Ultra120ปะทะNinja Plus แต่อย่างอื่นขโมยซีน?

/ บทความโดย: admin , 26/09/2006 23:09, 2,055 views / view in EnglishEN
«»
Share

สวัสดีครับ จากกระทู้ พบวิธีที่ทำให้Ultra120 FullLoadเย็นกว่าNinja19องศาแล้วครับ ที่ผมตั้งไว้แล้วไปเทสต์ต่อ คงสร้างความตกใจ ให้กับหลายๆท่านนะครับ กับข้อความที่ผมโพสต์ไว้ว่า


“ผมไม่ได้เพี้ยนไปครับ มีวิธีจริงๆที่ไม่น่าเชื่อด้วยครับว่าจะเป็นไปได้ สำหรับวิธีที่ทำให้Ultra120 FullLoad SP2004คู่ เย็นกว่าNinja Plus ถึง19องศา จากเดิมที่เย็นกว่า5.5องศา เย็นเพิ่มขึ้นอีก13.5องศา!!! โดยใช้พัดลมTT @ 2000RPM.เหมือนกัน และอุณหภูมิห้องเท่าๆกันด้วยครับ”


ซึ่งประโยคทั้งหมดเป็นความจริงแน่นอนครับ แต่ว่ามันมีตัวแปรตกหล่นไม่ได้บอกไปอย่างหนึ่งครับ ที่ไม่เหมือนกันในการเปรียบเทียบ ซึ่งถ้าเกิดตัวแปรตัวนี้เหมือนกันแล้ว อุณหภูมิระหว่างHeat Pipe 2ตัวนี้ก็ไม่ห่างกันขนาดนี้หรอกครับ ซึ่งตัวแปรนี้หลายๆท่านอาจทราบมานานแล้วนะครับ ว่ามันสามารถช่วยให้การระบายความร้อนของเราเย็นขึ้นได้ แต่คงจะไม่มีใครเชื่อแน่ๆครับว่าตัวแปรนี้ สามารถช่วยอุณหภูมิอันร้อนแรงในการเทสต์ซิงค์แบบบ้าระห่ำคราวนี้ เย็นลงกว่าเดิมได้ตั้งแต่13.5-24.5องศาเซลเซียส!!! หลายคนอ่านถึงตรงนี้อาจคิดว่าผมบ้าไปแล้วนะครับ ใช้น้ำแข็งหล่อเย็นยังไม่ลงขนาดนี้เลย ไปชมกันครับ แล้วทุกท่านจะเชื่อผมว่ามันเป็นเรื่องจริงที่ไม่น่าเชื่อจริงๆครับ (เอ๊ะยังไงหว่า อิอิ)


ชมหน้าตาซิงค์กันกว่านะครับ สำหรับความสูงนั้นเจ้าNinja Plus กินครับ เพราะเตี้ยกว่าอยู่ประมาณ1เซนกว่าๆ แต่ก็สูงมากทั้งคู่อยู่ดี ใครจะซื้อเจ้าซิงค์ยักษ์2ตัวนี้มาใช้ เช็คความสูงของซิงค์จากเวบไซต์ผู้จำหน่ายและผู้ผลิตดูให้ดีก่อนนะครับ


 



เทียบดูจากฟินที่ใช้จะเห็นว่าฟินของUltra120จะถี่กว่าของNinja Plus ถึง2-3เท่าตัวเลยครับ


 



แต่เรื่องจำนวนท่อนั้นNinja Plusจะดูดีกว่าครับ เพราะมีจำนวนท่อHeat Pipe ที่เป็นจุดขายของซิงค์ประเภทนี้ มากถึง12ท่อ ส่วนUltra120จะมีแค่8ท่อเท่านั้น ส่วนเทียบสัดส่วนกันจากด้านบนก็เป็นไปตามภาพเลยครับ  ซึ่งคลิปล็อคพัดลมของซิงค์แต่ละตัว แถมให้มาแค่ชุดเดียวนะครับ ถ้าอยากประกบพัดลมคู่ คงต้องดัดแปลงหรือหาซื้อชุดคลิปล็อคเสริมเพิ่มกันเองล่ะครับ


 



คลิปล็อคของซิงค์Ultra120จะดีกว่าตรงที่สามารถใส่พัดลมหนาเท่าไหร่ก็ได้ตามความต้องการ เพราะใช้ล็อคตรงรูด้านที่พัดลมติดกับซิงค์เลยครับ แต่รูร้อยน๊อตพัดลมต้องมีลักษณะตามภาพนะครับ ถ้าเป็นแบบรูตันยาวตลอดจากหน้าพัดลมไปหลังพัดลมคลิปล็อคตัวนี้จะไม่สามารถล็อคพัดลมได้ครับ


 



ส่วนคลิปล็อคของNinja Plus จะล็อคที่รูด้านนอกสุดของพัดลมตามภาพ ทำให้ใส่พัดลมหนาเกินกว่า1นิ้วไม่ได้ครับ


 



และปัญหาอีกอย่างสำหรับผู้ใช้Ninja Plus กับเมนบอร์ดรุ่นที่ผมใช้คือ ASUS P5W DH จะใส่พัดลมBowerที่เป่าให้ภาคจ่ายไฟกับตัวชิปMCHไม่ได้ครับ งานนี้ถ้าใครใช้บอร์ดรุ่นเดียวกับผม คงต้องดัดแปลงระบบระบายความร้อนของภาคจ่ายไฟและMCHนิดนึงล่ะครับ ส่วนUltra120จะไม่มีปัญหาตรงจุดนี้ครับ แต่จะไปมีปัญหาด้านความสูงชะลูดของมันแทน


 



อุณหภูมิของห้องใช้ระบบปรับอากาศตั้งไว้ที่ประมาณ25องศาครับ อาจมีแกว่งๆบ้างแต่จะแกว่งขึ้นมากกว่าครับ ในช่วงที่แอร์ตัดการทำงาน


 



ซิลิโคนหรือThermal Compound ที่ใช้ในการทดสอบนี้ ผมใช้ถึง3อย่างครับ คือArctic Cooling MX-1 ซิลิโคนกระปุกสีขาวธรรมดาของอมร และของแถมจากUltra120ครับ ตัวของแถมกับUltra120มานี่ภายนอกดูดีเชียวนะครับ แต่ประสิทธิภาพจริงๆจะป็นยังไงต้องติดตามชมต่อไปครับ


 



 



รูปSystemที่ใช้ในการทดสอบครับ ทุกๆอย่างจะใช้เหมือนกันหมดรวมทั้งพัดลมเป่าซิงค์ด้วยครับ โดยจะใช้TT @ 2000RPM.ตลอดทุกการทดสอบ ส่วนVGA Cardผมใช้VGA Card แบบPCIธรรมดานะครับ เพื่อไม่ให้ความร้อนจากตัวVGA Card ไปรบกวนอุณหภูมิของCPUครับ และที่เห็นพัดลมรอบเบาๆตรงบริเวณฐานซิงค์นั้น ผมใส่เพื่อช่วยระบายความร้อนให้ตัวMCHนะครับ เนื่องจากซิงค์Ninja Plus ทำให้ใส่พัดลมBowerไม่ได้ครับ


รายละเอียดของSystemที่ใช้ในการทดสอบนี้ครับ




























CPU Core2 Duo E6700 ES B0 @ 3.65 GHz VCore 1.55V.
Mainboard ASUS P5W DH Bios 1403 Beta
Memory Kingston KVR533 “D9GCT” 1024mb*2
Graphic Card Inno3D TNT2 M64 Vanta 16MB PCI
Harddisk Seagate 80 GB IDE
PSU Antec True Control 550W
CPU Cooler1 Thermalright Ultra120 W/ThermalTake Fan 120 mm. @ 2,000 rpm
CPU Cooler2 Scythe Ninja Plus W/ThermalTake Fan 120 mm. @ 2,000 rpm

————————————————–

 


Scythe Ninja Plus Result W/C2D E6700 ES B0 @ 3.65GHz Vcore 1.55V.


ก่อนอื่นมาดูกันก่อนนะครับ ว่าCPU C2Dของผมตัวนี้มันร้อนมาก เนื่องจากเป็นตัวESตัวแรกที่ถูกปล่อยออกมาให้ทำการทดสอบกัน ซึ่งดูแล้วน่าจะร้อนถึงพอๆกับพวกPrescottเลยครับ เวลาที่เพิ่มไฟมาทีสยองน่าดู จึงเป็นตัวที่เอามาเทสต์ประสิทธิภาพความอึดของซิงค์ที่ดีตัวหนึ่งเลยครับ ลองเอามาเทียบกับX6800ที่เป็นRevision B1 ที่ได้รับการปรับปรุงเรื่องความร้อนแล้ว จะเห็นว่าที่ความเร็วเท่าๆกัน Vcoreเท่าๆกัน ทุกอย่างเหมือนกันหมดรวมทั้งซิลิโคน(ใช้ซิลิโคนขาวธรรมดา)อุณหภูมิจะต่างกันถึง13.5องศาเลยครับ


X6800 @ 3.60GHz VCORE 1.55 V. FullLoad SP2004 10 Minute 65.5 C



(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยายผลการทดสอบแบบเต็มๆครับ)


 


E6700 @ 3.60GHz VCORE 1.55 V. FullLoad SP2004 10 Minute 79 C



(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยายผลการทดสอบแบบเต็มๆครับ)


 


คราวนี้มาเข้าเรื่องเทสต์กันเลยนะครับ โดยการเทสต์คราวนี้จะเป็นการเทสต์ด้วยSP2004ที่รันพร้อมกัน2Thread เป็นเวลาประมาณ36นาที ทิ้งไว้ โดยไม่เปิดโปรแกรมใดๆรบกวนให้ความร้อนตก และทุกอย่างในการเทสต์จะเหมือนกันหมด ยกเว้นอย่างเดียวคือซิลิโคน ที่ผมจะใช้ซิลิโคนเทสต์ถึง3แบบดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำไมต้องใช้ถึง3แบบเทสต์ ทั้งๆที่หลายๆคนคงคิดว่าซิลิโคนถึงจะมีส่วนช่วยเรื่องการนำพาความร้อนไปสู่ซิงค์ให้ดีขึ้นได้แต่ก็คงเป็นส่วนน้อยถึงน้อยมากๆ แต่!!! ไปชมผลการทดสอบกันดีกว่าครับ แล้วท่านผู้อ่านจะมึนกับผลการทดสอบเหมือนกับผมครับ


 


E6700 @ 3.65GHz VCORE 1.55 V. W/Arctic Cooling MX-1 Compound


FullLoad SP2004 36 Minute 64.5 C Idle 41.5 C


    


(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยายผลการทดสอบแบบเต็มๆครับ)


 


E6700 @ 3.65GHz VCORE 1.55 V. W/Amorn Silicone Compound


FullLoad SP2004 36 Minute 82.5 C Idle 51 C


    


(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยายผลการทดสอบแบบเต็มๆครับ)


 


E6700 @ 3.65GHz VCORE 1.55 V. W/Thermalright Bundle Compound


FullLoad SP2004 2 Minute 87 C (36 minute fail!!!) Idle 57 C



(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยายผลการทดสอบแบบเต็มๆครับ)


 


พระเจ้าจอร์จจจ!!! ผมไม่ได้เทสต์มั่วและท่านผู้อ่านก็ไม่ได้ตาฝาดไปครับ แค่เปลี่ยนซิลิโคนแค่นั้น แต่อุณหภูมิขณะFullLoadกลับห่างกันสูงสุดถึง22.5องศา!!! บ้าไปแล้วครับ ผมเทสต์แล้วมีอะไรผิดพลาดหรือเปล่านี่ หรือว่าซิลิโคนของอมรที่ผมใช้อยู่ประจำห่วยมากหรือหมดอายุ ซึ่งก็ไม่น่าใช่ครับ เพราะของที่แถมมากับซิงค์Ultra120ที่หลอดมันดูดีมากๆยังทำผลงานออกมาได้ห่วยกว่าของอมรกระปุกละ30บาทที่ผมใช้อยู่เป็นประจำสูงสุดถึง4.5องศาอีกครับ และดูแล้วก็น่าเกิดจากความร้อนขึ้นจริงๆไม่ใช่เซนเซอร์บนเมนบอร์ดเสีย เพราะเมื่อใช้ซิลิโคนที่แถมมากับUltra120ที่แย่ที่สุดแล้ว ปรากฏว่าที่FullLoad SP2004อุณหภูมิพุ่งสูงไปถึง87องศา ร้อนจนเครื่องรีสตาร์ทเลยครับ เทสต์ได้แค่2นาทีกว่า ตามรูปผลที่เอามาลงแค่นั้นเองครับ ว่าแล้วก็ไปชมผลของUltra120กันหน้าถัดไปดีกว่าครับ ว่าจะออกมาในแนวทางเดียวกันกับซิงค์Ninja Plus หรือไม่!!!

————————————————–

 


Thermalright Ultra120 Result W/C2D E6700 ES B0 @ 3.65GHz Vcore 1.55V.


E6700 @ 3.65GHz VCORE 1.55 V. W/Arctic Cooling MX-1 Compound


FullLoad SP2004 36 Minute 62 C Idle 41 C


    


(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยายผลการทดสอบแบบเต็มๆครับ)


 


E6700 @ 3.65GHz VCORE 1.55 V. W/Amorn Silicone Compound


FullLoad SP2004 36 Minute 75.5 C Idle 47.5 C


    


(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยายผลการทดสอบแบบเต็มๆครับ)


 


E6700 @ 3.65GHz VCORE 1.55 V. W/Thermalright Bundle Compound


FullLoad SP2004 36 Minute 79.5 C  Idle 49.5 C


    


(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยายผลการทดสอบแบบเต็มๆครับ)


อุอุ ออกมาแนวทางเดียวกับNinja Plus เลยครับ เปลี่ยนซิลิโคนทีอุณหภูมิต่างกันไกลเลย แต่ช่วงห่างของอุณหภูมิยังดูน้อยกว่าของNinja Plusนะครับ แต่ใครจเย็นกว่าร้อนกว่ายังไง ดูแบบนี้คงดูยาก เพราะจำค่าอุณภูมิไม่ค่อยได้กัน เพราะฉะนั้นเราไปดูกราฟสรุปรวมกันหน้าต่อไปเลยจะดีกว่านะครับ

————————————————–

 


Summary Result of Thermalright Ultra120 & Scythe Ninja Plus


 



ผลก็ออกมาตามกราฟเลยนะครับ ที่ผมโพสต์ในกระทู้ว่าสามารถทำให้Ultra120เย็นกว่าNinja Plus ถึงประมาณ20องศา โดยอุณหภูมิห้องเท่าๆกัน พัดลมตัวเดียวกัน CPUก็ความเร็วเดียวกัน และไฟVCOREเท่าๆกันเป๊ะ ผมก็ทำได้จริงๆนะครับ แต่ที่ผมไม่ได้บอกไปอย่างหนึ่งก็คือผมใช้ซิลิโคนไม่เหมือนกันนั่นเองครับ อิอิ ซึ่งถ้าใช้ซิลิโคนที่เหมือนๆกันแล้ว อุณหภูมิทั้ง2ตัวก็ไม่ได้ห่างกันมากเลยครับ โดยที่FullLoadแบบโหดๆของผม ห่างกันตั้งแต่2.5องศา สำหรับMX-1 จนถึง7.5องศาสำหรับซิลิโคนแถมมากับUltra120 ผลการทดสอบนี้ก็พอจะบอกได้เลยครับว่า ซิลิโคนที่ดีๆอย่างMX-1จะช่วยให้ซิงค์ที่ประสิทธิภาพต่ำกว่า ทำประสิทธิภาพให้เข้ามาใกล้เคียงกับซิงค์ที่ประสิทธิภาพดีกว่าได้เลยครับ


แต่น่ามีข้อแม้อย่างนึงครับว่าความร้อนจากซีพียูตัวที่เราใช้ต้องสูงพอสมควรด้วยนะครับ ถึงจะลดได้ขนาดนี้ ไม่ใช่ว่าเล่นVenice3000+ FullLoad อยู่ที่40องศาต้นๆ พอทาMX-1เข้าไปแทนซิลิโคนเดิมแล้วจะเย็นจนFullLoadอยู่ต่ำขนาด20องศากว่าๆจนต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง อย่างนั้นคงเป็นไปไม่ได้แน่นอนครับ เพราะผมเคยลองทาMX-1ตัวนี้กับPentium4 2.4C ของผมไว้นานแล้ว ก็ช่วยให้เย็นกว่าซิลิโคนขาวเดิมที่เคยใช้แค่1-2องศาเท่านั้นจนแทบไม่รู้สึกครับ เพราะฉะนั้นต้องมีข้อแม้ด้วยนะครับ ว่าระบบของท่านมันต้องร้อนมากๆจริงๆ อย่างพวกเล่นของอินเทลตั้งแต่Prescottขึ้นไปแล้วเพิ่มไฟหนักๆทั้งหลาย เจ้าซิลิโคนตัวนี้ถึงจะสำแดงเดชให้ประจักษ์นะครับ


และเพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีที่ผมมั่วเองมาว่าเจ้าMX-1ตัวนี้ จะช่วยให้ซิงค์ประสิทธิภาพต่ำให้เย็นกว่าเดิมได้มากกว่าซิงค์ที่คุณภาพสูงดีอยู่แล้วนั้นเป็นจริง ผมเลยเอาStock Heatsink ของอินเทลมาแล้วทาเทียบกันระหว่างซิลิโคนMX-1กับซิลิโคนขาวธรรมดาของอมร (ที่แถมมากับthermalright ไม่กล้าใช้แล้วอ่ะ สวยแต่รูปจูบไม่หอมจริงๆครับ อิอิ) ผลที่ได้จะออกมาเป็นเช่นไร ติดตามต่อกันได้ที่หน้าถัดไปเลยครับ 


 

————————————————–

Stock Heatsink Result W/C2D E6700 ES B0 @ 3.30GHz Vcore 1.40V.



นี่เลยครับโฉมหน้าของStock Heatsink Intel ที่หลายๆท่านแสนจะคุ้นตา เริ่มอัดกันเลยนะครับ ไอ้ครั้นจะอัด3.65GHz ไฟ1.55V. แบบที่ทำกับ2พี่บิ๊ก คงเป็นไปไม่ได้แน่นอนครับ งานนี้ผมลองเทสต์แล้ว ที่พอไหวมาเทียบกับซิลิโคนขาวจะอยู่ที่3.3GHz VCORE1.40V.ครับ ไปดูผลแล้วอึ้งกันไปพร้อมๆกันได้เลยนะครับ


 


E6700 @ 3.30GHz VCORE 1.40 V. W/Arctic Cooling MX-1 Compound


FullLoad SP2004 10 Minute 59.5 C Idle 38 C



(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยายผลการทดสอบแบบเต็มๆครับ)


 


E6700 @ 3.30GHz VCORE 1.40 V. W/Amorn Silicone Compound


FullLoad SP2004 10 Minute 84 C Idle 51 C



(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยายผลการทดสอบแบบเต็มๆครับ)


Summary Result of Intel Stock Heatsink W/MX-1 & Armorn Compound



 


จะเห็นได้เลยครับ ซิงค์ยิ่งประสิทธิภาพต่ำและซีพียูยิ่งร้อน เจ้าซิลิโคนMX-1ตัวนี้ก็ยิ่งสำแดงเดชของมันออกมาอย่างน่ากลัวครับ ที่FullLoad10นาที ออกมาแล้ว สามารถทำได้ดีกว่าซิลิโคนขาวถึง24.5องศาเลยครับ!!! ทั้งที่ซิงค์ตัวเดียวกันแท้ๆ อย่างนี้ถ้าจะไม่ให้เรียกว่าเป็นเรื่องAmazing จะให้เรียกว่าอะไรดีครับเนี่ย อิอิ


เห็นผลอย่างนี้แล้ว หลายๆท่านอาจจะคิดไปถึงโน่นเลยนะครับ ว่าที่เวบเชียร์ขายของบางแห่งเอาซิงค์ห่วยๆจากจีนแดงหรือซิงค์ยี่ห้อดีแต่ประสิทธิภาพห่วย มาทำให้เย็นกว่าซิงค์เดิมและซิงค์ของชาวบ้านเขา ก็ทำได้ไม่ยากครับ แค่เอาซิลิโคนห่วยๆมาใช้ในการทดสอบกับพวกซิงค์ธรรมดาหรือซิงค์ที่นำมาเปรียบเทียบ เสร็จแล้วก็หาซิลิโคนดีๆอย่างเช่นMX-1มาใช้กับซิงค์ของที่ตัวเองเชียร์อยู่แค่นี้ก็เรียบร้อยครับ เย็นกว่าชาวบ้านเขาแน่นอนครับ หรืออาจจะหนักกว่านี้ เอาขี้มูกทาแทนซิลิโคนที่ซิงค์ที่เอามาเปรียบเทียบกับซิงค์ที่ตัวเองเชียร์อยู่ แบบนี้เย็นกว่าซิงค์เดิม40องศาตามคำโฆษณา น้ำลายแตกฟองแน่นอนเลยครับ อิอิ ซึ่งถ้าเห็นการทดสอบแบบนี้ที่ไหนอีก ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการรับชมด้วยนะครับ


ซึ่งถ้าผมต้องการหมกเม็ดหน่อยแบบมีจรรยาบรรณในการทดสอบนี้ก็ทำได้ไม่ยากเลยนะครับ โดยการเทสต์แค่ซิลิโคนที่แถมมากับUltra120 มาลงก็พอ Ultra120ของผมจะเย็นกว่าNinja Plusทันที 7.5องศา แบบไม่ต้องมั่วผลเลย แต่ของอย่างนี้ ผมว่าเราบอกให้ทราบๆโดยทั่วกัน จะได้แรงกันถ้วนหน้าจะดีกว่านะครับ ซึ่งถ้าจะสรุปผลการเทสต์ของการชน2ซิงค์ยักษ์ตัวนี้ ผมก็พอสรุปจบที่สุดท้ายนี้ได้เลยนะครับว่า Thermalright Ultra120 เย็นกว่า Scythe Ninja Plus ประมาณ2.5-7.5องศาครับ ภายใต้สภาวะแวดล้อมแบบเดียวกันหมด ต่างกันที่ชนิดของซิลิโคนเท่านั้นครับ ไม่ใช่เกือบ20องศาอย่างนี่ผมตั้งกระทู้ไว้ตอนแรกนะครับ เพราะนั่นใช้ซิลิโคนคนละชนิดกันครับ อิอิ


 

————————————————–

ส่งท้ายบทความนี้ กันด้วยรูปซิลิโคนที่ใช้ในการทดสอบอีกเล็กน้อยนะครับ



ซิลิโคนของอมรที่ผมใช้ในการทดสอบนี้ ไม่ได้แห้งหมดอายุแล้วนะครับ ยังเหนียวดีอยู่ครับ อิอิ ส่วนซิลิโคนที่แถมมากับซิงค์Ultra120นั้น ใครซื้อซิงค์ตัวนี้มา ขอแนะนำให้เอาไปทิ้งเลยหรือไม่ต้องเอามาใช้นะครับ ประสิทธิภาพแย่มากๆเลยครับ ซื้อของอมรถูกๆมาใช้ยังเย็นกว่าเลยครับ อิอิ


 



การทาMX-1 เป็นเรื่องที่จะว่ายากก็ยาก แต่จะว่าง่ายก็ง่ายครับ เพราะลักษณะมันเหมือนกับดินน้ำมันร่วนๆ เอามือหรือของแข็งปาดยังไงก็ไม่เรียบติดCPUครับ แต่จะมาติดมือเราหรือของที่เราปาดแทน วิธีใช้ก็บีบใส่ตรงกลางCPUซักขนาดใหญ่กว่าหัวไม้ขีดหน่อยตามรูปก็พอ แล้วเอาซิงค์อัดใส่เลยครับ ใช้ยาวกัน6ปีเลยครับงานนี้ อายุยืนยาวมากๆครับ สำหรับเจ้าซิลิโคนตัวนี้


 



แถมเวลาถอดซิงค์แล้วเอากระดาษแข็งๆหน่อยมาปาดคราบซิลิโคนออกจากCPUและฐานซิงค์แล้ว ก็สามารถนำเศษที่ได้กลับมาปะใส่CPU เอาซิงค์กดทับใช้ได้ต่ออีกครับ แถมยังคงความเย็นเหมือนเดิมด้วยครับ อิอิ


 


สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณท่าน Zolkorn แห่งเวบไซต์ Overclockzone.com ด้วยนะครับ ที่เอื้อเฟื้อให้หยิบยืมซิงค์ตัวเย็น Scythe Ninja plus มาใช้ในการทดสอบครั้งนี้ครับ

ร่วมวิจารณ์บทความนี้ คลิกที่นี่ ครับ

«ก่อนหน้า 1 2 3 4 5 6 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»