อินเทลเปิดตัวเอสโอซีรุ่นใหม่แบบมัลติคอร์ กินไฟต่ำ สำหรับแท็บเล็ต อุปกรณ์ทูอินวัน และอุปกรณ์ประมวลผลอื่นๆ สถาปัตยกรรมระดับไมโคร ซิลเวอร์มอนท์ ใช้เทคโนโลยีขนาด 22 นาโนเมตร ช่วยให้ผู้ผลิตขยายขีดความสามารถของระบบ วางดีไซน์และราคาได้หลากหลายมากขึ้น

/ ข่าวโดย: HuGnOi , 13/09/2013 19:25, 671 views / view in EnglishEN
Share

อินเทลเปิดตัวเอสโอซีรุ่นใหม่แบบมัลติคอร์ กินไฟต่ำ

สำหรับแท็บเล็ต อุปกรณ์ทูอินวัน และอุปกรณ์ประมวลผลอื่น

สถาปัตยกรรมระดับไมโคร ซิลเวอร์มอนท์ ใช้เทคโนโลยีขนาด 22 นาโนเมตร

ช่วยให้ผู้ผลิตขยายขีดความสามารถของระบบ วางดีไซน์และราคาได้หลากหลายมากขึ้น

012 อินเทลเปิดตัวเอสโอซีรุ่นใหม่แบบมัลติคอร์ กินไฟต่ำ  สำหรับแท็บเล็ต อุปกรณ์ทูอินวัน และอุปกรณ์ประมวลผลอื่นๆ  สถาปัตยกรรมระดับไมโคร ซิลเวอร์มอนท์ ใช้เทคโนโลยีขนาด 22 นาโนเมตร  ช่วยให้ผู้ผลิตขยายขีดความสามารถของระบบ วางดีไซน์และราคาได้หลากหลายมากขึ้น

ประเด็นข่าว

  • - นับจากการเปิดตัวเทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ที่ล้ำหน้าอย่าง ไตร-เกต 22 นาโนโมตร และสถาปัตยกรรมระดับไมโคร ซิลเวอร์มอนท์ มาคราวนี้ อินเทลเปิดตัวเอสโอซี มัลติคอร์ รุ่นใหม่พร้อมกันถึงสามรุ่น ซึ่งเดิมใช้ชื่อรหัสว่า “เบย์เทรล” (Bay Trail) สำหรับแท็บเล็ต ทูอินวัน ออลอินวัน แล็ปท้อป และเดสก์ท้อป

  • - อินเทล® อะตอม™ แซท3000 ซีรี่ส์ ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์ นับเป็นเอสโอซีสำหรับแท็บเล็ตสมรรถนะสูงที่สุดของอินเทลในขณะนี้ ที่ลงตัวทั้งประสิทธิภาพ ระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ กราฟิกและคุณสมบัติต่างๆ สำหรับนักธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไป และใช้กับระบบปฏิบัติการได้ทั้ง แอนดรอยด์* และวินโดวส์ 8*

  • - ผู้ผลิตโออีเอ็มชั้นนำหลายรายเตรียมวางจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ เบย์เทรล หลากรุ่นหลายราคาตั้งแต่ไตรมาสสี่ของปีนี้

.

    อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม, ซานฟรานซิสโก, 12 กันยายน 2556 – วันนี้ อินเทล คอร์ปอเรชั่น ประกาศเปิดตัวเอสโอซี (SoC – system-on-a-chip) ซึ่งเป็นชิพแบบที่มีระบบประมวลผลต่างๆ ฝังอยู่ในชิพตัวเดียวกัน ตระกูลใหม่ล่าสุดซึ่ง กินไฟต่ำ ที่มีชื่อรหัสเดิมคือ “เบย์เทรล” (Bay Trail) เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของอุปกรณ์ที่มีสมรรถนะสูงและประหยัดพลังงาน ตั้งแต่แท็บเล็ต อุปกรณ์ทูอินวัน ไปจนถึงอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ให้พร้อมรองรับความต้องการของทั้งนักธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปในราวไตรมาสสี่ของปีนี้ โดยมีผู้ผลิตชั้นนำที่เตรียมนำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ได้แก่ เอเอวีเอ* เอเซอร์* เอซุส* เดลล์* เลอโนโว* และ โตชิบา* เป็นต้น

    โปรเซสเซอร์ในตระกูล “เบย์เทรล” ผลิตด้วยสถาปัตยกรรมระดับไมโคร “ซิลเวอร์มอนท์” ของอินเทล ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและกินไฟต่ำ และเปิดตัวไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 โดยมี อินเทล อะตอม แซท3000 โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ หรือ “เบย์เทรล-ที” (Intel Atom Z3000 Processor Series or “Bay Trail-T”) เป็น เอสโอซี มัลติคอร์ สำหรับอุปกรณ์โมบายล์รุ่นแรกและเป็นที่มีสมรรถนะสูงที่สุดในปัจจุบันของอินเทล1 เหมาะสำหรับแท็บเล็ตและอุปกรณ์โมบายล์อื่นๆ ที่ต้องการดีไซน์บางเบา ทำงานได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว และมีความลงตัวทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพ อายุการใช้งานแบตเตอรี่ กราฟิกและคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมาย

    สถาปัตยกรรมระดับไมโครรุ่นใหม่ดังกล่าวรองรับการทำงานในหลากรูปแบบ ทำให้เอสโอซีสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดกลุ่มต่างๆ ได้ โดยมีให้เลือกทั้ง อินเทล® เพนเที่ยม® โปรเซสเซอร์ (เบย์เทรล-เอ็ม) และ เซเลอรอน® โปรเซสเซอร์ (เบย์เทรล-ดี) สำหรับอุปกรณ์ทูอินวันระดับเริ่มต้น แล็ปท้อป เดสก์ท้อป และอุปกรณ์ออลอินวัน

    เอสโอซีในตระกูล “เบย์เทรล” เป็นทางเลือกให้ลูกค้ามากมาย ในการกำหนดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ชิ้นหนึ่งให้สามารถใช้ได้ทั้งวินโดวส์ 8* และแอนดรอยด์* เพื่อดีไซน์ตัวเครื่องได้อย่างหลากหลายรูปแบบ และสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้หลายระดับราคาเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกได้ตรงตามความต้องการทั้งในกลุ่มนักธุรกิจและผู้ใช้งานทั่วไป

    เฮอร์แมน อูล รองประธานองค์กรและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มโมบายล์และการสื่อสารของอินเทล กล่าวว่า “สิ่งที่เรานำเสนอในแพลตฟอร์ม เบย์เทรล คือ เอสโอซีที่มีพลังสมรรถนะสูงอย่างไม่น่าเชื่อ จุดแข็งที่โดดเด่นของแพลตฟอร์มนี้จึงมีทั้งด้านประสิทธิภาพ ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนาน และประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้คนที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด พันธมิตรในระดับโออีเอ็มของเราที่นำเบย์เทรลไปพัฒนาสินค้าของตน จะสามารถดีไซน์ตัวอุปกรณ์ให้มีรูปแบบที่หลากหลายและมีจำหน่ายในหลายระดับราคา เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค นักธุรกิจ และผู้จัดการฝ่ายไอที”

    เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ให้ขึ้นไปถึงจุดซึ่งเป็นที่ต้องการของอุปกรณ์พกพา อินเทล จึงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาและความท้าทายต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน รวมถึงความสามารถในการทำงานมัลติทาสก์ ยืดระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ คุณสมบัติด้านกราฟิกที่ดีขึ้น ประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้น และความคล่องตัวในการใช้อุปกรณ์พกพาที่ทำให้ใช้งานได้เพลิดเพลินยิ่งขึ้น สำหรับวิดีโอคลิปที่มีเนื้อหาและภาพเกี่ยวกับผู้บริหารและนักพัฒนาซึ่งเกี่ยวข้องกับเบย์เทรล สามารถดูได้ที่ intel.synapticdigital.com.

    แท็บเล็ตที่มีสมรรถนะสูงขึ้น อุปกรณ์ทูอินวันที่ใช้อินเทล อะตอม แซท3000 โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์

    อินเทล อะตอม แซท3000 เป็นซีรี่ส์โปรเซสเซอร์ที่ให้สมรรถนะในระดับสูงพร้อมด้วยอายุแบตเตอรี่ ที่ยาวนานตลอดวัน ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของอินเทลที่มีความสามารถสูงที่สุดและให้ประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบันสำหรับแท็บเล็ตและอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ที่ต้องการดีไซน์บางเบา ด้วยขนาดที่เล็กกว่าเดิม กินไฟต่ำ แต่มีสมรรถนะในการประมวลผลมากกว่าเดิมถึงสองเท่า และมีสมรรถนะด้านกราฟิกดีกว่าเดิมถึงสามเท่า เมื่อเทียบกับอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่นปัจจุบัน แพลตฟอร์มเอสโอซีรุ่นกินไฟต่ำช่วยให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานได้นานกว่า 10 ชั่วโมง2 และเปิดสแตนด์บายได้นานถึงสามสัปดาห์โดยที่เครื่อง ยังสามารถเชื่อมต่อออนไลน์ได้ตลอดเวลา

    นอกจากนี้ อินเทล อะตอม แซท3000 โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ ยังมีเทคโนโลยี Intel® Burst Technology 2.0 และมี 4 คอร์ 4 เธรด และแคช L2 ขนาด 2 MB โดยที่สมรรถนะดังกล่าวทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานในลักษณะมัลติทาส์ก สร้างและอ่านหรือดูคอนเทนท์ได้เต็มที่ และเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์ต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะใช้บนแอนดรอยด์หรือวินโดวส์ 8 นอกจากนี้ ยังมีดีไซน์ของตัวเครื่องให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแท็บเล็ต หรือ อุปกรณ์ทูอินวัน โดยตัวอุปกรณ์สามารถดีไซน์ให้มีความบางเบาได้ตั้งแต่ขนาด 8 มม.ไปจนถึง 1 ปอนด์ (ประมาณ 0.45 กก.) และมีขนาดจอตั้งแต่ 7-11.6 นิ้ว* สำหรับแท็บเล็ตที่ใช้ เอสโอซี อินเทล อะตอม จะมีจำหน่ายในราคาเริ่มต้นที่ 199 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6,000 บาท)

    สำหรับการใช้งานในองค์กรธุรกิจ อินเทล อะตอม แซท3000 ซีรี่ส์ ยังทำให้แท็บเล็ตมีประสิทธิภาพและดีไซน์ซึ่งเป็นที่ต้องการ โดยมาพร้อมกับระบบการปกป้องข้อมูลสำหรับองค์กรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับฝ่ายไอที คุณสมบัติด้านการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ได้แก่ เทคโนโลยี McAfee® DeepSAFE*, AES hardware full disk encryption, Intel® Platform Trust Technology, Intel® Identity Protection Technology และ Intel Data Protection Technology โดยเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้การทำงานบนแพลตฟอร์มนี้ปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ยังรองรับการทำงานของ Microsoft Windows 8 Pro Domain Join and Group Policy และใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชั่นและอุปกรณ์พ่วงต่อต่างๆ ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย

    อินเทลได้ทำงานร่วมกับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อให้มั่นใจว่า แพลตฟอร์มที่ใช้สถาปัตยกรรม อินเทลทั้งบนวินโดวส์และแอนดรอยด์จะให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด นักพัฒนาบางส่วนที่อินเทลร่วมงานด้วย ได้แก่ Cyberlink, Skype-HD และ Netflix-HD, PhiSix, Arcsoft, Tieto, Gameloft รวมถึงแอพพลิเคชั่นสำหรับธุรกิจอีกหลายราย โดยอินเทลมุ่งเน้นในด้านคุณภาพสูงสุดของภาพ กราฟิก และสมรรถนะโดยรวมทั้งหมดเพื่อให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากอินเทลมีประสบการณ์ยาวนานในการใช้ระบบปฏิบัติการทั้งวินโดวส์และแอนดรอยด์ จึงสามารถดึงจุดเด่นของทั้งสองระบบมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

    ในราวต้นปี 2557 อินเทลเตรียมเปิดตัวเทคโนโลยี 64 บิต สำหรับแท็บเล็ต เพื่อให้ผู้จัดการด้าน

    ไอทีได้ประโยชน์มากขึ้น โดยอุปกรณ์ที่ใช้เอสโอซีเวอร์ชั่นใหม่จะมีแอพพลิเคชั่นและระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์กรในระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ นอกจากนี้ เทคโนโลยี Intel® Identity Protection Technology (IPT) ที่มี PKI ยังไม่จำเป็นต้องใช้รหัส VPN เมื่อมีการใช้งานร่วมกับระบบที่รองรับทั้ง IPT และ PKI อีกด้วย

    เบย์เทรล โปรเซสเซอร์ เพิ่มพลังสมรรถนะให้กับอุปกรณ์ทูอินวันระดับเริ่มต้น โน้ตบุ๊ก เดสก์ท้อป และอุปกรณ์ออลอินวัน

    สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ “เบย์เทรล-เอ็ม” จะมีวางจำหน่ายร่วมสี่รุ่น ซึ่งได้แก่ อินเทล เพนเที่ยม เอ็น3510 โปรเซสเซอร์ และ อินเทล เซเลอรอน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ ซึ่งได้แก่ เอ็น2910, เอ็น2810 และ เอ็น2805 โปรเซสเซอร์ซีรี่ส์ดังกล่าวจะเพิ่มสมรรถนะให้กับนวัตกรรมอุปกรณ์ทูอินวันและโน้ตบุ๊กหน้าจอสัมผัส ทำให้ผู้ใช้กลุ่มใหม่ได้รับประสบการณ์ในระดับราคาที่ย่อมเยาลง

    ด้วยสถาปัตยกรรมระดับไมโครที่มีความยืดหยุ่นต่อการผลิตสินค้าและคุณภาพของกราฟิกที่ดียิ่งกว่าเดิม ซึ่งเป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นที่ใช้เบย์เทรล โดยทั้ง เพนเที่ยม เอ็น3000 โปรเซสเซอร์ และ เซเลอรอน เอ็น2000 โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ ต่างให้สมรรถนะในการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่รวดเร็วยิ่งกว่าเดิมถึงสามเท่า และมีคุณสมบัติด้านกราฟิกที่ดีกว่าเดิมสูงสุดถึงสามเท่า เมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊กราคาเยาที่ใช้เทคโนโลยีอินเทลรุ่นก่อนหน้านี้สามปี3 โดยดีไซน์ของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ ไม่ต้องใช้พัดลมระบายความร้อน ตัวเครื่องบางน้อยกว่า 11 มม. และเบาเพียง 2.2 ปอนด์ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) อินเทลคาดว่าจะมีเครื่องวางจำหน่ายในตลาดด้วยราคาเริ่มต้นที่ 199 เหรียญสหรัฐสำหรับเครื่องที่เป็นแบบฝาพับ 250 เหรียญสำหรับโน้ตบุ๊กหน้าจอสัมผัส และ 349 เหรียญสำหรับอุปกรณ์ทูอินวัน

    สำหรับผลิตภัณฑ์ “เบย์เทรล-ดี” จะมีวางจำหน่ายสามรุ่นด้วยกัน คือ อินเทล เพนเที่ยม เจ2850 อินเทล เซเลอรอน เจ1850 และ อินเทล เซเลอรอน เจ1750 ซึ่งทั้งหมดมาในรูปของแพ็คเกจที่มีขนาดเล็กที่สุดของอินเทลสำหรับโปรเซสเซอร์เดสก์ท้อป เพื่อใช้ผลิตเดกส์ท้อปขนาดเล็กและไม่ต้องมีพัดลม สำหรับตลาดผู้ใช้ในระดับเริ่มต้น นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ยังเป็นที่ต้องการของกลุ่มที่มีการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง เช่น จอแสดงผลดิจิตอลอัจฉริยะ (intelligent digital displays) โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ระบบประหยัดพลังงาน สมรรถนะการทำงานที่เร็วกว่าเดิมถึงสามเท่า ระบบกราฟิกที่ดีขึ้นสูงสุดถึงสิบเท่า เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันที่อินเทลเคยนำเสนอเมื่อสามปีที่แล้ว3 สำหรับเครื่องชนิดเต็มรูปแบบที่ใช้โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ดังกล่าว คาดว่าว่าจะมีวางจำหน่ายในราคาเริ่มต้นที่ 199 เหรียญสหรัฐ

    ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
    Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza