บททดสอบของThermalright SI-97
Share | Tweet |
สวัสดีครับชาวVmodtechครับ ผมหวังว่ายังคงมีหลายๆท่านยังได้ใช้พลังร้อนแรงจาก Socket A กันอยู่นะครับ วันวันนี้ผมจะมา ทดสอบ Heatsink Thermalright SI-97 ให้ชมกันครับ โดนจุดสนใจของเจ้าซิงค์ตัวนี้คือมี Heatpipes มาช่วยระบายความร้อนอยู่ถึง 4 ท่อครับ มาเริ่มชมกันเลยดีกว่าครับ อุอุ
กล่องด้านหน้าครับ
ด้านข้างครับ จำรหัสรุ่นไว้ดีๆนะครับ
อุปกรณ์ที่มีอยู่ในกล่องมากันครบจริงๆ
พลิกไป
แล้วก็พลิกมา
พัดลมที่จะนำมาใช้ในการทำสอบ
หลังจากการรวมร่างกันเส็จรเรียบร้อยแล้ว อิอิ
สักษณะโดยทั้วไปของ Thermalright SI-97 จะมีดังนี้ครับ
1. มี HeatPipes ใช้ช่วยในการระบายความร้อนอยู่ 4 ท่อ
2. ใช้ครีบอลูมิเนียมในการระบายความร้อน (โดยจะมีHeatPipesเป็นตัวแผ่ความร้อนมาให้ครีบ) 3. ตัวฐานทีสำผัสกับ CPU ทำมาจากทองแดง
4. HeatPipe , ครีบ และฐานสัมผัส เคลือบภายนอกด้วยนิกเกิล
5. สัดส่วน 116×96x75 มม. ( ก.x ย.x ส. ) [ ไม่ใช่สัดส่วนนางสาวไทยนะครับ อิอิ ]
6. น้ำหนัก 280 กรัม (ไม่รวมพัดลม)
7. ใช้สำหรับ Socket A ( AMD Athlon XP Core Palamino, Thoroughbred, และ Barton 2800+ ขึ้นไป )
เราไปดูการทดสอบกัน ที่หน้าถัดไปดีกว่าครับ
หน้าตาของ Systems ที่จะใช้ในการทดสอบในวันนี้ หุหุ พัดลมไฟสวยจัง อิอิ
Manboard : ABIT NF7-s Rev.2
CPU : AMD Athlon XP (Barton) 2500+@3200+
VGA : Suma FX5200
RAM : Corsair TwinX 512 3200C2 (TCCD) + TCCC 512 DDR 400
PSU : PowTec 320 w.
หน้าตาของผู้เข้าแข่งขันในวันนี้
ผมขอแนะนำผู้เข้าแข่งกันในครั้งนี้กันก่อน เรียงจากซ้ายไปขวา
1. Heatsink Form AMD Original BOX ( OEM From Cooler master )
2. Thermalright SLK 700 + TMD FAN ( อีกตัวที่เคยยอดนิยม เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา )
3. Thermalright SI-97 + Thermaltake Tunderblade LED FAN 90 mm ( พระเอกของเราในวันนี้ แต่พัดลมไฟสวยจริงๆ อิอิ )
4. ALPHA 6035 pal + MNB FAN 0.26a. ( ตัวนี้ก็เคยเป็นอีกตัวที่เคยนิยมกันมากๆ เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว หุหุ แถมยังมีบางร้านเคยนำซิงค์ตัวที่มีเป็นคู่เปรียบเทียบด้วย )
ตามกันมาชมผลการทดสอบกันที่หน้าถัดไปดีกว่าครับ
รูปแบบที่จะใช้ในการทดสอบในครั้งนี้
อุณหภูมิของบริเวณที่ทดสอบ ขณะการทดสอบ
คงมาดูเปรียบเทียบกันที่การฟกันดีกว่า ว่าผลที่ออกมาเป็นเช่นใด โดนขั้นตอนในการเก็บอุณหภูมิ จะเริ่มการรัน 3Dmark01se 10 รอบ ต่อด้วย Prime95 อีก 10 นาที แล้วถึงทำการบันทึกอุณหภูมิ
ก็คงเห็นประสิทธิภาพของ SI-97 กันแล้ว
ในที่สุดก็เสร็จการทดสอบเจ้า SI-97 ซะที หลังจากได้ทดลองใช้ และ ได้ลูบคลำเจ้า SI-97 อยู่ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ก็ได้เกิดความประทับใจอย่างมาก เนื่องจากทำอุณหภูมิได้ดีกว่าเจ้า SLK700 อย่างเป็นที่พอใจมาก ผลสรุปก็ออกมาอย่างเป็นที่น่าพอใจมากๆ คือเจ้า SI-97 ดับความร้อนได้ต่างจาก ซิงค์ที่มากับ CPU ได้อย่างน่าตกใจอย่างมาก เมื่อเจอไฟสูงๆ เจ้า SI-97 ยิ่งสร้างความแตกต่างกันได้ชัดเจน ยังไงก็ลองนำผลทดสอบนี้ไป พิจารณากับ CPU ของท่านว่า เจ้า SI-97 จำเป็นต่อ CPU ที่ท่านรักเพียงใด
วันนี้ผมนาย kirk ขอลาชาว VmodTech ไว้นะที่นี้ หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย เนื่องจากเป็นบทความแรกในชีวิตของผมครับ
ขอเชิญเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ร่วมวิจารณ์บทความนี้โดย คลิกที่นี่