สรุปเทคโนโลยีและกิจกรรมอินเทลในปี 2553

/ ข่าวโดย: Venom-Crusher , 27/12/2010 23:22, 294 views / view in EnglishEN
Share

สรุปเทคโนโลยีและกิจกรรมอินเทลในปี 2553

1 สรุปเทคโนโลยีและกิจกรรมอินเทลในปี 2553

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด สรุปไฮไลท์กิจกรรมเด่นในปีที่ผ่านมาและทิศทางเทคโนโลยีปี 2554 ที่จะสร้างความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการขยายขีดความสามารถของระบบการประมวลผลจากการใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ครอบคลุมไปสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกประเภทรวมถึงสมาร์ทโฟน และแท็บเบล็ตพีซี ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวกำลังพลิกโฉมหน้าให้กับอินเทล รวมถึงแวดวงอุตสาหกรรมด้วย

อินเทลยังคงเป็นผู้นำและนำเสนอวัตกรรมต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เห็นได้จากระบบการประมวลผล (Personal Computing) ที่มีขยายขีดความสามารถจากการใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ครอบคลุมไปสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกประเภท ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวกำลังพลิกโฉมหน้าให้กับอินเทล รวมถึงแวดวงอุตสาหกรรมด้วย นอกจากนี้ อินเทลยังได้ต่อยอดกฎของมัวร์ด้วยความก้าวหน้าด้านอุปกรณ์ประมวลผล ด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตรในการเปิดตัวโปรเซสเซอร์ตระกูล อินเทลTM คอร์TM โปรเซสเซอร์ และยังประสบความสำเร็จในธุรกิจต่างๆ ที่เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ อาทิเช่น เน็ตบุ๊ก สมาร์ททีวี อุปกรณ์ระบบข้อมูลและระบบความบันเทิงในรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกหลายรายการ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องจักรแบบ embedded ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต  นอกจากนี้ อินเทลยังได้มีการประกาศให้ทราบถึงกลยุทธ์และความสำเร็จในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนา สิ่งแวดล้อม รางวัลระดับองค์กร และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ

5 สรุปเทคโนโลยีและกิจกรรมอินเทลในปี 2553

ไฮไลท์สำคัญ

การเข้าซื้อกิจการ

แมคอาฟีย์ - ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อินเทลประกาศแผนการเข้าซื้อกิจการของบริษัทผู้ค้าเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของข้อมูลรายใหญ่อย่างแมคอาฟีย์ ด้วยมูลค่าของสัญญาที่ประมาณ 7,680 ล้านเหรียญสหรัฐ    แมคอาฟีย์จะดำเนินกิจการในฐานะที่เป็นบริษัทสาขาลงทุนเองทั้งหมด (wholly-owned subsidiary) ที่ขึ้นตรงกับกลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์และบริการของอินเทล การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอินเทลที่มีต่อความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งในที่สุดแล้วจะช่วยปกป้องความปลอดภัยของข้อมูลให้แก่ลูกค้า องค์กรธุรกิจและภาครัฐได้ดียิ่งขึ้น จากการที่อุปกรณ์ต่างๆ หลายพันล้านชิ้น รวมทั้งเซิร์ฟเวอร์ และระบบเครือข่ายคลาวด์ที่จัดการอุปกรณ์เหล่านี้ ก็จะเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน

อินฟินีออน - ในช่วงเดือนเดียวกันนี้เอง อินเทลยังได้ประกาศซื้อแผนกไวร์เลสโซลูชันบิซิเนสของบริษัท อินฟินีออน  (Infineon) ด้วยมูลค่าประมาณ 1,400 เหรียญสหรัฐฯ โดยธุรกิจไวร์เลส โซลูชั่นดังกล่าวจะดำเนินการเป็นธุรกิจแบบสแตนด์อโลน (standalone business) และเข้ามาขยายความครอบคลุมของผลิตภัณฑ์ด้านไวไฟ และ 4G ไวแมกซ์ ของอินเทล เทคโนโลยีที่ได้มาจากการซื้อกิจการในครั้งนี้จะถูกนำมาใช้กับโน้ตบุ๊กที่ใช้พลังจากอินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ อุปกรณ์ที่ใช้โปรเซสเซอร์อินเทล® อะตอมTM ซึ่งรวมไปถึงสมาร์ทโฟน เน็ตบุ๊ก แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์แบบ embedded

โน้ตบุ๊ก และพีซี

โปรเซสเซอร์ตระกูลอินเทลTM คอร์TM - อินเทลเปิดตัวโปรเซสเซอร์ตระกูลอินเทล คอร์ 2010 ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพที่ผสานการทำงานได้อย่างชาญฉลาดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยี  อินเทลTM เทอร์โบ บูสต์TM Intel® Turbo Boost Technology[1] สำหรับโน้ตบุ๊ก เดสก์ท้อป และอุปกรณ์แบบ embedded  โปรเซสเซอร์ตระกูลใหม่นี้ยังเป็นรุ่นแรกที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตรที่ล้ำสมัยอีกด้วย

โปรเซสเซอร์ตระกูล อินเทลTM คอร์TM เจนเนอเรชั่น 2 สำหรับปี 2011 ในเดือนสิงหาคมอินเทลได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของโปรเซสเซอร์ตระกูล อินเทลTM คอร์TM เจนเนอเรชั่น 2 ใช้ชื่อรหัสว่า “แซนดี้ บริดจ์” (Sandy Bridge) และจะนำมาใช้ในการประมวลผลสำหรับโน้ตบุ๊ก เดสก์ท้อปและเซิร์ฟเวอร์ โปรเซสเซอร์รุ่นแซนดี้ บริดจ์ ซึ่งจะเปิดตัวในช่วงต้นปี 2554 นี้ จะมีคุณสมบัติพิเศษที่ทำการรับชมภาพมีความคมชัดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การชมวิดีโอแบบเฮชดี การชมภาพแบบสามมิติ การเล่นเกมส์ทั่วไป ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน และแชตผ่านโลกสังคมออนไลน์ ไปจนถึงสื่อมัลติมีเดียต่างๆ

อินเทลขยายความครอบคลุมของ โปรเซสเซอร์ตระกูล อินเทลTM คอร์TM สำหรับปี 2010 ไปสู่ โน้ตบุ๊ก Ultra-thin ที่บางเบาเป็นพิเศษ อินเทลได้ขยายความพร้อมในการใช้งานของโปรเซสเซอร์ระดับรางวัลตระกูล อินเทลTM คอร์TM ไปสู่โน้ตบุ๊กอันที่โดดเด่นด้วยสไตล์การออกแบบ และความบางเป็นพิเศษโดยโน้ตบุ๊กที่มีน้ำหนักเบาเหมาะสำหรับการพกพาเหล่านี้หนาเพียงไม่ถึงหนึ่งนิ้ว และมีน้ำหนักเพียง 2-5 ปอนด์เท่านั้น แต่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ยาวนาน และการเชื่อมต่อที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้โน้ตบุ๊กที่มีน้ำหนักเบาเพื่อใช้งานนอกสถานที่

ความเคลื่อนไหวทั่วโลกของเทคโนโลยีไวแมกซ์ 4G อินเทลยังคงมีความมุ่งมั่น และลงทุนในด้านเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ไร้สายไวแมกซ์ 4G เจนเนอเรชั่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเทคโนโลยีไวแมกซ์สามารถใช้ได้ในมากกว่า 70 ตลาดและจะขยายความครอบคลุมไปถึงผู้สมัครใช้งานกว่า 120 ล้านคนในกว่า 80 ตลาดภายในสิ้นปี 2553  ปัจจุบันทั่วโลกมีการนำเอาเทคโนโลยีไวแมกซ์มาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากกว่า 500 แห่งใน 147 ประเทศ โดยองค์การไวแม็กซ์ ฟอรั่ม คาดว่า เทคโนโลยีนี้จะครอบคลุมเข้าถึงผู้ใช้งานกว่า 800 ล้านคนภายในสิ้นปี 2553

อินเทล ไวร์เลส ดิสเพลย์ เพื่อการผสานรวมสื่อต่างๆ ที่ง่ายดายยิ่งขึ้น อินเทล ไวร์เลส ดิสเพลย์ เป็นความสามารถใหม่ของระบบโปรเซสเซอร์ตระกูล อินเทลTM คอร์TM บางรุ่น ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแสดงผลคอนเท้นท์ของโน้ตบุ๊กกับทีวีแบบ HDTV ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย เทคโนโลยีนี้ ซึ่งเคยได้รับรางวัลมาแล้ว ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเพลิดเพลินและแบ่งปันการรับชมอินเทอร์เน็ตทีวี วิดีโอ รูปภาพ และเพลงบนหน้าจอทีวี HDTV ขนาดใหญ่ได้อย่างสะดวกในแบบไร้สาย โดยในปัจจุบันมีระบบที่รองรับเทคโนโลยีนี้ในตลาดมากกว่า 50 ระบบ

เสริมความครบครันของผลิตภัณฑ์ โซลิดสเตทไดรฟ์ - ในเดือนมีนาคม อินเทลได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ โซลิดสเตทไดรฟ์ รุ่น Intel® X25-V Value SSD ที่จะเข้ามาเสริมทัพชุดผลิตภัณฑ์โซลิดสเตทไดรฟ์ หรือ SSD ระดับรางวัลของอินเทล ผลิตภัณฑ์โซลิดสเตทไดรฟ์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความเร็วในการ “บู๊ตไดรฟ์” ถือเป็นผลิตภัณฑ์ระดับเริ่มต้นไปสู่การใช้งานโซลิดสเตทที่สามารถเป็นเจ้าของได้ โดยผู้บริโภคสามารถใช้โซลิดสเตทไดรฟ์  รุ่น X25-V ในการจัดเก็บระบบปฏิบัติการ และแอพพลิเคชั่นสุดโปรดเพื่อให้สามารถใช้งานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น (เช่นเวลา “บู๊ตเครื่อง”) รวมทั้งใช้ฮาร์ดดิสก์ที่มีอยู่ในการจัดเก็บข้อมูล และแอพพลิเคชั่นที่เหลือ

การเติบโตทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง - อินเทลรายงานผลการประกอบการในช่วงสามไตรมาสติดต่อกันของปี 2553 โดยมีรายได้ในไตรมาสที่สามทะลุ 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐได้เป็นครั้งแรก หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ร้อยละ 18 มาอยู่ที่ 11,100 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทฯ ยังรายงานรายได้จากการดำเนินธุรกิจว่าอยู่ที่ 4,100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีรายได้สุทธิ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 52 เซนต์

การเติบโตอื่นๆ นอกเหนือจากพีซี

ทำงานหลายอย่างพร้อมกันด้วย อินเทลTM อะตอมTM โปรเซสเซอร์ - ในปีนี้อินเทลได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามต่างๆ  ในด้านซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ จากการที่บริษัทมุ่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับผลิตภัณฑ์ระบบ ซิสเต็ม ออน ชิป (System-on-Chip หรือ SoC) ที่ใช้โปรเซสเซอร์ตระกูล อินเทลTM อะตอมTM รวมทั้งขยายไปสู่ตลาดเซ็กเมนท์ใหม่ๆ นอกเหนือจากคอมพิวเตอร์พีซี โน้ตบุ๊ก และธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ โดยมีไฮไลท์ต่างๆ ได้แก่

  • แผนการสร้างความแตกต่างให้กับประเภทผลิตภัณฑ์เน็ตบุ๊กยอดนิยม แพลตฟอร์ม อะตอมโปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่ ที่รวมเอาประสิทธิภาพในการลดการใช้พลังงานที่สำคัญ (ลดการใช้พลังงานในโหมดไม่ได้ใช้งานได้ถึง 50 เท่า) โดยมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ยาวนานยิ่งขึ้น แม้ว่าตัวอุปกรณ์ที่ใช้จะมีขนาดเล็กลงก็ตาม ขณะเดียวกันยังให้ประสิทธิภาพการทำงานที่โดดเด่นอีกด้วย ความร่วมมือกับ กูเกิ้ล* โซนี่* และโลจิเทค* ในการนำเสนอประสบการณ์ใหม่ในการรับชมสมาร์ททีวี ที่ใช้พลังการประมวลผลจาก อินเทลTM อะตอมTM โปรเซสเซอร์ และทำงานกับกูเกิ้ลทีวี ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์* โดยอินเทลTM อะตอมTM โปรเซสเซอร์ E600 SoC ใหม่ ที่มีชื่อรหัสว่า ‘ทันเนล ครีก (Tunnel Creek) ที่จะช่วยให้บริษัทอื่นๆ สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ซิลิกอนที่ได้รับการออกแบบเฉพาะของพวกเขากับซิสเต็มออนชิปของอินเทลเป็นครั้งแรก ยังเป็นขุมพลังของอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งรวมไปถึง อินเทลTM รีดเดอร์ (Intel® Reader) คอมพิวเตอร์ในรถยนต์ โทรศัพท์บ้านที่ต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ป้ายดิจิทัล และอุปกรณ์ด้านพลังงานในบ้าน
  • แพลตฟอร์มของอินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ ประกอบไปด้วยการออกแบบที่รวมเทคโนโลยี embedded ไว้ประมาณ 4,500 จุด และการออกแบบที่เป็นที่นิยม (design wins) 1,500 จุด ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 โดยร้อยละ 45 ของลูกค้าที่ใช้ อินเทลTM อะตอมTM โปรเซสเซอร์ เป็นลูกค้าใหม่ของอินเทล โดยมีตั้งแต่ผู้ผลิตรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร เรือประมง ไปจนถึงรถกอล์ฟ
  • อินเทลTM อะตอมTM โปรเซสเซอร์ ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาที่เร็วที่สุดของประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีแบบ embedded ของอินเทล โดยมียอดการส่งไปจำหน่ายกว่าสองล้านชิ้น ปีนี้อินเทลคาดการณ์ว่าจะส่งออก อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ จำหน่ายมากกว่าสองล้านชิ้น

ซอฟต์แวร์

มีโก (MeeGo) - อินเทล ร่วมกับโนเกีย* ในการเปิดตัว มีโก ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ระบบลีนุกซ์ ที่รองรับสถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์หลายอย่างของอุปกรณ์ในเซ็กเม้นท์ต่างๆ มากมาย ซึ่งรวมถึงคอมพิวเตอร์ แบบพกพา เน็ตบุ๊ก แท็บเล็ต โทรศัพท์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทีวีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และระบบข้อมูลข่าวสารกับความบันเทิงในยานพาหนะ

AppUp Center - อินเทลเปิดตัวแหล่งรวมแอพลิเคชันซอฟต์แวร์ต่างๆ หรือที่มีชื่อว่า Intel Intel AppUpSM center เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเน็ตบุ๊กสามารถเข้าใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ออกแบบมาให้ตอบสนองกับการใช้ชีวิตแบบโมบายล์โดยเฉพาะได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย แอพพลิเคชั่นต่างๆ มีพร้อมสำหรับการดาวน์โหลดได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือแบบที่สามารถซื้อได้ โดยเข้าไปที่ www.intelappup.com ซึ่งมีร้าน AppUp Center  สำหรับพันธมิตรอื่นๆ ในอุตสาหกรรมของอินเทลไม่ว่าจะเป็น เอเซอร์* อัสซุส* เดลล์* และ ซัมซุง* ก็มีการประกาศความร่วมมือในด้านร้านค้าแอพพลิเคชั่นดังกล่าวและแผนการต่างๆ ด้วยเช่นกัน

ธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ - เซิร์ฟเวอร์ เครื่องพีซีระดับธุรกิจ

ภาระกิจใหม่ด้านเทคโนโลยีคลาวด์ของอินเทล- อินเทลได้ประกาศองค์ประกอบหลักสามประการภายใต้วิสัยทัศน์ “Cloud 2015″ อันได้แก่

  • การทำงานในลักษณะ “เป็นหนึ่งเดียวกัน” (federated) หรือระบบคลาวด์ที่มีเอกภาพมากขึ้นที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบคลาวด์ภายในและภายนอกได้ดีขึ้น
  • ระบบเครือข่าย “อัตโนมัติ” (automated) ที่ทำการย้ายแอพลิเคชั่นและทรัพยากรไปยังจุดที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในศูนย์ข้อมูลโดยอัตโนมัติ
  • ระบบคลาวด์ที่แยกแยะเครื่องลูกข่ายได้ (client-aware clouds) ที่เน้นการทำงานของพีซีและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นหลัก โดยแนวทางนี้จะช่วยให้ระบบทราบว่าแอพลิเคชั่น คำสั่ง และการประมวลผลต่างๆ ควรเกิดขึ้นในระบบคลาวด์ โน้ตบุก สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ต่างๆ กันแน่ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้และอุปกรณ์ต่างๆ มีคุณสมบัติเฉพาะตัวเพื่อรองรับการทำงานผ่านระบบออนไลน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้

เปิดตัว ซีออน โปรเซสเซอร์ - อินเทลได้เปิดตัว อินเทลTM ซีออนTM โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 7500 ซึ่งเป็นการแสดงถึงการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในด้านประสิทธิภาพการทำงานในประวัติศาสตร์ของซีออน โปรเซสเซอร์ โดยมอบประสิทธิภาพการทำงานเฉลี่ยสูงกว่า ซีออนTM โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 7400 ที่มีอยู่ถึงสามเท่า โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ใหม่นี้มีคุณสมบัติพิเศษใหม่ที่วางใจได้มากกว่า 20 ประการ และมีประสิทธิภาพการทำงานแบบ 8 คอร์ 16 เธรด

นวัตกรรมใหม่ของโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ - อินเทลประกาศเปิดตัว ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 5600 ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์ระดับเอ็นเตอร์ไพรส์รุ่นแรกที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้มาพร้อมกับสองคุณสมบัติพิเศษในด้านความปลอดภัย โดยจะมอบพื้นฐานอันแข็งแกร่งกว่าสำหรับความปลอดภัยของข้อมูลในระบบคราวด์ และการทำเซิร์ฟเวอร์ วิช่วลไลเซชั่นให้กับศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ ดาต้าเซ็นเตอร์ยังสามารถใช้เพียงเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่เพียงเครื่องเดียว แทนการใช้เซิร์ฟเวอร์แบบซิงเกิ้ลคอร์จำนวน 15 เครื่องได้อย่างน่าทึ่ง โดยสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น

โปรเซสเซอร์ธุรกิจตระกูลใหม่สำหรับเครื่องพีซีที่ใช้ในเชิงธุรกิจ - อินเทลได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์ตระกูลอินเทลTM คอร์TM สำหรับปี 2010 ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจทุกขนาดโดยเฉพาะในด้านการทำงานของเครื่องพีซี โดยมีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นที่เหนือกว่า การป้องการการโจรกรรมข้อมูล และคุณสมบัติในการประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับสภาพแวดล้อมทางด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  อินเทลTM คอร์TM วีโปรTM โปรเซสเซอร์ (Intel® CoreTM vProTM processors) ช่วยให้แอพพลิเคชั่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจทำงานได้เร็วขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 80 เพิ่มความเร็วของแอพพลิเคชั่นเป็นสองเท่า และเข้ารหัสข้อมูลได้รวดเร็วกว่าถึงสามเท่า

การวิจัยและพัฒนา

เชื่อมต่อได้รวดเร็วระดับความไวแสง - โครงการเทคโนโลยีออพติคอลเคเบิลนี้ ชื่อรหัสว่า “ไลท์พีค” (Light Peak) ของอินเทลได้รับการพัฒนามาเพื่อเพิ่มความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลอย่าง วิดีโอ และเพลง ไปสู่เครื่องพีซี รวมทั้งลดปัญหาการกระจัดกระจายของสายเคเบิ้ล โดยปัจจุบัน Light Peak ได้รับการพัฒนาให้มีแบนด์วิธอยู่ที่ 10 Gb/s และรองรับช่องทางสำหรับการรับส่งสัญญาณผ่าน I/O หลายช่องทาง ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการสร้างมาตรฐานเทคโนโลยีสำหรับโน้ตบุ๊กและพีซีในอนาคต โดยมีการสนับสนุนใน แวดวงอุตสาหกรรมจากบริษัทชั้นนำอย่าง โซนี่ และโนเกีย

สร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ของผู้ใช้งาน ด้วยการวิจัยและพัฒนา - อินเทลได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D Lab) ที่มีชื่อว่า IXR (Interactions and Experiences Research) โดยมีทีมนักวิจัย ภายใต้การนำของ เจเนวีฟ เบลล์ นักวิจัยจากอินเทล และนักชาติพันธุ์วรรณา ของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยแห่งนี้ มุ่งเน้นในการกำหนดนิยามใหม่ให้กับประสบการณ์ของผู้ใช้งานและแพลตฟอร์มการคำนวณใหม่ๆ โดยอินเทลจะนำข้อมูลที่ได้จากทีมงานไปพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค

ความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านการตลาด

ความรับผิดชอบต่อสังคม - ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี และธุรกิจระดับโลกมาเป็นเวลากว่า 40 ปี อินเทลเชื่อว่าบริษัทมีจุดยืนที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในการช่วยผลักดันความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงด้านการศึกษา และตอบแทนให้กับชุมชนที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างทันสมัย ความมุ่งมั่นในเชิงปฏิบัติ และความเป็นผู้นำ

  • ด้านการศึกษา - ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มูลนิธิอินเทล (Intel Foundation) ได้มอบทุนการศึกษา มูลค่า 100,000 เหรียญสหรัฐ แก่ผู้ชนะการแข่งขัน Intel Science Talent Search ซึ่งเป็นการแข่งขันวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่เก่าแก่และทรงเกียรติที่สุดของอเมริกา ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยองค์กร Society for Science & the Public (SSP) จากนั้นในเดือนพฤษภาคม นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์กว่า 1,611 ชีวิตจากประเทศ ภูมิภาค และเขตแดนต่างๆ รวม 59 แห่ง ได้เดินทางมาสู่เมืองซานโฮเซ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมแข่งขันชิงทุนการศึกษามูลค่าเกือบ 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการแข่งขันประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่มีชื่อว่า Intel International Science and Engineering Fair หรือ อินเทล ไอเซฟ ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์กร SSP เช่นเดียวกัน โดยผู้ชนะเลิศจากรายการนี้ได้รับทุนการศึกษามูลค่า 75,000 เหรียญสหรัฐ จากมูลนิธิอินเทล และ รางวัลกอร์ดอน อี. มัวร์ อะวอร์ด (Gordon E. Moore Award) ที่ให้เป็นครั้งแรกในปี 2553 เพื่อเป็นเกียรติกับผู้ร่วมก่อตั้งอินเทล ประธาน และซีอีโอผู้เกษียนอายุไปแล้ว ส่วนทีมนักเรียนจากประเทศไทย เจ้าของผลงานประกวดทั้งประเภทเดี่ยวจำนวนสามโครงการ และประเภททีมจำนวนหนึ่งโครงการ ได้รับรางวัล แกรนด์ อะวอร์ด และสเปเชี่ยล อะวอร์ด จากการแข่งขันล่าสุดในปีนี้ ในเดือนมิถุนายน 2553 นายพอล โอเทลลินี ประธานและซีอีโอของอินเทลได้รับรางวัลความเป็นเลิศในฐานะองค์กรเพื่อสังคม จากคณะกรรมการส่งเสริมการให้เพื่อสังคมในกลุ่มบริษัทเอกชน (Committee Encouraging Corporate Philanthropy หรือ CECP) ในส่วนของประธานบริษัท เพื่อเชิดชูความสำเร็จของโครงการ อินเทล ทีช (Intel Teach) ที่เข้าถึงครูผู้สอนกว่า 8 ล้านคนในกว่า 60 ประเทศ ในฐานะที่เป็นโครงการเพื่อสังคมของบริษัทเอกชนยอดเยี่ยม สำหรับโครงการอินเทล ทีช ในประเทศไทย มีครูที่ผ่านการอบรมจากโครงการนี้ไปแล้วจำนวนกว่า 130,000 คน

ตัวอย่างโครงการในประเทศไทย

3 สรุปเทคโนโลยีและกิจกรรมอินเทลในปี 2553

·        Intel PC Club - ในเดือนตุลาคม 2553 อินเทลได้เปิดตัวเว็บไซต์ www.intelpcclub.com ให้เป็นชุมชนสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งระดับไฮเอนด์และระดับทั่วไปในประเทศไทย ที่ต้องการอัพเดทข้อมูลเทคโนโลยีต่างๆ  โดยเนื้อหาในเว็บไซต์ดังกล่าวเน้นให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีในหลากหลายแง่มุม นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมที่อินเทลนำมาให้สมาชิกได้ร่วมสนุกเพื่อรับของที่ระลึกกันอย่างต่อเนื่องทุกวัน  การเปิดตัวแคมเปญนี้ นอกจากจะเชื่อมโยงกับผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีอินเทลอยู่เดิมแล้ว ยังเป็นการขยายฐานสู่กลุ่มคนกลุ่มใหม่ที่สนใจที่เทคโนโลยี อีกด้วย

2 สรุปเทคโนโลยีและกิจกรรมอินเทลในปี 2553

นายอานุภาพ กฤตานุสรณ์ ผู้โชคดีจากประเทศไทยจากการแข่งขันแคมเปญ พุ่งทะยานด้วยพลังเทอร์โบ(Blast off with Turbo Boost) ที่ได้ร่วมเดินทางไปยังกรุง นิจนี นอฟโกรอด ประเทศรัสเซีย เพื่อเข้ารับการอบรมทักษะการบินอวกาศ และพุ่งทะยานขึ้นสู่ขอบอวกาศด้วยเครื่องบินรบ MIG-29 ของรัสเซียเป็นเวลากว่า 45 นาทีอันน่าประทับใจ

  • อินเทล พุ่งทะยานด้วยพลังเทอร์โบ - อินเทล ตอกย้ำประสิทธิภาพของเทคโนโลยี อินเทลTM เทอร์โบ บูสต์ ในโปรเซสเซอร์ตระกูลอินเทลTM คอร์TM 2010 โดยในเดือนตุลาคม 2553 อินเทลได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะจำนวน 10 คนจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค จากการแข่งขันในแคมเปญ พุ่งทะยานด้วยพลังเทอร์โบ(Blast off with Turbo Boost) พร้อมนำผู้โชคดีทั้ง 10 คนสัมผัสประสบการณ์พุ่งทะยานสู่ขอบโลกครั้งหนึ่งในชีวิต ซึ่งผู้ชนะจากประเทศไทย คือ นายอานุภาพ กฤตานุสรณ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาเคมีอุตสาหกรรม อายุ 21 ปี เป็นผู้ที่ได้ร่วมเดินทางไปยังสถานีทดลองด้านอวกาศ ในแคว้นนิจนี นอฟโกรอด ประเทศรัสเซีย เพื่อเข้ารับการอบรมทักษะการบินอวกาศ และพุ่งทะยานขึ้นสู่ขอบอวกาศด้วยเครื่องบินรบ MIG-29 ของรัสเซีย
  • แคมเปญ ทุกคอ ใจเดียวกัน - เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวไทยมีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพในราคาที่สามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้น อินเทล พร้อมด้วยพันธมิตร ตัวแทนจำหน่าย และผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แบรนด์ดังระดับโลก (MNCs) จึงได้ร่วมกันเปิดตัวแคมเปญ “ทุกคอ ใจเดียวกัน” ในเดือนกันยายน 2553 โดยมีการจัดกิจกรรมการตลาดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมผู้ใช้กลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึง โดยเริ่มจากกลุ่มพนักงานในภาคอุตสาหกรรม ที่จะได้รับข้อเสนอสุดพิเศษในการซื้อคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การเข้าถึงเทคโนโลยีสามารถเกิดขึ้นอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ล่าสุด แคมเปญดังกล่าวสามารถเข้าถึงกลุ่มพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมทั้ง 6 ภาคทั่วประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนกว่า 70,000 คน

___________________________

Intel, Intel Capital, Intel Teach, Intel Core, Xeon, Atom, Itanium, vPro และ โลโก้ของอินเทล เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์

* ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ


[1] เทคโนโลยี อินเทลTM เทอร์โบ บูสต์ จะจะมีอยู่ในโปรเซสเซอร์อินเทลTM คอร์TM ไอ5 และไอ7 เท่านั้น โดยประสิทธิภาพการทำงานของทคโนโลยี อินเทลTM เทอร์โบ บูสต์ จะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการปรับตั้งค่าระบบโดยรวม กรุณาตรวจสอบกับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พีซีว่าระบบของคุณรองรับทคโนโลยี อินเทลTM เทอร์โบ บูสต์ หรือไม่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปชมได้ที่ www.intel.com/technology/turboboost

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza