TUF Gaming BE6500 Dual Band WiFi 7 Extendable Gaming Router Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้เรามาชมบทความอุปกรณ์ด้านเน็ตเวิร์คจากแบรนด์ ASUS กันครับ และวันนี้จะเป็นการรีวิวเราเตอร์มาตรฐานใหม่ล่าสุดคือ WiFi 7 (802.11be) โดยเรากำลังพูดถึง ASUS TUF Gaming BE6500 เราเตอร์รุ่นนี้จะเป็นเราเตอร์ระดับสูงของ ASUS การเชื่อมต่อนั้นสามารถปล่อยสัญญาณได้แบบ Dual Band หรือสองแบนด์ครับ โดยตัวเราเตอร์นี้อยู่ในคลาส BE6500: 688 Mbps ที่ 2.4 GHz และ 5764 Mbps ที่ 5.0 GHz
.
ตัวฮาร์ทแวร์นั้นตัวโพรเซสเซอร์จะเป็นแบบสี่คอร์ มีความเร็วที่ 1.5 GHz, เมมโมรี่ขนาด 1 กิ๊กกะไบท์ และมีแฟลช 256 เมกกะไบท์ ระบบพื้นฐานมาดีครับ ตัวเราเตอร์นี้รองรับการส่งผ่านแบบ high data rate ด้วย 4096-QAM และมีแบนด์วิดท์ให้เลือกได้ที่ 20/40/80/160 MHz สำหรับพอร์ทการเชื่อมต่อนั้น มีพอร์ท 2.5 Gbps 4 ช่องโดยเป็นหนึ่งพอร์ท WAN และ 3 พอร์ท LAN
.
.
.
.
Package Appearance
กล่องบรรจุ TUF Gaming BE6500 นั้นมีขนาดกลาง รายละเอียดด้านหลังกล่องอธิบายคุณสมบัติต่างๆ
ภายในกล่องก็จะมีอแด๊ปเตอร์จ่ายไฟและสายแลนอีกหนึ่งเส้นพร้อมกับคู่มือแผ่นพับอีกหนึ่งชุด
ตัว TUF Gaming BE6500 นั้นจะมีลักษณะดีไซน์แบนๆวางตัวถังในแนวนอนแบบที่คุ้นเคย การขึ้นรูปตัวถังสวยงามและมีขนาดเล็กเพียง 304 x 174 x 214 มิล น้ำหนัก 772 กรัม
หน้าตาได้ถูกออกแบบให้ต่างจากซีรีย์ก่อนๆครับ มีเทคเจอร์ที่แปลกตาออกไปโดยพยายามให้เห็นถึงลักษณะความแข็งแกร่งซึ่งเป็นธีมของ TUF Gaming นั่นเอง
ด้านข้างมีเทกเจอร์สวยงาม มีการระบายความร้อนเป็นอย่างดี
สำหรับพอร์ทการเชื่อมต่อนั้น ด้านซ้ายมือในรูปจะเป็นสวิทซ์ ปิด/เปิดกับช่องเสียบไฟเลี้ยง พอร์ท 2.5 Gbps สามพอร์ท ถัดมาจะเป็นพอร์ท WAN 2.5 Gbps ที่มีสีฟ้า ถัดมาทางขวามือก็จะเป็นพอร์ท USB 3.2 Gen 1 ช่และขวาสุดจะเป็นปุ่ม reset และ WPS สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบง่าย
ที่พื้นตัวเราเตอร์ด้านล่าง ก็จะมีการเซาะร่องเพื่อช่วยระบายความร้อนไว้เต็มพื้นที่เลย
....
.
Setup
รูปแบบการเซตระบบเทสของเรานั้นจะมีรูปแบบนี้
Server: MiniPC ECS Liva Q3D ต่อ Lan 2.5G ผ่านทาง ASUS USB-C2500 ไปเข้า ASUS TUF Gaming BE6500
Client: ใช้การเชื่อมต่อ WiFi BE โมดูลที่มากับเมนบอร์ด ROG MAXIMUS Z790 DARK HERO PC เชื่อมต่อไปยังตัวเราเตอร์
.
Setup
เรามาดูขั้นตอนการติดตั้งกันนะครับ ก่อนอื่นเราล๊อกอินเข้ามาหน้าติดตั้งนี้ก่อน
เมื่อเราเซตค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้ามาที่หน้าหลักตามที่เห็นซึ่งเป็นอินเตอร์เฟส ASUSWRT ที่คุ้นเคยกันดี Firmware ที่ใช้ที่ติดตัวมาตั้งแต่เปิดกล่องครับ ลองเช็คบนหน้าเว็บไซด์ยังไม่มีเวอร์ชั่นล่าสุดมาให้ดาวโหลดเลยครับ
แน่นอนว่า เราเตอร์รุ่นใหม่ของ ASUS นั้นก็จะมีฟังก์ชั่น AiMesh มาให้ด้วย
หน้านี้จะเป็นหน้าการตั้งค่าของ WiFi ครับ อย่างที่ได้แจ้งไว้ในหน้าแรกแล้วว่า เราเตอร์นี้อยู่ในคลาส BE6500: 688 Mbps ที่ 2.4 GHz และ 5764 Mbps ที่ 5.0 GHz
หน้านี้ไว้สำหรับตั้งค่าคุณสมบัติ Game Boost
หน้าเมนู Administrationก็จะเป็นหน้าหลักที่เราสามารถจะปรับโหมดการทำงานของเราเตอร์ ASUS TUF Gaming BE6500 ตัวนี้ หรือว่าจะทำการอัพเดทเฟิร์มแวร์ก็ทำที่หน้านี้
.
.
Testing result
.
Result of 5 GHz
การเชื่อมต่อนั้นสามารถจับได้ที่ 2.4 กิ๊กกะบิทต่อวินาที จริงๆแล้วน่าจะจับได้ที่ 2.8 ครับ คิดว่าน่าจะเป็นเพราะเฟิร์มแวร์ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ติดมากับตัวตอนเปิดกล่องเลย และยังไม่มี
ผลของความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลทางย่าน 5 GHz ฝั่ง Client นั้น สูงครับที่เฉลี่ย 1.75 กิ๊กกะบิทต่อวินาที หรือจะได้เฉลี่ยประมาณ 205 เมกกะไบท์ต่อวินาที
ด้านฝั่ง Server จะได้ที่ 1.43 กิ๊กกะบิทต่อวินาที หรือประมาณร่วมๆ 166 เมกกะไบท์ต่อวินาที
.
..
.
Conclusion
จากการทดลองเล่น ASUS TUF Gaming BE6500 ถือว่าเป็นเราเตอร์ที่มีลูกเล่นมากมายรวมถึงการเชื่อมต่อที่สามารถส่งผ่านความเร็วทางไร้สายได้เท่าๆกับการเสียบสายแล้วครับ โดยความเร็วที่เราทำได้ในวันนี้คือ 1.75/1.43 Gbps เลยละครับ แต่การที่จะได้ความเร็วสูงระดับนี้ นอกจากเราเตอร์ที่เป็น WiFi 7 แล้ว เราจำเป็นต้องมี adapter หรือ USB WiFi 7 หรือจะเป็นโมดูล WiFi 7 เสียบใช้งานด้วยนะ อย่างในบทความนี้คือผมใช้โมดูล WiFi 7 บนเมนบอร์ด ROG MAXIMUS Z790 DARK HERO คือทั้งต้นทางและปลายทางต้องเป็น WiFi 7 ทั้งคู่ หากใช้วินโดว์ที่เป็นออฟฟิเชียลตอนนี้ก็เร็วครับหากต้นทางและปลายทางเป็น BE เหมือนอย่างที่ได้ในบทความนี้
ตอนนี้เราเตอร์ ASUS TUF Gaming BE6500 ยังไม่มีวางขายในบ้านเราน่าจะต้องใช้เวลาอีกนิด ซึ่งน่าจะเป็นเราเตอร์ระดับมาตรฐานที่เป็นการอัพเกรดที่ดีที่สุดด้วยงบประมาณที่สมเหตุผลครับ
.
.
.
.
.
ขอบคุณที่ติดตาม
CHANE
.
.
.
.
ขอขอบคุณ
ASUS