ซีอีโออินเทลเผยกลยุทธ์ผู้นำโลกประมวลผลในอนาคต ประกาศความร่วมมือกับ กูเกิล พร้อมเผยรายละเอียดนวัตกรรมอัลตร้าบุ๊กที่กินไฟต่ำ
Share | Tweet |
ซีอีโออินเทลเผยกลยุทธ์ผู้นำโลกประมวลผลในอนาคต
ประกาศความร่วมมือกับ กูเกิล* พร้อมเผยรายละเอียดนวัตกรรมอัลตร้าบุ๊กที่กินไฟต่ำ
ประเด็นข่าว
• อินเทลและกูเกิลเตรียมใช้ประโยชน์จากการเปิดตัวของแพลตฟอร์มแอนดรอยด์TM อย่างเต็มที่ สำหรับชิปอินเทลในตระกูลของอะตอม โปรเซสเซอร์ กินไฟต่ำ
• ซีอีโออินเทลเปิดเผยถึงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีซิลิกอนและวิศวกรรมแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ชิป “แฮสเวลล์” (Haswell) ซึ่งเตรียมเปิดตัวในปี 2556 ใช้พลังงานลดลงได้มากกว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันถึง 20 เท่า
อินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม, ซานฟรานซิสโก, 14 กันยายน 2554 - วันนี้ อินเทล คอร์ปอเรชัน ได้ประกาศความร่วมมือครั้งใหม่กับกูเกิล* โดยตั้งเป้าในการเข้าสู่ธุรกิจสมาร์ทโฟนของ อินเทล พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้เปิดเผยอีกว่า ทีมวิศวกรของอินเทลกำลังพัฒนาระบบจัดการพลังงานสำหรับแพลตฟอร์มแบบใหม่เพื่อ ใช้กับอัลตร้าบุ๊กTM เพื่อทำให้ระบบประมวลผลสามารถรองรับไลฟ์สไตล์การใช้งานอุปกรณ์ที่ต้องการการ เชื่อมต่อตลอดเวลา
พอล โอเทลลินิ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของอินเทล แถลงในช่วงเปิดงานอินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) ณ เมืองซานฟรานซิสโก โดยกล่าวว่า “ระบบประมวลผลมีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา” พร้อมกับอธิบายถึงโอกาสและความท้าทายต่างๆ ที่รออินเทลกับอุตสาหกรรมไอทีอยู่ข้างหน้าว่า “ความต้องการด้านประสิทธิภาพของการประมวลผลอุปกรณ์ต่างๆ รวมไปจนถึงระบบคลาวด์ ที่เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนนั้น คือโอกาสสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมไอที ซึ่งอินเทลได้มีการทำงานร่วมกับเหล่าพันธมิตรเพื่อนำเสนอรูปแบบการประมวลผล ที่เหมาะสมกับการใช้อุปกรณ์โมบายล์มากขึ้น มีความปลอดภัยและใช้งานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น ผมรู้สึกตื่นเต้นกับประสบการณ์รูปแบบใหม่ๆ ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ได้หลากหลายชนิดนี้มาก และนี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของเราเท่านั้น”
การเติบโตของธุรกิจในตลาดใหม่ๆ
เมื่อกล่าวถึงเป้าหมายขององค์กรซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตทางธุรกิจของอิน เทลในตลาดอุปกรณ์ประมวลผลนั้น โอเทลลินิได้พูดคุยถึงความพยายามล่าสุดของบริษัทในการรุกเข้าสู่ธุรกิจ สมาร์ทโฟน โดยได้สาธิตให้เห็นถึงดีไซน์หลักของอุปกรณ์ที่ใช้อินเทลTM อะตอมTM โปรเซสเซอร์ และทำงานบนแพลตฟอร์มของแอนดรอยด์TM
โอเทลลินิ ยังได้แนะนำ แอนดี้ รูบิน รองประธานอาวุโสกลุ่มโมบายล์ของกูเกิล* โดยผู้บริหารทั้งสองได้อธิบายถึงแผนการที่จะใช้ประโยชน์จากการเปิดตัวของแพ ลตฟอร์มแอนดรอยด์TM อย่างเต็มที่สำหรับชิปอินเทลในตระกูลของ อะตอม โปรเซสเซอร์ รุ่นกินไฟต่ำ การร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้มีขึ้นเพื่อเร่งให้สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีอินเทลและทำงานบนแพลตฟอร์มของแอนดรอยด์สามารถออกสู่ตลาดได้ อย่างรวดเร็ว
“ความร่วมมือระหว่างเรากับกูเกิลจะทำให้ตลาดมีอุปกรณ์ที่เพียบพร้อมทั้ง สมรรถนะและคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ซึ่งช่วยให้อุตสาหกรรมของเรามีนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ปรับปรุงใหม่ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ทางเลือกให้กับตลาดมากขึ้น ผมรู้สึกตื่นเต้นกับความร่วมมือของเราที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เพราะจะทำให้ลูกค้าของเราสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ใหม่ๆ สำหรับผู้บริโภค ออกสู่ตลาด ด้วยพลังสมรรถนะที่ผสานกันระหว่างเทคโนโลยีอินเทลและแพลตฟอร์มแอนดรอยด์” โอเทลลินิ กล่าวเสริม
ลดข้อจำกัดของการดึงพลังงานที่มีอยู่ในระดับต่ำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ เตรียมพร้อมสำหรับ อัลตร้าบุ๊กTM และอุปกรณ์อื่นๆ
โอเทลลินิคาดการณ์ว่า อัลตร้าบุ๊กจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีรูปแบบการประมวลผลที่สมบูรณ์แบบและผู้ บริโภครู้สึกพึงพอใจสูงสุด โดยในขณะนี้ อินเทลได้ร่วมงานกับพันธมิตรต่างๆ ในอุตสาหกรรมไอที เพื่อนำอัลตร้าบุ๊ก ซึ่งมีน้ำหนักและขนาดที่บางและเบากว่าเดิม ออกจำหน่ายในราคาตลาดได้ตั้งแต่ช่วงเทศกาลวันหยุดปลายปีนี้เป็นต้นไป
ซีอีโอของอินเทลกล่าวว่า วิศวกรของอินเทลได้เตรียมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่สำหรับอัลตร้าบุ๊ก รุ่นถัดไป ด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 22 นาโนเมตร ที่ใช้ชื่อว่า “ไอวี่ บริดจ์” (Ivy Bridge) ในราวต้นปีหน้า ควบคู่กับการนำทรานซิสเตอร์ 3 มิติ แบบไตร-เกท ของอินเทลเข้ามาในระบบการผลิตด้วย
นอกจากนี้ โอเทลลินิ ยังได้เน้นย้ำถึงการทำงานที่เกื้อหนุนกัน ระหว่างอินเทลและไมโครซอฟท์ พร้อมทั้งระบุว่า ในอนาคต Windows 8 จะปรากฏโฉมอยู่บนอุปกรณ์ต่างๆ ทั้ง แท็บเบล็ต อุปกรณ์ไฮบริด และอุปกรณ์รูปแบบใหม่ๆ อย่างเช่น อัลตร้าบุ๊ก อีกด้วย
การพัฒนาระบบจัดการพลังงานสำหรับแพลตฟอร์มแบบใหม่ เพื่อใช้กับชิป “แฮสเวลล์” ในปี 2556 สำหรับอัลตร้าบุ๊ก เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่โอเทลลินิเปิดเผยในงานไอดีเอฟครั้งนี้ โดยเขาคาดว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีซิลิกอนและงานวิศวกรรมแพลตฟอร์มจะช่วย ให้สามารถลดการใช้พลังงานได้มากกว่าเทคโนโลยีปัจจุบันถึงกว่า 20 เท่าในช่วงที่เครื่องเปิดไว้แต่ไม่ได้มีการใช้งาน โดยไม่ทำให้ประสิทธิภาพการประมวลผลลดลง โอเทลลินิคาดว่า ผลงานการออกแบบใหม่ชิ้นนี้ เมื่อผนวกกับความร่วมมือที่ได้รับจากอุตสาหกรรม จะทำให้แบตเตอรี่สามารถสแตนด์บายการใช้งานได้นานกว่า 10 วันภายในปี 2556 ความก้าวหน้าดังกล่าวจะเข้ามารองรับการทำงานของอัลตร้าบุ๊ก เพื่อให้ระบบประมวลผลสามารถใช้งานและเชื่อมต่อได้ตลอดเวลา แม้ในขณะที่อุปกรณ์อยู่ในโหมดสแตนด์บาย เพื่อรับทราบข้อมูลที่อัพเดทล่าสุดจากอีเมล์ ข่าวสารผ่านเครือข่ายทางสังคม และดิจิตอลคอนเทนท์ต่างๆ เมื่อกลับมาใช้งาน
เมื่อมองไปในอนาคต โอเทลลินิคาดว่า นวัตกรรมของระบบจัดการพลังงานรุ่นใหม่จะมีการพัฒนาไปไกลจนถึงระดับที่เราไม่ อาจจินตนาการได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ นักวิจัยของอินเทลได้มีการคิดค้นชิปที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้พลังงาน จากโซล่าเซลล์ ซึ่งมีขนาดเล็กเท่าแสตมป์ มาใช้ได้ ซึ่งอินเทลเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า “Near Threshold Voltage Core” โดยการค้นพบนี้จะขยายขีดความสามารถของเทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ให้สูงขึ้น เพื่อปรับระดับการใช้พลังงานให้อยู่ในระดับที่ต่ำมากๆ เมื่อมีการใช้งาน
ระบบความปลอดภัยของอุปกรณ์ประมวลผลนับพันล้านเครื่องในอนาคต
ในงานไอดีเอฟปีนี้ แคนเดซ วอร์ลีย์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของ Endpoint Security ของบริษัทแมคอาฟี ได้ร่วมบรรยายบนเวทีกับโอเทลลินี โดยได้อธิบายว่า อินเทลและแมคอาฟี ได้ร่วมงานกันพัฒนาฮาร์ดแวร์ใหม่ที่จะเสริมระบบการรักษาความปลอดภัยของ ซอฟต์แวร์
ผู้บริหารทั้งสองยังย้ำว่า การลงทุนและการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในด้านระบบรักษาความปลอดภัย เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการต่อไป เพราะคาดว่าในอนาคตจะมีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อถึงกันผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอีกหลายพันล้านชิ้นเลยทีเดียว
วอร์ลีย์ ยังได้กล่าวถึงเทคโนโลยีแพลตฟอร์มรุ่นใหม่ของแมคอาฟีที่ชื่อ DeepSAFE ว่าเป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ทำงานร่วมกับคุณสมบัติต่างๆ ของฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ในอินเทลTM คอร์TM โปรเซสเซอร์ ทั้งสามรุ่น คือ i3, i5 และ i7 โดยที่เทคโนโลยี DeepSAFE จะช่วยให้การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลก้าวหน้าไปอีกขั้น ด้วยการปฏิบัติงานภายใต้ระบบปฏิบัติการอีกด้วย เทคโนโลยีนี้จะได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายใต้ผลิตภัณฑ์รักษาความ ปลอดภัยระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ของแมคอาฟีภายในสิ้นปีนี้
นอกจากนี้ โอเทลลินิ ยังประกาศว่า อินเทลจะทำงานร่วมกับแมคอาฟีในด้านโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมระบบ ประมวลผลอย่างรอบด้าน นับตั้งแต่อุปกรณ์เอ็มเบดเด็ดไปจนถึงระบบคลาวด์
รูปแบบการทำงานร่วมกันที่ทำได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คล่องตัวและราบรื่น
ในขณะที่ระบบประมวลผลยังคงมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โอเทลลินิเน้นย้ำถึงความจำเป็นของรูปแบบการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คล่องตัวและราบรื่น และการที่จะทำให้วิสัยทัศน์นี้เป็นจริงได้ อินเทลจึงได้มีการพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ สำหรับอุปกรณ์หลากหลายชนิด ซึ่งรวมถึงอัลตร้าบุ๊กและคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ในลักษณะออลอินวัน โดยโอเทลลินิ ได้สาธิตภายในงานถึงคุณสมบัติใหม่ๆ เหล่านี้ ซึ่งจะมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเอเซอร์* เลอโนโว* และโตชิบา* ที่เตรียมเปิดตัวในช่วงเทศกาลวันหยุดปลายปีนี้ด้วย
หากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่นำมาสาธิตในการบรรยายครั้งนี้ กรุณาเข้าไปดูได้ที่ www.intel.com/newsroom/idf
ภาพประกอบ
พอล โอเทลลินิ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของอินเทล พูดถึงความพยายามล่าสุดของบริษัทในการรุกเข้าสู่ธุรกิจสมาร์ทโฟน โดยได้สาธิตให้เห็นถึงดีไซน์หลักของอุปกรณ์ที่ใช้อินเทลTM อะตอมTM โปรเซสเซอร์ และทำงานบนแพลตฟอร์มของแอนดรอยด์TM
พอล โอเทลลินิ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของอินเทล กล่าวถึงแผนของบริษัทสู่การเป็นผู้นำด้านการประมวลผลคอมพิวเตอร์ ในช่วงเปิดงานอินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) ที่เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
นักวิจัยของอินเทลได้สรรค์สร้างชิปต้นแบบ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์ที่มีขนาดเล็กเท่าแสตมป์ได้
แอนดี้ รูบิน รองประธานอาวุโสกลุ่มโมบายล์ของกูเกิล* ร่วมพูดบนเวทีกับ พอล โอเทลลินิ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของอินเทล ในงานอินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) โดยผู้บริหารทั้งสองได้อธิบายถึงแผนในการใช้ประโยชน์จากการเปิดตัวของแพ ลตฟอร์มแอนดรอยด์TM สำหรับตระกูลของอะตอมTM โปรเซสเซอร์ รุ่นกินไฟต่ำในอนาคต
เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล เป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผล รวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถเข้าชมได้ที่ www.intel.com/pressroom, www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand
Intel และ Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์ ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ