สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงนามความร่วมมือกับอินเทล ในโครงการอินเทล ทีช เพื่อพัฒนาทักษะครูไทยให้ทันสมัยด้วยไอที

/ ข่าวโดย: Venom-Crusher , 04/07/2010 02:51, 347 views / view in EnglishEN
Share

 mg 8160 resized สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงนามความร่วมมือกับอินเทล ในโครงการอินเทล ทีช เพื่อพัฒนาทักษะครูไทยให้ทันสมัยด้วยไอที

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงนามความร่วมมือกับอินเทล ในโครงการอินเทล ทีช เพื่อพัฒนาทักษะครูไทยให้ทันสมัยด้วยไอที

กรุงเทพฯ  1 กรกฏาคม 2553 – สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน (สพฐ.) และบริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการ อินเทล ทีช (Intel Teach) ในประเทศไทย หลังจากดำเนินงานมาแล้ว 7 ปี โดยการลงนามครั้งนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อฝึกอบรมครูให้สามารถนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น รวมถึงมีการนำหลักสูตรใหม่ที่ปรับให้มีความทันสมัยมาใช้ในการอบรมครู เช่น การใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 และสื่อออนไลน์ต่างๆ ตลอดจนการจัดประกวดแผนการจัดการเรียนรู้ระดับชาติ อีกด้วย

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า “ความร่วม มือระหว่างสพฐ. และอินเทล เพื่อดำเนินโครงการอินเทล ทีช ในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นที่จะยกระดับมาตรฐานการศึกษาของไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีงบประมาณ 2553 ที่ระบุถึงการ พัฒนาหลักสูตรปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและคุณธรรมอย่างทั่วถึง และต่อเนื่อง  เพื่อให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้ สพฐ. ขอขอบคุณบริษัทอินเทล ที่มุ่งมั่นให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องตลอดมานับ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2546 โดยภายในสิ้นปีนี้ จะมีครูอาจารย์ผ่านการอบรมภายใต้โครงการอินเทล ทีช ถึง 130,000 คนทั่วประเทศ และ สพฐ. จะยังคงมุ่งมั่นดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครูซึ่งเป็นบุคคลากรสำคัญในการสร้างอนาคตของประเทศชาติ มีวีธีการสอน ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น“

อินเทลริเริ่ม โครงการ อินเทล ทีช ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่ออบรมให้ครูสามารถนำเทคโนโลยีมาบูรณาการเข้ากับการ เรียนการสอนในชั้นเรียน ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถวิเคราะห์แก้ปัญหา สื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ความมุ่งมั่นของอินเทลในการร่วมมือกับ หน่วยงานด้านการศึกษาในประเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาครูนั้น เป็นนโยบายที่มาจากความเชื่อว่าการศึกษาที่มีคุณภาพจะเป็นพื้นฐานสำหรับ โอกาสและการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ทั้งกับตัวนักเรียนเอง สังคม และประเทศชาติ ซึ่งในสังคมสมัยใหม่นี้ นอกจากความรู้ในการใช้เทคโนโลยีแล้ว ทักษะการคิดวิเคราะห์ในเชิงลึก การรวบรวมข้อมูล และการทำงานร่วมกันของนักเรียนจะเป็นสิ่งสำคัญมาก แนวทางของโครงการ   อินเทล ทีช จึงมุ่งเน้นที่การฝึกทักษะครูให้สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้เสริมการสอนเพื่อให้ นักเรียนมีทักษะที่สำคัญเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา อินเทลให้การสนับสนุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรายังคงมุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการอินเทล ทีช นี้ อย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อมุ่งพัฒนาครู นักเรียน และระบบการศึกษาของไทยอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว”

Intel Teach Elements เป็นหลักสูตรใหม่ที่อินเทลยินดีมอบให้สำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำมาปรับใช้ในการอบรมนี้ ประกอบด้วย 3 หลักสูตรย่อยคือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นโครงงานเป็นสำคัญ (Project-based Approaches) การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 (Assessment in 21st Century Classrooms) และ การทำงานแบบร่วมมือกันด้วยเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 (Collaboration with Web 2.0 Tools) Intel Teach Elements เป็นหลักสูตรระยะสั้นที่มีความน่าสนใจ และครูยังสามารถเลือกศึกษาหลักสูตรด้วยตนเอง หรือเรียนรู้จากวิทยากรอีกด้วย การสอนจะครอบคลุมถึง สื่อการเรียนที่เป็นภาพเคลื่อนไหว (Animated e-learning) และมีแบบฝึกหัดการเรียนรู้ที่เน้นการมีปฏิ สัมพันธ์ (Interactive exercise) อีกด้วย โดยจะเริ่มนำหลักสูตรเหล่านี้มาใช้ตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป

นอกเหนือจากหลัก สูตรใหม่ในความตกลงร่วมกันครั้งนี้แล้ว อินเทลจะร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดกิจกรรมการประกวดแผนการจัดการเรียนรู้ระดับชาติ โดยเปิดโอกาสให้ครูในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาส่งแผนการจัดการเรียน รู้ของตนเองเข้าประกวด เพื่อส่งเสริมให้ครูนำความรู้ที่ได้จากการเข้าอบรมไปปรับใช้ในชั้นเรียน โดยจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและสังคมต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza