Ultra120ปะทะNinja Plus แต่อย่างอื่นขโมยซีน?
Share | Tweet |
สวัสดีครับ จากกระทู้ พบวิธีที่ทำให้Ultra120 FullLoadเย็นกว่าNinja19องศาแล้วครับ ที่ผมตั้งไว้แล้วไปเทสต์ต่อ คงสร้างความตกใจ ให้กับหลายๆท่านนะครับ กับข้อความที่ผมโพสต์ไว้ว่า
“ผมไม่ได้เพี้ยนไปครับ มีวิธีจริงๆที่ไม่น่าเชื่อด้วยครับว่าจะเป็นไปได้ สำหรับวิธีที่ทำให้Ultra120 FullLoad SP2004คู่ เย็นกว่าNinja Plus ถึง19องศา จากเดิมที่เย็นกว่า5.5องศา เย็นเพิ่มขึ้นอีก13.5องศา!!! โดยใช้พัดลมTT @ 2000RPM.เหมือนกัน และอุณหภูมิห้องเท่าๆกันด้วยครับ”
ซึ่งประโยคทั้งหมดเป็นความจริงแน่นอนครับ แต่ว่ามันมีตัวแปรตกหล่นไม่ได้บอกไปอย่างหนึ่งครับ ที่ไม่เหมือนกันในการเปรียบเทียบ ซึ่งถ้าเกิดตัวแปรตัวนี้เหมือนกันแล้ว อุณหภูมิระหว่างHeat Pipe 2ตัวนี้ก็ไม่ห่างกันขนาดนี้หรอกครับ ซึ่งตัวแปรนี้หลายๆท่านอาจทราบมานานแล้วนะครับ ว่ามันสามารถช่วยให้การระบายความร้อนของเราเย็นขึ้นได้ แต่คงจะไม่มีใครเชื่อแน่ๆครับว่าตัวแปรนี้ สามารถช่วยอุณหภูมิอันร้อนแรงในการเทสต์ซิงค์แบบบ้าระห่ำคราวนี้ เย็นลงกว่าเดิมได้ตั้งแต่13.5-24.5องศาเซลเซียส!!! หลายคนอ่านถึงตรงนี้อาจคิดว่าผมบ้าไปแล้วนะครับ ใช้น้ำแข็งหล่อเย็นยังไม่ลงขนาดนี้เลย ไปชมกันครับ แล้วทุกท่านจะเชื่อผมว่ามันเป็นเรื่องจริงที่ไม่น่าเชื่อจริงๆครับ (เอ๊ะยังไงหว่า อิอิ)
ชมหน้าตาซิงค์กันกว่านะครับ สำหรับความสูงนั้นเจ้าNinja Plus กินครับ เพราะเตี้ยกว่าอยู่ประมาณ1เซนกว่าๆ แต่ก็สูงมากทั้งคู่อยู่ดี ใครจะซื้อเจ้าซิงค์ยักษ์2ตัวนี้มาใช้ เช็คความสูงของซิงค์จากเวบไซต์ผู้จำหน่ายและผู้ผลิตดูให้ดีก่อนนะครับ
เทียบดูจากฟินที่ใช้จะเห็นว่าฟินของUltra120จะถี่กว่าของNinja Plus ถึง2-3เท่าตัวเลยครับ
แต่เรื่องจำนวนท่อนั้นNinja Plusจะดูดีกว่าครับ เพราะมีจำนวนท่อHeat Pipe ที่เป็นจุดขายของซิงค์ประเภทนี้ มากถึง12ท่อ ส่วนUltra120จะมีแค่8ท่อเท่านั้น ส่วนเทียบสัดส่วนกันจากด้านบนก็เป็นไปตามภาพเลยครับ ซึ่งคลิปล็อคพัดลมของซิงค์แต่ละตัว แถมให้มาแค่ชุดเดียวนะครับ ถ้าอยากประกบพัดลมคู่ คงต้องดัดแปลงหรือหาซื้อชุดคลิปล็อคเสริมเพิ่มกันเองล่ะครับ
คลิปล็อคของซิงค์Ultra120จะดีกว่าตรงที่สามารถใส่พัดลมหนาเท่าไหร่ก็ได้ตามความต้องการ เพราะใช้ล็อคตรงรูด้านที่พัดลมติดกับซิงค์เลยครับ แต่รูร้อยน๊อตพัดลมต้องมีลักษณะตามภาพนะครับ ถ้าเป็นแบบรูตันยาวตลอดจากหน้าพัดลมไปหลังพัดลมคลิปล็อคตัวนี้จะไม่สามารถล็อคพัดลมได้ครับ
ส่วนคลิปล็อคของNinja Plus จะล็อคที่รูด้านนอกสุดของพัดลมตามภาพ ทำให้ใส่พัดลมหนาเกินกว่า1นิ้วไม่ได้ครับ
และปัญหาอีกอย่างสำหรับผู้ใช้Ninja Plus กับเมนบอร์ดรุ่นที่ผมใช้คือ ASUS P5W DH จะใส่พัดลมBowerที่เป่าให้ภาคจ่ายไฟกับตัวชิปMCHไม่ได้ครับ งานนี้ถ้าใครใช้บอร์ดรุ่นเดียวกับผม คงต้องดัดแปลงระบบระบายความร้อนของภาคจ่ายไฟและMCHนิดนึงล่ะครับ ส่วนUltra120จะไม่มีปัญหาตรงจุดนี้ครับ แต่จะไปมีปัญหาด้านความสูงชะลูดของมันแทน
อุณหภูมิของห้องใช้ระบบปรับอากาศตั้งไว้ที่ประมาณ25องศาครับ อาจมีแกว่งๆบ้างแต่จะแกว่งขึ้นมากกว่าครับ ในช่วงที่แอร์ตัดการทำงาน
ซิลิโคนหรือThermal Compound ที่ใช้ในการทดสอบนี้ ผมใช้ถึง3อย่างครับ คือArctic Cooling MX-1 ซิลิโคนกระปุกสีขาวธรรมดาของอมร และของแถมจากUltra120ครับ ตัวของแถมกับUltra120มานี่ภายนอกดูดีเชียวนะครับ แต่ประสิทธิภาพจริงๆจะป็นยังไงต้องติดตามชมต่อไปครับ
รูปSystemที่ใช้ในการทดสอบครับ ทุกๆอย่างจะใช้เหมือนกันหมดรวมทั้งพัดลมเป่าซิงค์ด้วยครับ โดยจะใช้TT @ 2000RPM.ตลอดทุกการทดสอบ ส่วนVGA Cardผมใช้VGA Card แบบPCIธรรมดานะครับ เพื่อไม่ให้ความร้อนจากตัวVGA Card ไปรบกวนอุณหภูมิของCPUครับ และที่เห็นพัดลมรอบเบาๆตรงบริเวณฐานซิงค์นั้น ผมใส่เพื่อช่วยระบายความร้อนให้ตัวMCHนะครับ เนื่องจากซิงค์Ninja Plus ทำให้ใส่พัดลมBowerไม่ได้ครับ
รายละเอียดของSystemที่ใช้ในการทดสอบนี้ครับ
CPU | Core2 Duo E6700 ES B0 @ 3.65 GHz VCore 1.55V. |
Mainboard | ASUS P5W DH Bios 1403 Beta |
Memory | Kingston KVR533 “D9GCT” 1024mb*2 |
Graphic Card | Inno3D TNT2 M64 Vanta 16MB PCI |
Harddisk | Seagate 80 GB IDE |
PSU | Antec True Control 550W |
CPU Cooler1 | Thermalright Ultra120 W/ThermalTake Fan 120 mm. @ 2,000 rpm |
CPU Cooler2 | Scythe Ninja Plus W/ThermalTake Fan 120 mm. @ 2,000 rpm |