ECS Z77H2-AX Black Extreme Golden Board Review : Introduction (1/10)

Article by Venom-Crusher On May 7, 2012 10,328 views
ECS Z77H2-AX Black Extreme Golden Board Review
 1 2 3 4 >  Last ›

ecs-z77h2-ax

...สวัสดีครับ สำหรับวันนี้ผมก็ขอพามาพบกับเรื่องราวของ Ivy Bridge และคู่หู Intel® Z77 Express Chipset กันอีกครั้งนะครับ โดยในวันนี้เราก็จะมาชมพลังและความสามารถของมาเธอร์บอร์ดจากแบรนด์ยักษ์ใหญ่ แห่งวงการไอทีฮาร์ดแวร์อีกแบรนด์หนึ่งอย่าง ECS ที่คราวนี้จะมากันในรุ่นที่ชื่อ ECS Z77H2-AX นะครับ แต่ก่อนอื่นเราก็ไปชมรายละเอียดต่างๆโดยรวมของซีพียู 3rd Generation Intel® Core™ i7-3770K Processor รุ่นที่เกิดมาเป็นคู่บุญรุ่นท็อปสุดของ Intel® Z77 Express Chipset ที่จะนำมาใช้ทดสอบร่วมกันในบทความนี้ก่อนนะครับ

02-ecs-x77-launch_002

...Ivy Bridge Intel Core 3rd generation นั้นมันก็คือ Sandy Bridge Intel Core 2nd generation ที่ถูกปรับปรุงรายละเอียดยิบย่อยตั้งแต่เทคโนโลยีการผลิต (22นาโนเมตร) ไปจนถึงฟีเจอร์ต่างๆของตัวโปรเซสเซอร์ ให้ดียิ่งๆขึ้นไปนั้นเองครับ แต่ยังคงพื้นฐานของ Sandy-Bridge ไว้ ถ้าให้พูดกันง่ายๆก็คือเป็น Sandy-Bridge Minorchange ออกมาเรียกว่า "Ivy Bridge"

1

...ทุกครั้งที่อินเทลมีการเปิดตัวสถาปัตยกรรมระดับไมโครใหม่ หรือมีการเปิดตัวโปรเซสเซอร์เจเนอร์เรชั่นใหม่ ก็คงจะได้หยิบยกเอาโมเดล "Tick-Tock" ของทางอินเทลขึ้นมาอธิบายอยู่ร่ำไป ครั้งนี้ก็เช่นกัน กล่าวได้คือจังหวะนาฬิกาเทคโนโลยีของอินเทลเดินไปในช่วง "Tock" นั้นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมระดับไมโครขนานใหญ่ หรือว่ากันให้เข้าใจง่ายๆก็ต้องใช้คำว่า "Modelchange" ส่วนจังหวะ "Tick" นั้นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมระดับไมโครด้วยการอิงพื้นฐานของโมเดล เริ่มต้น และนำมาปรับปรุงฟีเจอร์ให้ดียิ่งขึ้น โดยมากเป็นการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้ละเอียดขึ้น (นาโนเมตร)

02-ecs-x77-launch_003

02-ecs-x77-launch_004

02-ecs-x77-launch_005

02-ecs-x77-launch_006

02-ecs-x77-launch_007

...แน่นอนครับว่า Ivy-Bridge ที่ถูกจัดให้อยู่ในช่วงจังหวะการเดินทาง "Tick" นั้นคือการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมระดับไมโครของอินเทลโดยอิงพื้นฐานมาจาก "Sandy-Bridge" ที่เราคุ้นเคยกันดี อินเทลเรียกนับให้ Ivy-Bridge ให้เป็น "Intel Core 3rd generation processor" โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีการผลิตระดับ 22นาโนเมตร มาใช้ในการผลิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์อย่างแรกของทางอินเทลที่ใช้ เทคโนโลยีการผลิตนี้ ตลอดจนมีการปรับปรุงระบบกราฟฟิคอินติเกรตภายในตัวซีพียูให้มีประสิทธิภาพดี ขึ้น นำเอาเทคนิคการจัดเรียงโครงสร้างทรานซิสเตอร์แบบใหม่มาใช้ ที่เรียกว่า "3D Tri-gate" ซึ่งจะทำให้ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กลงและมีการใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่ามาก ขึ้น นอกจากเทคนิคการผลิตใหม่ๆ อินเทลยังได้ทำให้ 3rd generation processor ของพวกเขาให้สนับสนุนการเชื่อมต่อ I/O แบบใหม่ๆด้วยตัวแพลตฟอร์มโดยไม่ต้องอาศัยคอนโทรลเลอร์เพิ่มเติมใดๆในระบบ อย่าง PCI Express 3.0, SATA 6GB/s, USB3.0 ที่จะเป็นมาตรฐานสำหรับแพลตฟอร์มใหม่ของอินเทล และมีการสนับสนุนระบบไร้สายต่างๆอย่างกว้างขวางด้วยการเปิดตัวออ ฟชั่นของการ์ดไวเรสใหม่ถึง 5 ตัวด้วยกันครับ

2

...สถาปัตยกรรม โดยภาพรวมนั้นยังคงเป็นลักษณะที่มีการแชร์กันของ Level 3 Cache อยู่ระหว่างแกนประมวลผลทั้งสี่แกน และตัวประมวลผลกราฟฟิค และแน่นอนว่า System agent ต่างๆทั้งเมมโมรีคอนโทรลเลอร์ ส่วนควบคุมหน่วยแสดงผล ส่วนเชื่อมต่อบัสความเร็วสูง ยังคงมีอยู่ในตัวซีพียู (ส่วนประกอบที่เป็นชิปเซ็ตทิศเหนือเดิม) ซึ่งใน Ivy-Bridge นั้นก็ได้มีการสนับสนุนเมมโมรีแบบ DDR3L ซึ่งเป็นมาตรฐานเมมโมรีกินไฟต่ำของทาง JEDEC รวมไปถึงหน่วยประมวลผลกราฟฟิคใหม่ที่สนับสนุน DirectX 11 จากเดิมที่เป็น Intel HD2000 และ HD3000 ใน Sandy-Bridge อัพเกรดมาเป็น Intel HD2500 และ Intel HD4000 ใน Ivy-Bridge

OVERCLOCKING

3

...ในส่วนของการโอเวอร์คล๊อก เนื่องจาก Ivy-Bridge นั้นยังคงเป็นซีพียูที่มีพื้นฐานคล้ายคลึงอยู่กับ Sandy-Bridge เดิม รายละเอียดส่วนใหญ่นั้นบอกได้เลยว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงนักครับ จะมีเพียงแค่ตัวคูณที่สามารถปรับได้สูงสุด 63 จากเดิม 59 และกลไกการปรับตัวคูณแบบ real-time แบบใหม่ รวมไปถึงความสามารถในการปรับแต่งความเร็วของตัวประมวลผลกราฟฟิคภายในที่จะ สามารถปรับให้ได้แรงขึ้นกว่าเดิม และสุดท้ายคือเรื่องของเมมโมรีที่สนับสนุนโปรไฟล์เมมโมรีประสิทธิภาพสูงแบบ XMP 1.3 พร้อมทั้งสามารถปรับอัตตราทดแรมต่อความเร็วซีพียูให้ดันความเร็วแรมไปได้ถึง ระดับ DDR 2667MHz จากเดิมที่เคยทำได้เพียง 2133 และ 2400 สำหรับ SNB-E ครับ

Graphics

02-ecs-x77-launch_008

4

...การปรับปรุงใน Ivy-Bridge ในด้านของกราฟฟิคสำหรับ Intel HD2500/4000 ก็จะมีตั้งแต่เพิ่มตัวประมวลผล EU (Execution Units) ที่ปกติเราๆจะคุ้นเคยกันในชื่อของ Shader Units (มันคือสิ่งเดียวกัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มี 12 ใน HD3000 เป็น 16 ใน HD4000 รวมไปถึงมีการออกแบบมาเพื่อพร้อมที่จะสนับสนุนการทำงานกับ Windows 8 อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการสนับสนุน API ล่าสุดอย่าง Direct X11 ที่สามารถทำ tesselation ภาพกราฟฟิคได้ครับ ซึ่งแต่เดิมใน HD2000 และ 3000 ใน 2nd gen นั้นจะสนับสนุนเพียงแค่ Direct X 10.1 เท่านั้น นอกจากนี้ยังคงการสนับสนุน HTML5.0 อย่างเต็มรูปแบบด้วยครับ

New 7 series Chipset

7

...Ivy-Bridge ถึงแม้จะเป็นการอัพเดตสถาปัตยกรรมของ Sandy-Bridge ด้วยการเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ ไม่ใช่เป็นการยกเครื่องโครงสร้างใหม่หมด แต่ก็ยังคงมีชิปเซ็ตตระกูลใหม่เปิดตัวตามๆกันมาอย่าง Intel 7 Series ที่จะใช้เทคโนโลยีการผลิตระดับ 65 นาโนเมตร สนับสนุนซีพียูทั้ง Sandy-Bridge และ Ivy-Bridge รองรับการต่อออกหน้าจอถึง 3 หน้าจอด้วยกัน มีตัวควบคุม SATA 6GB/s และ USB3.0 มาให้ในตัว รวมไปถึงเทคโนโลยียิบย่อยต่างๆของอินเทลตัวอย่างเช่น Rapid Storage เทคโนโลยีที่จะช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จานหมุนลูกใหญ่ๆนั้น เร็วขึ้นด้วยการ cache ข้อมูลลงในฮาร์ดไดร์ฟ SSD ที่ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่เท่าฮาร์ดดิสก์ลูกหลักก็ได้

8

...อินเทลยังคงยืนหยัดกับรหัสนำหน้าชิปเซ็ตของตนในระบบเดิมครับคือ Z series กับ H series สำหรับผู้ใช้ทั่วไป และเฟดเอาชื่อ P series เดิมออกไป โดยที่ Z series นั้นจะเป็นตระกูลที่สามารถทำการปรับแก้ไขตัวคูณของซีพียูเพื่อทำการโอ เวอร์คล๊อกได้ โดยจะมี Z77 และ Z75 ทั้งสองตัวนั้นต่างกันตรงที่การสนับสนุนบัส PCI-E ใน 77 นั้นมากกว่า 75 และเทคโนโลยี Intel Rapid Storage ที่จะไม่มีใน Z75 ส่วน H77 นั้นเรียกง่ายๆคือเป็น Z77 ที่ถูกตัดความสามารถในการปรับแต่งความเร็วซีพียู (โอเวอร์คล๊อก) ออกไปนั้นเองครับ นอกจากนี้ยังคงมี Q Series ที่ผมไม่ได้ยกมาพูดถึง ณ ตรงนี้ ซึ่ง Q series นั้นจะเป็นตระกูลสำหรับแพลตฟอร์ที่ใช้ในระดับองค์กร มีฟีเจอร์ทางด้านความปลอดภัยและการจัดการที่จะทำมาให้เหมาะสมกับการใช้งานใน องค์กรครับ

6

...ชิปเซ็ต 7 series ใหม่และซีพียูใหม่ในปี 2012 นี้ (Ivy-Bridge) ยังคงยืนหยัดอยู่บนซอกเก็ต LGA1155 อยู่ครับ สำหรับคนที่มีเมนบอร์ด 6 series ใช้งานอยู่แล้วหากต้องการอัพเกรดมาเป็น Ivy-Bridge ก็จะสามารถทำได้ด้วยการอัพเฟิร์มแร์ไบออส ME8 ลงไป ซึ่งจะทำได้เฉพาะกับชิปเซ็ต H61,67,P67 และ Z68 เท่านั้น ไม่รองรับ Q67 และ B65 ส่วนในขณะที่ผู้ที่ซื้อเมนบอร์ด 7 series ไป ก็ยังจะสามารถนำเอาซีพียูรุ่นเก่ามาใช้งานบนบอร์ดตัวใหม่ได้เช่นกัน ซึ่งการนำ Sandybridge มาใช้กับบอร์ด 7 series นั้นก็ต้องทำความเข้าใจว่าจะไม่สามารถใช้งาน PCI Express 3.0 ได้เนื่องจากตัวซีพียูไม่มีส่วนควบคุม ซึ่งถ้าท่านศึกษาเอาจาก block diagram ดีดีก็จะเข้าใจครับว่า PCI Express 3.0 เป็นระบบบัสความเร็วสูงที่ขึ้นตรงอยู่กับซีพียู เมนบอร์ดจะใช้ได้หรือไม่ได้ ก็ขึ้นอยู่กับซีพียู เป็นสำคัญ

Core i3 i5 i7 Model Line-up

02-ecs-x77-launch_010

(Click ScreenShot to Enlarge)

...สิ่งแรกที่จะพบได้ในตารางแสดงรุ่นของ Ivy-Bridge นี้คือในซีพียูรุ่นใหม่นี้จะมีตัวเลขนำหน้ารหัสโมเดลเป็นเลข 3 ส่วนรหัสลงท้ายที่เป็นตัวอักษร ยังคงมีความหมายเหมือนเดิม K คือ Unlock คือเป็นโมเดลที่สามารถทำการ overclock โดยปรับตัวคูณได้ ส่วนโมเดล T นั้นคือโมเดลประหยัดไฟพิเศษ (TDP 45watt) และ S คือโมเดลประหยัดไฟ (TDP 65W) ส่วนโมเดลที่ไม่มีอะไรลงท้ายก็หมายถึงโมเดลปกติทั่วไปครับ

3rd Generation Intel® Core™ i7-3770K Processor

dsc_0916

หน้าตาของตัวซีพียูที่จะใช้ทำการทดสอบร่วมกับมาเธอร์บอร์ด ECS Z77H2-AX ในคราวนี้ครับ

dsc_0917

จะเห็นว่าตัว pcb จะออกสีฟ้าเทอร์คอยส์แปลกตาดีครับ

 1 2 3 4 >  Last ›