Zalman VF1000 สยบร้อน GPU ?
Share | Tweet |
สวัสดีครับชาว vmodtech และผู้มาเยือนทุกท่าน ในวันหยุดอย่างนี้ผมก็หาอะไรทำสักหน่อยครับ หาเรื่องออกจากบ้านไปหาซื้อของมาเทสดีกว่า ผมมีอะไรมาเทสให้ชม เราไปติดตามกันครับ
มินิเทสนี้ ผมมีความอิสระในการเขียนมาก เพราะไม่ได้รับเงินร้านไหนมาเทส ถึงผมไม่มีอุปกรณ์ไฮเทคมาให้ดู แต่ผลเทสที่ได้รับรองไม่มีการมั่วนิ่ม ไม่เย็นแต่บอกว่าเย็น เย็นอยู่แล้วแต่บอกเย็นเทพสุดเท้า อย่างนี้ไม่มีแน่นอน ไปชมกันครับ !!
อิอิ หลาย ๆ คนคงเดาออกแล้วใช่ไหมครับว่าเจ้านี่มันคือฮีตซิงค์ VGA จาก ZALMAN นามว่า VF1000 นั่นเอง ก่อนอื่นเราไปชมสเปคคร่าวๆ กันก่อนครับว่ามันสามารถใส่ได้กับการ์ดรุ่นไหนบ้าง รวมไปถึงขนาด, น้ำหนัก, รอบพัดลม
ครับ นี่คือสเปคคร่าว ๆ ของเจ้า VF1000 (ภาพจากเว็บผู้ผลิต) ส่วนมันจะใช้กับการ์ดรุ่นไหนได้บ้างและวิธีการประกอบนั้น ขอให้ไปชมจาก >>ZALMAN<< เลยดีกว่าครับเพราะใส่ได้กับการ์ดหลายรุ่นเยอะแยะมากมายทีเดียว วิธีประกอบจัดว่าง่ายมากครับสำหรับฮีตซิงค์จาก ZALMAN
ส่วนท่านใดที่ต้องการนำเจ้าซิงค์ตัวนี้ไปใช้กับการ์ดตระกูล 8800 นะครับ ทางเว็บผู้ผลิตก็ได้แนะนำให้ซื้อ ZM-RHS88 ด้วย ซึ่งเจ้าตัวนี้มันเป็นซิงค์สำหรับแปะพวกภาคจ่ายไฟ, แรมบนการ์ดตระกูล 8800 แต่ผมไม่ได้ซื้อมาหรอกครับเพราะผมมีซิงค์ที่แถมมากับ HR03 Plus ที่ผมใช้อยู่ก่อนหน้านี้แปะไว้อยู่แล้ว
แว็บแรกที่ผมเห็นซิงค์ตัวนี้ ผมนึกในใจทันทีว่ามันจะเย็นหรือ ? พัดลมก็เล็ก ฐานก็เล็ก หากนำมาใช้กับการ์ดรุ่นใหญ่ ๆ ร้อน ๆ มันจะให้ผลที่ดีหรือเปล่า ผมคิดถูกหรือคิดผิด ก่อนที่จะไปชมผลการทดสอบ เราไปดูกันก่อนครับว่าแกะกล่องออกมา เขามีอะไรมาให้เราบ้าง และตอนประกอบเสร็จแล้วการ์ดจะหล่อแค่ไหน ไปชมกันเลยครับ
หน้าตาของตัวซิงค์ครับ
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการประกอบครับ คราวนี้ zalman ใจดีหน่อยตรงที่แถมพวกแหวนยางรองต่าง ๆ มาให้เป็นอะไหล่ด้วยเผื่อใครทำหาย ไม่เหมือนที่แล้วมาหากทำหายไปชิ้นนึงท่านได้เอายางลบมาทำเป็นแหวนแทนแน่นอนครับ
หลังจากแกะกล่องและเตรียมอุปกรณ์แล้วผมก็ทำการหลับตาประกอบทันที ไม่เกิน 10 นาทีก็เสร็จแล้ว ท่านเทพสเตฟรานทำได้แบบผมป่าวครับ อิอิ ต่อไปเราไปชมกันหลาย ๆ มุมครับ หลังประกอบเสร็จเรียบร้อย
นี่ครับ ข้อดีของซิงค์ตัวนี้ ประกอบเสร็จ จะกินเนื้อที่เพียงสล๊อตเดียวครับ
อีกมุม…
และอีกมุม…ต่อไป ไปชมกันครับว่าเสียบลงเมนบอร์ดแล้วจะเป็นอย่างไร
นี่ครับ กินพื้นที่เพียงสล๊อตเดียว คราวนี้ก็หาซื้อซาวน์การ์ดมาเสียบได้แล้วครับ อิอิ
ลงเครื่องเรียบร้อย ต่อไปเราไปดูกันครับว่า ไฟ LED จะแจ่มแค่ไหน
แจ่มสวยงาม ใช้ได้ทีเดียวครับ
เอาล่ะครับ มาถึงขั้นตอนสำคัญแล้ว ต่อไปนี้เราไปดูผลเทสกันครับว่าจะออกมาสยบความร้อนของชิบ G80 ได้หรือไม่ แต่ก่อนอื่นขอบอกวิธีการเทสของผมก่อน ผมจะใช้ 3DMARK 05 เป็นซอฟแวร์ที่ใช้สำหรับ burn การ์ดนะครับ โดยจะทำการ Burn 3 loop ทุกการทดสอบ ซิลิโคน MX-1 เจ้าเก่า ทดสอบในห้องธรรมดาไม่เปิดแอร์ อุณหภูมิห้องอยู่ที่ประมาณ 30 - 32 องศา ปรับรอบพัดลม 100% ตลอด (2500 RPM โดยประมาณ) ก็แดดออกร้อนกันทั้งวันล่ะครับสำหรับวันนี้ และผมเทสในเคสแต่เปิดฝาเคสทิ้งไว้ตลอดครับ สำหรับสเปคที่ใช้ในการทดสอบมีดังนี้
ระหว่างการ Burn การ์ดนี่ ผมเอามือลองจับที่ตัวซิงค์ดู ปรากฏว่าจับได้ไม่เกิน 5 วินาทีผมต้องปล่อยแล้วเพราะร้อนมาก อันนี้ผมถือว่าเป็นเรื่องดีเพราะซิงค์สามารถดูดความร้อนออกมาจาก GPU ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมจะเปรียบเทียบกับ Thermalright HR03 Plus ให้ดูด้วยครับสำหรับขณะ idle ส่วนตอนฟูลโหลดนั้นผมไม่ได้เก็บผลเทสมา ทั้งนี้ท่านสามารถกดดูได้จาก >>ที่นี่<< ครับ ผมเทสในคอนดิชั่นเดียวกัน
Thermalright HR03 Plus ขณะ Ilde ครับ
Zalman VF1000 Idle ครับ มองไม่ผิดหรอกครับ มันเกือบร้อนเท่าซิงค์เดิมเลย ตอนผมเล่นซิงค์เดิม Idle ก็อยู่ราว ๆ 60 - 62 องศา ประมาณนั้นครับ ต่อไปมาดูฟูลโหลดกันครับ
เห็นแล้วอยากบ้าครับ ร้อนพอกับซิงค์เดิมไม่มีผิดเพี้ยน อ้าวแล้วอย่างนี้ผมจะซื้อมาทำไมครับเนี่ย อย่าเพิ่งด่วนสรุปครับว่ามันจะห่วยไปซะทั้งหมด
บางท่านอาจมองไม่ค่อยเห็นตัวเลข ผมจะสรุปให้อ่านครับ
HR 03 Plus
Idle = 51c
Full Load = กดที่ลิงค์ที่ผมให้ไว้เลยครับ
VF1000
Idle = 58c (เสริมให้อีกนิดครับ ตอนนี้ผมปิดเคสเข้าไปได้ครึ่งชั่วโมงแล้ว ก็ 60 พอดีครับ)
Full Load = 73c Max
ครับ ได้เห็นกันไปแล้วสำหรับประสิทธิภาพที่มันทำได้ แต่เดี๋ยวก่อน อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่ามันไม่ได้ห่วยไปซะทั้งหมด ไปหน้าถัดไปเลยครับ
ความคิดเห็นและข้อแนะนำของผู้ทดสอบ
อย่างที่ผมได้เรียนไว้ในตอนต้นแล้วนะครับ เกี่ยวกับฐานหรือหน้าสัมผัสของซิงค์ตัวนี้ที่เล็กเกินไป หากจะนำมาใช้กับการ์ดตระกูล 8800 มันจะสัมผัสกระดอง GPU ของชิบ G80 ไม่หมดครับ ตรงนี้เป็นเหตุให้มันไม่สามารถที่จะดึงความร้อนออกมาจากตัวชิบได้อย่างเต็มที่เหมือนกับ HR03 Plus ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้กับ GF8800 ที่มีกระดอง GPU ใหญ่มากโดยเฉพาะ บวกกับพัดลมที่มี Flow Rate ที่ต่ำไปสักหน่อย เมื่อสองอย่างนี้มาประกอบกันแล้วจึงทำให้เมื่อนำ VF1000 มาใช้กับ GF8800 จึงทำให้ประสิทธิภาพไม่ต่างอะไรกับซิงค์เดิม ผมฝากไว้ตรงนี้เลยครับว่า VF1000 นี้ “ไม่เหมาะกับการ์ดตระกูล 8800″ ซึ่งเป็นการ์ดที่กินไฟและความร้อนสูงจริง ๆ ครับ
กลับกันครับ ผมมั่นใจมากว่าหากนำซิงค์ตัวนี้ไปใช้กับการ์ดที่มีความร้อนไม่สูงเหมือน GF8800 ล่ะก็ มันต้องเย็นแน่นอนครับ ขนาดมันกดการ์ดผมตอน Full Load ให้ได้เท่าซิงค์เดิมแล้วเนี่ย กับการ์ดที่มีความร้อนไม่สูงมากนัก มันต้องทำได้ดีแน่ ๆ กับฮีตไปป์ 4 ท่อและฟินยาวและใหญ่กว่าซิงค์ VGA ที่แล้ว ๆ มาของ ZALMAN
ข้อดี
1.ติดตั้งง่ายมาก
2.น้ำหนักไม่มากจนเกินไป
3.กิ้นเนื้อที่เพียง 1 สล๊อตเท่านั้น
4.เสียงพัดลมที่เงียบ
5.ติดตั้งลงไปแล้วดูสวยงาม
ข้อเสีย
1.ไม่เหมาะกับการ์ดตระกูล 8800 อย่างสิ้นเชิง (ประสิทธิภาพเทียบเท่า Stock Heatsink)
2.หากนำมาใช้กับ GF8800 จะต้องซื้อ ZM-RHS88 เพิ่ม
สุดท้ายก็คงอยู่ที่วิจารณญานของท่านแล้วล่ะครับว่า ZALMAN VF1000 เหมาะสมกับการ์ดของท่านหรือไม่ ?
ร่วมแสดงความคิดเห็น : กดที่นี่