เปิดตำนาน Voodoo ของดีที่โลกลืม
Share | Tweet |
การเปิดตัว Voodoo5 5500 ในครั้งนี้ 3dfx หวังว่าจะช่วยให้ตนเองกลับมาครองตำแหน่งผู้นำตลาด 3D ได้อีกครั้งหนึ่ง แต่ในช่วงที่ Voodoo5 ยังไม่ได้คลอดออกสู่ตลาด บริษัท nVdia ได้เปิดตัวการ์ด Geforce รุ่นไหม่ออกสู่ตลาดในช่วงเดือนตุลาคม 1999 ซึ่งทำให้ nVdia ขึ้นแท่นกลายเป็นผู้นำการ์ด 3D ระดับไฮเอนด์ขึ้นได้ทันที โดยปราศจากคู่แข่งที่แท้จริงไปหลายเดือนเลยที่เดียว ส่วนการ์ด ATi Rage Fury MAXX ที่มีชิปในตัวสองตัว ก็สร้างความผิดหวังไม่แพ้กัน โดยไม่อาจแข่งขันในเรื่องของประสิทธิภาพกับ Geforce ได้เช่นกัน เนื่องจาก Geforce คือการ์ดระดับผู้บริโภคชนิดแรกที่มีกลไก T&L ในตัว
แต่หลังจากคลอดการ์ด Voodoo5 5500 ออกมาแล้ว 3dfx ก็สามารถแข่งขันหรืออาจจะเหนือกว่า Geforce ด้วยซ่ำไป เมื่อใช้โปรแกรมทดสอบและแอพพลิเคชั่นจริงเป็นตัววัด ผู้เชี่ยวชาญคิดว่า nVdia จะโต้กลับโดยใช้ Geforce2GTS ซึ่งน่าจะคลอดภายในปีนี้ ส่วน 3dfx จะเปิดตัวสินค้าชูโรง Voodoo5 6000 ที่ใช้ชิป 4 ตัวภายในปลายฤดูร้อนของปี2000 โดยที่น่าจะตั้งราคาขายปลีกเอาไว้ที่ 599 US$ ซึ่งคาดกันว่า Voodoo5 6000 น่าจะเป็นกราฟฟิกการ์ดชนิดแรกของโลกที่มีฟิลเรตมากกว่า 1 พันล้าน Texels ต่อวินาที ซึ่งถือว่าเป็นประสิทธิภาพสูงสุดในทางทฤษฏีของการ์ดกราฟฟิกแล้ว การ์ด Voodoo5 5500 จะเริ่มจำหน่ายในวันที่ 21 เมษายน 2000 ในราคา 299 US$
การต่อสู้ที่น่าจะเกิดขึ้น
จะเกิดอะไรขึ้นถ้า Voodoo5 6000 ถูกปล่อยให้ออกมาในช่วงเวลาที่สามารถต่อกรกับ Geforce ได้อย่างพอดิบพอดี หลายเขื่อว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง จะเป็นการต่อสู่ที่สมน้ำสมเนื้อ น่าชมเป็นอย่างยิ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว คู่มวยในเวลานั้นคือ Voodoo5 6000 VS Geforce2Ultra ที่มาพร้อมหน่วยความจำ DDR ซึ่งจริงอยู่ แม้ว่าบริษัท 3dfx สามารถเลือกใช้หน่วยความจำ แบบ DDR มาเสริมเขี้ยวเล็บให้กับการ์ดของตนเองได้เช่นเดียวกับ ทาง nVdia แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทาง 3dfx คงเลือกใช้หน่วยความจำแบบ DDR ไปแล้ว หากไม่มีปัญหาด้านการเงินของบริษัทค้ำคออย่างที่เป็นอยู่
มีการคาดคะเนตามมาอีกว่า หากการ์ด Voodoo 5 6000 ถูกวางจริงในปี2000 ถึงวันนี้บรรดาเกมเมอร์ระดับ HardCore จะยังคงใช้งานมันอยู่หรือไม?? คำตอบก็คือหมดสิทธิ์ครับ ด้วยมาตรฐานการทดสอบเกมในปัจจุบัน VooDoo5 6000 ทำคะแนนได้ดีที่สุดบนโปรแกรม 3Dmark2001 ด้วยคะแนนแค่ประมาณ 1800 เท่านั้นและไม่ต้องสงสัยเลยว่า ประเด็นหลักๆ ที่สำคัญ จะมุ่งไปที่ฟีเจอร์อย่าง FSAA ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่รองรับกับ DirectX โดยเฉพาะ และเมื่อ Voodoo5 6000 ไม่ได้เป็นการ์ดที่ออกแบบมารองรับกับ DirectX โดยตรง ผสานกับเมื่อการ์ดไปทดสอบบน Quake III Demo001 (OpenGL) บนความละเอียด 1024×768 โหมดสี 32บิต และเปิดการใช้งาน FSAA ตัวการ์ดยังให้ประสิทธิภาพได้เพียงแค่ 76.2fps เท่านั้น บนการใช้งานโหมด FSAA ของเกมที่อิงกับ DirectX โดยเฉพาะเกมในปัจจุบัน ประสิทธิภาพที่ได้คงลดลงจนไม่อยากเอ่ยถึง
3dfx ยกเลิกการเปิดตัวการ์ด Voodoo5 6000 และปิดกิจการผลิตการ์ดกราฟฟิก
5 พฤศจิกายน 2000 บริษัท 3dfx ได้ออกมาประกาศยกเลิกการเปิดตัว Voodoo5 6000 อย่างเป็นทางการ ในตอนแรกบริษัทคาดว่าจะเปิดตัวการ์ดตัวนี้ได้ในช่วง ฤดูร้อน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าการ์ดรุ่นนี้น่าจะมีประสิทธิภาพเหนือกว่าการ์ดของบริษัท nVdia อีกด้วย แต่ทว่าสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามแผนที่ 3fdx วางเอาไว้
หลังจากที่เลื่อนการวางจำหน่ายออกไป 4 เดือน การ์ดในตระกูล Voodoo5 เริ่มแสดงความล้าหลังในเรื่องของเทคโนโลยีมาขึ้น เมื่อบริษัท nVdia ได้เปิดตัว Geforce2 Ultra ที่ใช้ DDR SDRAM ความเร็ว 250Mhz(500 DDR) ซึ่งทำให้ nVdia ได้ตำแหน่งเจ้าแห่ง Gigatexels ไปครอง แม้แต่การ์ดระดับโลเอนด์ ของ ATi ก็ยังเหนือกว่าการ์ดที่ดีที่สุดของ 3fdx โดยที่ Ati ที่การ์ดตระกูล Radeon ซึ๋งมีประสิทธิภาพเดียวกับการ์ด Geforce2 และใช้เมมโมรี DDR Ram เป็นต้น ส่วนการ์ด Voodoo5 มีข้อจำกัดของการใช้ SDR Ram รุ่นเก่าที่มีความเร็ว 166Mhz เท่านั้น แม้ว่าโครงสร้าง ชิปคู่ ของ Voodoo5 ยอมให้มีการใช้สองเชนแนลติดต่อกับ Ram แทนที่จะเป็นช่องทางเดียว ซึ่งทำให้ได้ประสิทธิภาพ เวอร์ชวล ของ SDR ram ที่ 333Mhz ก็ตาม ดังนั้นแม้ว่ามีการใช้รูปแบบชิปคู่ แต่ Voodoo5 จังไม่อาจจัดว่าเป็นการ์ดกราฟฟิกประสิธิภาพสูงสุดสำหรับในปัจจุบันอีกต่อไป
ในตอนนี้เองที่ 3dfx จะนำการ์ด Voodoo5 6000 ออกวางจำหน่ายทั่วไป แต่บริษัทตัดสินใจขายลิขสิทธิ์เทคโนโลยีชนิดนี้ให้แก่อดีตบริษัทในเครื่อของ 3dfx ที่ชื่อ Quantum แทน เพื่อผลิตออกมาเป็นการ์ดกราฟฟิกระดับ Workstation แทนโดยที่การ์ดดังกล่าวจะไม่วางจำหน่ายทั่วไป นอกจากนั้น 3dfx ยังได้ตัดสินใจขายโรงงานผลิตใน Maxico ซึ่งซื้อมาใว้ในครอบครองได้แค่2ปีเท่านั้นอันเป็นส่วนหนึ่งของการซื้อกิจการของบริษัทผลิตการ์ด STB Systems มาไว้ครอบครอง 3dfx ต้องการย้อนกลับไปใช้โครงสร้างเดิมของตนเองที่เป็นการออกแบบ ชิปเซตที่ใช้ในการ์ดกราฟฟิกเท่านั้น แล้วปล่อยให้การผลิตการ์ดไปอยู่ในมือของบริษัทอย่าง Diamond Multimedia และ STB Systems แทนบริษัทคู่แข่งอื่นๆ อย่าง nVdia ใช้รูปแบบกันทำธุรกิจแบบนี้มานานแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งยากของการผลิตการ์ดของตัวเอง
nVdia ซื้อกิจการ 3dfx
21 มีนาคม 2001- บริษัท nVdia ออกมาประกาศว่าได้ซื้อกิจการของ บริษัท 3dfx Interactive มาใว้ในครอบครองได้แล้ว ซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนีถ้าหากเป็นเมื่อ 12 เดือนก่อน น่าจะมีความยิ่งใหญ่ เหมือนกับการที่ Intel ซื้อกิจการของ AMD เลยที่เดียว การซื้อกิจการครั้งนี้ถ้าหากทำให้ 3dfx ตกลงที่จะยกเลิกการฟ้องร้องทั้งหมดที่มีต่อ nVdia ซึ่งประกอบไปด้วย การฟ้องร้องหลายอย่างที่ 3dfx กล่าวหาว่า nVdia ละเมิดสิทธิบัตรของตนเอง การซื้อขายครั้งนี้ nVdia ได้สิทธิในสิทธิบัตรและเทคโนโลยีต่างๆ ของ 3dfx รวมทั้งระบบเร่งความเร็ว 3d ตะกูล Voodoo5 เทคโนโลยี Mosaic รุ่นต่อไป และบริษัทในเครือของ 3dfx ที่ชื่อ GigaPixel อีกด้วย
นักวิเคราะห์มองว่าการซื้อกิจการครั้งนี้ถือว่าเป็นการพลิกผันโชคชะตาครั้งใหญ่ของ 3dfx ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้นำอุตสาหกรรมนี้มาก่อน โดยเคยเป็นผู้บุกเบิกตลาดระบบเร่งความเร็ว 3d ในผลิตภัณฑ์ Voodoo ของตนมาตั้งแต่ปี 1996 ส่วน nVdia เพิ่งเข้ามาสู่ตลาด 3d ในภายหลังจากนั้น2ปี โดยในตอนแรกๆ มีผู้เรียก nVdia ว่า บริษัทที่พยายามเลียนแบบ 3dfx โดยการคลอดการ์ดกราฟฟิกรุ่น Riva128 ออกมา แต่ในช่วงปี 1997-2000 nVdia สามารถแย่งตำแหน่งผู้นำของตลาดนี้ไปได้ โดยครองตลาดส่วนใหญ่ไปได้ในเดือน ตุลาคม 2000 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว 3dfx มีปัญหาได้การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ล่าช้าหลายครั้ง และไม่สามารถรักษาผลกำไรของตัวเองไว้ได้
ปิดตำนาน 3fdx
ไม่ว่าความเป็นจริงจะเป็นเช่นไรก็ตาม แต่หลายคนคงไม่ปฏิเสธว่า การ์ดตระกูล Voodoo โดยเฉพาะการ์ด Voodoo5 6000 เป็นการ์ดที่คลาสสิค และมีเสน่ห์เป็นอย่างยิ่ง และเราทุกคนยังคงสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่า จะอีกนานเท่าไหร่หนอ ที่เราจะได้เห็นกราฟฟิกการ์ดที่ผนวกเอา กราฟฟิกชิป 4 ตัว นำมาไว้บนบอร์ด PCB เดียวกัน ? ต่อไปนี้อยากไม่มีอีกแล้วก็เป็นได้ นอกไปจากหลักการทำงานที่คลาสสิกเข้าขั้น เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของการ์ดในตระกูล Voodoo คือ สีสันและรายละเอียดของพื้นผิวในเกมสายมิติ ชิป 3d ของ 3dfx ได้รับการยอมรับว่าเป็นชิปที่ให้สีสันของภาพที่โดดเด่นกว่าชิป 3d รายอื่นๆ แต่แม้ว่า Voodoo5 6000 จะมีความคลาสสิกในตัวสูงมาก ก็ยังน่าเสียดายว่า การ์ดตัวนี้ก็ยังไม่สามารถเป็นการ์ดที่กอบกู้บริษัท 3dfx ไว้ได้ ในทางกลับกัน มันกลายเป็นการ์ดตัวสุดท้ายของ 3dfx
ในวันนี้ เราทุกคนก็คงได้แต่อาลัย และนึกถึงอดีตอันน่าจดจำของการ์ดจากผู้ผลิตอย่าง 3dfx และเราคงทราบกันแล้วว่า เรื่องราวเกี่ยวกับจุดจบที่น่าเศร้าของบริษัทนี้ ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เกิดจากสาเหตุหลายๆ ประการ และสาเหตุเหล่านั้นเอง เป็นคำตอบที่ว่า ทำไม? โลกของกราฟฟิกการ์ดในวันนี้ จึงไม่มีชื่อ 3dfx สถิตอยู่ !!!!
ขอขอบคุณ หนังสือ QuickPC ฉบับที่ 149 วันที่ 5 Aug 03 ที่ให้ผมเอาบทความดีๆ มาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน
สุดท้ายนี้ ขอเชิญเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ร่วมวิจารณ์บทความนี้โดยการ คลิกที่นี่ครับ