถูกที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้โดยอัตโนมัติ
การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่สำหรับอุปกรณ์ในยุคนี้จะ มุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์การใช้งานที่หลอมรวม เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน อุปกรณ์เหล่านี้จะทั้งใช้งานง่าย สะดวกสบาย และพกพาไปได้ทุกหนแห่ง
จึงสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานได้ ทั้งยังเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ไปโดยสิ้นเชิง
ภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไอ ทีให้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ โดยมีแบรนด์ต่างๆ จากประเทศจีนและศูนย์วิจัยนวัตกรรมมากมายหลายแห่งเป็นผู้ผลักดันให้เกิดความ เปลี่ยนแปลง ทั้งในปี 2558 ที่จะถึงนี้และปีต่อๆ ไป
ยุคแห่ง อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things - IoT)
ทุกวันนี้ สิ่งของนับพันล้านชิ้นรอบตัวเรา นับตั้งแต่ชิปประมวลผลขนาดจิ๋ว ไปจนถึงเครื่องจักรกลขนาดมหึมา ต่างก็ทำงานสอดประสานกันแบบไร้สาย จนเกิดเป็นเครือข่ายที่เชื่อมทุกสิ่งเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกกันว่า “Internet of Things” (IoT) เครือข่ายดังกล่าวนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยบริษัทวิจัยไอดีซีได้คาดการณ์ว่าตลาด IoT ทั่วโลกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 เป็น 7.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563
ทั้งนี้ IoT จะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่ผลักดันให้เราเดินหน้าเข้าสู่ยุคแห่งการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวในปี 2558 นี้
ข้อมูลจากไอดีซีระบุว่าจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ Internet of Things นี้ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 แสนล้านชิ้นทั่วโลกในปี 2563 ซึ่งหมายความว่าปริมาณข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นทั่วโลกก็จะเพิ่มขึ้น อย่างมหาศาลด้วยเช่นกัน โดยไอดีซีได้คาดการณ์ว่าปริมาณข้อมูลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวในเวลา ทุกๆ สองปี และในปี 2563 เราก็จะมี “จักรวาลดิจิตอล” หรือข้อมูลที่สร้างและเคลื่อนย้ายถ่ายโอนทั้งสิ้นในแต่ละปี รวมทั้งสิ้น 44 เซตตะไบต์ หรือเท่ากับ 44 ล้านล้านกิกะไบต์นั่นเอง
ดังนั้น เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ เทคโนโลยี ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรฐานอุตสาหกรรมต่างๆ จะต้องพัฒนาต่อไปในปีหน้านี้ โดยระบบคลาวด์แบบมาตรฐานเปิดจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมาก
หลังจากที่โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวอย่างเต็มตัว โครงข่าย IoT จะยก ระดับคุณภาพชีวิตประจำวัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานในภาคธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพในการทำงานของทุกคน จนเกิดเป็นคุณประโยชน์มากมายมหาศาลสำหรับทุกคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมหรือชุมชนที่พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ อย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากโรงงานของอินเทลแห่งหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ที่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 9 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่นำระบบ IoT มาใช้งาน
เมื่อ โครงข่าย IoT ถูกนำมาใช้เป็นที่แพร่หลาย และระบบในการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลได้พัฒนาศักยภาพให้เพียงพอต่อการรับ มือกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น เราก็คาดการณ์ว่าวงการสาธารณสุขจะกลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ออกสู่สายตาได้อย่างรวดเร็ว
บุกเบิกโลกยุคใหม่อย่างเต็มรูปแบบ
สังคมและชุมชนทั่วโลกจะหันมาใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างเต็มที่ได้ก็ต่อเมื่อ ผู้คนมีความเข้าใจในประโยชน์ที่จะได้รับในฐานะผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่นโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ซึ่งนำนวัตกรรมล่าสุดมาเสริมศักยภาพของระบบต่างๆ จนกระทั่งดานังกลายเป็นหนึ่งใน “สมาร์ท ซิตี้” แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมี่เป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์บริการสาธารณะที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนชาวดา นังและทุกคนที่มาเยือน
“ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราทุกคนจะได้เห็นการเติบโตของสมาร์ทซิตี้ ที่มีการบริหารจัดการพลเมืองเป็นแก่นสำคัญ ธุรกิจต่างๆจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงการแข่งขันเพื่อผลประโยชน์ที่จะเพิ่ม มากขึ้น แต่ก็จำ ต้องคงไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างผลกำไรของตนเองกับ สิ่งที่เหมาะสมสำหรับพลเมือง สมาร์ทซิตี้เป็นเรื่องของการตั้งคำถามที่ท้าทายกว่าเดิมกับสิ่งที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันและการพัฒนาบริการต่างๆที่ดีขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์ด้วย กันอย่างถ้วนหน้า“ - เจเนวีฟ เบล, อินเทล แล็บ, ผู้บริหารอินเทล และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย User Experience
อุปกรณ์อัจฉริยะใหม่ๆ ที่จะออกสู่ตลาดในปี 2558 ก็จะใช้งานได้ง่ายขึ้น และเข้ากับความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังจะได้เห็นอุปกรณ์ที่แปลกใหม่ทั้งในด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ และการใช้งาน เช่น อุปกรณ์ประมวลผลเพื่อการสวมใส่ หรืออุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นสามมิติ อันถือเป็นการช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้คนหันมาสนใจโลกยุคใหม่ นี้มากขึ้น
นอกจากนี้ เรายังจะได้เห็นทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปหันมาประยุกต์ใช้เทคโนโลยี หุ่นยนต์กันมากขึ้น เช่นในรูปแบบของเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปในอนาคต
เตรียมพร้อมก่อนก้าวสู่อนาคต
การจะปรับใช้เทคโนโลยียุคใหม่เหล่านี้ให้ได้ผล ขึ้นอยู่กับการพัฒนาทักษะ ความรู้ และเครื่องมือที่จำเป็นให้กับภาคแรงงาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยจากการสำรวจในหัวข้อภาวะขาดแคลนแรงงานเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา พบว่ากว่าร้อยละ 45 ของผู้จ้างงานในแถบเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญกับปัญหาด้านการขาดทักษะ อันเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถหาบุคลากรมาเติมเต็มในตำแหน่งงานที่ ว่างอยู่ได้ โดยหากเราต้องการรักษาให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงสถานะความเป็นผู้นำด้าน นวัตกรรมในโลกยุคใหม่ไว้ได้ ก็จะต้องคิดค้นวิธีการที่จะปิดช่องว่างด้านทักษะและความรู้ตรงนี้ให้ได้เสีย ก่อน เพื่อสร้างโอกาสให้ทุกคนได้ก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน
“ในปี 2558 การศึกษาและการเชื่อมต่อบรอดแบนด์จะเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น พลเมือง จะมีการเชื่อมต่อมากขึ้น รวมถึงมีการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการผลิตในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญตามไป ด้วย จึงถือเป็นข่าวดีสำหรับเศรษฐกิจของภูมิภาคและตลาดที่กำลังเติบโต และเป็นการวางรากฐานที่ดีให้กับ IoT และระบบคอมพิวเตอร์แบบฝังตัวด้วยเช่นกัน“ - ปรากาช มัลลยา ผู้อำนวยการอินเทล ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อินเทลเผยวิสัยทัศน์เทคโนโลยีปี 2558
คาดการณ์อนาคตอุตสาหกรรมไอที - มุ่งหน้าสู่ยุคแห่งการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียว
และแล้วเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงก็มาถึงอีกครั้ง กับการเตรียมตัวก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจด้วยนวัตกรรมไอที ใหม่ๆ มากมายที่จะพาโลกของเราให้ก้าวล้ำต่อไป ในโอกาสนี้ ผู้บริหารอินเทลจึงได้เผยถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทในด้านเทรนด์และความเปลี่ยน แปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งปีข้างหน้านี้
เดินหน้าสู่ยุคแห่งการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียว (Era of Integration)
เทคโนโลยีและศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ ได้ทำให้โลกของเราเปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ และเราไม่อาจพึ่งพาอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียวคู่กับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย แบบพื้นฐานได้อีกต่อไป ปัจจุบัน เราต่างก็ต้องการที่จะใช้อุปกรณ์มากมายหลายแบบ ทั้งอุปกรณ์ประมวลผลเพื่อการสวมใส่ (wearables) สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์พีซี ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เชื่อมต่อถึงกันเป็นหนึ่งเดียวจนเกิดเป็น ประสบการณ์การใช้งานที่ปรับแต่งได้ตามใจผู้ใช้งาน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กำลังค่อยๆ พลิกโฉมโลกของเรา จากยุคที่เต็มไปด้วยสารพัดหน้าจอและอุปกรณ์ มาเป็นยุคแห่งประสบการณ์การใช้งานที่แทรกซึมเข้าสู่ทุกด้านของชีวิต
“ตอนนี้เราทุกคนกำลังอยู่ใน “ยุคที่ผู้ใช้อุปกรณ์ที่มีหน้าจอทุกขนาด” (Screenification) ของการใช้คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการใช้คอมพิวเตอร์แบบ ‘ไร้จอ’ ในปี 2558 โดยคอมพิวเตอร์จะแฝงอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นนาฬิการะบบจีพีเอส หรือเครื่องใช้ต่างๆในบ้านที่มีการเชื่อมต่อ ในฐานะผู้บริโภค เราสามารถโอนข้อมูลเหล่านี้ย้ายเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มใดๆก็ตามที่มีหน้าจอ เพื่อวิเคราะห์และเพิ่มคุณค่าของข้อมูลต่างๆได้” - ไบรอัน เดวิด จอห์นสัน, Intel Futurist
ยุคแห่งการการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
เพื่อให้เราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ได้อย่างเต็มตัว อุปกรณ์ที่เราใช้งานก็มีเทคโนโลยีอัจฉริยะใหม่ๆ ที่ช่วยให้เราทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจอแสดงผลที่พับได้ อุปกรณ์สมรรถนะสูงที่ใช้พลังงานเพียงเล็กน้อย หรือแม้แต่อุปกรณ์พกพาราคาถูกที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้โดยอัตโนมัติ
การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่สำหรับอุปกรณ์ในยุคนี้จะ มุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์การใช้งานที่หลอมรวม เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน อุปกรณ์เหล่านี้จะทั้งใช้งานง่าย สะดวกสบาย และพกพาไปได้ทุกหนแห่ง
จึงสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานได้ ทั้งยังเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ไปโดยสิ้นเชิง
ภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไอ ทีให้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ โดยมีแบรนด์ต่างๆ จากประเทศจีนและศูนย์วิจัยนวัตกรรมมากมายหลายแห่งเป็นผู้ผลักดันให้เกิดความ เปลี่ยนแปลง ทั้งในปี 2558 ที่จะถึงนี้และปีต่อๆ ไป
ยุคแห่ง อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things - IoT)
ทุกวันนี้ สิ่งของนับพันล้านชิ้นรอบตัวเรา นับตั้งแต่ชิปประมวลผลขนาดจิ๋ว ไปจนถึงเครื่องจักรกลขนาดมหึมา ต่างก็ทำงานสอดประสานกันแบบไร้สาย จนเกิดเป็นเครือข่ายที่เชื่อมทุกสิ่งเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกกันว่า “Internet of Things” (IoT) เครือข่ายดังกล่าวนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยบริษัทวิจัยไอดีซีได้คาดการณ์ว่าตลาด IoT ทั่วโลกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 เป็น 7.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563
ทั้งนี้ IoT จะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่ผลักดันให้เราเดินหน้าเข้าสู่ยุคแห่งการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวในปี 2558 นี้
ข้อมูลจากไอดีซีระบุว่าจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ Internet of Things นี้ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 แสนล้านชิ้นทั่วโลกในปี 2563 ซึ่งหมายความว่าปริมาณข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นทั่วโลกก็จะเพิ่มขึ้น อย่างมหาศาลด้วยเช่นกัน โดยไอดีซีได้คาดการณ์ว่าปริมาณข้อมูลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวในเวลา ทุกๆ สองปี และในปี 2563 เราก็จะมี “จักรวาลดิจิตอล” หรือข้อมูลที่สร้างและเคลื่อนย้ายถ่ายโอนทั้งสิ้นในแต่ละปี รวมทั้งสิ้น 44 เซตตะไบต์ หรือเท่ากับ 44 ล้านล้านกิกะไบต์นั่นเอง
ดังนั้น เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ เทคโนโลยี ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรฐานอุตสาหกรรมต่างๆ จะต้องพัฒนาต่อไปในปีหน้านี้ โดยระบบคลาวด์แบบมาตรฐานเปิดจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมาก
หลังจากที่โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการผสานเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวอย่าง เต็มตัว โครงข่าย IoT จะยก ระดับคุณภาพชีวิตประจำวัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานในภาคธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพในการทำงานของทุกคน จนเกิดเป็นคุณประโยชน์มากมายมหาศาลสำหรับทุกคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมหรือชุมชนที่พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ อย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากโรงงานของอินเทลแห่งหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ที่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 9 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่นำระบบ IoT มาใช้งาน
เมื่อ โครงข่าย IoT ถูกนำมาใช้เป็นที่แพร่หลาย และระบบในการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลได้พัฒนาศักยภาพให้เพียงพอต่อการรับ มือกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น เราก็คาดการณ์ว่าวงการสาธารณสุขจะกลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ออกสู่สายตาได้อย่างรวดเร็ว
บุกเบิกโลกยุคใหม่อย่างเต็มรูปแบบ
สังคมและชุมชนทั่วโลกจะหันมาใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างเต็มที่ได้ก็ ต่อเมื่อ ผู้คนมีความเข้าใจในประโยชน์ที่จะได้รับในฐานะผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่นโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ซึ่งนำนวัตกรรมล่าสุดมาเสริมศักยภาพของระบบต่างๆ จนกระทั่งดานังกลายเป็นหนึ่งใน “สมาร์ท ซิตี้” แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมี่เป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์บริการสาธารณะที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนชาวดา นังและทุกคนที่มาเยือน
“ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราทุกคนจะได้เห็นการเติบโตของสมาร์ทซิตี้ ที่มีการบริหารจัดการพลเมืองเป็นแก่นสำคัญ ธุรกิจต่างๆจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงการแข่งขันเพื่อผลประโยชน์ที่จะเพิ่ม มากขึ้น แต่ก็จำ ต้องคงไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างผลกำไรของตนเองกับ สิ่งที่เหมาะสมสำหรับพลเมือง สมาร์ทซิตี้เป็นเรื่องของการตั้งคำถามที่ท้าทายกว่าเดิมกับสิ่งที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันและการพัฒนาบริการต่างๆที่ดีขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์ด้วย กันอย่างถ้วนหน้า“ - เจเนวีฟ เบล, อินเทล แล็บ, ผู้บริหารอินเทล และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย User Experience
อุปกรณ์อัจฉริยะใหม่ๆ ที่จะออกสู่ตลาดในปี 2558 ก็จะใช้งานได้ง่ายขึ้น และเข้ากับความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังจะได้เห็นอุปกรณ์ที่แปลกใหม่ทั้งในด้านรูปลักษณ์ คุณสมบัติ และการใช้งาน เช่น อุปกรณ์ประมวลผลเพื่อการสวมใส่ หรืออุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นสามมิติ อันถือเป็นการช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้คนหันมาสนใจโลกยุคใหม่ นี้มากขึ้น
นอกจากนี้ เรายังจะได้เห็นทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปหันมาประยุกต์ใช้เทคโนโลยี หุ่นยนต์กันมากขึ้น เช่นในรูปแบบของเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปในอนาคต
เตรียมพร้อมก่อนก้าวสู่อนาคต
การจะปรับใช้เทคโนโลยียุคใหม่เหล่านี้ให้ได้ผล ขึ้นอยู่กับการพัฒนาทักษะ ความรู้ และเครื่องมือที่จำเป็นให้กับภาคแรงงาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยจากการสำรวจในหัวข้อภาวะขาดแคลนแรงงานเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา พบว่ากว่าร้อยละ 45 ของผู้จ้างงานในแถบเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญกับปัญหาด้านการขาดทักษะ อันเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถหาบุคลากรมาเติมเต็มในตำแหน่งงานที่ ว่างอยู่ได้ โดยหากเราต้องการรักษาให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงสถานะความเป็นผู้นำด้าน นวัตกรรมในโลกยุคใหม่ไว้ได้ ก็จะต้องคิดค้นวิธีการที่จะปิดช่องว่างด้านทักษะและความรู้ตรงนี้ให้ได้เสีย ก่อน เพื่อสร้างโอกาสให้ทุกคนได้ก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน
“ในปี 2558 การศึกษาและการเชื่อมต่อบรอดแบนด์จะเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น พลเมือง จะมีการเชื่อมต่อมากขึ้น รวมถึงมีการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการผลิตในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญตามไป ด้วย จึงถือเป็นข่าวดีสำหรับเศรษฐกิจของภูมิภาคและตลาดที่กำลังเติบโต และเป็นการวางรากฐานที่ดีให้กับ IoT และระบบคอมพิวเตอร์แบบฝังตัวด้วยเช่นกัน“ - ปรากาช มัลลยา ผู้อำนวยการอินเทล ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- See more at: http://www.vmodtech.com/main/article/the-chronicles-of-intel-in-2014/3/#sthash.KlDRGLIe.dpuf
ภาพของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากอินเทล ที่นำมาจัดแสดงในงานนี้
ภาพของคุณสนธิญา หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และคุณสติยา ลังการ์พินธุ์ ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการศึกษา บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บรรยายในงานนี้
หลังจบงานก็มีการร่วมรับประทานอาหารกันที่โรงแรมชั้นที่ 24 ผมก็เลยถือโอกาสออกไปยืนเก็บรูปวิวกรุงเทพฯมาฝากกันนะครับ และสำหรับวันนี้ผมก็ขอจบรายงานสรุปเหตุการณ์สำคัญในรอบปี 2557 ของอินเทลแต่เพียงเท่านี้นะครับ สวัสดีครับ