Review : BenQ MW516 Projector : Page 1 (1/1)
...ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีการแสดงผลบนหน้าจอมาตรฐานในทุกวันนี้ เรากำลังเข้าสู่ยุคของระบบอัตตราส่วนภาพแบบ Wide screen ไม่ว่าจะเป็น 16:10 หรือ 16:9 และเทคโนโลยีความละเอียดระดับ HD ที่จะเข้ามาแทนที่จอฟอแมต 4/3 ในความละเอียดระดับ SD เดิมๆไปแทบจะทั้งระบบแล้ว ซึ่งแน่นอนว่านอกจากจอภาพขนาดยักษ์ความละเอียดสูงแล้ว โปรเจ็คเตอร์นั้นก็เป็นอุปกรณ์อีกอันหนึ่ง ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีตามๆกันมาด้วย BenQ MW516 นั้นเป็นโปรเจคเตอร์ในฟอแมตไวด์สกรีน อัตตราส่วน 16:10 เทคโนโลยีหลอดภาพ DLP ความละเอียด native 720P และสนับสนุนความละเอียดสูงสุดถึง 1600x1200px ด้วยกัน รวมไปถึงเทคโนโลยี SmartEco ช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่งเราจะได้มาชมกันในรายละเอียดภายในรีวิวนี้กันเลยครับ
...BenQ MW516 นั้นเป็นโปรเจ็คเตอร์สำหรับพื้นที่ขนาดเล็กถึงกลาง เทคโนโลยีหลอดแสงแสดงผลแบบ DLP จาก TEXAS INSTRUMENT ผู้ผลิตและคิดค้นอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ชื่อดัง พร้อมฟีเจอร์ประหยัดพลังงาน ที่คงจะได้มาเล่าให้ฟังกันในภายหลังครับ
บอดี้โดยภาพรวมของ BenQ MW516 นั้นก็เรียกได้ว่าดูคล้ายๆกับโปรเจ็คเตอร์ทั่วๆไปในท้องตลาด ที่จะเป็นรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม ทำมาจากพลาสติก ซึ่งใน MW516 นั้นจะมีบอดี้บางส่วนที่เป็นลักษณะพลาสติกสีดำเงา ทำมาเพื่อความสวยงาม
บริเวณรอบๆตัวบอดี้นั้นก็จะมีตะแกรงหรือช่องระบายอากาศแฝงอยู่ในบางส่วน
ช่องระบายอากาศด้านหน้าขนาดใหญ่
ตัวเลนซ์นั้นเป็นเลนซ์ที่ต้องทำการปรับระยะโฟกัสภาพด้วยการหมุนด้วยมือ (Manual Focus) และสามารถตั้งระยะซูมภาพได้ 1-1.2 เท่าด้วยกัน
วงแหวนสำหรับปรับซูมภาพ และปรับโฟกัสเลนซ์ ถือได้ว่าทำออกมาเรียบร้อยดีสมกับระดับเครื่องครับ
บนตัวเครื่องก็จะมีปุ่มควบคุมมาให้ มากพอๆกับเท่าที่บนตัวรีโมตจะมีมาให้ได้ใช้งานกัน
...รีโมตที่ให้มานั้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับโปรเจ็คเตอร์ที่ผมเคยเจอมาหลายๆรุ่น ปุ่มกดนั้นสามารถกดได้พอดีมือ แต่ลักษณะลูกยางปุ่มกดนั้นจะให้ความรู้สึกออกคลอนๆไปเสียหน่อย การใช้งานถือได้ว่าสามารถเรียกใช้คำสั่งสำคัญๆได้ค่อนข้างสะดวก เช่นเลือก source เลือกโหมดสีภาพ หรือเปิดปิดระบบประหยัดพลังงานต่างๆ
...พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆนั้นมีมาให้ใช้งานอย่างครบครันครับ การเชื่อมต่อสัญญาณภาพเข้าตัวโปรเจ็คเตอร์ สามารถทำได้หลายช่องทาง โดยรวมๆแล้วจะมีมาให้ด้วยกันทั้งหมด สามแบบ คือสัญญาณ S-Video , VGA ถึงสองช่อง และ HDMI โดยที่ช่องเสียบแบบ HDMI นั้นตัวโปรเจ็คเตอร์จะมีลำโพงขนาดเล็กไซส์ประมาณ 2 วัตต์ ให้พอได้ยินเสียงเบาๆสำหรับผู้ใช้ที่ใช้เครื่องโปรเจ็คเตอร์นำเสนองานในพื้นที่ที่ไม่กว้างขวางมากนัก นอกจากนี้ยังสามารถเสียบสีญญาณเสียงเข้าทาง Audio jack ขนาด 3.5mm และส่งสัญญาณเสียงออกผ่านทางแจค 3.5mm ได้อีกด้วย ส่วนพอร์ต RS232 (Serial) และ USB ผมเองเข้าใจว่าจะเป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อระบบ projector controller ครับ
ด้านใต้เครื่องนั้นจะมีขาตั้งสำหรับการตั้งแบบวางบนพื้นโต๊ะสามขา
ขาตั้งด้านหน้าตัวเครื่องนั้นสามารถปรับระดับขึ้นลงได้ด้วยปุ่มกดล็อคด้านหน้าเครื่อง
ส่วนขาตั้งอีกคู่ที่เหลือนั้นจะสามารถปรับระดับสูงต่ำ(บาลานซ์ซ้ายขวา) ได้เพียงแค่ข้างเดียวเท่านั้น ด้วยการหมุนขาตั้งด้วยสกรู ให้มีระดับสูงต่ำ(เอียง) ตามต้องการ
ถึงแม้ MW516 นั้นจะสนับสนุนการเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต HDMI แต่ก็ไม่พบว่าจะมีสายสัญญาณ HDMI ติดมาให้ภายในแพคเกตครับ มีแค่เพียงสาย VGA และ power อย่างละเส้นเท่านั้น
...มาดูที่การใช้งานกันบ้าง ผมทดสอบใช้งานด้วยเครื่องแล็ปทอปที่มีพอร์ต HDMI และเสียบสาย HDMI เข้าใช้งาน พบว่าโปรเจ็คเตอร์จะถูกปรับตั้งความละเอียดมาให้ที่ 1920x1080P โดยอัตโนมัติ ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นความละเอียดสูงสุดเท่าที่คอมพิวเตอร์ผมจะขับได้ และก็เข้าใกล้ความละเอียดสูงสุดที่โปรเจ็คเตอร์จะทำได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี MW516 ตัวนี้มีความละเอียด Native อยู่ที่ 720P เท่านั้นครับ
...ซึ่งจากการทดลองเล่นไฟล์วีดีโอขนาด 1080P ดูแล้วก็พบว่าที่ความละเอียดระดับนี้ โปรเจคเตอร์สามารถให้ภาพที่ชัดเจนและไม่มีดีเฟ็คให้พบจนน่ารำคาญตา แต่แน่นอนว่าความพริ้วไหวและเรียบเนียนของการเคลื่อนไหวของวีดีโอ ที่ 720P ก็จะเห็นผลที่สวยงามกว่าแน่นอน
...ที่สำคัญไปกว่าความละเอียดนั้นก็คือ refresh rate ที่ตัวโปรเจ็คเตอร์ MW516 ตัวนี้ สนับสนุนอัตตรา refresh rate ถึง 120Hz ซึ่งจะทำให้มันสามารถรองรับการทำงานร่วมกับแว่นตาสามมิติ ซึ่งทาง BenQ ก็มีชุดแว่นตาดังกล่าวขายเป็นออฟชั่นเสริมอยู่อีกด้วยครับ
...ข้อดีจุดหนึ่งของ DLP นั้นคือความสามารถในการสู้กับแสงโดยรอบนั้นทำได้ค่อนข้างดี ด้วยสเป็คของตัว MW516 นั้นมีจำนวนเส้นแรงแสง (ลูเมน) วัดแบบมาตรฐาน ANSI ของอเมริกาอยู่ที่ 2800lumens ด้วยกันครับ และมี contrast ratio ที่ 1000:1 ก็ถือได้ว่าให้ความสว่างและคอนทราสที่ใช้ได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งผมคิดว่าเรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่องที่จะอธิบายให้เห็นภาพจริงๆแบบที่ผมได้ทดลองใช้งานได้ยาก นอกเสียจากท่านจะมาสัมผัสจริงๆกับผมเองครับ
...ลูกเล่นหลายๆอย่างที่ผมคิดว่าเก็บมาให้ชมกันไม่หมดก็คือการกลับหมุนภาพไปมา หรือแม้กระทั่งจะเปิดโปรเจคเตอร์ให้ส่งสัญญาณภาพเป็นฉากขาวหรือฉากดำเปล่าๆทีมีเส้นบรรทัดมาให้ ให้เหมาะสำหรับการใช้งานภายในห้องเรียนมัลติมีเดียในสมัยใหม่ ที่กระดานจะถูกใช้งานเป็นสกรีนฉายโปรเจคเตอร์ไปด้วยพร้อมๆกัน
หน้าจอเมนูปรับในหมวดของ Display สามารถปรับเปลี่ยนลักษณะการจัดวางจอดังที่ผมกล่าวไปเมื่อสักครู่ได้ รวมไปถึง Teaching mode ด้วยครับ
...ในส่วนของ Picture Mode ก็จะมีให้ปรับเลือกได้หลายแบบด้วยกัน เท่าที่ทดลองใช้ดูนั้นโหมด sRGB นั้นจะให้สีสรรที่สดใส แต่ผมคิดว่าไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการเที่ยงตรงของสีมากนักครับ ซึ่งในโหมดอื่นๆผมคิดว่าก็เป็นในแนวๆเดียวกันแต่จะมีลักษณะเฉพาะตัวออกไป โหมดที่ผมคิดว่าใช้งานแล้วดูดีที่สุดคือ Presentation ที่จะให้สีสรรที่พอเหมาะและความสว่างที่กำลังดี ซึ่งโหมดสำเร็จรูปนั้นโดยภาพรวมผมถือว่ายังทำมาได้ไม่ตรงใจผมเสียเท่าไร แต่ถ้าหากทำการปรับค่าต่างๆด้วยตนเอง ก็ถือได้ว่าใช้งานได้ดีเลยทีเดียว
...นอก จากนี้ผมก็ยังได้ทดลองเปิดสไลด์ที่มี ratio อยู่ที่ 4:3 ก็พบว่าไม่มีปัญหาในการใช้งานใดๆครับ เนื่องมาจากว่า MW516 นั้นสนับสนุนอัตตราส่วนจอได้มากถึง 5 รูปแบบด้วยกัน อัตตราส่วน 4/3 ที่ยังคงเป็นมาตรฐานในโปรเจ็คเตอร์เก่าๆหลายๆรุ่น ก็ยังสามารถใช้งานได้ดีอยู่ไม่มีปัญหาอะไรครับ
การเปิดสไลด์นั้นผมทดลองตั้งความละเอียดให้กลับมาที่ความละเอียด Native resolution ก็พบว่าภาพที่ได้ก็เรียกได้ว่าดูคมชัดใช้การได้เลยทีเดียว
...มาถึงส่วนของโหมดประหยัดพลังงานทั้งหลาย ครั้งนี้ผมได้ทดลองนำเอา Power Monitor ที่เว็บไซต์ของเราเคยใช้ในการทดสอบฮาร์ดแวร์ต่างๆมาทำการทดสอบ ผลที่ได้ก็เป็นดังนี้ครับ
ใ..ในโหมด normal นั้น โปรเจ็คเตอร์จะกินพลังงานอยู่ที่ราว 235-245Watt ซึ่งในสเป็คก็ระบุไว้เป็นปริมาณเท่านี้ ก็ถือว่าเป็นการพิสูจน์ แต่ข้อสังเกตพบว่าในโหมด SmartEco นั้น เราจะไม่ได้เห็นอัตตราการเปลี่ยนแปลงการบริโภคพลังงานไว้อย่างที่เราคาดหวัง คือทดสอบออกมาได้เลข watt เท่าๆกับโหมด normal แต่ในเว็บไซต์ของทางเบ็นคิวนั้นได้บอกไว้ว่า SmartEco นั้นจะทำให้เราประหยัดพลังงานมากขึ้นกับการแสดงผลภาพที่เป็นลักษณะสีในโทนมืดครับ ซึ่งหากจะให้ทดสอบให้เห็นจริงๆ คงต้องให้เปิดโปรเจคเตอร์ใช้งานต่อเนื่องและให้ Power monitor เก็บค่า kWh เอาไว้เลย ซึ่งทางทีมงานก็ไม่มีเวลาทดสอบนานขนาดนั้นครับ
สำหรับโหมด Eco ซึ่งจะเป็นโหมดที่ประหยัดพลังงานที่สุด โปรเจ็คเตอร์จะลดระดับความสว่างลงมาในระดับหนึ่ง ทำให้อัตตราการบริโภคไฟเฉลี่ยจากการสังเกตอยู่ที่ 190-200Watt
และในโหมดEco นี้ โปรเจคเตอร์จะทำการตรวจจับพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ หากไม่มีสัญญาณภาพต่อออกมา ตัวหลอดภาพจะทำการปิดตัวเองสู่โหมด Eco Blank ทำให้ประหยัดพลังงานลงไปได้มาก
ในโหมด Eco Blank นั้นโปรเจคเตอร์จะกินไฟอยู่เพียงแค่ประมาณ 100 วัตต์เท่านั้นครับ
.
...นับได้ว่าเป็นโปรเจคเตอร์ในฟอแมตไวด์สกรีน ที่มีคุณสมบัติ ความสามารถในการเชื่อมต่อเพียบพร้อม และความละเอียดระดับที่เพียงพอต่อการใช้งานนำเสนอทั่วๆไปได้ดีมาก นอกจากนี้ยังสามารถที่จะนำไปใช้งานในเชิงบันเทิงได้อย่างดีอีกด้วยครับ ลูกเล่นต่างๆที่มีมาให้ก็เรียกได้ว่าน่าจะเพียงพอสำหรับโปรเจ็คเตอร์หนึ่งตัว ทั้งเรื่องของการจัดวางสกรีน หรือเทมเพลตบรรทัดสำหรับการสอนในห้องเรียนมัลติมีเดีย ที่เป็นลูกเล่นที่ผมชอบมากตัวหนึ่ง โหมดประหยัดพลังงานก็สามารถใช้งานได้จริงไม่ใช่การโฆษนาคุยโวเพียงอย่างเดียวครับ
.
.