Thermalright Spitfire & HR03GT + GTX470 !!!
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้ผม Cybernetic จะพาท่านไปชมซิงค์ระดับเทพ Thermalright สองรุ่นด้วยกันคือ Spitfire และ HR03GT ครับ ใช่แล้วครับผมและท่าน dazeb เคยทดสอบกันไปแล้ว แต่ไม่ใช่กับ GTX470 ตัวร้อนแรงแน่นอนครับ แต่ลำพังสองรุ่นดังกล่าวนั้นไม่มีชุดล็อคของ GF100 มาให้นั่นเองครับ ดังนั้นเราต้องซื้อแยกเอาเอง สนนราคาถ้าเข้ามาเมืองไทยผมว่าน่าจะอยู่ราว ๆ 300 บาทเท่านั้น ใครที่มีซิงค์สองรุ่นนี้ก็อย่าเพิ่งขายรับประทานไปซะก่อนแล้วกันครับถ้าท่านมีโครงการจะซื้อ GTX470/480 อ้อ HR03GTX ก็ใช้ได้นะครับ
เอาล่ะครับ ผมขออนุญาตไม่ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับฮีตซิงค์สองรุ่นนี้ เนื่องจากเคยได้ทดสอบไปแล้วนะครับ หากท่านใดต้องการทราบรายละเอียด Spitfire ก็สามารถดูได้จากบทความของท่าน dazeb ได้เลยครับ
สำหรับการทดสอบ เนื่องจากขาล็อค GF100 นั้น มันสามารถใช้ได้กับซิงค์ทั้งสามรุ่นดังกล่าว ผมเลยจัดให้ดูเลยทั้งหมดเลยนะครับ คือ HR03GT (และ HR03GTX ครับ เหมือนกันเป๊ะ ๆ ขอนับรวมเลยแล้วกัน) และ Spitfire ทดสอบในห้องปรับอากาศ ปรับอุณหภูมิห้องสบาย ๆ อยู่ที่ประมาณ 25 องศาครับ พัดลมที่ใช้กับ Spitfire จะเป็นพัดลมขนาด 140 มม. ของ Thermalright 900 รอบ/นาทีโดยประมาณ ส่วนพัดลมที่ใช้กับ HR03GT นั้นจะใช้ของยี่ห้อ Thermaltake Silentcat 90 มม. 2500 รอบ/นาทีโดยประมาณ และมีของแถมให้ด้วยครับ โดยผมทดลองเทสต์ในเคสผม ในห้องไม่เปิดแอร์ให้ชมกันเป็นน้ำจิ้มด้วย ส่วนซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการ Burn คือ KOMBUSTER ซอฟแวร์ที่มากับ MSI Afterburner นั่นเองครับ โดยทำการ Burn เป็นเวลา 10 นาทีด้วยกัน สำหรับระบบที่ใช้ในการทดสอบมีดังนี้
MOTHERBOARD : ASUS P5K-WiFi
CPU : INTEL CORE 2 DUO E8400
MEMORY : G-SKILL 2GBHZ
GRAPHIC CARD : NVIDIA GTX470 REFERENCE
OS : WINDOWS 7 ULTIMATE
FORCEWARE : 197.41 WHQL
SOFTWARE : MSI AFTERBURNER, KOMBUSTER 1.6.0 FINAL
เอาล่ะครับ มาชมบรรยากาศการเทสต์กันเล็กน้อยแล้วไปชมกันยาว ๆ หน้าถัดไปเลยดีกว่าครับ
สังเกตุขนาดของ Spitfire ครับ ใหญ่โตอลังการมาก ๆ ใครจะซื้อมาใส่ก็ดูทิศทางในเคสดี ๆ แล้วกันครับ
มาดู HR03GT ตัวเก่าของผมบ้างครับ ใช้มาตั้งแต่ 8800GTS แล้วรวมทั้งพัดลมด้วย ยังเก๋าอยู่ครับอิอิ
สำหรับหน้านี้เป็นการทดสอบระหว่างซิงค์เดิม เทียบกับ HR03GT ครับ ลืมบอกไปครับว่าซิลิโคนที่ใช้นั้นเป็นของ Arctic Cooling MX-3 สำหรับในหน้านี้นั้น ผมเทสต์ในเคสเลยนะครับ ถือว่าเป็นของแถมแล้วกัน โดยในหน้านี้ผมเทสในห้องธรรมดาไม่ปรับอากาศ อุณภูมิห้องอยู่ที่ราว 32 องศาครับ
นี่คือซิงค์เดิมนะครับ ผมลากรอบพัดลมไป 100% สูงสุดอยู่ที่ 91 องศาครับ ร้อนเอาเรื่องทีเดียว
อันนี้ HR03GT ครับ สูงสุดอยู่ที่ 77 องศา เย็นลงมากทีเดียว ผมถือว่าอุณหภูมิระดับนี้กับ GF100 สามารถเรียกว่า “เย็น” ได้ครับ
เอาล่ะครับ มาถึงการทดสอบของซิงค์มหาเทพ SPITFIRE หน้าถัดไปเลยครับ ผมบอกได้คำเดียวเลยว่าหากท่านหาซิงค์ดับร้อนให้ GTX470/480 แล้วล่ะก็ ท่านมาถูกทางแล้วครับ
สำหรับในหน้านี้นั้น จะเป็นผลเทสต์ของซิงค์มหาเทพ Spitfire นะครับ เรามาเริ่มกันด้วยอุณหภูมิขณะการ์ดไม่มี load ครับ (idle)
พระเจ้าช่วยกล้วยแขกทอด !!! 30 องศาเท่านั้นครับ ผมเทสต์เองยังงงเลยครับว่าทำไมเย็นขนาดนี้ คงเป็นเพราะว่าซิงค์และพัดลมขนาดใหญ่ควายนั่นเองครับ แต่เสียงพัดลมไม่ดังนะครับเพราะว่ารอบต่ำ มาดูตอน Full Load กันต่อดีกว่าครับ
พระเจ้าช่วยกล้วยแขกทอดอีกรอบครับ Full Load 51 องศาเท่านั้นครับ !!! มีดีดไป 52 ชั่วขณะเดียวเท่านั้นครับ นี่ผมเทสซิงค์ลมหรือชุดน้ำครับเนี่ย ไปดูแบบอัด VGPU ดีกว่าครับ
ไม่น่าเชื่อครับ แทบไม่แตกต่างกันเลย นิ่ง ๆ อยู่ที่ 53 องศาเท่านั้นครับ ! ยังไม่จบครับ หน้าถัดไปยังมีแถมให้อีกดอกครับ ไปชมกันเลย
มาเลยครับ หน้านี้กลับมาที่ HR03GT อีกรอบ โดยเพิ่มไฟไปที่ 1000 mv. เหมือนในหน้าที่แล้วครับ
อิอิกำ โดนโค่นบัลลังก์ซะแล้วครับสำหรับ HR03GT ผม สูงสุดดีดไปที่ 60 องศา สูงกว่า SPITFIRE ถึง 7 องศาครับ แต่ระดับ 60 องศากับการ์ดรุ่นนี้ผมถือว่าทำได้เยี่ยมแล้วครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เย็นสะใจกันบ้างหรือเปล่าเมื่อนำ GTX470 ตัวร้อนแรงมาประกบกับซิงค์ VGA ตัวล่าสุดอย่าง Thermalright Spitfire หรือว่าจะเป็นเก่าแต่เก๋า HR03GT มันก็ยังสามารถนำพาความร้อนออกจากชิบ GF100 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงนี้ท่านจะเห็นได้ว่าฮีตซิงค์ระดับนี้ ไม่ว่าท่านจะนำไปประกบคู่กับกราฟฟิคการ์ดตัวไหน มันก็ยังคงทำหน้าที่ของมันได้อย่างดีเยี่ยม ขออย่างเดียวก็พอครับให้มีขาล็อคของกราฟฟิคการ์ดรุ่นนั้น ๆ ก็พอแล้ว นอกนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Thermalright ครับอิอิ
ไม่ต้องกลัวนะครับว่าหากท่านนำซิงค์สองตัวนี้ไปเล่นในเคสแล้วมันจะไม่เย็นเทพเหมือนที่ผมเทสต์ ผมบอกได้เลยว่ามันจะเย็นกว่าซิงค์เดิมของการ์ดรุ่นนี้ราว ๆ 10 องศาได้ครับ สำหรับ HR03GT ที่ผมใช้อยู่ในเคสทุกวัน เล่นเกมส์ห้องร้อน ๆ กันเป็นชั่วโมง ๆ ก็ไม่เคยแตะ 70 ซะทีครับ (ขึ้นอยู่กับเคสของแต่ละท่านด้วย) ถ้าเป็น Spitfire ล่ะก็จะเย็นลงกว่านี้เยอะ เนื่องจากขนาดของมันและสามารถติดพัดลมขนาด 140 มม. ได้นั่นเองครับ หากใครเคสใหญ่ล่ะก็ Spitfire นี่เหมาะกับการ์ดร้อน ๆ รุ่นนี้มากทีเดียว
ในบทความนี้ผมไม่ได้เทสต์เล่นเกมส์ เนื่องจากช่วงนี้ภารกิจค่อนข้างยุ่งครับ สำหรับวันนี้ผมคงต้องขอลาไปก่อนครับ ท่านใดครอบครอง GTX470/480 อยู่แล้วรำคาญกับเสียงพัดลมที่ต้องลากรอบสูง ๆ เพื่อแลกกับการระบายความร้อนที่ดีกว่าเดิมไม่เท่าไหร่ ผมแนะนำให้ซื้อขาล็อค GF100 พร้อมซิงค์สามรุ่นนี้ดังกล่าวตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ครับ รับรอง เย็น…เงียบ…แร๊งงงงงงง อิอิกำ สวัสดีครับ
สรุปข้อดีและข้อเสียของฮีตซิงค์ทั้งสองรุ่น
ข้อดี
1. ประสิทธิภาพสูงมาก
2. ติดตั้งง่าย
3. ราคาขายต่อแจ่ม อิอิกำ
ข้อเสีย
1. ราคา
2. ตัวซิงค์ค่อนข้างหนัก
3. ขนาดของตัวซิงค์ค่อนข้างใหญ่
Special Thanks
Thermalright
Venom-Crusher
Beerking
เอื้อเฟื้ออุปกรณ์การทดสอบ