Thermalright Venomous X Review
Share | Tweet |
…สวัสดีครับทุกๆท่าน สำหรับวันนี้ก็กลับมาพบกับผม Venom-Crusher กันอีกครั้งนะครับ และในคราวนี้ผมก็จะมารีวิววิวฮีตซิงค์รุ่นใหม่ล่าสุดที่พึ่งเข้ามาวางจำหน่ายในบ้านเราอย่าง Thermalright Venomous X (เทอร์มอลไรท์ เวนอมเมิส เอกซ์) ให้ได้ชมกัน ซึ่งฮีตซิงค์รุ่นนี้กำลังเป็นที่กล่าวขานกันในวงการ Air Cooling ที่ต่างประเทศว่าสามารถทำผลงานได้เย็นที่สุดในขณะนี้ ซึ่งจริงเท็จอย่างไรบทความนี้มีคำตอบให้ทุกท่านอย่างแน่นอนครับ ก่อนอื่นเราไปชมสเป็คต่างๆจากทางผู้ผลิตกันก่อนนะครับ
.
Features
- All new patented multiple support pressure vault bracket system, allow users adding pressure to the bracket system (40~70 lbs.), and have a more efficient and secure mounting.(1366 / 1156 / 775).
- Mirrored copper base increasingly upgrade the quality and the performance of the heatsink.
- Special bent winglet design, allows hot air to pass the heatsink more rapidly.
- Heatsink are all nickel plated to ensure the best quality and performance and could last for years.
- Soldered heatpipes, copper base and fins, to ensure the best thermal conducting efficiency.
- Six sintered heatpipe design, all heatpipes are nickel plated.To slow the oxidation deterioration to the heatpipe, to ensure longer usage and performance of the heatsink for the cpu.
- Including 2 sets of 120 x 25mm fan clips and Chill factor II thermal paste.
- Convex copper base design, to ensure the Highest thermal conducting thermal efficiency between the cpu and the heatsink
Technical Spec
Heatsink Dimension:
Size: Length 127mm x Width 63mm x Height 160mm
Weight: 755 g (excluding fan and bracket system)
Heatpipe: 6mm sintered heatpipe x 6 units
Copper base: C1100 pure nickel plated copper base, with ultra-shine mirrored surface.
More Information >>Click<<
เมื่อดูสเป็คต่างๆกันครบถ้วนแล้ว ต่อไปเราก็ไปชมหน้าตาของฮีตซิงค์งามๆตัวนี้กันต่อเลยนะครับ
.
Package & Bundle
หน้าตากล่องดูหรูหรากว่าเดิมเยอะครับ สำหรับ Thermalright รุ่นนี้
.
…ตัวอักษรชื่อรุ่น พิมพ์ด้วยทองเคสีอมเขียวดูหรูหรา พร้อมบอกด้านล่างเบ็ดเสร็จว่า Supported เฉพาะ Intel Socket 1366/1156/775 เพียงเท่านั้น ซึ่งเหล่าสาวก AMD ก็ไม่ต้องน้อยใจไปนะครับ ทาง Thermalright ยังมีทำขาล็อคสำหรับ Socket AM2-AM3 แยกจำหน่ายกันด้วย ซึ่งถ้าใครสนใจก็ลองติดต่อสอบถามไปทาง JEDI ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยกันดูนะครับ ว่าจะมีนำมาจำหน่ายเพิ่มเติมกันอีกหรือไม่
.
ลวดลายที่ข้างกล่อง น่าจะสื่อถึงลักษณะของฟินระบายความร้อนรูปลักษณ์ใหม่ของซิงค์รุ่นนี้ครับ
.
เปิดกล่องชมด้านในบ้าง ยังคงหรูหราด้วยลายโลโก้ของทาง Thermalright ด้านใน
.
ของที่อยู่ในกล่องจะมีเท่าที่เห็นนะครับ เราไปแยกดูทีละกลุ่มกันครับว่ามีอะไรบ้าง
.
ชุดล็อคถูกซีลในซองพลาสติกอย่างดี ตามด้วยคู่มือการประกอบ 2แผ่น และสติกเกอร์โลโก้ของ Thermalright กันตามสไตล์
.
…มาค่อยๆชมกันไปนะครับว่าอุปกรณ์ต่างๆมีอะไรที่ให้มาบ้าง ลวดยึดพัดลมแบบใหม่ 4เส้น ตัวประแจขันชุดล็อคซีพียู ซิลิโคน Chill Factor 2 และยางรองพัดลมกันสั่นสะเทือน 4เส้น
.
…ชุดล็อคต่างๆมีกันตามภาพนะครับ ซึ่งการทดสอบนี้จะไม่ใช้อยู่ชิ้นเดียวคือชิ้นกรอบพลาสติกสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดำที่เห็นในภาพ เนื่องจากมันมีไว้หนุนใต้ Socket เวลานำมาใช้งานกับ Socket 775 นั่นเองครับ
.
…มาชมความพิเศษของแผ่นรองใต้ Socket CPU ของซิงค์รุ่นนี้กันครับ ชิ้นเดียวสามารถใช้กับ Socket 1366/1156/775 ที่มีขนาดต่างกันได้เลยครับ ซึ่งจะทำได้อย่างไรเดี๋ยวไปชมกันต่อครับ
.
มันสามารถใช้มือเลื่อนปรับขนาดได้เลยนั่นเองครับ โดยใช้ตุ่มพลาสติกสีดำในภาพ เป็นตัวล็อคขนาดของ Socket ต่างๆ
.
Heatsink Appearance
ต่อด้วยการไปชมชิ้นงานตัวฮีตซิงค์กันเลยนะครับ สวยงาม+เนี้ยบตามสไตล์ Thermalright กันเช่นเคย
.
ตัวฟินรูปแบบใหม่ที่สวยงาม ซึ่งยังคงใช้ระบบบัดกรีเชื่อมติดตายกับตัวท่อฮีตไปป์กันเช่นเดิมครับ
.
ฮีตไปป์จะเป็นแบบข้างละ 6ท่อ รูปแบบการจัดเรียงตัวท่อยังคงใช้รูปแบบเดียวกันกับ Ultra120 Extreme ครับ
.
การวางท่อฮีตไปป์ลักษณะไขว้หลบกัน เพื่อให้ได้รับลมเย็นจากพัดลมโดยทั่วถึง ก็ยังคงถูกนำมาใช้ในฮีตซิงค์รุ่นนี้ครับ
.
ฟินระบายความร้อนแบบบิดด้านหนึ่งขึ้นด้านหนึ่งลงแบบ Ultra120 Extreme ก็ยังคงถูกนำมาใช้กับฮีตซิงค์ตัวนี้เช่นกันครับ
.
ตัวฐานทองแดงชุบนิเกิลเงาวับราวกระจก คือสิ่งที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจุดหนึ่งของฮีตซิงค์รุ่นนี้ครับ
.
ในส่วนของลวดเกี่ยวพัดลมก็ได้รับการพัฒนาให้หลุดยากกว่าเดิมครับ หลุดยากเพราะอะไรไปชมกันต่อครับ
.
…คราวนี้ออกแบบกันใหม่หมดจดครับ โดยเจาะรูยึดกันโดยเฉพาะที่ฟินเลย พอเอาลวดเข้ารูลงไปเกี่ยว ก็กินเข้าไปลึกถึง 5ฟินกันเลยทีเดียว แบบนี้ถ้าจะถอดลวดออกก็ต้องง้างขึ้นกันอย่างเดียวแล้วละครับแบบนี้
.
มาดูขณะใส่พัดลมกันบ้าง คราวนี้แน่นหนาหลุดยากกว่าเดิมเยอะครับ
.
…พัดลมที่มีแกนระหว่างรูร้อยน็อตทั้ง 2ด้าน ก็ยังคงใช้ลวดเกี่ยวรุ่นใหม่นี้ไม่ได้นะครับ แต่พัดลมหนาที่ไม่มีแกนดังกล่าวก็ใส่กันสบายหายห่วงเช่นเคยเหมือนเดิมครับ
.
Installation
…มาชมขั้นตอนการใส่ฮีตซิงค์ตัวนี้กันต่อนะครับ เริ่มกันจากปรับขนาดของ Socket ที่เราจะใช้กับตัวแผ่นรองใต้ Socket ให้พอดี แล้วก็จับประกบเข้ากับใต้เมนบอร์ดกันเลยครับ
.
…พลิกเมนบอร์ดหงายกลับขึ้นมา แล้วก็จับน็อตลักษณะดังรูป หมุนเข้ากับเกลียวน็อตที่โผล่ขึ้นมาจากแผ่นรองใต้ Socket ทั้ง 4ด้านกันตามภาพเลยครับ
.
เมื่อขันเสร็จก็จับเพลทชุบโครเมี่ยมลักษณะตามภาพ สวมร้อยเข้ากับเกลียวน็อตที่โผล่ขึ้นมาเลยครับ
.
ขันน็อตมือหมุนลักษณะตามภาพเข้ากับเกลียวน็อตทั้ง 4ตัวกันต่อเลยครับ ง่ายจริงๆ
.
…เสร็จแล้วเราก็ใส่ตัวล็อคฮีตซิงค์กันตามภาพเลยนะครับ แต่ก่อนอื่นต้องเอาตัวฮีตซิงค์ประกบเข้ากับตัวซีพียูก่อนนะครับ เราถึงจะเอาตัวล็อคฮีตซิงค์ดังกล่าวมาล็อคคร่อมเข้าไปอีกที ซึ่งรูปการสาธิตนี้ผมจะไม่ได้ใส่ตัวฮีตซิงค์นะครับ เนื่องจากว่ามันจะไปบังทำให้ไม่เห็นรูปแบบการล็อคต่างๆที่ชัดเจนนั่นเองครับ
.
…เมื่อขันน็อตที่ตัวล็อคฮีตซิงค์ทั้งสองข้างแล้ว ก็มาขันตัวปรับแรงดันตรงกลางอีกทีนะครับ โดยสามารถปรับแรงดันได้ตั้งแต่ 40~70 lbs. กันเลย ซึ่งในบทความนี้ผมจะขันจนสุดนะครับ ซึ่งก็น่าได้แรงดันสูงสุดกันที่ 70 lbs. กันตามสเป็คนะครับ
.
เสร็จเรียบร้อยแล้วนะครับ กับการยึดฮีตซิงค์ตัวนี้กับชุดล็อคเทพที่ได้รับการดีไซด์ใหม่หมดจากทาง Thermalright
.
…จะล็อคให้ซิงค์หันไปในแนวแกน X หรือ Y ก็ทำได้ง่ายโดยไม่ต้องรื้อใหม่ เพราะทาง Thermalright เขาเตรียม เดือยน็อตตัวผู้ไว้ 4ตัว 2ด้านกันตามภาพอยู่แล้วครับ
.
ถ้ายังไม่เข้าใจ ชมขั้นตอนการประกอบกันง่ายๆอีกที จากไฟล์ Flash ที่ทาง Thermalright ทำไว้นะครับ
.
Compare with Competitor
ลองจับมาเทียบขนาดกับฮีตซิงค์แชมป์เก่าใน Round up คราวที่แล้วอย่าง ProlimaTech Mega Shadow กันดูครับ
.
ส่วนสูงนั้น Mega Shadow จะเตี้ยกว่าเล็กน้อยนะครับ จากข้อมูลของผู้ผลิตก็คือเตี้ยกว่า 1.3มม.ครับ
.
ส่วนมิติทางด้านกว้างและยาวนั้น Venomous X จะมีขนาดเล็กกว่า โดยจะกว้างน้อยกว่า 11มม. และยาวน้อยกว่า 3มม.ครับ
.
Test Setup
.SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel® Core™ i7 920 D0 @ 4,109MHz |
.Motherboard | ..MSI X58 Pro |
.Memory | ..G.Skill Trident PC12800 CL6D-6GBTD 2GB*3 Triple Channel |
.Graphic Card | ..ASUS EAX300SE-X TD 128MB |
.Harddisk | ..WD AAKS 640GB |
.CPU Cooler | ..Thermalright Venomous X VS. ProlimaTech Mega Shadow with VIZO FAN 120mm. ~1,800RPM X2, ARCTIC COOLING MX-3 Thermal Compound & Ambient 28~29 Celcius |
.Power Supply | ..Antec TPQ-1200 1,200W |
.Operation System | ..Windows 7 Ultimate 32-bit |
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ทดสอบกันเลยด้วย OCCT 3.1.0 Small Data Set Mode ไปชมผลการทดสอบกันเลยครับ
.
Competitor Results
หน้าตาของ Systems ที่ใช้ทำการทดสอบ โดยเริ่มกันที่ ProlimaTech Mega Shadow กันก่อนนะครับ
.
OCCT 3.1.0 Small Data Set Mode 20Minutes @ 4,109MHz
เทสต์จบกันไปกับไฟสุดโหดขณะ FullLoad ที่ 1.44V. ไปดูผลงานที่ ProlimaTech Mega Shadow ทำได้กันครับ
.
จากกราฟ CPU Coreที่ 1 ผมให้อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 89องศาเซลเซียสนะครับ
.
จากกราฟ CPU Coreที่ 2 ผมให้อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 89.5องศาเซลเซียสนะครับ
.
จากกราฟ CPU Coreที่ 3 ผมให้อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 84องศาเซลเซียสนะครับ
.
จากกราฟ CPU Coreที่ 4 ผมให้อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 87องศาเซลเซียสนะครับ
.
จากกราฟ VCore เฉลี่ยจะอยู่ที่ 1.44V.นะครับ
.
.
.
ค่าไฟเลี้ยง 3.3V. 5V. และ 12V. ในขณะที่ทำการทดสอบครับ
.
…มีคลิปให้ชมบรรยากาศขณะก่อนจบทำการทดสอบด้วยนะครับ ซึ่งหลังจากอัพเข้า Youtube แล้ว ภาพมันไม่ค่อยชัด อ่านค่าต่างๆไม่ค่อยออก ถ้าใครสนใจจะดูค่าต่างๆขณะทำการทดสอบจริงๆ ก็ลองโหลดไฟล์ Video ตัวเต็มไปชมกันชัดๆอีกทีนะครับ ขนาดไฟล์ 49.58MB ที่ลิงค์ด้านล่างเลยครับ
Download Original Video File >>Click<<
…เสียงพัดลมหึ่งๆนั่น ไม่ใช่เสียงพัดลมเป่าตัวฮีตซิงค์ซีพียูนะครับ แต่เป็นพัดลมเป่าฮีตซิงค์ Northbridge ขนาด 70มม. 6,500rpm. ที่ผมใช้เป็นประจำ เสียงเซอร์ราวน์ดีจริงๆเลยครับ ฮ่า
.
Venomous X Results
หน้าตาของ Systems ที่ใช้ทำการทดสอบ Thermalright Venomous X ไปชมผลกันเลยครับ
.
OCCT 3.1.0 Small Data Set Mode 20Minutes @ 4,109MHz
เทสต์จบกันไปกับไฟสุดโหดขณะ FullLoad ที่ 1.44V. เช่นกันครับ ไปดูผลงานที่ Thermalright Venomous X ทำได้กันครับ
.
จากกราฟ CPU Coreที่ 1 ผมให้อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 87.5องศาเซลเซียสนะครับ
.
จากกราฟ CPU Coreที่ 2 ผมให้อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 88.5องศาเซลเซียสนะครับ
.
จากกราฟ CPU Coreที่ 3 ผมให้อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 83.5องศาเซลเซียสนะครับ
.
จากกราฟ CPU Coreที่ 4 ผมให้อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 88องศาเซลเซียสนะครับ
.
จากกราฟ VCore เฉลี่ยจะอยู่ที่ 1.44V.เช่นกันครับ
.
.
.
ค่าไฟเลี้ยง 3.3V. 5V. และ 12V. ในขณะที่ทำการทดสอบครับ
.
…มีคลิปให้ชมบรรยากาศขณะก่อนจบทำการทดสอบด้วยนะครับ ซึ่งหลังจากอัพเข้า Youtube แล้ว ภาพมันไม่ค่อยชัด อ่านค่าต่างๆไม่ค่อยออก ถ้าใครสนใจจะดูค่าต่างๆขณะทำการทดสอบจริงๆ ก็ลองโหลดไฟล์ Video ตัวเต็มไปชมกันชัดๆอีกทีนะครับ ขนาดไฟล์ 53.07MB ที่ลิงค์ด้านล่างเลยครับ
Download Original Video File >>Click<<
…และก็เช่นกันครับ เสียงพัดลมหึ่งๆที่ได้ยินนั่น ไม่ใช่เสียงพัดลมเป่าตัวฮีตซิงค์ซีพียูนะครับ แต่เป็นพัดลมเป่าฮีตซิงค์ Northbridge ขนาด 70มม. 6,500rpm. ที่ผมใช้เป็นประจำ คราวนี้เราก็ไปสรุปผลการทดสอบกันที่หน้าสุดท้ายเลยนะครับ
.
Results Compare
…ก็มาดูกราฟสรุปผลการทดสอบกันเลยนะครับ ผลก็ออกมาว่า แชมป์เก่าอย่าง ProlimaTech Mega Shadow ก็โดนฮีตซิงค์น้องใหม่ทนไฟVCoreแรงอย่าง Thermalright Venomous X แซงปาดหน้าเข้าวินแห่งความเย็นกันแบบคะแนนไม่เป็นเอกฉันท์ ด้วยคะแนนหัว 3ต่อ1 แถมยังทำอุณหภูมิเฉลี่ยดีกว่าเพียงแค่ 0.5-1.5 องศาเซลเซียสเพียงเท่านั้น ปาดหน้ากันแบบเส้นยาแดงผ่าแปดจริงๆครับ สำหรับผลการทดสอบของผมในคราวนี้
.
Conclusion
…ก็จบกันไปแล้วนะครับ สำหรับผลการทดสอบคราวนี้ ผลสรุปก็ออกมาตามคาดครับว่า Thermalright Venomous X ที่ออกมาทีหลัง ก็สามารถทำผลงานแซงแชมป์เก่าอย่าง ProlimaTech Mega Shadow ไปได้ แต่ก็ผิดคาดกันอยู่บ้างที่ผลการทดสอบของผม ไม่ได้ต่างกันมากมายหลายองศาอย่างที่ต่างประเทศได้ทำการทดสอบกันมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งสาเหตุที่ผมพอสรุปออกมาได้ ก็น่ามีอยู่ด้วยกัน 2สาเหตุนะครับ คือหนึ่งผมผู้ทดสอบทำให้เกิดความผิดพลาดบางอย่างในการทดสอบ และสองก็คืออุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในประเทศไทยบ้านเราซึ่งไม่ได้เหมือนกับต่างประเทศที่เขาได้ทำการทดสอบไว้ ทำให้ผลทดสอบออกมาเป็นเช่นนี้ครับ แต่จากผลงานที่เจ้า Thermalright Venomous X ตัวนี้ทำได้ กับราคาเคาะขายที่อยู่ที่ประมาณ 2,250บาท ก็ถือว่าคุ้มค่ากับความเย็นที่ทำได้ในระดับที่ดีเลยนะครับ ท่านใดสนใจก็ไปหาชมตัวจริงกันได้ที่ร้าน JEDI ทุกสาขาเลยนะครับ และสำหรับวันนี้ผมขอลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
.
.
ขอขอบคุณ