Review : Gigabyte GC-WB300D/WB150 : Page 2 (2/2)
...นอกจากนี้สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างสองรุ่นนี้ก็คือพอร์ต USB ที่ติดมาให้บนตัวการ์ด ซึ่งปกติแล้ว WB150 และ WB300D นั้นจะทำให้คอมพิวเตอร์ของเราสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์จำพวก iOS ใช้งาน easy tune หรือใช้งานอินเตอร์เนทได้ทั้งจาก WiFi , Bluetooth หรือจะเป็น USB จึงจำเป็นจะต้องมีพอร์ต USB มาให้ด้วย โดยปกติแล้วเราจะเชื่อมต่อสาย USB เข้ากับพอร์ต USB แบบเดียวกับที่อยู่ใน front panel (อันซ้ายมือ) แต่สำหรับพอร์ตด้านขวามือ ผมเองก็ยังไม่เข้าใจเหมือนกันว่าใน WB300D นั้นมีมาไว้ทำไม คู่มือผู้ใช้งานก็ไม่ได้ระบุอะไรไว้เลยเช่นกันครับ
ขั้วต่อสำหรับสายอากาศก็มีมาให้สองขั้วพร้อมไฟแสดงสถานะ
สายอากาศที่ติดมาให้ก็เป็นสายอากาศแบบรอบตัวธรรมดาๆ ที่มีสายโยงจากตัวเพลทหลังการ์ดมาค่อนข้างยาว ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกครับ แต่ก็น่าแปลกเหมือนกันที่สายอากาศของรุ่น WB150 กับรุ่น WB300D นั้นมีลักษณะที่แทบจะไม่แตกต่างอะไรกันเลย ทั้งๆที่ใน WB300D สามารถทำงานได้บนความถี่ 5GHz ด้วย น่าจะมีความแตกต่างกันบ้าง ก็ถือว่าเป็นความเก่งกาจของวิศวกรเขาล่ะครับที่สามารถทำให้สายอากาศมันมีขนาดเล็กกระทัดรัดได้แบบนี้
...ส่วนฟีเจอร์เด็ดๆที่ผมจะอดพูดถึงไม่ได้ก็คงจะเป็นความสามารถในการเซ็ตให้การ์ดไวเรสในเครื่องของเรา สามารถตั้งตัวเองให้เป็น access point ได้ คือในโหมด Soft-AP ของโปรแกรม WiFi-Share นี้จะสามารถดึงเอาการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทผ่านพอร์ต ethernet หรือช่องทางของ NIC ตัวอื่นๆมาแชร์ผ่านตัวการ์ดไวเรสที่เรามีอยู่ได้ นับเป็นฟีเจอร์ที่เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มี smart device ใช้งานในมือ แต่ไม่ได้มีเร้าเตอร์ไวเรสไว้ใช้งานด้วยครับ
.
.
...หลายๆท่านที่ดูแค่กล่องหรือดูแค่รูปลักษณ์ของมัน ก็คงอาจจะคิดว่า แค่การ์ดไวเรส ซื้อยี่ห้ออะไรก็คงเหมือนๆกัน เพราะจริงๆแล้วในโลกของเรานั้นมีคนที่ทำชิปสำหรับการ์ดไวเรสอยู่แค่ไม่กี่เจ้าที่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์นิยมเอามาทำขายกัน อย่างในนี้จะเป็น Qualcomm-Atheros ส่วนอีกเจ้าที่เราจะเห็นกันบ่อยๆก็คงจะเป็น Intel ดังนั้นเลือกซื้อแบรนด์อะไร เราก็คงจะได้ใช้งานชิปของทั้งสองเจ้านี้ แต่ใน Gigabyte WB150/WB300D นั้นได้มีการเพิ่มลูกเล่นในซอฟท์แวร์และไดร์เวอร์มาให้ดูน่าสนใจ ก็นับเป็นตัวเลือกที่สร้างสรรค์และดูแล้วน่าจะคุ้มค่ากับการสรรหามาใช้งานครับ
.
.