ASUS ExPertWiFi Solution Review : Setup (2/3)

Article by tpp On May 11, 2024 34,248 views
ASUS ExPertWiFi Solution Review
 < 1 2 3 > 

.

Testing

tpp_3387

เรามาเริ่มต้นกับ ASUS ExpertWiFi EBG19P ก่อนครับ ตัวนี้จะเป็นเราเตอร์แบบมีสาย และเป็นแบบ PoE+ วิธีการใช้งานคือ ต่อสายสัญญานอินเตอร์เนตจาก ONU มายัง EBG19P ทางช่อง wan ครับหลังจากนั้นก็เข้าไปเซต username/password อินเตอร์เนตก่อนให้เรียบร้อย หลังจากนั้นก็สามารถเสียบสายแลนในช่องที่เหลือไปยังคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค หรือว่าต่อไปยังอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆได้เลย หรือในกรณีที่เราต้องการให้ EBG19P เป็นศูนย์กลางกระจายสัญญาณทั้งแบบสายแลน และต่อไปยัง Access Point ในห้องหรือพื้นที่ต่างๆภายในบริเวณที่ต้องการเราก็ทำได้เลยครับ

.

ในรูป ผมต่อ EBG19P เข้ากับ ASUS ExpertWiFi EBA63 ซึ่งเป็น Access Point ที่มีพอร์ทแลนรองรับ PoE ด้วย แต่ถ้าสัญญาณแลนจากเราเตอร์ตัวอื่นที่ไม่มีไฟมาด้วยก็สามารถใช้ได้นะครับ ก็เสียบสายไฟจากอแดปเตอร์เข้าที่ตัว EBA63 เลย แต่อาจจะต้องมีงานเดินสายไฟเพิ่มขึ้นมาอีก นี่เป็นทางเลือกนึงนะครับที่ช่วยให้การใช้งานวงแลนของเราทั้งแบบมีสายและไร้สายจากอุปกรณ์สองชุดจาก ASUS

tpp_3388

tpp_3390

ต่อเชื่อมสายแลนจาก ASUS ExpertWiFi EBG19P ไปยัง ASUS ExpertWiFi EBA63 สบายเลยครับ ไม่ต้องไปเดินสายไฟที่ปลายทางด้วย โดยที่ ASUS ExpertWiFi EBA63 นั้นเป็น access point ที่สามารถกระจายสัญญาณได้สอง bandทั้ง 2.4 และ 5 GHz ในคลาส AX3000 ครับ แรงเลย

.

tpp_3391

ในอีกกรณีนึงนะครับ ที่เราต้องการติด access point เพิ่มอีกหลายๆตัวในหลายพื้นที่ภายในบ้าน หรือในสำนักงานเรา โจทย์คือเราไม่ต้องการเดินไฟเพิ่มไปยังจุดต่างๆด้วย และเราเตอร์เราไม่สามารถปล่อยไฟไปพร้อมกับสายแลนได้ เราต้องซื้อตัวสวิทซ์ที่เป็นแบบ PoE และ access point เราต้องรองรับด้วย

tpp_3392

เราก็ไปซื้อ ASUS ExpertWiFi EBP15 ซึ่งเป็นสวิทซ์ที่สามารถปรับแต่งได้และมี PoE มาครับ ทำการต่อสายจากเราเตอร์ที่ทำการเซตอัพ Username/password ให้เรียบร้อยแล้วมากยัง EBP15 นี้ ที่นี้เราก็สามารถส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์อื่นๆโดยที่มีไฟไปด้วยได้แล้วละครับ ถือเป็นการอัพเกรดที่ดีมาก สะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการอัพเกรดระบบ

..

 < 1 2 3 >