VAIO TT15SN นิยามของ Ultra Portable
Share | Tweet |
Sony Vaio “TT”15SN
CPU | Intel Core2 Duo SU9300 1.2Ghz |
RAM | DDR3-800mhz 2048mb |
Chipset | Intel GS45 |
Graphics | Intel 4500 |
Storage | SATA2 120gb 5400rpm |
Optical drive | DVD-RW |
Wireless | Bluetooth + Intel WIFI Link 5100 |
Display | WXGA 11.1″ |
Wieght | 1.3Kg |
Port/Slot | USB2.0 2port ,VGA out, IEEE1394, SD/MMC/Memstick, ExpressCard, ช่องหูฟังNoiseCanceling |
Batterry | 5400MAh |
ภาพจากโปรแกรม Everest แสดงรายละเอียดของเครื่อง
VAIO TT นั้น จัดเป็นเครื่องในกลุ่ม Ultra Portable เน้นความบางเบา พกพาสะดวก ด้วยขนาดจอเพียง 11.1 นิ้ว พร้อมทั้งเบาเพียง 1.3 กิโลกรัม ที่เรียกได้เลยว่า ใกล้เคียงกับน้ำหนักของเน็ตบุ๊กมากๆ บอดี้คาร์บอนไฟเบอร์ สีดำด้าน ที่ทนทานต่อการกระแทกได้ดีในระดับหนึ่ง และสามารถป้องกันรอยขีดขูดได้
จากที่ได้ทดลองใช้ แง้มๆดู พบว่าจุดอ่อนของเจ้า VAIO TT อย่างหนึ่งคือ ความบางของจอ ซึ่งมันก็ถือเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียในตัว ข้อดีก็คือทำให้เครื่องบางเบา ส่วนข้อเสียคือ จากการได้ทดลองใช้งาน ผมพบว่าจอมันค่อนข้างที่จะบางมากจนเวลาจับยกขึ้นมานั้น จะรู้สึกถึงอาการจองอบ้างในบางครั้ง แต่เรื่องของบานพับ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดครับ แข็งแรงดี
ตัวฝาสามารถเอนได้ในระดับที่เห็นดังรูปครับ และเช่นเดิม กับดีไซน์ของโน๊ตบุ๊กโซนี่ในรุ่นที่เน้นความบางเบา กับบานพับแบบทรงกระบอก พร้อมทั้งติดตั้งช่องสำหรับเสียบไฟ DC in และสวิชเปิดปิด อยู่อีกซีกหนึ่ง
โลโก้ VAIO เงางามโดดเด่นอยู่บนบอดี้คาร์บอนไฟเบอร์สีดำครับ
สิ่งที่ Ultra Portable Notebook แตกต่างจาก Netbook นอกจากจะเป็นเรื่องของซีพียูและอุปกรณ์ภายในที่ใช้แล้ว ความสุดยอดของ TT อีกอย่างหนึ่งคือ มี Optical drive ติดตั้งมาให้ด้วยครับ ส่วนใกล้ๆกันนั้นก็ยังมีพอร์ต VGA out แถมมาให้อีกพอร์ต อิอิ
ทางด้านซ้ายมือ ก็จะมีพอร์ต IEEE1394 USBรวมไปถึงพอร์ตแลน RJ45 ในฝาครอบ และการ์ดรีเดอร์ พิเศษที่ช่องต่อหูฟัง จะมีรูบากสำหรับต่อหูฟังแบบพิเศษที่มีฟีเจอร์ Noise Canceling ด้วยครับ และจะสังเกตุเห็นช่องระบายอากาศ ข้างๆฝาปิดพอร์ตแลน อันนี้ต้องขอติ ว่า เล็กซะจนหาแทบไม่เจอครับ
คีย์บอร์ดยังคงสไตล์การออกแบบของโซนี่ไว้อยู่ครับ ด้วยการเลือกใช้ปุ่มลอยจากฐานคีย์บอร์ด เป็นประโยชน์ในแง่ของการดีไซน์ทำให้ดูโดดเด่น และนอกจากนี้ ใครที่ไว้เล็บยาว ก็จะสะดวกในการพิมพ์มากกว่า ส่วนทัชแพดนั้นพบว่า มีลายที่ดูสอดคล้องกับบอดี้คาร์บอนไฟเบอร์ดีครับ หุหุ
แบตเตอร์รี่ขนาดกว่า 5400มิลลิแอมป์ แสตนบายได้ยาวประมาณ 5 ชั่วโมงเลยทีเดียวครับ
เท่าที่จะพอเปิดฝาออกมาดูได้ เจ้า VAIO TT นั้น ผมเข้าใจว่าจะเป็นแรมออนบอร์ดมาเลยครับ เพราะมีสลอตแถมมาให้ใส่แรมแบบ DDR3 ให้อีก 1 สลอตด้วยกัน
มุมมองตรง
เอนไปด้านหลัง 45 องศา
เอนมาด้านหน้า 45องศา
ด้านขวา 45องศา
ด้านซ้าย 45 องศา
Raw Performance กับโปรแกรมยอดนิยม
ทดสอบ WinRAR
Super PI 1mb
Cinebench R10
ผลการทดสอบ หลายๆอย่าง อาจจะดูน้อยๆไปสำหรับ Core 2 Duo แต่ต้องอย่าลืมว่า Core 2 Duo ใน VAIO TT นั้นมี L2 แค่ 3mb และทำงานที่ความเร็วเพียง 1.2Ghz เท่านั้นครับ ถ้าไปเทียบกับซีพียูรุ่นเก่าๆที่ความเร็วเท่าๆกันละก็นี่ถือว่า เร็วอยู่มากโข และเพียงพอกับการใช้งานทั่วไปแล้วครับ
HDtune
Synthetic Benchmark.
Everest Ultimate Edition
3Dmark Series
วัดประสิทธิภาพในการเล่นเกมกราฟฟิคโหดๆ…
3Dmark05
3Dmark06
คะแนนออกมา ดูไม่จืดเลยครับ หุหุ สำหรับ Intel 4500 กับซีพียูความเร็วที่ค่อนข้างต่ำ แต่ก็ถือว่าไม่แปลก เพราะโน๊ตบุ๊กในกลุ่ม Ultra portable ก็ไม่ได้เน้นการใช้งานในด้านนี้อยู่แล้วนั้นเอง
สำหรับบทสรุปของ VAIO TT นั้น ก็คงจะไม่มีคำนิยามอะไรมานิยามให้ นอกจากสุดยอดแห่งความบางเบา และแข็งแรง แบบสมเหตุสมผลจริงๆครับ ในเรื่องของตัวเครื่อง
มาดูกันที่จุดแข็งของ VAIO TT ครับ โดยรวมๆ ถ้ามองผ่านๆเผินๆแล้ว จับดู ใครไม่รู้จริง ก็อาจจะมองว่าเป็น Netbook ไปเลยก็ได้ เพราะด้วยขนาดที่เล็กกว่าโน๊ตบุ๊กแบบปกติอยู่มาก และน้ำหนักที่เบาสืบเนื่องมาจากบอดี้คาร์บอนไฟเบอร์ แบตเตอร์รี่ 5400มิลลิแอมป์ (จุใจจริงๆ) ใช้งานได้ยาวนาน รวมไปถึงช่องออดิโอที่รองรับหูฟัง Noise Canceling
จุดที่ไม่ถือว่าเป็นจุดเด่นหรือด้อยก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผล ซึ่งถ้าดูๆไปแล้ว มันก็เร็วกว่า Netbook ประกอบกับเป็น Dual Core ด้วย แต่ถ้าเทียบกับโน๊ตบุ๊กตัวอื่นๆ ก็จัดได้ว่า ยังคงช้าอยู่อย่างไม่ค่อยน่าพอใจสักเท่าไหร่ครับ แต่ถ้านำมาใช้งานพื้นฐาน หรือมีการนำไปใช้ตัดต่อวีดีโอเร่งด่วนบ้างเล็กน้อย ก็คงจะไม่ลำบากยากเข็ญอะไรนัก
จุดอ่อนที่ผมพบจริงๆก็คือ ช่องระบายความร้อนที่มีขนาดเล็ก และเรื่องของราคาที่เคาะมาค่อนข้างจะสูงไปสักหน่อย อยู่ที่ 59900 บาทครับ
สำหรับวันนี้ก็ต้องอำลาไปแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ…
ดาวโหลดไดร์เวอร์ / ซอฟท์แวร์ คลิกที่นี่
ร่วมวิจารณ์บทความ คลิกที่นี่
ขอขอบคุณ โซนี่ ประเทศไทย