อินเทล คอร์ วีโปร เจาะตลาดพีซีสำหรับธุรกิจ เปิดตัวพร้อมผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับองค์กรทุกระดับ
Share | Tweet |
กรุงเทพฯ 4 กุมภาพันธ์ 2553 : วันนี้ อินเทล คอร์ปอเรชัน และบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ต่างมารวมตัวกันเพื่อสาธิตประสิทธิภาพการใช้งานที่คล่องตัวของอินเทลTM คอร์TM วีโปร 2010 โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ เพื่อสนองตอบความต้องการของธุรกิจทุกระดับซึ่งอยากได้พีซีที่มีความเร็วสูงขึ้น มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่าย ท่ามกลางสภาพการประมวลผลสำหรับธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องอยู่ในขณะนี้ โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้มีระบบรักษาความปลอดภัยและระบบบริหารจัดการของอินเทลTM วีโปรTM เทคโนโลยี รุ่นใหม่ ที่เป็นหัวใจสำคัญของโน้ตบุ๊กและพีซีรุ่นใหม่สำหรับธุรกิจ ที่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้เริ่มจำหน่ายออกมาสู่ท้องตลาดแล้ว
อินเทล คอร์ วีโปร โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่เป็นผลมาจากการที่ระบบประมวลผลเชิงธุรกิจมีวิวัฒนาการไปสู่ยุคของการใช้วิดีโอและโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายทางสังคม และแอพลิเคชันขนาดใหญ่อื่นๆ จนทำให้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์กลายเป็นงานที่มีความสำคัญยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ริก เอเควาร์เรีย รองประธานแผนก อินเทล อาร์จิเทคเจอร์ กรุ๊ป และผู้จัดการทั่วไปแผนก บิซิเนส ไคล์เอนต์ แพลตฟอร์ม กล่าวว่า “ธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนพีซีมานานหลายปีแล้ว ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมในการประมวลผลที่ไม่อาจรับมือกับแอพลิเคชันที่พนักงานและแผนกไอทีนำมาใช้ได้อีกต่อไป ในขณะที่การนำเอาระบบประสิทธิภาพอัจฉริยะมาผสานการทำงานกับระบบรักษาความปลอดภัยที่ชาญฉลาดและความสามารถในการบริหารที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่มีอยู่ในอินเทล คอร์ วีโปร โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ ช่วยให้แผนกไอทีและบริษัทต่างๆ ในระดับเอ็สเอ็มอีมีแพลตฟอร์มที่ไร้จุดบอดโดยสิ้นเชิง นอกจากนั้นเรายังตื่นเต้นที่เห็นอินเทล วีโปร เทคโนโลยี ช่วยให้แผนกไอทีสามารถใช้งานระบบไคล์เอ็นต์เวอร์ชวลไลเซชันได้ การนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาถึงมือผู้บริโภคได้เร็วกว่าคู่แข่ง และการใช้แอพลิเคชันคลาวด์ เป็นต้น”
แพลตฟอร์มที่อ้างอิงกับอินเทล คอร์ วีโปร โปรเซสเซอร์ 2010 ประกอบด้วย อินเทลTM คิว 57 เอ็กซ์เพรส ชิปเซ็ต (Intel® Q57 Express) และ อินเทลTM 82577 แอลเอ็ม กิกะบิท เน็ตเวิร์ก คอนเนกชัน (Intel® 82577LM Gigabit Network Connection) รุ่นใหม่ล่าสุดที่ใช้ในโน้ตบุ๊ก และอินเทลTM 82578 ดีเอ็ม เน็ตเวิร์ก คอนเนกชัน (Intel® 82578 DM Network Connection) ที่ใช้ในเดสก์ท้อปพีซี
บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทั่วโลกซึ่งประกอบด้วยเอเซอร์ อัสซุส เดลล์ เฮชพี เลอโนโว และโตชิบา ต่างเปิดตัวพีซีเชิงธุรกิจรุ่นใหม่ที่ใช้ อินเทล คอร์ วีโปร โปรเซสเซอร์ 2010 รุ่นใหม่นี้ รวมถึงบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชันสำหรับธุรกิจขนาด กลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) และองค์กรขนาดใหญ่อย่าง บูมการ์(Bomgar) คาเซยา (Kaseya) แลนเดสก์ (LANDesk) ล็อกมีอิน(LogMeIn) ไมโครซอฟท์(Microsoft) เรียลวีเอนซี( RealVNC) สไปซ์เวิร์ก(Spiceworks) ไซแมนเทค(Symantec) และวินซิป(WinZip) ต่างสนับสนุนคุณสมบัติใหม่เหล่านี้ในผลิตภัณฑ์รุ่นต่อไปของตนเอง ในขณะที่บริษัทผู้ให้บริการไอทีอย่าง เอทีแอนด์ที เทคซัพพอร์ท 360(AT&T Tech Support 360) พลัมชอยส์ (PlumChoice) และเลเวลเน็ตเวิร์ค(Level Networks) ต่างมีแผนที่จะนำเอาคุณสมบัติต่างๆ ของอินเทล คอร์ วีโปร โปรเซสเซอร์ เทคโนโลยี ไปใส่ในโซลูชันสำหรับเอสเอ็มอีของตนเองด้วยเช่นกัน
คิดอย่างรวดเร็ว
อินเทล คอร์ ไอไฟว์ วีโปร และ คอร์ ไอเซเว่น วีโปร 2010 โปรเซสเวอร์ พัฒนามาจากสถาปัตยกรรม ‘เนฮาเล็ม‘ของอินเทล ที่ได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย โดยใช้ใช้กระบวนการผลิต 32 นาโนเมตรรุ่นใหม่ซึ่งอินเทลเป็นผู้นำในวงการนี้ นอกจากนั้นอินเทลยังได้นำเอาระบบกราฟิกความคมชัดสูงมาผสานลงไปในโปรเซสเซอร์เป็นครั้งแรก และนำเอาทรานซิสเตอร์ high-k metal gate รุ่นสองของอินเทลมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการประมวลผลและช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรีอีกด้วย
อินเทลTM คอร์TM ไอเซเว่น โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่และ คอร์ ไอไฟว์ โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่มี อินเทลTM เทอร์โบ บูสต์ เทคโนโลยี (Intel® Turbo Boost Technology) และ อินเทลTM ไฮเปอร์-เธรดดิ้ง เทคโนโลยี (Intel® Hyper-Threading Technology) ในตัว เพื่อรองรับการประมวลผล “อัจฉริยะ” ที่ปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ได้ โดยที่อินเทล เทอร์โบบูสต์ เทคโนโลยี จะปรับความเร็วของโปรเซสเซอร์โดยอัตโนมัติ เมื่อรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับปริมาณงาน ตัวอย่างเช่น ปรับให้โปรเซสเซอร์ทำงานเร็วขึ้น เมื่อผู้ใช้ทำงานมัลติทาสกิ้งหรือชมวิดีโออยู่ หรือปรับโปรเซสเซอร์ให้ทำงานช้าลงและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อผู้ใช้ไปพักทานาแฟหรือมีแค่แบ็กกราวน์ แอพลิเคชันที่ทำงานอยู่เท่านั้น เป็นต้น
อินเทล ไฮเปอร์-เธรดดิ้ง ถือเป็นเทคโนโลยีชั้นนำในวงการสำหรับในเรื่องของความเร็วและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ โดยเชื่อมโยง “งาน” จำนวนมากเข้าหาโปรเซสเซอร์แต่ละคอร์ได้โดยตรง ทำให้การประมวลผลคำสั่งแบบคู่ขนานทำได้รวดเร็วมากขึ้น
การใช้เครื่องมือทดสอบแบบมาตรฐานพบว่า อินเทล คอร์ ไอไฟว์ วีโปร โปรเซสเซอร์ 2010 สั่งงาน แอพลิเคชันเพิ่มผลผลิตทางธุรกิจได้เร็วขึ้นร้อยละ 80 1 สั่งงานแอพลิเคชันหลายๆ ชนิดพร้อมกันได้เร็วขึ้นสองเท่า1 และปกป้องข้อมูลลับได้เร็วขึ้น 3.5 เท่า1 เมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊กรุ่นยอดนิยมทั่วไปที่ใช้งานมาแล้ว 3 ปี
ตัดช่องทางการขโมยข้อมูล
ระบบ อินเทลTM แอนไท-เทฟต์ เทคโนโลยี (Intel® Anti-Theft Technology) ในอินเทล วีโปร เทคโนโลยี ช่วยตัดช่องทางของนักโจรกรรมข้อมูล ซึ่งจะถูกห้ามไม่ให้ใช้พีซีหากเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางหรือระบบอัจฉริยะในตัวสรุปว่าพีซีเครื่องนี้ถูกขโมยหรือสูญหาย ระบบอินเทล แอนไท-เทฟต์เทคโนโลยี เวอร์ชัน 2.0 (Intel® AT 2.0) ช่วยให้โซลูชันเข้ารหัสปิดการเข้าถึงคีย์ถอดรหัสผ่านการใช้ฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะเป็นการห้ามเข้าถึงข้อมูลโดยสิ้นเชิง และยังช่วยให้เปิดการทำงานของพีซีได้ใหม่ได้ง่ายขึ้นหลังจากพีซีกลับคืนสู่มือของเจ้าของแล้ว นอกจากนั้นคุณยังสามารถสร้างข้อความเฉพาะให้ปรากฏบนจอในระบบปฏิบัติการของพีซีเครื่องดังกล่าวซึ่งไม่สามารถใช้งานได้ เพื่อให้ทุกคนที่พยายามใช้คอมพิวเตอร์เครื่องนี้เห็นข้อความนั้นๆ ด้วย บริษัทผู้ผลิตโซลูชันเพื่อความปลอดภัยจำนวนมาก อาทิเช่น แอพโซลูท ซอฟต์แวร์ พีจีพี ฟีนิกซ์ และวินเมจิกต่างก็สนับสนุนการใช้ Intel AT V 2.0
การบริหารระบบที่ใช้งานง่าย
คุณสมบัติใหม่ที่ชื่อ อินเทล คีย์บอร์ด-วิดีโอ-เมาส์ รีโมท คอนโทรล (KVM Remote Control) ที่ทำงานร่วมกับอินเทลTM อินทีเกรด กราฟิก (Intel® integrated graphics) ช่วยให้ผู้ดูแลระบบไม่จำเป็นต้องคอยสอบถามผู้ใช้ว่า “คุณมองเห็นอะไรบนหน้าจอ” อีกต่อไป แต่จากนี้ไป ผู้ดูแลระบบจะเห็นหน้าจอเหมือนผู้ใช้ และยังสามารถควบคุมพีซีเครื่องนั้นได้อย่างเต็มที่อีกด้วย แม้ว่าระบบปฏิบัติการจะไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม ก่อนหน้านี้ฟังก์ชัน KVM ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ที่มีราคาแพงกว่า 200 เหรียญสหรัฐสำหรับพีซีแต่ละเครื่อง
เมื่อการเข้ารหัสเป็นสิ่งที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในพีซีเชิงธุรกิจ อินเทลจึงได้เพิ่มคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันไม่ให้การทำงานล่าช้า เรื่องแรก อินเทลเพิ่มชุดคำสั่งใหม่สำหรับแอดวานซ์ เอนคริพท์ชันสแตนดาร์ด ลงไปฮาร์ดแวร์เลย ซึ่งจะทำให้การเข้ารหัสและการถอดรหัสทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น3
เรื่องที่สอง ระบบอินเทล รีโมท เอนคริฟท์ชัน เมเนจเมนท์ (Intel® Remote Encryption Management)รุ่นใหม่ของอินเทลช่วยให้พนักงานไอทีที่อยู่ห่างไกลออกไปสามารถจัดการกับพีซีที่มีฮาร์ดไดร์ฟเข้ารหัสอยู่โดยการปลดล็อกไดร์ฟเหล่านี้อย่างปลอดภัย เพื่อทำให้คุณสมบัติทุกอย่างของอินเทล วีโปร เทคโนโลยี ใช้การได้
คุณสมบัติใหม่อีกข้อหนึ่งคือ พีซี อลาร์ม คล็อก (PC Alarm Clock) ซึ่งสามารถปลุกพีซีให้กลับมาทำงานได้ตามเวลาที่กำหนด เพื่อทำการซ่อมบำรุง จัดการงานด้านระบบรักษาความปลอดภัย หรืองานอื่นๆ เป็นต้น
เพิ่มประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี…
ปัจจุบัน บริษัทที่เป็นโออีเอ็มและบริษัทรับประกอบเครื่อง อาทิ เอเอสไอ (ASI) อิคิวอัส (Equus) ซีเนก้า ดาต้า (Seneca Data) และบริษัทอื่นๆ เริ่มเปิดตัวโน้ตบุ๊กสำหรับเอสเอ็มอี ที่ใช้ อินเทล คอร์ 2010 โปรเซสเซอร์ และองค์ประกอบพื้นฐานอื่นๆ ของอินเทลกันมากขึ้น ส่วนโน้ตบุ๊กที่มีคุณสมบัติต่างๆ ครบถ้วนที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการช่วยเหลือของอินเทลที่ชื่อว่า “สปริงพีค” (Spring Peak) ก็ถูกบริษัทผู้ผลิตอย่างกิกะไบต์และเพกาทรอน นำไปพัฒนาออกมาสู่ตลาดแล้ว โดยจำหน่ายผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายของอินเทล แพลตฟอร์ม สปริงพีค นี้เป็นโน้ตบุ๊กที่มีรูปโฉม การออกแบบที่โดดเด่น ด็อกกิ้งสเตชัน (docking station) จอแอลซีดีแบบแอลอีดี ขนาด 15.6 นิ้ว และยังมีอินเทล แอนไท-เทฟต์ เทคโนโลยี ในตัวอีกด้วย
…และองค์กรขนาดใหญ่
วันนี้ อินเทลมีการเปิดตัวแพลตฟอร์มเวิร์กสเตชัน ที่ใช้อินเทล คอร์ ไอไฟว์ โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่ พร้อมด้วยชิปเซ็ต อินเทล 3450 การเปิดตัวแพลตฟอร์มรุ่นนี้ช่วยสร้างหมวดหมู่ใหม่ของเวิร์กสเตชันระดับเริ่มต้น โดยมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงาน และเสถียรภาพของเวิร์กสเตชันในราคาที่ใกล้เคียงกับพีซีธุรกิจรุ่นเดิม แพลตฟอร์มนี้เน้นกลุ่มผู้ใช้ระดับเอสเอ็มอีและองค์กรที่ใช้แอพลิเคชันอย่างเช่น การสร้างสื่อดิจิตอล หรือชุดออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ระดับเริ่มต้น แพลตฟอร์มนี้ใช้ประโยชน์จากระบบกราฟิก HD รุ่นใหม่ของอินเทล และผ่านการรับรองว่า สามารถใช้ได้กับแอพลิเคชันจากอะโดบี ออโต้เดสก์ เป็นต้น เวิร์กสเตชันที่ใช้แพลตฟอร์มรุ่นใหม่นี้ จะเริ่มจำหน่ายผ่านบริษัทคู่ค้าของอินเทล อาทิ ฟูจิตสึ เฮชพี เลอโนโว และเอ็นอีซี เป็นต้น
ถ้าหากพูดถึงระบบสื่อสารไร้สายที่มีเสถียรภาพซึ่งเข้ามาเกื้อหนุนการทำงานของอินเทล คอร์ ไอไฟว์ และ คอร์ ไอเซเว่น โปรเซสเซอร์ แล้ว อินเทลมีการเปิดตัวอะแด็ปเตอร์ 802.11n WLAN รุ่นใหม่อย่างอินเทลTMเซนทริโนTM อัลติเมท เอ็น 6300 และอินเทลTM เซนทริโนTM แอดวานซ์ เอ็น 6200 ออกมาสู่ตลาด อะแด็ปเตอร์รุ่นใหม่นี้มีคุณสมบัติ 802.11n multi-stream ในตัว รองรับการทำงานของระบบแบนด์คู่ กระจายสัญญาณครอบคลุมพื้นที่สม่ำเสมอ และมีความเร็วที่สูงขึ้น (รุ่น 6300 มีความเร็วสูงถึง 450 Mbps และรุ่น 6200 มีความเร็วสูงถึง 300 Mbps) นอกจากนั้นอินเทลยังได้เปิดตัวอะแด็ปเตอร์ อินเทลTMเซนทริโนTMแอดวานซ์ เอ็น พลัส ไวแมกซ์ 6250 ซึ่งมีความเร็วเมื่อใช้กับระบบไวแมกซ์สูงถึง 20-Mbps8 และใช้กับ 802.11abgn Wi-Fi ได้เร็วถึง 300 Mbps เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการสูงสุดอย่างที่ต้องการ อะแด็ปเตอร์ทั้งสามรุ่นรองรับการทำงานของ อินเทล วีโปร เทคโนโลยี ได้
ข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมทั้งรูปภาพและวิดีโอเกี่ยวกับ อินเทลTM วีโปรTM เทคโนโลยี โปรเซสเซอร์ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ www.intel.com/pressroom