มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง CMKL ใช้ NVIDIA DGX POD เร่งการวิจัยด้าน AI ในประเทศไทย การใช้โครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์เร่งความเร็ว AI ขั้นสูงใน SEA
Share | Tweet |
มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง CMKL ใช้ NVIDIA DGX POD เร่งการวิจัยด้าน AI ในประเทศไทย การใช้โครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์เร่งความเร็ว AI ขั้นสูงใน SEA
วันนี้ NVIDIA ประกาศการติดตั้ง NVIDIA DGA POD ระบบใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดย NVIDIA DGX POD นี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยปัญญาประดิษฐ์(AI) ที่มหาวิทยาลัยCMKL ในประเทศไทยโดยคลัสเตอร์นี้จะเป็นโหนดคอมพิวเตอร์กลางที่เชื่อมต่อกับการวิจัยและโหนดของมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ
ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยAI ของประเทศไทยCMKL กำลังจัดตั้งคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์AI เพื่อให้มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแพลตฟอร์มการวิเคราะห์AI เพื่อสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถในเศรษฐกิจปกติใหม่สิ่งนี้จะช่วยผลักดันการวิจัยในหัวข้อต่างๆเช่นอาหารการเกษตรการดูแลสุขภาพและเมืองอัจฉริยะ
“แพลตฟอร์มที่เรากาลังพัฒนาจะช่วยให้นักวิจัยสามารถจัดเก็บและจัดการชุดข้อมูลได้อย่างง่ายดายพวกเขาจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักวิจัยคนอื่นๆและใช้โครงสร้างพื้นฐานHPC บนคลาวด์เพื่อรันโค้ดและโมเดลแมชชีนเลิร์นนิงด้วยความเร็วสูง”ดร. อักฤทธิ์สังข์เพ็ชรผู้อ านวยการโครงการCMKM (ประเทศไทย) มหาวิทยาลัยCMKL กล่าว
มหาวิทยาลัยCMKL ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน(Carnegie Mellon University, CMU) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ให้บริการการวิจัยและการศึกษาด้านวิศวกรรมที่ทันสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการเชื่อมความร่วมมือระดับโลกเข้ากับบริบทของท้องถิ่นCMKL ทาให้เทคโนโลยีสามารถเข้าถึงสังคมและสร้างนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การใช้โปรแกรมการวิจัยและการศึกษาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกของ CMU ภายในบริบทระดับภูมิภาคช่วยให้สามารถรับมือกับความท้าทายที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยและภูมิภาคได้ในอนาคต
ขับเคลื่อนโครงการวิจัยAI
โครงสร้างพื้นฐานใหม่ของมหาวิทยาลัยCMKL ประกอบด้วยระบบ NVIDIA DGX A100 AI จ านวน6 ชุดที่ให้พลังการประมวลผลด้านAI สูงถึง30 Petaflops, ซอฟต์แวร์เครือข่ายNVIDIA Cumulus, NVIDIA Mellanox Spectrum 100GbE และQuantum 200Gbps InfiniBand สวิตช์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อระหว่างโหนดการประมวลผลและพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลสาหรับสาหรับDataDirect Networks(DDN) ขนาด2.5 Petabyte
เมื่อเปิดใช้งานในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนNVIDIA DGX POD ก็จะสามารถเรียกใช้PyTorch สาหรับการประมวลผลภาพ, Kaldi สาหรับการรู้จาเสียงและยังมีNVIDIA Metropolis พร้อมกับDeepStream SDK สาหรับการวิเคราะห์วิดีโอในเมืองอัจฉริยะอีกด้วย
ระบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดถึง20 เท่าซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสาหรับโครงการAI เช่นการวิจัยรู้จาเสียงอัตโนมัติที่ต้องรวบรวมและประมวลผลการป้อนข้อมูลด้วยเสียงที่ยาวนานกว่า1,000 ชั่วโมงและโมเดลการประมวลผลภาพที่มีภาพความละเอียดสูงมากกว่า600,000 ภาพ“แพลตฟอร์มนี้จะช่วยเร่งการทางานของAI ในด้านการวิจัยและพัฒนาต่างๆเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่อสังคมตัวอย่างคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตในเมืองด้วยการจัดการและโลจิสติกส์ที่ดีขึ้น, การเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานแบบครบวงจร, การข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค, การวิจัยด้านชีวการแพทย์และการเพิ่มขึ้นของคุณภาพและปริมาณผลผลิตพืชทั่วประเทศ”ดร.อักฤทธิ์สังข์เพ็ชรกล่าว
ผู้สนับสนุนโครงการนี้คือสานักงานคณะกรรมการนโยบายการวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์อุดมศึกษาแห่งชาติ(สอวช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณะในกากับของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม
“เนื่องจากสอวช.มุ่งมั่นที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยและเพิ่มความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคมผ่านแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเรายินดีที่ PMU-C (Program Management Unit for Thailand’s Competitiveness) มีส่วนร่วมในการจัดหาทุนและการสนับสนุนสาหรับการวิจัยและความคิดริเริ่มระดับโลกนี้ร่วมกับมหาวิทยาลัยCMKL และโครงสร้างพื้นฐานAI ใหม่สอวช. มุ่งหวังที่จะพัฒนาเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นในยุคของAI” ผู้อ านวยการสอวช. กล่าว
ที่มหาวิทยาลัยCMKL ก าลังประมวลผลการอนุมานด้วยEdge, ที่ทางานโดยใช้ NVIDIA Jetson AGX Xavier และ NVIDIA Jetson Nano นอกจากนี้ยังพิจารณารูปแบบการประมวลผลแบบคลาวด์Edge ที่ขยายออกเพื่อใช้ความสามารถในการอนุมานทั้งจากคลัสเตอร์และ Edge device
“NVIDIA DGX POD มอบประสิทธิภาพที่ก้าวล้าซึ่งออกแบบมาเพื่อเร่งปริมาณงานการฝึกอบรมด้านAI รวมไปถึงใช้ในการอนุมานและวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่หลากหลายที่จะช่วยเร่งการวิจัยของมหาวิทยาลัยCMKL เพื่อพัฒนาโซลูชันที่ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยแต่ยังรวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโลกอีกด้วย”เดนนิสอังผู้อ านวยการฝ่ายธุรกิจองค์กรภูมิภาคSEA และANZ ของNVIDIA กล่าว
เกี่ยวกับ NVIDIA
NVIDIA เป็นบริษัท ประมวลผลด้าน AI, เป็นผู้พัฒนา GPU ในปีคุ2542 จุดประกายการเติบโตของตลาดเกมพีซีนิยามใหม่ของกราฟิกคอมพิวเตอร์สมัยใหม่และปฏิวัติการประมวลผลแบบขนานเมื่อไม่นานมานี้การเรียนรู้เชิงลึกของGPU ได้จุดประกายAI ยุคใหม่ซึ่งเป็นยุคถัดไปของการประมวลผลด้วยGPU ที่ท าหน้าที่เป็นสมองของคอมพิวเตอร์หุ่นยนต์และรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองซึ่งสามารถรับรู้และเข้าใจโลกได้ข้อมูลเพิ่มเติมที่http://nvidianews.nvidia.com/# #