บรรดาผู้บริหารในองค์กรจัดอันดับความสำคัญของการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ยก ให้ความสามารถในการทำงานที่รอบด้านและบริการหลังการขายเป็นปัจจัยหลักสำคัญ
Share | Tweet |
บรรดาผู้บริหารในองค์กรจัดอันดับความสำคัญของการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ยกให้ความสามารถในการทำงานที่รอบด้านและบริการหลังการขายเป็นปัจจัยหลักสำคัญ
- การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์เดียว
- ความสะดวกในการพกพาและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพล้วนเป็นปัจจัยที่ได้รับการคำนึงถึงมากขึ้น
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย-วันที่ 23 มีนาคม 2554 - บริษัทซีดีเนท เอเชีย (ZDNET Asia) และบริษัทคอนเนคชั่น รีเสิร์ช ได้ดำเนินการสำรวจทิศทางตลาดพีซีสำหรับภาคธุรกิจตลอดจนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้พบว่าบริษัทข้ามชาติและองค์กรภาครัฐให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการใช้กลยุทธ์ทางด้านไอทีเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เจริญเติบโตหลังเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ในการสำรวจครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า องค์กรขนาดใหญ่เข้าใจถึงสถานการณ์ในระยะ 5 ปีข้างหน้าว่าแต่ละธุรกิจจะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านเพื่อจัดการโครงสร้างด้านไอทีและคอมพิวเตอร์ ทั้งยังถูกคาดหวังให้เพิ่มเติมอุปกรณ์ทางเลือกในที่ทำงานมากยิ่งขึ้น เช่น การติดตั้งระบบThin Clients (ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการนำพีซีมาเชื่อมต่อ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งฮาร์ดดิสก์ในลักษณะ client server ที่มาทดแทนระบบ mini computer ซึ่งมีราคาสูงกว่า), สมาร์ทโฟน และแทบเลตส์ ด้านปัญหาวิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2552 ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีโดยต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนซื้อ เช่นเดียวกับความสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่และแนวโน้มการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ของภาคธุรกิจ เช่น การวางนโยบายกำหนดมาตรฐานของเครื่องพีซี , การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อการประเมินผลก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ถูกพิจารณาในการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 956 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีขององค์กรที่มีการว่าจ้างพนักงานมากกว่า 500 คน ที่ครอบคลุมไปยังภูมิภาคของตลาดเกิดใหม่ (อาเซียน อินเดีย ฮ่องกง ตะวันออกกลาง และแอฟริกา) โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 329 คนมาจากตลาดในอาเซียน
คุณจีรวุฒิ วงศ์พิมลพร กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เลอโนโว ประเทศไทย กล่าวว่า “การสำรวจเปิดเผยให้เห็นถึงองค์ประกอบที่ผู้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีจะต้องพิจารณา เช่น การให้บริการที่ดี, ความน่าเชื่อถือ, ความต่อเนื่องของธุรกิจ โดยคุณภาพขององค์ประกอบเหล่านี้มีค่ามากกว่าการพิจารณาเพียงเฉพาะเรื่องราคาเพียงด้านเดียว บริษัทเลอโนโวได้ตระหนักดีถึงปัจจัยสำคัญเหล่านี้จึงนำไปสู่การพัฒนาคอมพิวเตอร์พีซีตระกูล Think ซึ่งนับเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำในแบรนด์ระดับพรีเมียมของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์พีซีในตลาดโลก เลอโนโวได้มอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้กับผู้ใช้และยังให้คุณสามารถเป็นเจ้าของได้ในราคาที่ดีที่สุดอีกด้วย”
สิ่งที่บรรดาผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญมากที่สุดไม่ใช่เรื่องของราคาแต่คือความสามารถในการทำงานรอบด้านของสินค้าและบริการหลังการขาย
ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์พีซี เช่น คณะผู้บริหารอาวุโส, ประธานฝ่ายสารสนเทศ (ซีไอโอ) และผู้จัดการฝ่ายไอที ล้วนคำนึงถึงความต่อเนื่องทางธุรกิจและองค์ประกอบหรือปัจจัยต่างๆ มากกว่าเรื่องของราคา องค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจคือคุณภาพการให้บริการหลังการขาย (ร้อยละ38.6) ความสามารถในการทำงานของอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่สามารถเทียบแทนกันได้กับอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว (ร้อยละ35) ราคา(ร้อยละ28) และความสามารถในการรองรับกับแอพพลิเคชั่นในอนาคต(ร้อยละ26.4)
ปัญหาวิกฤตการเงินได้ส่งผลกระทบบางประการต่อการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี โดยในส่วนของภูมิภาคอาเซียน ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 32 ได้กลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว ขณะที่ร้อยละ 29.8 ไม่ได้รับผลกระทบ และร้อยละ 12.8 ได้นำวิกฤตดังกล่าวมาพัฒนากลยุทธ์ขององค์กร โดยเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างจริงจังด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการอยู่เหนือคู่แข่งของพวกเขา
“เลอโนโวได้แสดงให้เห็นมาโดยตลอดว่าซอฟท์แวร์ของเรามีความน่าเชื่อถือและมีบริการหลังการขายที่ดี” คุณจีรวุฒิ วงศ์พิมลพร กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เลอโนโว ประเทศไทย กล่าวเสริม ” จากผลการสำรวจของหน่วยงานอิสระ Technology Business Research พบว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของเลอโนโว ในตระกูล ThinkPad ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 1 ด้านความพึงพอใจของลูกค้าและการเลือกซื้อสินค้าไอทีสำหรับภาคธุรกิจต่อเนื่องถึง 6 ครั้ง ผลการจัดอันดับดังกล่าววัดจากคุณภาพและความน่าเชื่อถือของของฮาร์ดแวร์ ความสะดวกในการทำธุรกิจ ระยะเวลาในการซ่อมบำรุง และการให้บริการผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิงที่ภาคธุรกิจนำมาเป็นตัวตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของเรา”
การเชื่อมต่อเครื่องมือกับข้อมูลและระบบคลาวด์ได้ทุกหนทุกแห่ง เพื่อการเปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการ
ถึงแม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามโดยทั่วไปจะตระหนักถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีใหม่ๆสำหรับคอมพิวเตอร์พีซี แต่การพัฒนาในอุตสาหกรรมไอทีที่ถูกคาดหวังมากที่สุด คือ เครื่องมือที่ทำให้สามารถดำเนินการเชื่อมต่อและเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะผ่านเทคโนโลยีในปัจจุบันหรือผ่านระบบคลาวด์ก็ตาม ทั้งนี้ 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าในอนาคตจะต้องมีการคิดค้นเครื่องมือดังกล่าวออกมาสู่ตลาดแน่นอน
ผู้ตอบแบบสอบถามโดยทั่วไป(ร้อยละ 65) เห็นด้วยว่า คลาวด์ คอมพิวติ้ง จะกลายเป็นหัวใจของเทคโนโลยีในอนาคต อย่างไรก็ตามผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 7 ใน 10 ยังคงไม่กระตือรือร้นที่จะใช้ระบบคลาวด์เป็นสถานีเชื่อมต่อข้อมูลสาธารณะ โดยพวกเขาชื่นชอบและไว้ใจกระบวนการส่งผ่านข้อมูลของตัวเองมากกว่า
คุณจีรวุฒิกล่าวต่อว่า “ในระยะแรกเริ่ม คลาวด์คอมพิวติ้ง ได้รับการยอมรับที่จะนำไปใช้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น เมื่อเร็วๆนี้วงการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ประกาศที่จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ขณะที่บริษัทเลอโนโวต้องการที่จะดำรงกลยุทธ์นี้ไว้ในระยะต่อไปเพื่อให้ประสบการณ์ด้านบวกโดยรวมแก่ผู้ใช้ ตั้งแต่การเข้าถึงอุปกรณ์และโปรแกรมเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายแม่ไปเครือข่ายลูก (Middleware) ด้วยความคาดหวังที่รูปแบบขององค์ประกอบต่างๆจะเปลี่ยนแปลงไปทำให้องค์กรจะต้องผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่ทำงานในลักษณะเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกประมวลผลที่เครือข่ายลูก (Fat Clients) เข้ากับอุปกรณ์ควบคุมการเข้าออกของแพคเกจ (Stateless device) ทั้งนี้เลอโนโวมีความเชี่ยวชาญในการ เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องพีซีเพื่อนำไปสู่การเป็น Cloud-ready clients“
การควบคุม, ทางเลือก และ ความเป็นเจ้าของในองค์กรขนาดใหญ่
จากผลสำรวจได้แสดงให้เห็นถึงนโยบายการจัดซื้อขององค์กรขนาดใหญ่ว่า มากกว่าร้อยละ 39.2 นิยมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แบรนด์เดียวกันเพื่อความสะดวกในการจัดการ กว่าร้อยละ 13.1 ปล่อยให้พนักงานสามารถเลือกใช้สินค้าตามแบรนด์ที่ตนเองต้องการ ในขณะที่การเป็นเจ้าของร่วมกันของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีระหว่างบริษัทและพนักงานโดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อจัดซื้อให้แก่พนักงานในองค์กรมีอยู่ถึงร้อยละ 8.2
คุณจีรวุฒิ กล่าวเสริมว่า “เนื่องจากอุปกรณ์ไอทีที่เพิ่มขึ้นมาอย่างมากในสถานที่ทำงาน ทั้ง แทบเล็ตส์ และสมาร์ทโฟนส่งผลให้บางหน่วยงานอาจจะต้องมีการทดสอบทำแผนร่วมทุนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ดีนโยบายสำคัญที่สุดในตอนนี้คือการดำเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์เพียงหนึ่งแบรนด์เท่านั้น”
บริษัทเติบโตพร้อมตอบรับนโยบายโลกสีเขียวในแผนกจัดซื้อ
ตามรายงานที่จัดทำโดยบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ระบุว่า ในแต่ละปีสถานประกอบการทั้งหลายต้องสูญเสียเงินเกือบ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้งาน นอกจากนี้ในบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 2,500 เครื่องนั้น หากขาดระบบการจัดการพลังงานในการควบคุมการใช้พลังงานจากคอมพิวเตอร์พีซีที่เหมาะสมจะเป็นต้นเหตุให้ปริมาณการใช้พลังงานของบริษัทเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า
นอกจากนี้การสำรวจดังกล่าวรายงานด้วยว่า เกือบ 3 ใน 4 ขององค์กรขนาดใหญ่เห็นความสำคัญและได้เริ่มต้นการปฏิบัติตามมาตรฐานใบรับรองความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและบรรจุไว้ในนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร เช่นGreenGuard, EPEAT and ENERGY STAR
คุณจีรวุฒิ เสริมว่า “เนื่องจากลูกค้าธุรกิจรู้สึกกังวลมากขึ้นกับต้นทุนทางด้านพลังงานที่สูงขึ้น บริษัทเลอโนโวจึงได้มุ่งเน้นกลยุทธ์ไปที่การพยายามลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด บริษัทได้พัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าด้วยแนวคิด Think Green โดยจะพยายามส่งเสริมให้ให้เกิดการใช้ Green Computing ไปยังพื้นที่ที่หลากหลาย รวมถึงการเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การกำจัดของหมดอายุการใช้งาน การกู้คืนสินทรัพย์และนำกลับมาใช้ใหม่
เลอโนโว เป็นบริษัทแห่งแรกที่ได้รับใบรับรอง EPEAT Gold Certificate (2006) สำหรับจอคอมพิวเตอร์ และในปี 2551 เลอโนโวนับเป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พีซีรายแรกที่ได้ผลิตจอคอมพิวเตอร์ทุกประเภทในรุ่น Think Vision ที่มาพร้อมกับใบรับรอง EPEAT Gold Rate และปัจจุบันจอมอนิเตอร์ของเลอโนโวในรุ่น Think Vision มีคุณสมบัติตรงตามที่ Energy STAR กำหนดไว้ล่าสุด ทั้งนี้มีผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีภายใต้แบรนด์ Think มากกว่า 25 รายการที่มีคุณสมบัติตรงตามกำหนดของ ENERGY STAR
สำหรับข่าวล่าสุดของเลอโนโวหรือสมัครสมาชิก ได้ที่ Lenovo RSS feeds หรือ สามารถติดตามเลอโนโวได้ทาง Twitter และ Face book.
ข้อมูลขั้นตอนการทำแบบสำรวจ
การสำรวจแนวโน้มธุรกิจคอมพิวเตอร์พีซีและพฤติกรรมผู้บริโภคในครั้งนี้ ถูกจัดทำขึ้นผ่านทางออนไลน์ทั้งในฮ่องกง อาเซียน อินเดีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยซีดีเนทและคอนเนคชั่น รีเสิร์ช ในนามของบริษัทเลอโนโว ทั้งนี้การสำรวจถูกดำเนินการในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2553 โดยผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจำนวนทั้งสิ้น 956 คน ซึ่งทำงานอยู่ในบริษัทที่มีการจ้างพนักงานมากกว่า 500 คน
###
เกี่ยวกับเลอโนโว
เลอโนโว (HKSE: 992) (ADR: LNVGY) เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ซึ่งมีแนวคิดในการสร้างธุรกิจจากการผสมผสานระหว่างการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการลงทุนในตลาดที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง กลุ่มบริษัทเลอโนโวนั้น เดิมคือ แผนกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของไอบีเอ็ม มีศูนย์กลางการทำวิจัยในเมืองยามาโต ประเทศญี่ปุ่น เซี่ยงไฮ้ และเสฉวน ในประเทศจีน รวมทั้งในเมืองราเล่ย์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้บริษัทมีการพัฒนา การผลิต และการสร้างความน่าเชื่อถือทางการตลาดด้วยคุณภาพและความปลอดภัยที่สุดยอด ความง่ายของการใช้งานด้วยเทคโนโลยีที่ออกแบบมาพิเศษ รวมไปถึงการบริการที่พร้อมทั่วโลก สามารถค้นข้อมูลได้ที่ www.lenovo.com.th