NVIDIA GeForce GTX TITAN 6GB GDDR5 Review : Introduction & Specification (1/18)

Article by Venom-Crusher On February 21, 2013 26,838 views
NVIDIA GeForce GTX TITAN 6GB GDDR5 Review
 1 2 3 4 >  Last ›

nvidia-geforce-gtx-titan

...สวัสดีกันอีกครั้งกับการเปิดตัวอันสุดอลังการจากกราฟฟิกการ์ดค่ายที่คุณๆรู้จักกันดี เกือบๆจะหนึ่งปีพอดีหลังจากการเปิดตัวกราฟฟิกการ์ดรุ่นใหญ่จาก NVIDIA อย่าง GeForce GTX 680 จนมาถึงวันนี้กับกราฟฟิกการ์ดรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค๊ดเนมว่า TITAN ก็กลับมาเขย่าวงการกราฟฟิคการ์ดทรงพลังอีกครั้ง ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับกราฟฟิคการ์ดรุ่นนี้จะมีอะไรบ้างนั้นตามไปชมกันได้เลยครับ

Overview & Specification

Concept ของ NVIDIA TITAN นั้น ก็ถูกสร้างมาเพื่อที่จะเป็นซุปเปอร์คอมพิวเตอร์สำหรับการเล่นเกมส์โดยเฉพาะรุ่นแรกของโลก

TITAN นั้น เป็น GPU ที่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพสูงสุดของโลกด้วย คูด้าคอร์มากถึง 2688 คอร์ และจำนวนทรานซิสเตอร์มากมายถึง 7.1 พันล้านตัว

ถ้าเทียบคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของโพรเซสเซอร์ในเวลานี้ระหว่าง GPU GeForce GTX TITAN กับ CPU Core i7 3960X จะเห็นได้ว่าจำนวนคอร์ที่ทำงานนั้น TITAN มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด, ประสิทธิภาพของการคำนวน floating point นั้นก็มากกว่าหลายเท่าตัว รวมถึงจำนวนทรานซิสเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลก็มากกว่า 4.8 พันล้านตัว

gk110_block_diagram_final2

ดูกันชัดๆกับ Block Diagram ของตัว GPU GK110 รุ่นนี้

การ ออกแบบ TITAN นั้น รองรับการทำงานในรูปแบบ SLI ได้สูงสุด 3 wayมีเมมโมรี่แบบ GDDR5 มามากถึง 6 กิกกาไบท์เพื่อรองรับ Resolution ขนาดยักษ์ได้อย่างสบายๆ

ระบบ ระบายความร้อนก็ได้ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่ Vapor Chamber ที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษนี้มีประสิทธิภาพในการกระจายความร้อนไปยังฟิน ที่มีพื้นที่ในการระสลายความร้อนมากขึ้น รวมถึงระบบควบคุมรอบพัดลมที่จะแปรผันตามกำลังไฟที่จ่ายให้กับ CPU

ไม่เพียงแค่ความแรงแต่ความงดงามของการออกแบบฮีทซิ้งค์ก็เป็นจุดเด่นของ NVIDIA GeForce TITAN ด้วย

CRYSIS 3 ที่กำลังจะเปิดตัวในอีกไม่ช้านี้ แน่นอนครับว่า TITAN นั้นสามารถรองรับ Resolution ขนาดมหึมาที่ 5760 x 1080 ได้เป็นอย่างดีด้วยการปรับตั้งค่าในเกมส์ที่ High Setting ผลของมันคือราบรื่นด้วยเฟรมเรท 48 fps กันเลยทีเดียว

เมื่อ รันเปรียบเทียบ TITAN กับ GTX 690 Quard-SLI บนเกมส์ยอดนิยม ณ เวลานี้ TITAN สามารถทำผลงานได้ดีกว่า GTX 690 Quard-SLI เกือบทั้งหมดและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Crysis 3 และ Farcry 3 ที่กำลังเป็นที่นิยมในเวลานี้

ไม่ เพียงแต่ความแรงเท่านั้นที่ทิ้งห่าง แต่เสียงรบกวนจากการทำงานของพัดลมนั้นก็เบาจนแทบไม่รู้สึก จากการทดสอบบน Unigene Heaven, extreme tessellation นั้น TITAN 3 way SLI จะมีเสียงรบกวนเพียงแค่ 48 เดซิเบล A เท่านั้น ถ้าเทียบกับรุ่นพี่อย่าง GTX 680 3 way SLI ที่ดังกว่าที่ประมาณ 54 เดซิเบล

การทำเอา TITAN ไปเป็นส่วนประกอบสำหรับ Gaming PC ที่มีฟอร์มแฟกเตอร์ขนาดเล็กนั้นถือเป็นทางเลือกที่สมบูรณ์แบบด้วย

เมื่อ วางขุมกำลัง TITAN ใน Small Form Factor นั้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าประสิทธิภาพบนเกมส์ Crysis นั้นทำได้ดีกว่า GTX 680 อย่างเห็นได้ชัดถึงประมาณสิบ fps ด้านเสียงรบกวนนั้นก็น้อยกว่าด้วย

หลากหลายผู้ผลิตเคสสำหรับ Small Form Factor ก็ขานรับการติดตั้งและประกอบเกมส์มิ่งพีซีในรูปแบบนี้อย่างจริงๆจัง

GPU Boost ก็เดินทางมาถึงเวอร์ชั่น 2.0 เช่นกัน ด้วยประสิทธิภาพ การควบคุม การทำงานร่วมกันกับระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ รวมถึงการแสดงผลการโอเวอร์คล๊อก เหล่านี้ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงให้ดีมากขึ้น

จาก เวอร์ชั่น 1.0 ที่ยูซเซอร์นั้นสามารถเลือกปรับแต่ประสิทธิภาพจาก Power Target ให้ยืดหยุ่นและรองรับกับการ Boost ของ GPU ที่เราต้องการ

เมื่อมาถึง GPU Boost 2.0 นั้น ความเร็วและไฟนั้นเราเลือกที่จะได้ปรับบู๊สนั้นขึ้นอยู่กับเฮดรูมของอุณหภูมิ

Vrel คือกำลังไฟที่ระบบยอมให้เราปรับขึ้นไปได้ จากเดิมที่ GPU Boost 1.0 นั้น เราปรับไฟสุดก็หมายถึง Max Clock ที่ GPU สามารถดันขึ้นไปได้เหนือจากค่าบู๊ส แต่ในเวอร์ชั่น 2.0 นั้น Vrel จะถูกเพิ่มขึ้นได้โดยการควบคุมอุณหภูมิ ตรงนี้ทำให้ความเร็วสูงสุดของ GPU นั้นจะถูกดันเพิ่มขึ้นไปได้อีกแต่เราจะต้องควบคุมความร้อนให้ได้ด้วย

และ ถ้าเราปรับปรุงระบบระบายความร้อนให้ดีกว่า Stock Heatsink เช่นระบายความร้อนด้วยน้ำนั้นจะสามารถทำให้เราปรับ Vmax เพิ่มขึ้นได้อีก ทั้งนี้ก็อาจจะทำให้สเถียรภาพของระบบลดลงด้วยครับ

จากกราฟ เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ Cycle การทำงานของระบบบู๊สเทียบกับความถี่ของ clock นั้น จะเห็นได้ว่า clock ในช่วงที่ระบบอยู่ในสถานะบู๊สและ max ของเวอร์ชั่น 2.0 นั้นสูงกว่า 1.0 อย่างเห็นได้ชัด

ใน สถานะปกตินั้น  OverVoltage นั้นจะถูกปิดการใช้งานไว้ ซึ่งการที่จะปรับ OverVoltage นั้น ยู๊สเซอร์ต้องเข้าใจถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย

เกมส์ เมอร์ทั้งหลายนั้นอาจจะเปิดการทำงานของ Vertical sync (VSync) ในขณะเล่นเกมส์เนื่องจากประสพกับปัญหาภาพในเกมส์นั้นกระพริบเวลาปิด VSync ในขณะที่เราป้องกันการกระพริบนั้น VSync ก็จะไปจำกัดเฟรมเรทบนจอมอนิเตอร์ของเราไว้ด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วจอ LCD ที่เราใช้งานอยู่นั้นจะมีความถี่ที่ 60 Hz และจากการเปิด VSync ก็จะจำกัดเฟรมเรทให้สูงสุดเพียงแค่ 50 เฟรมต่อวินาทีเท่านั้นแม้ว่า GPU จะสามารถเรนเดอร์ซีนต่างๆได้มาก บางครั้งมากถึง 90 เฟรมเลย

แต่ กับ GPU Boost 2.0 นั้น NVIDIA ได้เพิ่มคุณสมบัติพิเศษที่ทำให้มันเป็นจริงๆด้วยฟังก์ชั่น display overclocking ที่ใช้เครื่องมือที่เสริมเข้าไป คุณสามารถที่จะโอเวอร์คล๊อกพิกเซลบนจอให้เพิ่มขึ้นเพื่อให้เราสามารถสำผัส กับเฟรมเรทที่มากกว่าแม้ขณะเปิดการใช้งาน VSync แต่ว่าไม่ใช่ทุกจอที่จะรองรับคุณสมบัตินี้ ควรตรวจสอบรายละเอียดก่อน

GeForce GTX นั้น ไม่ได้เพียงแค่เป็นกราฟฟิกการ์ดที่ออกแบบมาเพื่อบรรลุถึงเฟรมเรทขั้นสูงสุด เท่านั้น เป้าหมายของเราคือเป็นที่สุดของที่สุด เราทำงานร่วมกับผู้พัฒนาเกมส์หลายๆเจ้าเพื่อที่จะช่วยให้พวกเค้าสามารถ ต่อยอดการพัฒนาด้วยเทคโนโลยี NVIDIA PhysX Technology ซึ่งผู้ผลิตเกมส์ทั้งหลายสามารถเร่งพลังจากกราฟฟิกการ์ดให้ภาพในเกมส์สมจริง เช่นจำลองการพริ้วไหวของเสื้อผ้า จำลองการเคลื่อนไหวของของเหลวต่างๆอย่างเช่นในเกมส์ Borderlands 2 นั้นใช้ PhysX particle effect เพื่อให้เกิดความสมจริงที่เหนือกว่า

.

นอกจากนั้นแล้ว เทคโนโลยี TXAA ก็ช่วยลดการสั่นไหวของภาพในขณะที่มีการเคลื่อนไหวในเกมส์และทำให้การเคลื่อน ไหวนั้นคล้ายกับภาพยนต์ CG เช่นในเกมส์ Assassin's Creed 3 และถ้ามองในด้านของฮาร์ดแวร์นั้น NVIDIA ออกแบบสร้าง GPU สำหรับคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมส์ที่เงียบกว่าที่เคย นอกจากนั้นเกมส์เมอร์ท่านใดที่ต้องการความเป็นที่สุดแล้วละก็ การเพิ่มการ์ดเข้าไปในรูปแบบ SLI นั้น Multi GPU scaling เทคโนโลยีของ NVIDIA นั้นชาญฉลาด มันจะทำการเรนเดอร์กราฟฟิกเหล่านั้นด้วยการใช้งาน multiple GeForce GPU เพื่อที่จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพขั้นสูงสุดด้วย

GeForce GTX TITAN นั้นมี CUDA Core ทั้งหมด 2688 คอร์ และมี SMX 15 หน่วย และมีเมมโมรี่คอนโทรลเลอร์แบบ 64 บิททั้งหมดหกชุด รวมเป็น 384 บิท และมีแรมมาทั้งหมด 6 กิกกาไบท์แบบ GDDR5 ความเร็ว Base Clock Default นั้นอยู่ที่ 836 MHz และความเร็วเมมโมรี่ที่ 6008 MHz

.

ความ ยาวของการ์ดนั้นอยู่ที่ประมาณ 10.5 นิ้ว ช่องต่อเอาท์พุทนั้นจะมีสอง dual-link DVIs หนึ่งช่อง HDMI และหนึ่ง Display port ต้องการพลังงานจากหัวแบบแปดพินหนึ่งหัวและหกพินหนึ่งหัว และด้านล่างจะเป็นตารางเปรียบเทียบกับการ์ดรุ่นเรื่องธงของ NVIDIA ในยุคที่ผ่านมา

รายละเอียดของการพัฒนานั้นจะเห็นได้ชัด ขอขอบคุณรายละเอียดจาก GURU3D ครับ

หน้าตาตัวกราฟฟิคการ์ดจากเว็บไซต์ของทาง NVIDIA ครับ ไปดูหน้าตาของตัวการ์ดจริงๆที่เราได้รับมาทำการทดสอบได้ที่หน้าถัดไปเลยครับ

 1 2 3 4 >  Last ›