The Sandy Bridge Review: Intel Core i7-2600K and Core i5-2500K Tested
Share | Tweet |
กลับมาสวัสดีผู้อ่านกันอีกครั้งครับ สำหรับในวันนี้ ก็จะเป็นรายงานผลการทดสอบ พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลของแพลตฟอร์ม Intel Sandy Bridge กัน
นับตั้งแต่วันที่อินเทลได้เปิดตัว Core Microarctecture จนถึงทุกวันนี้ ก็เรียกได้ว่า Sandy Bridge นั้นถือได้ว่า เป็นสถาปัตยกรรมในยุคที่สอง ของอินเทล Core i series ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ที่สำคัญมากที่สุดก็คือ จะเริ่มมีการพอร์ตซีพียูทั้ง i3 i5 i7 ลงมาเป็นซอกเก็ต 1155 ทั้งหมด ผิดกับที่ในยุคที่ Core i ออกมาใหม่ๆในตอนนั้นยังคงมี 1366 สำหรับ Core i7 รุ่นแรกๆ และ 1156 สำหรับรุ่นเล็ก
Intel Sandy Bridge นั้นถือเป็นการพัฒนาสถาปัตยกรรมในจังหวะ Tock ซึ่งจะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ถือกำเหนิด Core Microarchiture โดย Sandy Bridge นั้นจะยังคงใช้การผลิตในขนาด 32 นาโนเมตร ตามสเต็ปเดิมๆ (ให้สังเกตดูรูปครับ)
เพื่อให้เกิดการเห็นภาพที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย ผมจึงจะขอยกเอา Line up ของซีพียูในแต่ละรุ่น ในแพลตฟอร์มของ Sandy Bridge มาให้ได้ชมกันแบบจะๆ ชัดๆกันไปก่อนเป็นอันดับแรกเลยครับ
Sandy Bridge Desktop CPU Comparison | |||||||||
Base Frequency | L3 Cache | Cores/Threads | Max Single Core Turbo | Intel HD Graphics Frequency/Max Turbo | Unlocked | TDP | |||
Intel Core i7 2600K | 3.4GHz | 8MB | 4 / 8 | 3.8GHz | 850 / 1350MHz | Y | 95W | ||
Intel Core i7 2600 | 3.4GHz | 8MB | 4 / 8 | 3.8GHz | 850 / 1350MHz | N | 95W | ||
Intel Core i5 2500K | 3.3GHz | 6MB | 4 / 4 | 3.7GHz | 850 / 1100MHz | Y | 95W | ||
Intel Core i5 2500 | 3.3GHz | 6MB | 4 / 4 | 3.7GHz | 850 / 1100MHz | N | 95W | ||
Intel Core i5 2400 | 3.1GHz | 6MB | 4 / 4 | 3.4GHz | 850 / 1100MHz | N | 95W | ||
Intel Core i3 2120 | 3.3GHz | 3MB | 2 / 4 | N/A | 850 / 1100MHz | N | 65W | ||
Intel Core i3 2100 | 3.1GHz | 3MB | 2 / 4 | N/A | 850 / 1100MHz | N | 65W |
…สำหรับ Core i ในเจเนอร์เรชั่นใหม่ หรือ Sandy Bridge นี้นั้น ก็ง่ายๆครับไม่มีอะไรยากตามตาราง คือเรื่องของการเรียกชื่อ ที่จังยังมีการใช้ชื่อ Core i3/5/7 โดยจะเพิ่มชื่อเลข 2 เข้ามา เป็นการสื่อว่า Generation ที่สอง และในส่วนของ Suffix ที่นอกจากจะทีรหัส K ที่เราๆท่านๆคุ้นเคยกันดีกับซีพียูที่มีการ Unlock หรือ ปลดล็อคตัวคูณมาแล้ว ยังจะมีรหัส S ที่เป็นรุ่นประหยัดไฟ และรุ่น T ประหยัดไฟพิเศษ (TDP 35watt)
…แพลตฟอร์มใหม่จากอินเทลนั้น สำหรับซอกเก็ตใหม่ 1155 มาพร้อมกับชิปเซ็ตอินเทลตระกูล 6 ที่เรากำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่อินเทล นำเอา Northbridge เข้าไปรวมในซีพียูอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะแพลตฟอร์ม Intel 6 series นั้นจะเป็นแพลตฟอร์มชิปเดี่ยวโดยสมบูรณ์ โดยในรูปด้านบนจะเป็น Block Diagram ของบอร์ดที่ใช้ชิป P67 ก็จะแสดงให้เห็นชัดเจนครับว่าชิปเซ็ต P67 นั้นจะมีหน้าที่เพียงแค่ควบคุมการทำงานของระบบบัสสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆเช่นฮาร์ดไดร์ฟและ PCI E ในส่วนที่เป็น expansion slot จริงๆ ที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นเมมโมรี หรือ PCIE 2.0 สำหรับกราฟฟิคการ์ด ตัวซีพียูก็จะเป็นตัวจัดการเองทั้งหมด
…และสำหรับการใช้งานกราฟฟิคแบบ Integrated Intel HD Graphics ใน Sandy Bridge นั้น อินเทลก็ยังคงให้ใช้ชื่อรหัส “H” สำหรับชิปเซ็ตที่จะนำมาทำงานร่วมกับกราฟฟิคแบบอินติเกรตในตัวซีพียู แทนที่จะเป็น P67 แบบในภาพกล่าวคือบอร์ด H67 นั้นก็จะมีพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อจอ อย่าง VGA หรือ Digital HDMI / DVI มาให้ในตัวเมนบอร์ดด้วยเลยนั้นเองครับ
Intel Ring Bus
การเปลี่ยนแปลงจุดหนึ่งของ Sandy Bridge นั้นก็คือ การที่ Sandy Bridge นั้่นมีการรวมเอาตัวประมวลผลกราฟฟิค เข้ามารวมในชุด DIE เดียวกันของตัวซีพียู ดังนั้น และโครงสร้างของ Memory Controller แบบใหม่ รวมไปถึง Level 3 cache ที่ทำงานโดยขึ้นตรงกับตัวซีพียู จึงทำให้ใน Sandy Bridge นั้น จะไม่มี Uncore Clock อีกต่อไป L3 cache นั้นจะทำงานโดยขึ้นกับซีพียูทั้ง 4 คอร์โดยตรง และตรงนี้จะสังเกตจากรูปได้ว่า Ring bus นั้นก็คือ การเชื่อมต่อความเร็วสูงภายในตัว Core DIE ที่จะเชื่อมเอา LLC (Last Cache Level) เข้ากับองค์ประกอบทั้งหมดของระบบอย่างเป็นเอกภาพกลมกลืน ตั้งแต่ซีพียูทั้งสี่คอร์ กราฟฟิค และชุดควบคุมระบบ (บัสความเร็วสูงภายนอกซีพียู เช่น PCIE)
นั้นหมายถึง LLC ในตัวชิปชุดนี้นั้น จะทำงานด้วยความเร็ว(ความถี่) เท่าเทียมกับตัว CPU Core ทำให้ความเร็วในการทำงานและเข้าถึงข้อมูลนั้นเร็วกว่าการเชื่อมต่อ L3 Cache ในสถาปัตยกรรม Nehalem แบบเดิม ซึ่งจำเป็นต้องใช้กลุ่มของสายตัวนำขนาดเล็กๆในแกนกลางมากมายเพื่อเชื่อมต่อ LLC กล่าวคือ องค์ประกอบทั้งหลาย บน DIE ชุดนี้ ไล่ตั้งแต่ CPU Core ทั้งสี่แกน ตัวประมวลผลกราฟฟิค และส่วนเชื่อมต่อบัสความเร็วสูงอื่นๆ (ชิป North-Bridge เก่าที่ถูกรวมไว้ในตัวซีพียู) จะสามารถเข้ามาดึงข้อมูลไปจาก Level 3 Cache ได้อย่างรวดเร็ว โดยตรงนี้ ทางอินเทลได้ระบุไว้ว่า Ring Bus นั้นจะเลือกเอา path ที่สั้นที่สุดในการติดต่อหาข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเราก็ต้องมาดูจากผลการทดสอบกันครับว่าการปรับปรุงทั้งหลายทั้งปวงนี้ จะทำให้มีผลต่อประสิทธิภาพมากเพียงใด
โดยใน Sandy Bridge นี้ ตัวซีพียู นั้นจะมีการฝังรวมเอา Memory Controller ชนิด Dual Channel DDR3-1333MHZ เช่นเดิมครับ
เราได้เห็นพัฒนาการของเทคโนโลยี “Turbo boost” ตั้งแต่ครั้งที่ Core i7 ซีรียส์ 9 ในซอกเก็ต 1366 เปิดตัวมา ครั้งนั้นผมจำได้ว่ามันเป็นอะไรที่ธรรมดาๆมากครับ แค่เวลาที่มีโหลดไม่ครบจำนวนหัวซีพียู ตัวคูณจะปรับเพิ่มขึ้นให้แค่ 1x และผมก็ได้เห็นพัฒนาการอีกในซีพียู Core i5 ทั้งตัว 1156 และเวอร์ชั่นโมบาย ที่เพิ่มความเร็ว Turbo ให้สูงขึ้นจนน่าตกใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเพิ่มความเร็วซีพียูใน Core i รุ่นก่อนหน้านี้นั้น จะเป็นการเพิ่มความเร็วที่อิงมาจากค่า TDP (Thermal Design Power)
แต่ใน Sandy Bridge นั้น การเพิ่มความเร็ว Turbo boost นั้นจะสามารถทำการเพิ่มความเร็วได้ถึง 4 เสต็ป (ซึ่งก็ดูเหมือนไม่มีอะไรแปลกใหม่) หากสงสัยว่า 4 step เป็นอย่างไร ก็ลองสังเกตดูที่รูปด้านบนเอาครับ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น การเพิ่มความเร็วซีพียูจาก Turbo boost นั้นจะไม่ใช่การอิงจากความสามารถจาก TDP อีกต่อไป แต่จะเป็นการอิงจากความ อุณหภูมิ แทน กล่าวคือ หากอากาศเย็นๆ ระบบระบายความร้อนดีดี ซีพียู Sandy Bridge ก็อาจจะสามารถทำงานได้ที่ความเร็วที่สูงกว่าค่า TDP ที่โรงงานกำหนดมาให้ได้นั้นเอง ซึ่งข้อมูลตรงนี้ ก็กำลังรอการพิสูจน์ จากบททดสอบกันต่อไปครับ
ในด้านของความสามารถของ Intel HD Graphics ภายในตัวซีพียูนั้น ก็ได้มีการปรับปรุงความสามารถเพิ่มขึ้นในหลายๆด้าน ตั้งแต่การรองรับ DIrect X 10.1 , SM4.1 รวมไปถึงความสามารถในการปรับความเร็ว (Dynamic Frequency Scaling) และที่สำคัญคือเทคโนโลยี Turbo boost นั้น ได้ถูกนำมาประยุคใช้ กับตัว Intel HD Graphics ภายในซีพียูตัวนี้แล้วด้วยครับ โดยตัว Intel HD Graphics จะมี 2รุ่นคือ Intel HD Graphics 2000 สำหรับซีพียูรุ่นที่ใช้รหัสลงท้ายว่า S ,T และรุ่นที่ไม่มีรหัสตัวอักษรต่อท้าย และ Intel HD Graphics 3000 สำหรับซีพียูรุ่นที่ใช้รหัสลงท้ายว่า K ซึ่งถือเป็นรุ่นสูงสุดของซีพียูซีรีย์นี้ครับ
.
CPU Package and Bundle
หน้าตากล่อง Retail Box ของ Core i7 และ Core i5 ที่ทางอินเทลให้มาด้วยกับชุด KIT เพื่อมาพับให้ชมหน้าตากล่องแบบเต็มๆ
ทั้ง Core i7 2600K และ Core i5 2500k จะแถมพัดลมระบายความร้อนหน้าตาคุ้นเคยมาให้ด้วยครับ
ด้านล่างฐานแกนทองแดงพร้อม Thermal Pad มาด้วยครับ ส่วนการติดตั้งก็แสนง่ายกันเช่นเคยครับ
หน้าตาชัดๆของ Core i7 2600K ตัว Engineering Sample
ตามด้วยหน้าตาชัดๆของ Core i5 2500K ตัว Engineer Sample
ซึ่งด้านหลังของซีพียูทั้งสองรุ่นนี้จะเหมือนกันดังรูปเลยครับ
CPU Comparison
…เปรียบ เทียบขนาดกันจะๆกับ ซีพียูที่ใช้ LGA1156 รุ่นก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่าขนาดมิติต่างๆจะเท่ากัน ต่างกันที่ตำแหน่งเขี้ยวล็อคซีพียูเพียงเท่านั้น
…พลิก ชมด้านหลังกันบ้าง จะเห็นได้ว่า Core i7 2600K และ Core i5 2500K ที่เราได้รับมาคู่กันเพื่อทำการทดสอบในคราวนี้ จะมีตำแหน่งชิปต่างๆเหมือนกันทั้งหมดครับ แต่เมื่อเทียบกับ LGA1156 ก็จะเห็นว่าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเช่นกันครับ
หน้าตากล่องของซิงค์สำหรับซีพียูในตระกูล K Series ที่คาดว่าน่าจะเป็นการขายแยกต่างหากออกจากตัวซีพียูครับ
ตัวซิงค์ก็หน้าตาสวยงามกันตามภาพเลยครับ
หมุนให้ชมอีกสักมุมมอง
ด้านหลังก็เรียบสวยงามดีครับ
จับวางนอนอีกสักรูป
…ปรับรอบพัดลมได้ด้วยครับว่าจะเอาเป็น Q (Quiet) สำหรับเพื่อความเงียบ หรือ P (Performance) เพื่อประสิทธิภาพในการระบายความร้อนที่สูงขึ้น
…โดยซิงค์นี้จะใส่ได้ทั้ง LGA1155 และรุ่นเก่า LGA1156 เพราะว่าขนาดและระยะห่างระหว่างรูร้อยบนมาเธอร์บอร์ดของสองแพลตฟอร์มนี้จะเท่ากันเลยครับ
Intel DH67BL (Bearup Lake) Mother Board Appearance
…ตามด้วยมาชมหน้าตามาเธอร์บอร์ดที่ทางอินเทลส่งมาให้ร่วมรีวิวในครั้งนี้กันต่อนะครับ โดยเริ่มจากบอร์ดที่ใช้ชิป H67 กันก่อนนะครับ ซึ่งนั่นก็คือบอร์ดที่มีชื่อรุ่นว่า Intel DH67BL
มาเธอร์บอร์ดตัวนี้มาในรูปแบบ mATX ครับ
หน้าตาด้านหลังมาเธอร์บอร์ดรุ่นนี้ครับ
ลักษณะกายภาพโดยรอบบริเวณซอคเกตซีพียูครับ
หน่วยความจำจะเป็นแบบ DDR3 Dual Channel ใส่ได้สูงสุดที่ 4แถวครับ
ช่อง SATA ที่จะมีทั้ง SATA2 (สีดำ) SATA3 (สีฟ้า) และ eSATA ให้เลือกใช้งานครับ
PCI-e X16 1ช่อง PCI-e X1 2ช่อง และสุดท้าย PCI 32BIT อีก 1ช่องทาง ครบทุกความต้องการใช้งานครับ
พอร์ดด้านหลังบอร์ดมากันอย่างครบครัน ไม่เว้นแม้แต่ USB 3.0 และ HDMI
อุปกรณ์ที่แถมมากับบอร์ดรุ่นนี้ครับ
Intel DP67BG (Burrage) Motherboard
ตามมาด้วยบอร์ดที่ใช้ชิป P67 จากอินเทลกันต่อนะครับ ที่มากันในชื่อรุ่น Intel DP67BG
หน้าตาตัวมาเธอร์บอร์ด คมเข้มไม่ธรรมดาจริงๆครับ
หน้าตาด้านหลังมาเธอร์บอร์ดรุ่นนี้ครับ
ลักษณะกายภาพโดยรอบบริเวณซอคเกตซีพียูครับ
หน่วยความจำจะเป็นแบบ DDR3 Dual Channel ใส่ได้สูงสุดที่ 4แถวครับ
PCI-e X16 2ช่องทาง SLI/CrossfireX Supported แบบ X8+X8 PCI-e X1 3ช่องทาง และสุดท้าย PCI 32BIT 2ช่องทางครับ
สวิทซ์ Power และ Rerset มีบนตัวบอร์ดพร้อมครับ
หน้าตาซิงค์ของชิป P67 ครับ
ลวดลายหัวกระโหลกเรืองแสงเวลาใช้งาน เอกสิทธิ์เฉพาะของบอร์ดอินเทลรุ่นแรงๆครับ
SATA2 4ช่อง และ SATA3 2ช่อง ให้เลือกใช้รวม 6ช่องทางครับ
พอร์ตเชื่อมต่อด้านหลังครบครันทุกความต้องการครับ
อุปกรณ์ที่แถมมากับบอร์ดรุ่นนี้ครับ
The Testing Configuration
.SYSTEM 1 |
|
.CPU | ..Intel® Sandy Bridge Core™ i7 2600K…………………… |
.Motherboard | ..Intel DP67BG (Burrage) |
.Memory | ..GSkill 2GB x 2 |
.Graphic Card |
..HIS HD5870 |
.Harddisk | ..WD 500 GB |
.CPU Cooler | ..Stock Heatsink and |
.Power Supply | ..SilverStone Strider 1000W |
.Operation System |
..Windows 7 Ultimate 32 bit |
.
.
วางเซ็ตกันง่ายๆบนเทสเบสครับ
.
.SYSTEM 2 |
|
.CPU | ..Intel® Sandy Bridge Core™ i5 2500K…………………… |
.Motherboard | ..Intel DH67BL (Bearup Lake) |
.Memory | ..Geil EVO II |
.Graphic Card |
..Onboard |
.Harddisk | ..WD 640 GB |
.CPU Cooler | ..Stock Heatsink and |
.Power Supply | ..Corsair TX850 850W |
.Operation System |
..Windows 7 Ultimate 32 bit |
.
System for Compare
.SYSTEM Intel |
|
.CPU | ..Intel® Core™ i5 750
..Intel® Core™ i5 655K ..Intel® Core™ i7 875K………………………. |
.Motherboard | ..EVGA P55 FTW ..MSI P55 GD80 |
.Memory | ..GSkill Trident 2GB x 2 |
.Graphic Card |
..Power Color HD5870 |
.Harddisk | ..WD 500 GB |
.CPU Cooler | ..Stock Heatsink and |
.Power Supply | ..SilverStone Strider 1000W |
.Operation System |
..Windows 7 Ultimate 32 bit |
.
.SYSTEM AMD |
|
.CPU………….. ………… | ..AMD Phenom II X6 1100T…………..………….. ……. |
.Motherboard | ..Gigabyte GA890 FXA-UD5 |
.Memory | ..Geil EVO II |
.Graphic Card |
..Power Color HD5870 |
.Harddisk | ..WD 640 GB |
.CPU Cooler | ..Stock Heatsink and |
.Power Supply | ..Corsair TX850 850W |
.Operation System |
..Windows 7 Ultimate 32 bit |
.
SuperPI and PCMark Benchmark
.
สำหรับ SuperPI นั้น ทั้ง 2600K และ 2500K นั้น สามารถทำเวลาได้ต่ำกว่ารุ่นพี่ทั้งหมด รวมทั้ง CPU จากอีกค่ายด้วย
.
PCMark Benchmark Series
.
แรงโด่งกันไปเลยครับสำหรับ โปรแกรม Benchmark ที่ทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมของ System อย่าง PCMark Suite สอง Version นี้
.
AIDA 64 Benchmark 1/2
.
.
.
สำหรับผลเทส Memory Latency นั้น ขณะทำการทดสอบ โปรแกรม AIDA 64 ยังไม่สามารถวัดประสิทธิภาพมันได้ครับ
.
.
.
.
AIDA 64 Benchmark 2/2
.
.
.
.
.
.
ไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆครับ CPU generation ใหม่นั้นแรงกว่าในทุกการทดสอบ
.
.
CineBench and General Benchmark
.
สำหรับ Program Render Benchmark อย่าง Cinebench ทั้งสอง Version เจ้า 2600K และ 2500K สามารถทำผลงานได้ดีแม้ว่าจะเป็นการเทสด้วย Default Speed
.
แรงข้ามหน้าข้ามตารุ่นพี่กันไปเลยครับสำหรับ WinRAR
.
.
.
สำหรับผลของการแปลงหนังจาก DVD 1 แผ่นเป็นไฟล์ MP4 สำหรับ Ipod/Iphone ก็จะสามารถเห็นได้ว่า 2600K และ 2500K สามารถแปลงได้เร็วกว่า CPU รุ่นก่อนจากค่ายเดียวกันเป็นนาทีเลยครับ
.
3DMark Benchmark
.
.
แรงสุดๆกันไปครับสำหรับ Core i7 2600K และ Core i5 2500K สามารถทะลุข้อจำกัดของ CPU เมื่อใช้งานกับ Game Benchmark อย่าง 06 กันไปอย่างสวยงามครับ
.
.
CPU Overclocking Ability
เรามาดูความสามารถในการ Overclock ของเจ้า Core i7 2600K และ Core I5 2500K ในรูปแบบที่ไม่ได้ทำการปิดหัวหรือ HyperThread ของมันกันดูครับว่าจะสามารถไปได้มากที่สุดเท่าไหร่ด้วยการระบายความร้อนด้วยน้ำ (ความสามารถสูงสูด ณ วันที่ทำการเทสเท่านั้น)
.
Core i7 2600K Maximum Overclocking
.
.
สำหรับ 2600K นั้น ผมสามารถพาไปได้สุดที่ 103 x 49 = 4,913 MHz ผ่านความเสถียรขั้นสุดของเราครับ
.
Core i5 2500K Maximum Overclocking
.
.
สำหรับเจ้า 2500K นั้น คุณหนุ่ม idirex2000 สามารถพาไปเสถียรสูงสุดที่ BCLK 100 x 47 = 4,700 MHz โดยที่แน่นอนครับว่าต้องเสถียรขั้นสูงสุดตามมาตรฐาน Vmodtech.com เช่นกัน ด้วย Linx default 20 Loops all mem ครับ สุดๆกันไป
.
.
Intel HD 3000 Graphic Performance
.
มาพูดกันถึงเรื่องของ Graphic Card onboard (in cpu) กันบ้างครับ จากที่เราพอจะทราบรายละเอียดกันไปแล้วว่าทาง Intel ได้ทำการผนวกเอา Intel HD3000 Graphic เข้าไว้ใน CPU Core i5 2500K ด้วย ดังนั้นผมจะเอามาลองทดสอบกับโปรแกรม 3DMark ให้ดูกันซักนิด โดยที่จะเอาผลเปรียบเทียบกับ Graphic (HD4290) บน AMD Phenom II X6 1100T มาเพื่อทำการเปรียบเทียบครับ
.
3DMark 06
.
ดูเหมือนว่าพลังของ HD3000 นี่จะกิน HD4290 อยู่พอสมควรนะครับ
.
3DMark Vantage
.
.
อาจจะดูงงนิดหน่อยนะครับ แต่ผมเจตนาให้เห็นว่าพลัง CPU นั้นไม่ต่างกันพอที่จะเรียกว่าต่าง แต่ว่าให้ดูตรงสีแดงกับสีเขียว จะเห็นได้ว่าค่อนข้างห่างกันพอสมควรครับสำหรับ Benchmark DX10 อย่าง Vantage
.
.
Power Consumption
มาดูอัตราการใช้พลังงานที่อ่านได้จากวัตต์ มิเตอร์กันนะครับ ถือว่าคร่าวๆก็แล้วกัน โดยผมจะมีแถมอัตราการใช้พลังงานจาก AMD Phenom II X6 1100T ให้อีกตัวนึงเพื่อเปรียบเทียบข้ามแบรนด์
Intel Core i5 2500K
…………………………..Idle………………………………………………………………………….. Full Load
.
Intel Core i7 2600K
……………………………Idle………………………………………………………………………….. Full Load
.
AMD Phenom II X6
……………………………Idle………………………………………………………………………….. Full Load
.
ดูเหมือนว่าแรงกว่าก็ย่อมต้องบริโภคพลังงานมากกว่าเป็นธรรมดาของโลกครับ
.
Temperatuer
.
.
สุดท้ายมาดูในเรื่องของอุณหภูมิกันบ้างครับ สำหรับทั้ง Core i5 2500K และ Core i7 2600K ที่ได้ใช้ Intel Heatsink นั้น ก็สามารถทำผลงานด้านตัวเลขได้อย่างน่าพอใจครับโดยเฉพาะเมื่อจับ XTS100M ใส่บน 2600K ไม่มีปัญหาค้างหรือดับแต่ประการใด แต่กับ Stock Heatsink ของ Intel นั้น ผมมองว่ามันยังไม่สามารถดับความร้อนของ Core i5 2500K ได้ในขณะ Full Load ด้วย Linx ครับ คือจะค้างใน Loop กลางๆที่อุณหภูมิเพียงแค่ 70 ต้นๆเอง ต้องทิ้งไว้ซักพักนึงถึงจะเปิดติดและกลับมาทำงานได้อย่างปกติครับ ก็ฝากไว้เป็นการบ้านด้วย
.
Conclusion
…ก็เดินทางมาถึงบทสรุปกันแล้วนะครับสำหรับ CPU Generation ใหม่จากค่าย Intel บน Socket 1155 หลังจากที่ได้ทำการทดสอบและเล่นมันอย่างคร่าวๆ อยากบอกว่า มันเล่นง่ายมากครับ เรียกว่า Overclocker มือใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายๆเลย เพราะว่ามันปรับได้แค่ตัวคูณครับ ปรับตัวคูณ ปรับไฟแค่สองสามค่าก็สามารถพามันไปวิ่งที่ 4.9 กิ๊ก บน Core i7 2600K และ 4.7 กิ๊ก บน Core i5 2500K บนบอร์ดเกือบทุกตัวที่ได้ทำการทดสอบในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน สำหรับ Overclocker มือเก๋า อาจจะมองว่ามันไม่น่าเล่นเท่าไหร่นักเนื่องจากว่ามันปรับจูนได้น้อยมาก ผมอยากจะคาดหวังเหมือนกันครับว่าอีกซักพัก ผู้ผลิต Motherboard ค่ายต่างๆน่าจะปรับแต่ง Bios เพื่อให้มันสามารถรีดเค้นความสามารถของ CPU ออกมาได้มากกว่านี้อย่างแน่นอน
.
จุดนึงที่คงจะมองข้ามไม่ได้คือเรื่องของการใช้พลังงาน ซึ่งเท่าที่ได้ลองใช้ Watt Meter เช็คกำลังไฟที่ใช้งานนั้น พบว่ามันไม่ได้มากมายประการใด ซึ่งถ้าจะมองเทียบกับ CPU จากค่ายคู่แข่งนั้น อาจจะดูว่ามันกินไฟมากกว่า อยากจะบอกว่า กินมากกว่าก็แรงมากกว่าครับ เป็นเรื่องปกติของมันอยู่แล้ว
.
มามองในแง่ของ Heatsink กันบ้างครับ สำหรับเจ้า XTS100M นั้น สามารถทำผลงานได้ดีครับ สามารถพาเจ้า Core i7 2600K ไปได้โดยที่ไม่มีปัญหาเรื่องความร้อนเลย แต่ Heatsink ธรรมดาที่แถมมาให้ในกล่องนั้น อาจจะดูว่าอ่อนด้อยไปซักนิด เนื่องจากผมพบว่า มันไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีนักเมื่อทำการเทสหนักๆยาวๆในเคส ไม่ว่าจะเป็น Linx หรือว่า SuperPI แต่ถ้ามีการเอาพัดลมเป่าเพิ่มเติมก็พอจะประคองไปได้บ้าง เอาเป็นว่าหากจะต้องเลือก Heatsink นั้น อยากให้มองไปที่ XTS100M เป็นอย่างต่ำสำหรับผู้ที่จะนำชุดนี้ไปใส่เคสครับ
.
ย่อหน้าสุดท้ายคงต้องบอกว่า อาจจะไม่คุ้มค่าการรอคอยนักสำหรับขา Overclock ที่ต้องการ เล่น กับ CPU ใน Platform ใหม่อย่าง 1155 ซักเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเป็นมือใหม่ที่อยากเล่นกับการอัดบ้างน่าจะเข้าทางครับ แรมก็ไม่ต้องใช้ที่แรงและแพงหลุดโลกมากเพราะว่ามันไม่สามารถวิ่งไปได้ไกลเหมือนกับ 1156 แถมวิ่งด้วย CL ต่ำๆ แน่นๆ ก็ไม่ได้แรงกว่าวิ่งหลวมๆ สบายๆ มากเท่าไหร่ด้วย ความเห็นของผมผู้เขียน (tpp) มันแรงดีครับน่าจับจองเป็นเจ้าของ หวังว่าคงจะพอเป็นแนวทางได้นะครับ
.
ผิดพลาดประการใดขออภัย…
ทีมงาน Vmodtech.com
.
.
ขอขอบคุณ