Toshiba Qosmio X300
Share | Tweet |
Toshiba Qosmio X300
CPU | Intel Core 2 Duo T9400 2.53Ghz (6mb L2 cache) |
RAM | DDR3 1066mhz 2048×2mb |
Chipset | Intel PM45 |
Graphics | nVidia Geforce 9700M GT |
Storage | SATA2 250gbx2 |
Optical drive | DVD-RW |
Wireless | Bluetooth + Intel Pro Wifilink 5100 IEEE802.11B/G/N |
Display | 1280×800pixel 17″ |
สำหรับในวันนี้ก็เป็นคิวของโน๊ตบุ๊กตัวเรือธงจากทาง Toshiba ที่ส่งมาให้เราได้รีวิว และทดสอบให้เพื่อนๆได้ชมกันครับ กับโมเดลในสายของ Qosmio อันโด่งดังจาก Toshiba ซึ่งดูจากเสป็คแล้ว หากใครที่พอจะเคยรู้จัก Toshiba มาก่อน ก็จะทราบครับว่ามันเป็นโน๊ตบุ๊กในกลุ่ม Desktop Replacement และในรุ่น X300 ก็จะเป็นรุ่นที่มีราคาค่อนข้างแพง และเน้นไปในกลุ่มของ Gamer กระเป๋าหนักเป็นหลักนั้นเองครับ
สำหรับใครที่รู้จัก Notebook แบรนด์ดัง อย่าง Toshiba ถ้าพูดถึง Qosmio ก็คงจะเข้าใจถึงคอนเซ็ปต์การดีไซน์ของเขาดีครับ สำหรับในรุ่น X300 ที่เราได้รับมารีวิวในวันนี้ ก็ถือเป็นตัวเรือธงตัวหนึ่งของโตชิบา ที่มีขายในประเทศไทยครับ ด้วยดีไซน์สีแดงลายเพลิง พร้อมโลโก้ Qosmio ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ Toshiba ปรากฏอยู่บนฝา สร้างความโดดเด่นได้เป็นอย่างดี
การออกแบบลายเส้นที่โค้งมน แต่โฉบเฉี่ยวของ Qosmio X300 ผมคิดว่าคงโดนใจเกมเมอร์หลายท่าน บอดี้ส่วนใหญ่ของ X300 ทำจากพลาสติกที่มีคุณภาพการประกอบดีตามมาตรฐานของ Toshiba ที่ผมได้เคยพบในโน๊ตบุ๊กรุ่นเก่าๆของกลุ่มเพื่อนๆผมครับ
มองเข้ามาใกล้ๆอีกหน่อย บริเวณบานจอภาพ จะพบว่าลายโค้งมนนั้นชวนน่าหลงไหลครับ เอิ้กๆ จริงๆคือผมจะให้ดูว่า จอภาพ ถึงจะดูมีขนาดใหญ่ หนา แต่ก็ยังให้ความรู้สึกเบาๆเวลายกฝาพับขึ้นมาได้เหมือนกันครับ ไม่รู้สึกว่าจอมีน้ำหนักมากเกินไปเหมือนโน๊ตบุ๊ก Desktop replacement บางรุ่นที่ผมเคยจับมา
เมื่อเปิดฝาออกมา ก็จะพบจอกระจกขนาด 17 นิ้ว WXGA พร้อมกับดีไซน์สีแดงเพลิง สลับกับสีดำเงา ลวดลายโค้งมนสวยงามสะดุดตาดีครับ
บริเวณคีย์บอร์ด คีย์บอร์ดที่ให้มากับ X300 เป็นแบบ Full size ครับ แบบเดียวกับคีย์บอร์ดบนเครื่องเดสก์ทอพ รวมไปถึงปุ่ม caps lock หรือ num lock ที่ติดตั้งให้มาอย่างถูกตำแหน่ง ส่วนตัวปุ่มคีย์บอร์ด ก็จะเป็นลักษณะพลาสติกมันวาว ซึ่งหากใครชอบก็จะมองว่าสวย แต่สำหรับคนที่นิ้วมือมีเหงื่อออกง่าย เวลาใช้ๆไป ก็คงอาจจะรำคาญนิ้วบ้าง แต่การวางมือในการพิมพ์ จัดได้ว่าให้ความรู้สึกเทียบเท่ากับคีย์บอร์ด PC ปกติ อย่างไงอย่างงั้นเลยครับ
ทัชแพดที่ให้มา ขนาดเล็กไปหน่อยครับ ให้ความแม่นยำที่ดีในระดับหนึ่ง แต่ผมคิดว่าไม่เป็นปัญหาอะไรกับเครื่องระดับนี้ เพราะว่า Desktop Replacement ผมเชื่อว่าผู้ใช้แทบจะทุกท่าน คงจะนำเมาส์เสริมภายนอกมาต่อใช้งานเป็นแน่แท้อยู่แล้ว
ปุ่ม F1-F12 มีมาให้ครบครับ อิอิ รวมไปถึง Media Console ที่มีช็อตคัตพื้นฐาน play pause รวมไปถึงช็อตคัตเข้าโปรแกรมจัดการเสียงของ Dolby ด้วยครับ
ลำโพงแบบ 4.1 ชาแนล คือ ลำโพง sat ด้านบน 4 ชาแนล และ Sub อีกหนึ่งชาแนลด้านล่าง จาก Harman/Kardon ครับ ให้เสียงที่มีมิติที่ดีกว่าโน๊ตบุ๊กทั่วๆไปมากครับ รวมไปถึงความใส และ ความหนักแน่น อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่า เปิดแล้ว สาวต้องหันมามอง แน่นอนเลยทีเดียว แถมยังมีซอฟท์แวร์ควบคุมจาก Dolby มาไว้ให้ปรับความหนักแน่นของเบส หรือจะปรับ มิติของเสียงจากลำโพงทั้ง 4 ชาแนล ก็สามารถกดได้จากปุ่มบน Media Console เครื่องครับ
บริเวณไฟแสดงสถานะ มีการออกแบบที่พิถีพิถันดีครับ จะบอกว่า ไฟเท่ห์ดี ก็ว่างั้นเถอะครับ อิอิ
หลังเครื่อง มีช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่ ที่ผมคิดว่า พลาสติกตะแกรงมันดูบอบบางไปนิดหนึ่ง แต่จริงๆแล้วโดยภาพรวม ถือว่าไม่กิ๊กก๊อกแตกหักเอาง่ายๆแน่นอนครับ ด้านหลังจะมีพอร์ต HDMI ติดมาให้ รวมไปถึง eSATA ด้วยครับ
บริเวณด้านข้างโน๊ตบุ๊ก ยังคงมีการรักษาลายเส้นการออกแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวครับ บริเวณพอร์ตเชื่อมต่อ เป็นลักษณะสีดำ มีพอร์ตมาให้ครบครันครับ เริ่มตั้งแต่ด้านขวามือ มี SD/XD/Memstick Cardreader USB x2 และที่ขาดไม่ได้ที่เป็นเอกลักษณ์ของ Toshiba มานาน คือ ปุ่มเลื่อนปรับ Volume แบบหมุนๆ ไม่ต้องผ่านซอฟท์แวร์ไดร์เวอร์ในเครื่องครับ สามารถปรับระดับเสียงด้วยการ “หมุนโวลุ่ม” ได้เลย
สำหรับด้านซ้ายมือ มีทั้ง Mini PCIE eSATA USB x1 มาให้
ตำแหน่งของไดร์ฟ DVD-RW ทำได้แปลกตาดีครับ โดยย้ายมาวางไว้บริเวณหน้าเครื่อง
ฝาด้านหลัง ดูอลังการงานสร้างดีใช่มั้ยครับ อิอิ ฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งมาถึงสองลูก แรม DDR3 ที่สามารถเปิดฝาออกมาเปลี่ยนได้ง่าย รวมไปถึงช่องระบายอากาศขนาดใหญ่สองช่อง และช่องสำหรับ Subwoofer อีกหนึ่งช่อง
แบตเตอร์รี่ขนาด 4000มิลลิแอมป์ ที่ผมคิดว่า รูปทรงดูแปลกตาไปจากโน๊ตบุ๊กทั่วๆไปดีครับ อิอิ
System Config.
รายละเอียดตัวเครื่อง
Raw Performance
Win RAR สามารถบีบอัดไฟล์ได้ด้วยความเร็ว 1134kb/s นับว่าไม่เลวครับ อิอิ
ฮาร์ดดิสก์จากโตชิบา อาจจะดูไม่ได้เร็วกว่ายี่ห้อดังๆอย่าง WD หรือ Seagate หรือ Hitachi สักเท่าไรนัก อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ครับ
Synthetic Benchmark.
Sisoftware Sandra 2009
มาตรฐาน Penryn ครับสำหรับ Test suit ชุดนี้
Everest Ultimate Edition
โปรแกรม Synthetic Benchmark ตัวนี้ สามารถบอกได้ละเอียด และดูง่ายกว่า Sisoft นิดหน่อยครับ แต่ไม่สามารถทดสอบหัวข้อจำพวก HDD หรือดู ความสามารถในการคำณวนของซีพียูเป็น mFLOPS ได้
คะแนน ทะลุเกณฑ์โน๊ตบุ๊ก ทุกการทดสอบตามสไตล์ Desktop replacement สมัยนี้ครับ อิอิ
PCmark 05 วัดประสิทธิภาพจำพวกการเข้ารหัสวีดีโอ บีบอัดไฟล์ หรือการใช้งานในชีวิตประจำวัน
คะแนนเลย 5 พัน ไปอย่างสวยงามครับ อิอิ
3Dmark Series
วัดประสิทธิภาพในการเล่นเกมกราฟฟิคโหดๆ…
3Dmark05
3Dmark06
3Dmark Vantage
พลังของ Geforce 9700M นั้นก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ “เล่นได้ดี” เลยทีเดียวครับ แต่ถ้าหากจะให้ไปเทียบกับการ์ดบนเครื่องเดสก์ทอพในราคาที่ย่อมเยาว์กว่า ก็อาจจะคงต่อกรได้ไม่ดีนัก แต่สำหรับ Notebook นี่ถือว่าเป็นหนึ่งในที่สุดของ Mobile Gaming เลยทีเดียวครับ
Crysis Benchmark Setting ดังรูปภาพสามารถทำเฟรมเรตเฉลี่ยได้อยู่ที่ 21fps และสูงสุด 30fps ซึ่งถือว่าพอเล่นได้อย่างไม่ลำบากมากนัก แต่ถ้าหากปรับ Setting ให้ต่ำลงมาอีกหน่อย ก็จะสามารถเล่นได้ลื่นไหลเลยทีเดียวครับ สำหรับอันนี้ คงจะเป็นข้อการันตีได้อย่างหนึ่งครับว่า X300 “เล่นได้ทุกเกม” อย่างไม่มีปัญหาแน่นอนครับ ถึงแม้จะสู้ Desktop PC ในราคาเท่าๆกันไม่ได้ แต่ถือว่าสุดยอดครับ สำหรับนิยามของ Mobile Gaming
สำหรับ Toshiba Qosmio X300 ตัวนี้ ผมก็จะขอจบการรีวิว แต่เพียงเท่านี้ครับ และสรุปข้อดีข้อเสียกันง่ายๆ ดังต่อไปนี้ครับ
ข้อดี ความแรงเหลือเฟือ วัสดุที่ใช้ ถึงแม้จะเป็นพลาสติก แต่ก็ดูดีมีระดับตามสไตล์ Toshiba จอภาพขนาดใหญ่ และข้อดีอีกมากมายของเครื่อง Desktop replacement นั้นคือ การที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับการเล่นเครื่อง Desktop PC ธรรมดา รวมไปถึง ลำโพง 4.1chanel จาก harman/kardon ที่ให้สุ่มเสียงที่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก นอกจากจะมีมิติแล้ว ยังให้ความใสเคลียร์ และหนักแน่นอีกด้วย
ข้อเสีย น้ำหนักมาก (4.5กิโลกรัม) ถึงจะประกอบมาดียังไง แต่ก็ยังคงให้ความรู้สึก “พลาสติก” อยู่ดี นอกจากนี้ ก็คงจะเป็น ราคา ที่ตอนนี้เช็คจาก notebookspec อยู่ที่ 99xxx บาทเองครับ อิอิ
ร่วมวิจารณ์บทความนี้ คลิกทีนี่
Driver & Software Download Here
ขอขอบคุณ
Toshiba Thailand