อินเทล ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการผลิตและออกแบบโปรเซสเซอร์ ผลักดันให้เกิดนวัตกรรม การผสมผสาน และการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ต่อวงการคอมพิวเตอร์

/ ข่าวโดย: Venom-Crusher , 26/09/2009 20:17, 411 views / view in EnglishEN
Share

image1 300x199 อินเทล ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการผลิตและออกแบบโปรเซสเซอร์ ผลักดันให้เกิดนวัตกรรม การผสมผสาน และการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ต่อวงการคอมพิวเตอร์อินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม, ซานฟรานซิสโก, 24 กันยายน 2552 - วันนี้ผู้บริหารของอินเทลกล่าวในงานไอดีเอฟว่า กฎของมัวร์ และความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 และ 22 นาโนเมตร (nm) ของอินเทลจะส่งผลทำให้เกิด “นวัตกรรมและการผสานระบบ” ที่กว้างขวางและรวดเร็วมากขึ้น ส่วนโปรเซสเซอร์อินเทลTM อะตอมTM, อินเทลTM คอร์TMและอินเทลTM ซีออนTM รวมทั้งผลิตภัณฑ์ System on Chip (SoC) ในอนาคตจะทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ทำงานได้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยมีตัวอย่างคือ การนำเอาระบบกราฟฟิกไปรวมไว้ในชิปรุ่นต่อไปในอนาคตเป็นครั้งแรก

นาย ฌอน มาโลนี่ รองประธานบริหารผู้จัดการทั่วไป กลุ่มอินเทล อาร์คิเทคเจอร์ กล่าวว่า “ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา กฎของมัวร์ได้สร้างให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ที่มากกว่าประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น การที่เราเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์ชุดคำสั่งในโปรเซสเซอร์อย่างรวดเร็วช่วยให้เราสามารถใส่คุณสมบัติและการทำงานต่างๆ ลงไปในโปรเซสเซอร์ของเราได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดนวัตกรรมต่างๆมากมายในอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ที่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงก็คือผู้บริโภค นักเล่นเกม และองค์ธุรกิจต่างๆ ที่ซื้อคอมพิวเตอร์พลังอินเทลไปใช้งานนั่นเอง”

โปรเซสเซอร์รุ่นต่อไป เวสท์เมียร์ (Westmere) และ แซนดี้ บริดจ์ (Sandy Bridge)

การบรรยายในงานไอดีเอฟครั้งนี้ มาโลนี่ ได้ทำการสาธิตประสิทธิภาพของพีซีที่ใช้โปรเซสเซอร์เวสท์เมียร์ ที่แสดงให้เห็นว่างานง่ายๆ โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้ช่วยให้การทำงานพื้นฐานที่ผู้ใช้ ใช้เป็นประจำทุกวัน อาทิเช่น การท่องอินเทอร์เน็ตและการเปิดวินโดวส์หลายๆ หน้าพร้อมกัน รวดเร็วขึ้นกว่าเดิมอย่างไร

นอกจากนั้นเวสท์เมียร์ยังเป็นโปรเซสเซอร์ 32 นาโนเมตร รุ่นแรกในประวัติศาสตร์ของอินเทลที่มีการรวมเอาระบบกราฟฟิกไว้ในโปรเซสเซอร์ และยังรองรับการทำงานของเทคโนโลยี Intel® Turbo Boost และ เทคโนโลยี Intel® Hyper-Threading อีกด้วย นอกจากนั้นโปรเซสเซอร์รุ่นนี้ยังเพิ่มชุดคำสั่ง Advanced Encryption Standard (หรือ AES) รุ่นใหม่ เพื่อช่วยให้การเข้ารหัสและการถอดรหัสรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม การผลิตโปรเซสเซอร์เวสท์เมียร์อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าที่วางไว้ โดยจะเริ่มผลิตภายในไตรมาสที่สี่ของปีพ.ศ. 2552 นี้

หลังจากโปรเซสเซอร์เวสท์เมียร์แล้ว ชิปแบบที่มีระบบกราฟฟิกของอินเทลจะเป็นโปรเซสเซอร์แบบ 32 นาโนเมตร ที่มีชื่อรหัสว่า แซนดี้บริดจ์ (Sandy Bridge) โดยที่โปรเซสเซอร์รุ่นนี้ จะเป็นรุ่นที่ 6 ที่มีกราฟิกคอร์อยู่บนโปรเซสเซอร์คอร์ แถมยังมีระบบเร่งความเร็วสำหรับการประมวลผล floating point การประมวลผลภาพวิดีโอ และซอฟท์แวร์ที่ต้องใช้พลังการประมวลผลมากเป็นพิเศษที่ใช้ใน            แอพพลิเคชั่นด้านสื่อต่างๆอีกด้วย มาโลนี่นำเอาคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์แซนดี้บริดจ์ มาแสดงให้เห็นการทำงานโดยซอฟท์แวร์วิดีโอและ 3-D หลากชนิด เพื่อให้ผู้ชมเห็นว่าผลิตภัณฑ์ในอนาคตซึ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนานี้มีประสิทธิภาพอย่างไร

นอกจากนั้นมาโลนี่ยังได้นำซิลิกอนรุ่นแรกที่ใช้สถาปัตยกรรมลาร์ราบี (Larrabee) ซึ่งเป็นชื่อรหัสของ co-processor ที่เน้นการทำงานด้านกราฟฟิกเป็นหลักรุ่นต่อไปในอนาคตมาแสดง นอกจากนั้นเขายังยืนยันว่าบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์รายใหญ่ๆ ได้รับคอมพิวเตอร์ต้นแบบเพื่อนำไปใช้พัฒนาซอฟท์แวร์ของตนแล้ว

ภายในปีหน้าจะมีการเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์รุ่นแรกของลาร์ราบี โดยจะสามารถโปรแกรมได้โดยใช้พื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมของอินเทล และยังรองรับการประมวลผลคู่ขนานได้ดีขึ้นอย่างมากอีกด้วย ความสามารถในการโปรแกรมได้อย่างง่ายดายและความสามารถในการใช้ประโยชน์จาก         เหล่านักพัฒนาซอฟต์แวร์และเครื่องมือในการออกแบบที่มีอยู่ในปัจจุบันจะช่วยให้โปรแกรมเมอร์ได้ประโยชน์จากการเขียนโปรแกรมที่เห็นภาพได้อย่างเต็มที่ แถมยังนำเอาไปท์ไลน์กราฟฟิก 3-D หลากชนิดมาใช้ได้โดยง่าย อาทิเช่น rasterization, volumetric rendering หรือ ray tracing เป็นต้น

เมื่อนำคุณสมบัติเหล่านี้มารวมกัน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะพบกับรูปแบบการแสดงผลที่น่าตื่นตา   ตื่นใจ ซึ่งมาโลนี่ได้ทำการสาธิตระบบแสดงผลแสงเงาแบบ real-time ของเกมยอดนิยมอย่าง “Quake Wars: Enemy Territory” โดยใช้สถาปัตยกรรมลาร์ราบี และโปรเซสเซอร์สำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะรุ่นต่อไปของอินเทลที่ใช้ชื่อรหัสว่า กัลฟ์ทาวน์ (Gulftown) ซึ่งจะอยู่ภายใต้แบรนด์ อินเทล คอร์เป็นหลัก แม้ว่าในช่วงแรกๆ ลาร์ราบีจะอยู่ในรูปของการ์ดกราฟฟิกแยกต่างหากก็ตาม แต่ในที่สุด จะถูกนำไปผสานกับโปรเซสเซอร์บวกกับใส่เทคโนโลยีอื่นๆเพิ่มเติมลงไปด้วย

นอกจากนั้นมาโลนี่ยังได้ทำการสาธิตโปรเซสเซอร์อัจฉริยะสำหรับเซิร์ฟเวอร์รุ่นต่อไปของ     อินเทลที่มีชื่อรหัสว่า เวสท์เมียร์ อีพี (Westmere-EP) รวมทั้งแถลงถึงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม ไอเทเนียม (Itanium) สำหรับตลาดเซิร์ฟเวอร์ระดับไฮเอนต์ นอกจากนั้นมาโลนี่ยังแถลงถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของโปรเซสเซอร์ เนฮาเลม อีเอ็กซ์ (Nehalem-EX) ที่จะเริ่มจำหน่ายในเร็วๆนี้ โดยจะมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมมากเมื่อเทียบกับอินเทลTM ซีออนTM โปรเซสเซอร์ ซีรีส์ 5300 รุ่นปัจจุบันกับโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนหน้า

มาโลนี่พูดถึงการรวมระบบประมวลผล ระบบเครือข่าย และระบบจัดเก็บข้อมูลภายในศูนย์ข้อมูลเข้าด้วยกัน โดยอินเทลตั้งเป้าที่จะเชื่อมโยง IO fabric ภายในศูนย์ข้อมูลโดยใช้โซลูชัน Intel 10GbE เป็นหลัก นอกจากนั้นอินเทลยังร่วมมือกับบริษัทชั้นนำอื่นๆในอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม ระบบเทคโนโลยี และโซลูชั่นเพื่อรองรับการทำงานของระบบศูนย์ข้อมูลแบบ “Hyper-scale” ตามแนวโน้มของการใช้งานอินเทอร์เน็ตและบริการ cloud อีกด้วย

หลังจากนั้น มาโลนี่ยังได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์ที่กินไฟน้อยเป็นพิเศษ อินเทลTM ซีออนTM โปรเซสเซอร์ ซีรีส์ 3000 ที่มี TDP (Thermal Design Power) แค่ 30 วัตต์เท่านั้น นอกจากนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนแพลตฟอร์มที่ทำงานร่วมกันอย่างหนักหน่วงและต้องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อินเทลยังได้สาธิต reference system ของ “ไมโครเซิร์ฟเวอร์” แบบ single-socket เป็นครั้งแรกอีกด้วย ซึ่ง reference system นี้ใช้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับสร้างนวัตกรรมไมโครเซิร์ฟเวอร์ในอนาคต

มาโลนี่ได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์แบบ embedded “แจสเปอร์ ฟอร์เรสต์” (Jasper Forest) ที่เป็นตัวอย่างของการนำเอาสถาปัตยกรรมเนฮาเลม ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากมาขยายขอบเขตไปสู่ตลาดใหม่ๆ แจสเปอร์ฟอร์เรสต์ที่จะเริ่มจำหน่ายในปีหน้าถูกออกแบบมาสำหรับรายงานด้านระบบจัดเก็บข้อมูลเฉพาะด้าน ระบบสื่อสาร ระบบงานด้านการทหาร และระบบการบินอวกาศเป็นต้น โดยจะมีการผสมผสานระบบระดับใหม่เพื่อช่วยประหยัดพื้นที่และยังช่วยประหยัดพลังงานสำหรับสภาพแวดล้อมที่แออัดเป็นพิเศษอีกด้วย

ท้ายสุด มาโลนี่ได้เปิดตัวระบบและเครื่องมือรักษาความปลอดภัยรุ่นใหม่สำหรับพีซีโดยใช้เทคโนโลยี อินเทลTM วีโปรTM (Intel® vProTM) และเครื่องมือที่ชื่อคีย์บอร์ดวิดีโอเมาส์ (KVM) รีโมทคอนโทรลที่จะช่วยให้พนักงานฝ่ายไอทีสามารถมองเห็นปัญหาได้เหมือนที่ผู้ใช้งานเห็น ทำให้สามารถวินิจฉัยปัญหาได้เร็วขึ้น ลดเวลาที่จะต้องเดินทางไปที่เครื่อง และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นอีกด้วย

image2 200x300 อินเทล ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการผลิตและออกแบบโปรเซสเซอร์ ผลักดันให้เกิดนวัตกรรม การผสมผสาน และการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ต่อวงการคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีและการผลิตของอินเทล ทรานซิสเตอร์เกือบ 3 ล้านชิ้นในชิปเพียงอันเดียว

บ็อบ เบเกอร์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปแผนกเทคโนโลยีและฝ่ายการผลิตของ      อินเทล ทำการบรรยายเน้นย้ำว่าอินเทลยังคงดำเนินตามกฎของมัวร์ และมุ่งมั่งคิดค้นนวัตกรรมที่จะสร้างประโยชน์ต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง โดยอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีขั้นตอนการผลิตแบบ 22 nm  ซึ่งอินเทลถือเป็นบริษัทแรกซึ่งนำเอา SRAM และ logic test circuit แบบ 22 mm สำหรับการใช้งานจริงมาสาธิตเป็นรายแรก โดย SRAM แบบ 364 ล้านบิตประกอบด้วยเซล SRAM ขนาด 0.092 ตารางไมครอนและทรานซิสเตอร์จำนวน 2.9 พันล้านชิ้น ซึ่งถือเป็นเซล SRAM ที่มีขนาดเล็กที่สุดซึ่งนำมาใช้งานได้จริงในปัจจุบันนี้

โปรเซสเซอร์แบบ 22 nm ที่อยู่ในขั้นทดสอบนี้ ถือเป็นเทคโนโลยี high-k metal gate รุ่นที่สาม หลังจากที่โปรเซสเซอร์แบบ 45 nm รุ่นแรกเปิดตัวไปเมื่อ 2 ปีก่อน อินเทลยังคงเป็นบริษัทเดียวที่ผลิตโปรเซสเซอร์ประสิทธิภาพสูงที่ใช้พลังงานอย่างประหยัด จนกระทั่งปัจจุบันอินเทลมียอดจำหน่ายโปรเซสเซอร์ 45 nm อยู่ที่ 200 ล้านชิ้น

ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของฝ่ายการผลิตของอินเทลที่พัฒนาเทคโนโลยีที่ โดดเด่น มีคุณสมบัติครบถ้วน สำหรับใช้ร่วมกับการออกแบบในลักษณะ ซิสเต็มออนชิป (SoC) โดยใช้เทคโนโลยี 32 nm ของอินเทล เพื่อขยายขอบเขตการผลิตซีพียูไปสู่ตลาด SoC ใหม่นี้ นักออกแบบจะสามารถเลือกระหว่างขั้นตอนการประมวลผลประสิทธิภาพสูงสุดของซีพียูหรือการใช้พลังงานต่ำสุดก็ได้ ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับ SoC ที่ใช้ในการยืดอายุการใช้งานแบตเตอรีในโทรศัพท์มือถือและผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza