กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนกลยุทธ์ eHealth ในประเทศไทย เลือกใช้เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น และ โมบิลิตี้ โซลูชั่น จากวีเอ็มแวร์ เพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานไอที
Share | Tweet |
กระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนกลยุทธ์ eHealth ในประเทศไทย เลือกใช้เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น และ โมบิลิตี้ โซลูชั่น จากวีเอ็มแวร์ เพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานไอที
โซลูชั่นจากวีเอ็มแวร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้กระทรวงฯ สามารถให้บริการด้านสุขภาพทั่วประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กรุงเทพฯ , วีเอ็มแวร์ อิงค์ )NYSE: VMW) ผู้นำระดับโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และบิสสิเนส โมบิลิตี้ โดยความร่วมมือกับ กระทรวงสาธาณสุข ประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีร่วมกัน เพื่อยกระดับการบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน โดยกระทรวงสาธาณสุขได้ดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ eHealth ที่มุ่งเน้นในการปรับปรุงระบบการให้บริการด้านสุขภาพในประเทศไทย และเลือกใช้ VMware vSphere® และ VMware Horizon® เข้ามาช่วยในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของกระทรวงฯให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้นพร้อมช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านปฏิบัติการ
การปฏิรูประบบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ eHealth ของกระทรวงสาธารณสุขนั้น มีจุดมุ่งหมายในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อพัฒนาคุณภาพของการบริการทางสุขภาพ รวมถึงการประสานงานระหว่างหน่วยงานผู้ให้บริการด้านสุขภาพต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ป่วย ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้ดำเนินการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ eHealth ขององค์การอนามัยโลก (WHO) และสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ “ดิจิตอลไทยแลนด์” ของรัฐบาลไทย ที่ต้องการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการสร้างโอกาสใหม่สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการจากภาครัฐสู่ประชาชน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “เรามีความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์หนทางใหม่ๆ ในการให้บริการด้านสุขภาพในประเทศ โดยภายใต้ยุทธศาสตร์โดยรวมของกระทรวงสาธารณสุขในการขับเคลื่อน eHealth เราได้เลือกใช้เทคโนโลยีของวีเอ็มแวร์เพื่อปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ทำงานได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ดี และให้ข้อมูลมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น และ โมบิลิตี้ โซลูชั่น ที่ได้ช่วยให้อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สามารถมอบการดูแลและการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนชาวไทยต่อเนื่อง นี่คือก้าวที่สำคัญในการปฏิรูประบบดิจิตอลของประเทศ และเรามุ่งหวังว่าจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและโซลูชั่นของวีเอ็มแวร์มากยิ่งขึ้นอีกในอนาคต เพื่อส่งมอบบริการที่มีประสิทธิภาพให้แก่ชาวไทย”
ปัจจุบัน ระบบการให้บริการด้านสุขภาพของประเทศไทยได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องด้วยความจำเป็นในการก้าวตามให้ทันกับการพัฒนาโดยรวมของประเทศ เกือบทั้งหมดของประชากรไทย 67 ล้านคน[1] ได้ใช้ประโยชน์จากหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ถูกประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 นอกจากนั้น ประเทศไทยยังมีอัตราการเสียชีวิตของเด็กที่ลดลง อัตราอายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น และภาพรวมประสิทธิภาพของดัชนีชี้วัดสุขภาพที่ดี[2] ความสำเร็จดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของระบบการให้บริการด้านสุขภาพของประเทศไทยเอง
ปัจจุบัน มีจำนวนหน่วยงานที่ให้บริการด้านสุขภาพอยู่มากกว่า 10,000 หน่วย ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศไทย ส่งผลให้หน่วยงานกลางจำเป็นต้องหาเครื่องมือที่สามารถช่วยจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบองค์รวม เพื่อช่วยเหลือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานแต่ละหน่วยที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีประสิทธิภาพ ต้องช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถดูแลเวิร์กโฟลว์ในการจัดการ วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้นและช่วยให้บุคลากรของกระทรวงฯสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งจะส่งผลให้ระบบการดูแลสุขภาพของประชาชนมีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น
การจัดการทรัพยากรด้านไอทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
VMware vSphere® ช่วยให้กระทรวงสาธารณสุข สามารถเวอร์ช่วลไลซ์เซิร์ฟเวอร์และแอพพลิเคชั่นของหน่วยงาน ควบรวมการจัดการ ช่วยให้การดำเนินงานของดาต้าเซ็นเตอร์เป็นไปได้ง่ายขึ้น ผู้ดูแลระบบไอทีส่วนกลางไม่จำเป็นต้องเสียเวลา ไปกับการสำรองและกู้คืนเซิร์ฟเวอร์เครื่องจริง (Physical Server)
การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้บนเซิร์ฟเวอร์เสมือนนั้น ยังช่วยปรับปรุงให้การประสานงานระหว่างผู้ดูแลระบบไอทีส่วนกลาง กับทีมเครือข่ายในแต่ละจังหวัดสะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถติดตามผลการดำเนินงานต่างๆ ได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น รวมถึงสามารถบริหารจัดการและให้บริการทรัพยากรด้านไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลให้กระทรวงสาธารณสุขประหยัดค่าใช้จ่ายและจัดสรรทรัพยากรไอทีได้ดียิ่งขึ้น
เพิ่มความคล่องตัว (โมบิลิตี้) ในการให้บริการด้านสุขภาพทั่วประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
เทคโนโลยีมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และอุตสาหกรรมด้านสุขภาพสามารถดูแลและให้บริการด้านสุขภาพแก่ผู้ป่วยได้รวดเร็วขึ้น, ราคาถูกลง และมีคุณภาพสูง เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและช่วยให้ผู้ให้บริการและบุคลากรสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เลือกใช้ VMware Horizon® เพื่อสร้างโครงสร้างเดสก์ท็อปแบบเสมือนจริง ซึ่งช่วยให้บุคลากรภายในสามารถดูแลและให้บริการประชาชนได้ตลอดเวลาอย่างปลอดภัย ผ่านแอพพลิเคชั่นจากเดสก์ท็อป บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของตนเอง การใช้งานโซลูชั่น เวอร์ช่วล เดสก์ท็อป (Virtual Desktop Infrastructure - VDI) ดังกล่าว ได้ช่วยให้แผนกไอทีของกระทรวงฯ ให้บริการแก่บุคลากรในหน่วยงานได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ลดโหลดของการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและความพึงพอใจในการใช้งานของผู้ใช้ปลายทางซึ่งคือบุคลากรในกระทรวงฯได้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การจัดเก็บข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์เสมือนแทนการจัดเก็บในอุปกรณ์ไอทีของผู้ใช้งานเอง ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรับมือกับข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสำคัญต่างๆ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย และประวัติการรักษาของผู้ป่วย โมบิลิตี้ได้กลายมาเป็นเทรนด์หลักของอุตสาหกรรมต่างๆทั่วโลกจึงเป็นโอกาสสำคัญในการนำเทรนด์ดังกล่าวมาใช้ในวงการด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในประเทศไทย การใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีที่เหมาะสม จะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และข้อมูลต่างๆได้ดีขึ้น แม้จะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล
นายเอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท วีเอ็มแวร์ จำกัด กล่าวเสริมว่า “อุตสาหกรรมด้านสุขภาพทั่วโลกกำลังเดินหน้าสู่ระบบดิจิตอล โดยหันมาใช้เทคโนโลยีในการยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพมากขึ้น เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรไอทีได้ดีขึ้น ทั้งยังเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานให้กับผู้ให้บริการด้านสุขภาพไปพร้อมกับเพิ่มความสามารถในการรักษาข้อมูลด้านการแพทย์ของประชาชนให้มีความปลอดภัยมากขึ้น วีเอ็มแวร์พร้อมเดินหน้าจับมือกับกระทรวงสาธารณสุขรวมถึงสถาบันและหน่วยงานชั้นนำในประเทศ เพื่อพัฒนาวงการสุขภาพของไทยให้ก้าวเข้าสู่ระบบดิจิตอลได้อย่างเต็มภาคภูมิ”
การประกาศความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และวีเอ็มแวร์ในครั้งนี้ เกิดขึ้น ณ งานสัมมนา HIMSS Asia Pacific ภายใต้หัวข้องาน “Advancing Digital & Patient-centered Care” โดย วีเอ็มแวร์ ได้สนับสนุนการจัดงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
###
เกี่ยวกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์กรภาครัฐขนาดใหญ่ในประเทศไทย โดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 76 แห่ง, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 878 แห่ง, โรงพยาบาลภูมิภาค (โรงพยาบาลระดับตติยภูมิรวมกับศูนย์ความเป็นเลิศ) 28 แห่ง,โรงพยาบาลทั่วไป 88 แห่ง, โรงพยาบาลชุมชน 775 แห่ง และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอื่น ๆ 9,763 แห่ง โดยมีบุคลากรอีกกว่า 300,000 คน ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของประชาชนครอบคลุม 77 จังหวัดในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่กำกับดูแลองค์กรด้านสุขภาพของรัฐบาลมากกว่า 6 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.), สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), องค์การเภสัชกรรม, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เป็นต้นฯ
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้การสนับสนุนเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์แก่หน่วยงานย่อยในกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้แต่ละหน่วยงานสามารถทำงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การทำงานและข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพมีความสอดคล้องและถูกต้องทั่วทั้งหน่วยงาน รวมถึงให้บริการด้านสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมโดยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เป้าหมายหลักของเราคือการช่วยให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้ยุทธศาสตร์ eHealth เพื่อให้บรรลุภารกิจนี้
เว็บไซด์ https://www.moph.go.th
เกี่ยวกับวีเอ็มแวร์
วีเอ็มแวร์คือผู้นำในด้านโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานเวอร์ชวลไลเซชั่นและคลาวด์ ซึ่งช่วยให้องค์กรธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคสมัยของเทคโนโลยีคลาวด์ ลูกค้าไว้วางใจในเทคโนโลยีของวีเอ็มแวร์สำหรับการปรับปรุงรูปแบบการสร้าง นำเสนอ และใช้งานทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงได้อย่างลงตัว ในปี 2557 วีเอ็มแวร์มีรายได้ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีลูกค้ากว่า 500,000 ราย และพันธมิตรทางธุรกิจกว่า 75,000 ราย บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซิลิคอนวัลเลย์ และมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.vmware.com