ThermalRight SpitFire VGA Cooler
Share | Tweet |
…สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาววีมอดเทคทุกท่าน วันนี้มาขยับพื้นที่รีวิวกันด้วยอุปกรณ์ระบายความร้อนให้กับ VGA ตัวโปรด จากช่วงก่อนสงกรานต์ที่ผ่านมาร้อนกันทะลุจุดเดือดไม่ว่าจะเป็นสถาณการณ์บ้านเมืองหรือสภาพลมฟ้าอากาศในบ้านเรา เกริ่นไปเกริ่นมาเดี๋ยวจะพาลแฉลบลงการเมืองไปซะก่อน เอาเป็นว่าวันนี้มาชม SPITFIRE VGA COOLER จาก THERMALRIGHT กันครับ ซึ่งครั้งนี้ได้ส่งของมาให้ทดสอบกันกล่องใหญ่ๆเลย ทั้งตัวหลักและอุปกรณ์เสริมต่างๆ สำหรับโอกาสนี้ขอนำเสนอรวดเดียวทั้งหมดเลยนะครับ เชิญรับชมกันได้ ณ.บัดNOW!!
Spitfire VGA Cooler Package
กล่องยังคงเป็นกระดาษรีไซเคิล ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติเช่นเคยครับ
คู่มือการติดตั้งและอุปกรณ์ต่างๆดูเหมือนไม่เยอะเลย
แกะกล่องมาแล้วเยอะเหมือนกันนะครับจะมีอะไรมั่งก็ดูจากด้านล่างได้เลยครับ
Components
|
นับสิริรวมได้18รายการ แล้วเกิดคำถามขึ้นในใจการติดตั้งจะยุ่งยากมั๊ยเนี่ย ใส่ได้กับVGAรุ่นไหนบ้างก็ดูได้จากลิงก์นี้เลยครับ Spitfire VGA Complatibility
Closer Look at Thermalright Spitfire VGA Cooler
Spitfire มาพร้อมกับชิ้นงานทองแดง+นิเกิลเพลทที่ดูเรียบร้อยตามสไตล์ Thermalright มีท่อฮีทไปป์นำความร้อน6ท่อ
จากรูปทรงแล้วตัวแผงครีบระบายความร้อนจะตั้งฉากกับ VGA นะครับ
ด้านหัวไปป์กลมมนดูเรียบร้อยเพราะเป็นท่อเดี่ยวๆไม่ต้องขดไปมาเหมือนในฮีทซิงก์ซีพียูบางรุ่น
เงาพอสมควรแต่ก็ไม่ถึงกับเงาวับประเภทLapingนะครับ ยังมีรอยสากให้เห็นกันได้
Accessories
ในครั้งนี้ทาง Thermalright ได้ส่งอุปกรณ์ระบายความร้อนภาคจ่ายไฟ VGA ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ร่วมกันกับ Spitfire VGA Cooler มาให้ร่วมทดสอบด้วย เดี๋ยวมาดูหน้าตากันครับ
Thermalright VRM-R5
มาดูขนาดและรายละเอียดกันจากภาพตารางด้านล่างเลยครับ
กล่องรีไซเคิลหน้าตาคล้ายๆกันเลย
มาเป็นแพคเกจง่ายๆแต่ขนาดใหญ่โตพอสมควรสำหรับ Thermalright VRM-R5 ตัวนี้
พัดลมรอบทำงานต่ำที่ใช้ทดสอบร่วมกันในครั้งนี้คือ X-Silent 140 ซึ่งมีขนาด 14 เซนติเมตร
เป็นพัดลมรอบต่ำ 12โวลท์ 0.14A ทำงานที่900รอบ/นาที +-10เปอเซ็นต์ เงียบมากๆครับสำหรับ X-Silent 140 ตัวนี้
Installation Guide
ครั้งนี้ผมติดตั้ง Spitfire VGA Cooler กับ HD5870 นะครับ ขั้นตอนก็ไม่มีอะไรมากมาชมกันแบบคร่าวๆ
รื้อกระดองมันออกก่อนครับ แนะนำว่าขันน๊อตเล็กๆบนตัวการ์ดออกมาจนหมดแล้ว แกะกระดองออกหมดให้ใส่น๊อตที่ถอดออกมากับไปไว้ดังรูปเลย ถ้าแยกเก็บเอาไว้นานเข้าอาจจะลืมได้ว่าเอาไปเก็บไว้ที่ไหน
เหลือตัวการ์ดเพียวๆอุปกรณ์ไม่เยอะมากเท่าไหร่นะการ์ดค่ายแดงตัวนี้ รูปเบลอๆหน่อยนะครับมือมันสั่น..อิอิ
ขั้นแรกเลยก็แปะซิงก์เม็ดแรมซะก่อน อย่าลืมทาซิลิโคนนะครับ ในบทความนี้ผมใช้ซิลิโคน Tuniq TX-3
เสียบสลักเกลียวพร้อมปะกับฝาครอบซะ สามารถใส่เจ้าSpitfireได้สองรูปแบบนะครับคือคว่ำลงและหงายขึ้น แต่ในบทความนี้ผมเลือกคว่ำลงด้านล่าง มันมีเหตุครับถ้าเราติดตั้งแบบหงายขึ้นมันจะติดสายยาง หรือถ้าเล่นซิงก์ทรงสูงก็จะติดซิงก์ระบายความร้อนซีพียู พอจะนึกภาพออกมั๊ยครับ ไม่เป็นไรเดี๋ยวผมมีภาพให้ดู
มาด้านหลังก็รองแหวนยางกันลัดวงจรและความเสียหายของPCBที่มีมาให้ขันน๊อตซะ น๊อตทุกตัวใช้มือหมุนก็พอนะครับไม่ต้องถึงกับเอาคีมมาหมุนเป็นเครื่องทุ่นแรง
เรียบร้อยโรงเรียน Tools Free
กากบาทด้านหลังนี่ก่อนแปะทาบไปกับตัวการ์ดอย่าลืมแปะแผ่นพลาสติกกันกระแสลัดวงจรด้วยนะครับ
เป็นอันเรียบร้อยสำหรับ Spitfire เห็นขนาดและสัดส่วนแล้วขนลุกกับการออกแบบเค้าเลยนะเนี่ย โอเว่อซะไม่มี ส่วนภาคจ่ายไฟของตัวการ์ดในครั้งนี้ผมไม่ได้ใช้ของที่มากับชุดของSpitfireนะครับ ซึ่งมันก็มีลักษณะเหมือนกับซิงก์ที่แปะเม็ดแรม เพราะครั้งนี้เรามี THERMALRIGHT VRM-R5 เป็นออปชั่นเสริมส่งมาให้ติดตั้งแทนครบชุดเลย
ติดตั้งง่ายครับตัวนี้
แปะ Thermalpad สีเทาๆลงบนจุดดังภาพ
Thermalright VRM-R5 จะทาบลงในจุดที่ไฮไลท์นี้ละครับ
ทาบไปบริเวณภาคจ่ายไฟ
ขันน๊อตพร้อมแหวนรองอีก2ตัวเป็นอันเสร็จเลย
เมื่อติดตั้งครบแล้วต้องบอกเลยครับว่าโคตรเกะกะเลย นึกถึงล็อบสเตอร์ตัวใหญ่ๆตัวนึงไงงั้นเลยครับ เดี๋ยวไปทดสอบกันที่หน้าถัดไปเลยดีกว่า
TestSetup
.SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel® Core i5 750 |
.Motherboard | ..Gigabyte P55-UD3P |
.Memory | ..G.Skill Trident PC12800 CL8 Dual Channel kit |
.Graphic Card | ..PWC ATI Radeon HD5870 |
.Harddisk | ..SEAGATE 500GB |
.CPU Cooler | ..Water Cooling |
.VGA Cooler | ..Thermalright SpitFire+VRM-R5+X Silent 140 |
.Power Supply | ..SilverStone Zeus 850W |
.Operation System | ..Windows 7 Ultimate 32-bit |
การทดสอบครั้งนี้ทำขึ้นในห้องที่อุณหภูมิแลดล้อมประมาณ 29-30 องศาเซลเซียสนะครับ ทดสอบการระบายความร้อนในสถานะทำงานสูงสุดกันด้วยโปรแกรม Furmark เป็นเวลา10นาที ผลที่ได้ดูจากกราฟที่โปรแกรมแสดงเป็นหลักในทุกๆการทดสอบ
เริ่มกันเลยดีกว่า กับซิงก์เดิมๆจากโรงงานติดการ์ด HD5870 กันก่อน
Stock Cooler@850/1200 Auto Fan
Stock Cooler@950/1300 100% Duty cycle Fan
สรุปเป็นกราฟให้ดูกันง่ายๆสำหรับซิงก์เดิมๆ สองความเร็วและสองรูปแบบการปรับตั้งพัดลม
ThermalRight Spitfire@850/1200
ThermalRight Spitfire@950/1200
เย็นลงจากเดิมพอสมควรและที่สำคัญคือเสียงพัดลมรบกวนในการทำงานต่ำมาก ถ้าต้องการอุณหภูมิที่ต่ำกว่านี้ก็สามารถนะครับด้วยการใช้พัดลมรอบสูงขึ้น
ขอทดสอบเพิ่มอีกสักนิดด้วยการเพิ่มไฟเลี้ยงGPU Core จากโปรแกรม After Burner และเพิ่มความเร็วไปที่1000/1300 MHz แล้วทดสอบกันอีกซักยก
ThermalRight Spitfire@1000/1300
เรียบร้อยโรงเรียนวีมอดเทคครับ ผลออกมา idle 36 เหมือนเดิมเพราะยังไม่ถูกกระทำ แต่ช่วงสถานะ Full load ความร้อนขึ้นมาแตะที่ 61 องศาเซลเซียส ด้วยพัดลมรอบต่ำก็ถือว่าสอบผ่านครับ
CONCLUSION
…..เดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายกันแล้วครับสำหรับการทดสอบ ThermalRight SpitFire VGA Cooler เรื่องประสิทธิภาพการระบายความร้อนคงไม่ใช่ปัญหาสำหรับเจ้า SpitFire ตัวนี้ ทำได้ดีทีเดียว แต่เรื่องขนาดและการติดตั้งจากรูปทรงของมันทำให้ในบางครั้งก็ลำบากพอสมควร เนื่องจากถ้าเราติดตั้งโดยหงายมันขึ้นก็จะไปชนกับฮีทซิงก์ของซีพียูในรายที่ติดตั้งฮีทซิงก์ระบายความร้อนในแบบTower ที่กำลังนิยมในปัจจุบันนี้ ถ้านึกภาพตามไม่ออกก็ดูได้จากลิงก์ Installation นี้ได้เลย แล้วถ้าเราติดตั้งมันคว่ำลงแบบที่ผมทำการทดสอบในบทความนี้ ขนาดของมันก็จะเลยตัวเมนบอร์ดลงมาอีก ในรายที่ใส่เคสก็คงต้องดูทรงกันดีๆเลยว่ามีพื้นที่เหลือพอรึเปล่า แต่ถ้าวางนอกเคสแบบผมแล้วติดตั้งตามบทความนี้ มันสามารถสอดการ์ดตัวอื่นติดตั้งลงไปได้ไม่ว่าจะเป็นSoundcard หรือจะเป็นVGAอีกตัวที่เอามาทำเป็นการ์ดPhysX ก็ยังสามารถติดตั้งได้โดยไม่เสียพื้นที่สลอต ครับก็มีข้อดีข้อเสียปนเปกันไป เอาเป็นว่าถ้ากำลังมองหาซิงก์ที่จะมาระบายความร้อนให้กับวีจีเอตัวเก่งของคุณ และกำลังมองหาความแปลกใหม่ไม่ธรรมดา ThermalRight SpitFire VGA Cooler ตัวนี้ก็นำเสนอสู่สายตาทุกท่านให้เห็นทั้งรูปทรงและประสิทธิภาพแล้วสำหรับการทดสอบในครั้งนี้ ขาดตกบกพร่องยังไงก็ต้องขออภัยสำหรับครั้งนี้ลากันไปก่อน สวัสดีครับ
เอื้อเฟื้อผลิตภัณฑ์ในการทดสอบ