ผลวิจัยชี้ระบบประมวลผลในระดับ Mission Critical ขยายตัวในเอเชียแปซิฟิก

/ ข่าวโดย: Venom-Crusher , 27/05/2011 09:52, 385 views / view in EnglishEN
Share

ผลวิจัยชี้ระบบประมวลผลในระดับ Mission Critical ขยายตัวในเอเชียแปซิฟิก

องค์กรจำเป็นต้องวางแผนเพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการประมวลผลในระดับ Mission Critical

และปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ

33042 rack server aisle ผลวิจัยชี้ระบบประมวลผลในระดับ Mission Critical ขยายตัวในเอเชียแปซิฟิก

อินเทลTM ไอเทเนียมTMโปรเซสเซอร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นกุญแจสำคัญสำหรับระบบประมวลผลระดับ Mission Critical ตามด้วย อินเทลTM ซีออน โปรเซสเซอร์

ประเด็นข่าว

  • องค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกยังคงต้องทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการประมวลผลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อธุรกิจว่า คืออะไร และจะมีเทคโนโลยีใดมารองรับ
  • เวอร์ช่วลไลเซชั่นและคลาวด์คอมพิวติ้งจะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อการใช้งานระบบประมวลผลที่สำคัญในระดับ mission critical ของธุรกิจทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  • อินเทลTM ไอเทเนียมTMโปรเซสเซอร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นกุญแจสำคัญสำหรับระบบประมวลผลระดับ Mission Critical ตามด้วย อินเทลTM ซีออน โปรเซสเซอร์

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 26 พฤษภาคม 2554 - ผลการสำรวจจากองค์กรจำนวน 1,091 แห่งใน 10 ประเทศ[1] ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แสดงให้เห็นว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญในระดับ Mission Critical มีการเติบโตขึ้นและเป็นตัวผลักดันให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ และแสวงหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อเข้ามารองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

จากผลสำรวจโดยบริษัทวิจัย สปริงบอร์ด รีเสิร์จ (Springboard Research) ซึ่งจัดทำขึ้นในนามของอินเทล พบว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจและความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นแรงผลักดันให้การใช้การประมวลผลที่สำคัญระดับ mission critical ทั้งในแง่ของปริมาณข้อมูลที่สูงมากและการใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ ดังนั้นผู้บริหารในระดับอย่างประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ  หรือ ซีไอโอ ทั่วภูมิภาคนี้ จึงยังคงเผชิญกับแรงกดดันที่จะต้องวางแผนรองรับการใช้งานระบบประมวลผลในระดับ mission critical และจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจ

จริงๆ แล้ว การประมวลผลข้อมูลในระดับ mission critical นั้น ครอบคลุมถึงการใช้แอพพลิเคชั่นทุกชนิด ปริมาณข้อมูลที่มีการประมวลผล หรือระบบที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหลักขององค์กร แต่เท่าที่ผ่านมา การใช้ระบบประมวลผลในระดับ mission critical จะใช้กันเฉพาะกับบางแอพพลิเคชั่นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยภายใต้หัวข้อ Mission Everything’s Critical: The shifting mission critical tide in Asia Pacific พบว่า ในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมาร้อยละ 38 ของซีไอโอได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการใช้งานระบบประมวลผลในระดับ Mission Critical  อีกทั้งนอกเหนือจากร้อยละ 75 ของแอพพลิเคชั่นแบบเดิมที่ใช้กับระบบประมวลผลในระดับ mission critical แล้ว ในปัจจุบันยังมีแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เช่น เครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกัน และอุปกรณ์ทางเว็บ (ซึ่งรวมถึงอีเมล) ถูกรวมไว้ในคำจำกัดความของงานระดับ mission critical ด้วยเช่นกัน

“ก่อนหน้านี้ แอพพลิเคชั่นที่ใช้กับงานระดับ mission critical จะถูกซื้อและเก็บรักษาโดยใช้ระบบเทคโลยีที่มีราคาสูง อย่างไรก็ดีผลพวงที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์วิกฤติการเงินโลก (global financial crisis: GFC) ที่ผ่านมาได้สร้างแรงกดดันให้องค์กรต่างๆ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งส่งผลให้การดำเนินธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีแบบเก่ามารองรับนั้น ไม่เหมาะสำหรับองค์กรในยุคปัจจุบันอีกต่อไป” เดน แอนเดอร์สัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานบริหารฝ่ายวิจัย บริษัท สปริงบอร์ด          รีเสิร์ช กล่าว “จากความเข้าใจที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ว่า mission critical คืออะไร เราได้เห็นการลงทุนด้านเวอร์ช่วลไลเซชั่นและคลาวด์คอมพิวติ้งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพและมีเครื่องมือใหม่ๆ ให้แก่องค์กรนำไปใช้จัดการกับงานในระดับ mission critical ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า:

  • ร้อยละ 62 ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามระบุว่า ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของระบบประมวลผลที่ความสำคัญระดับ mission critical ในช่วงระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา
  • เวอร์ช่วลไลเซชั่นถือเป็นการลงทุนด้านโซลูชั่นสำคัญอันดับแรกสำหรับผู้ตอบแบบสอบถาม โดยร้อยละ 26 ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าจะลงทุนในปีหน้า ขณะที่ร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ลงทุนไปกับเทคโนโลยีนี้แล้ว
  • คลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็นโซลูชั่นที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยร้อยละ 17 ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนที่จะลงทุนในอีก 12 เดือนข้างหน้า
  • ร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีแผนที่จะ “ยกระดับ” เซิร์ฟเวอร์ ของตนเอง และร้อยละ 31มีกลยุทธ์ที่จะ “เพิ่มจำนวน” เซิร์ฟเวอร์
  • สำหรับสถาปัตยกรรมของอินเทลนั้น อินเทลTM ไอเทเนียม TM โปรเซสเซอร์ จัดเป็นโปรเซสเซอร์อันดับหนึ่งสำหรับการใช้งานในระดับ mission critical ที่องค์กรต่างๆ ได้วางแผนไว้ ในขณะที่อินเทลTM ซีออนTM โปรเซสเซอร์อยู่ในลำดับที่สอง

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “วิธีการแบบเดิมๆ ในการให้คำนิยามและบริหารจัดการระบบประมวลผลที่มีความสำคัญระดับในระดับ mission critical ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก องค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์เพื่อหากลยุทธ์ที่ดีที่สุดและลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมที่สุดกับความต้องการทางธุรกิจของตนเอง”

“ในปัจจุบัน มีแอพพลิเคชั่นหลายตัวที่จัดเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับการใช้งานระบบประมวลผลในระดับ Mission Critical เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นองค์กรหลายแห่งที่ยังคงยึดติดกับการดำเนินธุรกิจภายใต้โครงสร้างเทคโนโลยีแบบเดิม อาจเกิดปัญหาจากค่าใช้จ่ายและประสิทธิภาพในการทำงาน”

“องค์กรควรพิจารณาว่าต้องการ “ยกระดับ” “ลดระดับ” หรือเลือกที่จะดำเนินการควบคู่กันไปทั้งสองแนวทาง ทั้งนี้ปัจจัยการพิจารณาขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นต้องการแอพพลิเคชั่นแบบไหน การลงทุนในแพลตฟอร์มสำหรับงานระบบประมวลผลที่สำคัญในระดับ mission critical โดยยึดมาตรฐานของอุตสาหกรรม ประกอบกับการนำเอาเครื่องมือเวอร์ช่วลไลเซชั่นเข้ามาช่วย จะเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้แก่องค์กรในการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอนาคตมาช่วยชับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้” นายเอกรัศมิ์ กล่าวทิ้งทาย

เกี่ยวกับการวิจัย

การสำรวจในหัวข้อ Mission Everything’s Critical: The shifting mission critical tide in Asia Pacific ดำเนินการโดยบริษัท วิจัย สปริงบอร์ด รีเสิร์ช ในนามของ อินเทล โดยเป็นการทำวิจัยใน 10 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ออสเตรเลีย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และไต้หวัน) โดยเป็นการสัมภาษณ์ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีกว่า 1,091 คนจากองค์กรต่างๆ ที่มีพนักงานจำนวนมากกว่า 500 คน ในช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม ปี 2553

เกี่ยวกับอินเทล

อินเทล (NASDAQ:INTC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมซิลิกอน สร้างสรรค์เทคโนโลยี สินค้า รวมทั้งการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลได้ที่ www.intel.com/pressroom , www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand

- 30 -

Intel, Intel Xeon, Intel Itanium และ Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ  ขอสงวนสิทธิ์

* ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ


[1] ออสเตเรีย, จีน , อินเดีย, อินโดนิเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย และ ไต้หวัน

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza