เกริ่นซะนาน กานซะเนิ่น จะพูดว่าไรต่อไปอีกหว่า เหอๆ เริ่มฝืดครับ นึกมุขไม่ออกแว้ว เหอะๆ
เอาหล่ะไม่รุ้จะเริ่มยังไง ก็ขอเริ่มด้วยรูป กันดีกว่าครับ (เหมือนเดิมๆ)
อิอิ พอจะเริ่มได้แล้วกั้บ เอิ้กๆๆ ต้องมีแรงบรรดาลใจ (ศิลป์จัดว่างั้น) เอิ้กๆๆๆๆ
เอ้าๆๆๆ นอกเรือ่งซะนานมาเข้าเรื่องที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ก่อนดีกว่าครับ
คือลักษณะในการถ่ายภาพในปัจจุบันมันมีเยอะมาก ตามแต่เราจะแยก ขอไม่แยกก็แล้วกัน แต่ผมจะพูดถึงการถ่ายภาพ ในโอกาศ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ว่าเราควรที่จะตั้งค่ากล้องอย่างไร อาจจะมีแถมๆ เทคนิคการสร้างภาพสวยๆ หรือภาพศิลป์ต่างๆนาๆ อะไรก็ว่าไป แต่ตอนนี้ ขอ ใว้ก่อนก็แล้วกันน่ะครับ สำหรับบทความนี้ ก็จะพูดถึงเรือ่งการถ่ายภาพ บุคคล หรือ Portrait และการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์กั้บ บวกกับการจัดมุมกล้องให้ภาพออกมาดูดี เล็กๆน้อยๆ อิอิ
เอ้า เริ่มแบบไหนกันก่อนดีหว่า อื้ม เอางี้ เริ่มด้วยการถ่ายภาพพื้นๆ ง่ายๆก่อนเลยก็แล้วกันน่ะครับ
-ก่อนที่ถ่ายภาพ เราควรคำนึงถึง
1. สภาพของแสงในขณะนั้น มืด สว่างแค่ไหน มีโทนสีของแสงเป็นแบบไหน
2. จุดเด่นของภาพ เราจะถ่ายอะไร หรือจะถ่ายวิว ก็ควรที่จะเรียนรู้การจัดมุมกล้องให้ดี
3. โหมดที่เราใช้ถ่าย เหมาะสมกับสภาพแสง และสิ่งที่เราจะถ่ายแล้วหรือยัง
อันนี้เป็น ปัจจัยหลักๆ ในการที่เราจะถ่ายรูป อย่างมีหลักครับ ไม่ใช่ มาถึง สักๆแต่ว่ากดชัตเตอร์ถ่ายๆๆๆๆๆๆๆ สักแต่ว่ามีรูปเป็นพอ อันนั้นก็ไม่ต้องมาอ่านบทความผมครับ อิอิ ไม่มีประโยชน์
-ทำความเข้าใจ ค่าต่างๆที่เรารู้มา สัมพันธ์กับการถ่ายอย่างไร
1. ค่า F หรือค่ารูรับแสง ค่านี้ อย่างที่เคยอธิบายไปแล้ว ว่ายิ่งมาก รูรับแสงก็จะยิ่งแคบ ถ้าค่าน้อย รูรับแสงก็จะเปิดกว้าง
ให้จำใว้ด้วยว่า F มากชัดลึก F น้อย ชัดตื้น
กล่าวคือ ค่า F มาก ระยะชัดที่ได้ ก็จะยาวออกไปมากกว่า ค่า F ที่น้อย ซึ่งความชัด ก็จะชัดแค่บริเวณที่เราโฟกัสเท่านั้น
2. ค่าความเร็วชัตเตอร์
ค่านี้ อย่างที่เคยอธิบายไปแล้ว ว่ามันคือ เวลาที่เปิดม่านชัตเตอร์ นอกจากนี้ ค่าความเร็วชัตเตอร์ ยังสามารถช่วยชดเชยแสงได้อีกด้วย ยิ่งเปิดใว้นาน แสงก็จะเข้ามาก แต่โอกาศที่ภาพจะสั่นไหว ก็มีมากยิ่งขึ้น
-ถ่ายรูป เบื้องต้น ง่าย เพียงนับ 1-5
1. เปิดกล้อง
2. เลือกโหมดการถ่ายภาพ
ทีนี้ ลักษณะในการเลือกโหมดถ่ายภาพเนี้ย ผมอยากจะขอแทรกใว้ตรงนี้เลยก็แล้วกันครับ
ถ้าหากจะถ่ายแบบนับ 1-5 ผมขอแนะนำให้ท่านทั้งหลาย ใช้โหมด DSP ในการถ่ายครับ เพราะกล้อง จะทำการคอนฟิกค่าที่สำคัญๆให้เราเกือบหมดแล้ว โหมด DSP เท่าที่เห็นๆในกล้อง ก็มีอยู่ด้วยกัน 5โหมดครับ ได้แก่
2.1 Auto โหมดนี้ ในกล้องส่วนใหญ่ จะทำการวิเคราะสภาพแสง และวัตถุที่เราต้องการถ่าย แล้วโปรแกรมกล้อง จะไปทำการเลือกโหมด DSP อื่นๆ ที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพ
2.2 โหมด Portrait โหมดนี้ จะเป็นโหมดสำหรับถ่ายภาพบุคคล โดยการคอนฟิกค่าส่วนใหญ่ จะเป็นออโต้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น White Balance ISO หรือค่า F และ ความเร็วชัตเตอร์ แต่จะเสริมนิดนึง เพราะว่า การถ่ายภาพ Portrait ที่ดี ต้องให้นาย/นางแบบ เป็นจุดเด่นเสมอ ไม่ควรเน้นฉากหลังมาก ดังนั้น การถ่ายภาพ Portrait คือต้องการให้ หน้าชัด หลังมัว ดังนั้น โปรเกรม จะพยายามใช้ค่า F หรือรูรับแสง ที่กว้างที่สุด(ค่าน้อยที่สุด) ซึ่งจะมีผลทำให้ ระยะชัดลึก สั้นลงมามากที่สุด และทำการปรับค่า ความเร็วชัตเตอร์ตามสภาพแสง
2.3 โหมดสำหรับถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ลักษณะการตั้งค่าส่วนใหญ่จะเป็นออโต้ โดยจะพยายาม ตั้งค่า F ให้สูงมากที่สุด(รูรับแสงแคบ) เพื่อภาพที่ได้ จะได้เป็นภาพที่มีระยะชัดลึก กว่าภาพถ่ายบุคคล และจะทำการปรับ Shutter speed สัมพันธ์กับค่ารูรับแสงอีกทีนึง ด้วยระบบวัดแสงในตัวกล้อง นอกจากนี้กล้องจะไม่ทำการเปิดแฟลชในโหมดนี้ (เพราะอะไรเดี้ยวรู้กันตอนหลัง อิอิ)
2.4 โหมดถ่ายภาพกีฬา โหมดนี้ โดยปกติ กล้องจะทำการเปลี่ยนระบบการโฟกัส เป็นแบบ Full Time AF คือ ตราบใดที่เรายังไม่ปล่อยมือออกจากชัตเตอร์(ในจังหวะที่1) มันก็จะทำการหาจุดโฟกัสใหม่ๆอยู่เรื่อยๆไป และ กล้องจะพยายามเลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเป็นการหยุดภาพคนกำลังเคลื่อนไหวได้ และค่าอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็น Auto หมด ไม่มีการฟิกซ์ค่าอะไรนอกจากนี้
2.5 โหมดถ่ายภาพ พระอาทิตย์ตก โหมดนี้ จะทำการปรับค่า White Balance ให้รับกับแสงพระอาทิตย์ แต่ข้อควรระวังของนักถ่ายภาพทั้งหลายก็คือ อย่าให้กล้อง ถูกแสงอาทิตย์ในตอนที่แดดจัดๆ ส่องเข้ามาเป็นเวลานานๆ เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเซ็นเซอร์รับภาพของกล้องคุณได้
3. ล็อกโฟกัส
ในขั่นตอนนี้ กล้องจะทำการหาโฟกัส และล็อกโฟกัสเอาใว้ และทำการคำนวนแสง เมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจ ไฟ บริเวณช่องมองภาพ ก็จะปรากฏเป็นสีเขียว หรือ บนจอ LCD ของเรา ก็จะปรากฏ รูปอะไรสักอย่างที่ทำให้เรารู้ว่า มันหาโฟกัสเจอแล้ว (แล้วแต่รุ่นแล้วแต่ยีห้อ ศึกษาจากคู่มือเอาครับ)
Tips อิอิ เสริมๆ ในกรณีที่เราไม่สามารถหาโฟกัสเจอได้ใน สภาพแสงแบบนึง หรือ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ให้สันิศฐานใว้ก่อนเลย ว่ากรณีแรก “มันใกล้เกินไปมั้ย” ถ้าใกล้เกินไป ก็ให้เปลี่ยนมายังโหมด มาโคร เพื่อโฟกัส แต่ถ้า มันยังหาไม่เจออีก ก็ให้ลองกระเถิบออกมาสักนิด
หรือ ถ้าเกิดว่ามันไม่ได้จริงๆ สันนิษฐานได้อีกกรณีนึง ว่า สภาพแสงอยู่ในช่วงที่กล้อง ไม่สามารถหาโฟกัสได้ ให้เราทำการ ย้ายวัตถุที่ต้องการโฟกัส (ให้ระยะมันใกล้ๆกันหน่อยนะ) ไปล็อกโฟกัสที่วัตถุนั้น แล้ว ย้ายกลับมาเล็งสิ่งที่ต้องการถ่ายอีกรอบนึง แล้วถึงค่อยกดถ่าย
หรือแก้ปัญหามันง่ายๆ คือการใช้ Manual Fucus ซะเลย ในกรณีที่สภาพแสงแย่มากๆ มันอาจจะต้องการการปรับตั้งค่าที่ละเอียดกว่านี้ ใว้ผมจะพูดทีหลังก็แล้วกัน
4. กดลงถ่ายจริงๆได้เลย
5. ดูรูปว่าพอใจมั้ย ถ้าไม่พอใจ ย้อนกลับไปตอนที่ 1 ไปพินิจพิจารณาใหม่ อิอิ
การจัดมุมกล้อง เรื่องลึกแต่ไม่ลับ
เรื่องการจัดมุมกล้อง เป็นอะไรที่มันพูดยากเหมือนกันน่ะครับ เพราะต่างคนก็ต่างมีลูกเล่นในการวางวัตถุแตกต่างกันออกไป ผมจะพูดแต่ภาพรวมเลยก็แล้วกันนะครับ