ไมโครซอฟท์ เผยผลการศึกษาประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Share | Tweet |
ข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน
วิธีการวิจัย:
ทีมพิสูจน์ความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ได้ทำการศึกษาสินค้าประเภทซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ปลอมตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2555 สิ้นสุดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 โดยในช่วงเวลาของการศึกษา จากกลุ่มดีวีดีตัวอย่าง จำนวน 127 แผ่น และ กลุ่มฮาร์ดดิสก์ตัวอย่าง จำนวน 235 ชิ้น จาก 5 ประเทศ – ไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์ มีจำนวนดีวีดี 66 แผ่น และ ฮาร์ดดิสก์ จำนวน 216 ชิ้น ได้ถูกนำมาตรวจสอบ โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่นำมาวิจัยในครั้งนี้ เน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟท์ปลอมแปลงและสภาพการใช้งาน โดยคัดตัวอย่างที่ติดมัลแวร์อยู่แล้วออกก่อนการวิเคราะห์
ประเภทของซอฟต์แวร์ดีวีดี:
ประเทศ | จำนวนตัวอย่าง | Windows | Office | SQL Server | อื่นๆ |
ไทย | 23 | 10 | 5 | 3 | 5 |
เวียดนาม | 9 | 4 | 5 | 0 | 0 |
อินโดนีเซีย | 19 | 18 | 0 | 0 | 1 |
มาเลเซีย | 5 | 3 | 0 | 0 | 2 |
ฟิลิปปินส์ | 10 | 5 | 4 | 0 | 1 |
รวม | 66 | 40 | 14 | 3 | 9 |
อัตราการติดมัลแวร์:
อัตราการติดมัลแวร์ในซอฟต์แวร์ดีวีดีคิดเป็นร้อยละ 74.24 และ ในฮาร์ดดิสก์คิดเป็นร้อยละ 67.59 ของภาพรวมทั้งหมด ตารางด้านล่างแสดงผลการตรวจสอบซอฟต์แวร์ดีวีดีและฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แบ่งตามชนิดและประเทศ
ประเทศ | จำนวนตัวอย่าง | จำนวนซอฟต์แวร์ดีวีดีที่ติดมัลแวร์ |
อัตราการติดมัลแวร์ (%) |
|
ไทย | 23 | 16 | 69.6% | |
เวียดนาม | 9 | 6 | 66.7% | |
อินโดนีเซีย | 19 | 19 | 100.0% | |
มาเลเซีย | 5 | 4 | 80.0% | |
ฟิลิปปินส์ | 10 | 4 | 40.0% | |
รวม | 66 | 49 | 74.2% |
* ตัวอย่างซอฟต์แวร์ดีวีดี SQL Server จำนวน 3 แผ่นไม่พบการติดมัลแวร์ใดๆ
ประเทศ | จำนวนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่นำมาตรวจสอบ | จำนวนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ติดมัลแวร์ |
อัตราการติดมัลแวร์ในฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (%) |
|
ไทย | 51 | 43 | 84.31% | |
เวียดนาม | 41 | 38 | 92.68% | |
อินโดนีเซีย | 44 | 26 | 59.09% | |
มาเลเซีย | 50 | 26 | 52.00% | |
ฟิลิปปินส์ | 30 | 13 | 43.33% | |
รวม | 216 | 146 | 67.59% |
การตรวจพบมัลแวร์:
ในระหว่างการตรวจสอบซอฟต์แวร์ดีวีดีจำนวน 66 แผ่น และ ฮาร์สดิสก์ไดรฟ์จำนวน 216 ชิ้น พบมัลแวร์เป็นจำนวนทั้งสิ้น 71,178 รายการ ซึ่งในจำนวนนี้พบเป็นมัลแวร์เฉพาะอยู่ถึง 5,623 ชนิด
ผลิตภัณฑ์ | จำนวนตัวอย่าง | จำนวนที่ตรวจพบมัลแวร์ |
ซอฟต์แวร์ดีวีดี | 66 | 1214 |
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ | 216 | 69964 |
รวม | 71178 |
มัลแวร์ 10 ชนิดที่ตรวจพบมากที่สุดในผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง:
ชื่อมัลแวร์ | จำนวน | ประเภท | คำอธิบาย |
SiSoftware.Sandra.Enterprise.v2012.06.22.13.Multilingual\Setup.exe |
31 |
Virus | Cracker – การเลี่ยงใช้รหัสหรือใบอนุญาตสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์Hacker Tool –เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อสร้างมัลแวร์และโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์Trojan – แอพพลิเคชั่นที่มีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมทั่วไป แต่เป็นอันตรายและสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ Virus –คือ มัลแวร์ที่แตกตัวโดยการนำไวรัสไปติดไฟล์อื่นๆ ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปิดช่องทางให้รหัสมัลแวร์ทำงานและแพร่กระจายตัวไปในขณะที่ไฟล์ทำ งานอยู่ |
Internet.Download.Manager.v6.11.7\ Keygen.exe |
28 |
Cracker | |
wrar411.exe |
27 |
Virus | |
SetupAnyDVD7031.exe |
23 |
Virus | |
hidownload.platinum.v7.997\keygen.exe |
20 |
Trojan | |
UltraISO.Premium.v9.5.3.2855\keygen.exe |
20 |
Cracker | |
AutoKMS.exe |
17 |
Hacker Tool | |
SiSoftware.Sandra.Enterprise.v2012.06.22.13.Multilingual\ Keygen.exe |
16 |
Cracker | |
keygen-Lz0&patch\Patch.exe |
16 |
Trojan | |
HAL7600v1.2\HAL7600.exe |
16 |
Cracker |
ผลกระทบของมัลแวร์ต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์:
วิธีที่เหล่าอาชญากรไซเบอร์ใช้กันบ่อยๆ คือ การปิดระบบป้องกันต่างๆ ของไมโครซอฟท์ ซึ่งทำให้ซอฟต์แวร์ปลอมเหล่านี้เลี่ยงระบบแจ้งเตือนลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และ สามารถใช้การปรับปรุงรุ่นจากแหล่งอื่นๆ ได้ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้การป้องกันความปลอดภัยจากการตั้งค่าพื้นฐานหย่อน ประสิทธิภาพลงอย่างเลี่ยงไม่ได้
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยและเปิดโอกาสให้มัลแวร์หรือแฮคเกอร์เข้า มาสร้างผลกระทบต่อการทำงานของระบบ ทำให้ข้อมูลมีโอกาสรั่วไหลหรือระบบล่ม
ความเสียหายทางการเงินและข้อมูลส่วนตัวที่อาจเกิดขึ้นได้
- ถูกโจรกรรมข้อมูลแผนการเงินและบัญชีธนาคาร
- ข้อมูลส่วนตัวถูกบุกรุก
- รหัสต่างๆ ถูกขโมย
- ภาพยนตร์ เพลง รูปภาพส่วนตัวต่างๆ สูญหาย
- เพื่อนและครอบครัวถูกหลอกจากบัญชีอีเมล์หรือบัญชีโซเชียล มีเดีย ของคุณเอง
ติดมัลแวร์ได้อย่างไร:
หากคุณซื้อคอมพิวเตอร์มาจากแหล่งจำหน่ายที่ไม่น่าเชื่อถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีโอกาสติดไวรัสได้จาก:
- ผู้ผลิต
- ร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาต
- ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ติดตั้งไว้ก่อนแล้ว
- การขนส่ง
เลี่ยงการติดมัลแวร์ได้อย่างไร:
ไมโครซอฟท์มีคำแนะนำให้ผู้บริโภคปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนี้
- ถามหาซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ทุกครั้ง
- ซื้อจากผู้แทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือและหลีกเลี่ยงข้อเสนอที่ ‘คุ้มค่าเกินความเป็นจริง’
- ตรวจสอบให้มั่นใจว่าสินค้าที่ซื้ออยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เรียบร้อย
- หากเป็นคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์วินโดวส์ กรุณามองหาฉลากของแท้หรือใบรับประกันของแท้ที่ติดไว้กับคอมพิวเตอร์ทุก เครื่องที่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์แล้ว สำหรับการตรวจสอบหลังการซื้อ สามารถเข้าสู่ระบบได้ที่ www.howtotell.com เพื่อยืนยันว่าฉลากที่มีอยู่นั้นเป็นของแท้
ทำอย่างไรเมื่อคอมพิวเตอร์ติดมัลแวร์:
หากลูกค้าที่สงสัยว่าซอฟต์แวร์ที่ซื้อมาเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถแจ้งได้www.microsoft.com/piracy ลูกค้า ที่แจ้งการละเมิดกฎหมายที่น่าสงสัยได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และช่วยให้ เราสามารถต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ดีขึ้น ไมโครซอฟท์ ได้ให้ความสำคัญกับทุกเรื่องที่ร้องเรียนอย่างจริงจังเพื่อรับรองว่าทุกคนจะ มีชุมชนไซเบอร์ที่ปลอดภัย ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ไมโครซอฟท์ได้รับการรายงานการละเมิดลิขสิทธิ์ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากกว่า 10,000 คำร้องเรียน จากลูกค้าที่ยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์ ‘ของแท้’ แต่ไม่สามารถหนีพ้นจากร้านค้าละเมิดลิขสิทธิ์เหล่านี้ได้ และสุดท้ายต้องพบกับความเสี่ยงและความไม่ปลอดภัยต่างๆ บนคอมพิวเตอร์