Argonne National Laboratory เลือกโปรเซสเซอร์ AMD EPYC ไปใช้ในระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลระดับ Exascale
Share | Tweet |
Argonne National Laboratory เลือกโปรเซสเซอร์ AMD EPYC ไปใช้ในระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลระดับ Exascale
— ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใหม่ Polaris จะเพิ่มประสิทธิภาพด้าน AI, วิศวกรรม และโครงการทางวิทยาศาสตร์เพื่อการประมวลผลของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับ Exascale ที่ Argonne National Laboratory —
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย - 1 กันยายน 2564 - AMD (NASDAQ: AMD) ประกาศว่า ห้องปฎิบัติการแห่งชาติด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม Argonne National Laboratory (ANL) ของกระทรวงพลังงานประเทศสหรัฐอเมริกา (DOE) เลือกผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์ AMD EPYC ในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการประมวลผลบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใหม่ชื่อ Polaris ซึ่งได้เตรียมนักวิจัยสำหรับการทำการประมวลผลบนเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับ exascale ชื่อ Aurora ที่ Argonne ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Polaris สร้างขึ้นโดย Hewlett Packard Enterprise (HPE) ซึ่งจะใช้โปรเซสเซอร์ 2th Gen EPYC และจากนั้นจะอัพเกรดเป็นโปรเซสเซอร์ 3rd Gen AMD EPYC ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักพัฒนาทดสอบและปรับแต่งรหัสซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันเพื่อรองรับการทำงานด้าน AI, วิศวกรรม และโครงการทางวิทยาศาสตร์
นายฟอร์เรสต์ นอร์รอด (Forrest Norrod) รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Data Centre และ Embedded Solution Business Group บริษัท AMD กล่าวว่า “โปรเซสเซอร์เซิร์ฟเวอร์ AMD EPYC ยังคงเป็นตัวเลือกระดับชั้นนำสำหรับการวิจัยในด้าน HPC ยุคใหม่ ให้ประสิทธิภาพและความสามารถที่ตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในการประมวลผลทั้งในระดับก่อนและเทียบเท่าระดับ exascale เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุน Argonne National Laboratory ในการวิจัยสำคัญ ๆ ด้านต่าง ๆ รวมไปถึงเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ (low carbon), การวิจัยทางการแพทย์, ดาราศาสตร์, พลังงานแสงอาทิตย์และอื่น ๆ เมื่อเราเข้าใกล้ยุคการประมวลผลระดับ exascale มากขึ้นเรื่อยๆ
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Polaris จะใช้โปรเซสเซอร์ AMD EPYC 7532 และ EPYC 7543 และกราฟิกการ์ด NVIDIA® A100 Tensor Core เพื่อมอบประสิทธิภาพการประมวลผลที่มีความแม่นยำสูงขึ้นถึง 2 เท่าหรือประมาณ 44 petaflops ซึ่งเร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องปัจจุบันของ Argonne ถึง 4 เท่า
ในเบื้องต้นทีมวิจัยนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Polaris มาใช้ในโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการ Exascale Computing ของ DOE และโครงการ Early Science Program ของ ALCF โดยผู้ใช้ที่อยู่ในโครงการ Exascale Computing ของ DOE จะนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Polaris มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านวิศวกรรมสำหรับการประมวลผลระดับ exascale บนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ Argonne กำลังจะสร้างขึ้น รวมไปถึงการปรับสเกลของระบบการทำงานระหว่างโปรเซสเซอร์และกราฟิกการ์ดและการรวมเวิร์คโฟลว์แบบจำลอง, AI, และส่วนประกอบอื่น ๆ ในด้านการประมวลผลข้อมูล
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีกำหนดส่งมอบและติดตั้งในเดือนสิงหาคม 2564 และจะพร้อมใช้งานได้ภายในช่วงต้นปี 2565 คอมมิวนิตี้ HPC ที่ขยายตัวมากขึ้นจะสามารถเข้าถึงระบบนี้ได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2565 เพื่อเตรียมเวิร์คโหลดสำหรับการประมวลผลด้านทรัพยากรของ DOE รุ่นต่อไปในอนาคต