นิสิตไทยคว้ารางวัลระดับโลกจากอินเทล
สำหรับแผนธุรกิจที่โดดเด่นด้านนวัตกรรมและต่อยอดธุรกิจได้
มูลนิธิอินเทลมอบเงินรางวัลรวม 100,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับผลงานวิจัยของนักธุรกิจรุ่นเยาว์ทั่วโลก
ประเด็นข่าว
:
- ทีมนิสิตจากสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ ในนามของทีม "อควาอินโนวา"ได้รับรางวัล Emerging Impact Award พร้อมทุนการศึกษา 5,000 เหรียญสหรัฐฯ จากการประกวดแผนธุรกิจระดับโลก อินเทล โกบอล ชาเล้นจ์ 2011 (Intel Global Challenge) ที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ผลงานที่ได้รับรางวัล คือ การพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการเพาะเลี้ยงกุ้ง ด้วยเครื่องมือขนาดเล็กที่ใช้ตรวจวัดโรคติดต่อในกุ้งที่เรียกว่า GenovexTM
- อินเทลได้ร่วมสนับสุนนรางวัลเป็นทุนการศึกษาว่า 100,000 เหรียญสหรัฐ สำหรับการประกวด อินเทล โกบอล ชาเล้นจ์ 2011 (Intel Global Challenge) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ที่มีศักยภาพเพื่อนำไปพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไป
- มีทีมนักศึกษา 30 ทีม จาก 22 ประเทศรวมถึงประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันในปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นที่ Haas School of Business มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
กรุงเทพ 23 ธันวาคม 2554 - กลุ่มนิสิตปริญญาโทบริหารธุรกิจจากสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ใช้ชื่อทีม "อควาอินโนวา" (aQuainnova) ได้รับรางวัล Emerging Impact Award จากผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการเพาะเลี้ยงกุ้ง ด้วยเครื่องมือขนาดเล็กตรวจวัดโรคติดต่อในกุ้งที่เรียกว่า Genovex
TM หลังจากเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันอินเทล โกบอล ชาเล้นจ์ (Intel Global Challenge) ครั้งที่ 7 ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบริก์ลีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
และนับเป็นครั้งแรกของตัวแทนจากประเทศไทย ที่ได้รับรางวัลระดับโลกจากเวทีการประกวดดังกล่าว ซึ่งสนับสนุนการจัดโดยมูลนิธิอินเทล
การแข่งขัน อินเทล โกบอล ชาเล้นจ์ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้นักธุรกิจรุ่นเยาว์ ได้พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีอันสร้างสรรค์เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงระดับโลก สร้างแผนธุรกิจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ และนำเทคโนโลยีที่ได้จาการเรียนรู้จากภายในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาออกเป็นสินค้าสู่ตลาดได้ในอนาคต นักธุรกิจรุ่นเยาว์จากทั่วโลกสามารถเข้าร่วมการประกวดโดยส่งแผนธุรกิจเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณา และมอบเงินรางวัลให้แก่โครงการที่แสดงความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด โดยมูลนิธิอินเทลเป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัลทั้งหมดรวมทั้งสิ้นกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ในฐานะตัวแทนจากประเทศไทย ทีมอควาอินโนวาได้รับรางวัล Emerging Impact Award พร้อมทุนการศึกษา 5,000 เหรียญสหรัฐจากผลงานทีเต็มเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์พร้อมกับแผนธุรกิจที่มีศักยภาพในการต่อยอดต่อไปในอนาคต
ทีมอควาอินโนวาประกอบด้วยนิสิตปริญญาโทสี่คน จากคณะบริหารธุรกิจจากสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ หัวหน้าทีม นางสาวภัทรพร เสนาวัฒนกุล (27 ปี) นางสาวณิชาบูรณ์ บุรณเวช (29 ปี) นางสาวประภาดา ประพันธ์ (28 ปี) และนางสาวดลสิริ อารมย์สุขนิสิตศศินทร์ (27 ปี) โดยมีคุณ คุณ นิกม์ พิศลยบุตร อาจารย์ผู้ดูแลทีม
ภัทรพร เสนาวัฒนกุล กล่าวว่า "ในการประกวดงาน อินเทล โกบอล ชาเล้นจ์ 2011 ที่ผ่านมา เราได้ทำให้ทุกคนตระหนักว่า Genovex
TM ซึ่งเป็นเครื่องมือขนาดเล็กสำหรับตรวจวัดโรคติดต่อในกุ้งสามารถช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในกุ้ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการเพาะเลี้ยงกุ้งให้แก่ผู้ผลิตทั้งภายในและนอกประเทศได้ดียิ่งขึ้น พวกเราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการแข่งครั้งนี้ อีกทั้งยังช่วยนำเสนอศักยภาพของอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงกุ้งในประเทศไทยสู่สายตาของคนทั้งโลกอีกด้วย ทีมของเรามุ่งมั่นที่จะวิจัยและพัฒนาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ Genovex
TM เพิ่มเติม โดยมีแผนจำหน่ายอุปกรณ์ชิ้นนี้สู่ตลาดในประเทศภายในปีหน้านี้"
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "อินเทลมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมพัฒนานวัตกรรมของเด็กนักเรียนทั่วโลก เราเรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง ว่าการส่งเสริมนักธุรกิจรุ่นเยาว์ผ่านโปรแกรมส่งเสริมการศึกษาต่างๆ ของ อินเทล จะช่วยพัฒนาศักยภาพของนักเรียนแต่ละคนให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังส่งผลดีต่อชุมชนและเศรษฐกิจของประเทศต่อไปอีกด้วย"
"การแข่งขัน อินเทล โกบอล ชาเล้นจ์ จะช่วยพัฒนาทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กนักเรียนในการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นและหาวิธีการแก้ไขอย่างถูกต้อง เพื่อนำไปปรัปใช้กับการทำงานในอนาคตได้ ผมรู้สึกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เห็นนิสิตจากทีม "อควาอินโนวา" ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้จากการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยที่พวกเขายังเป็นทีมจากประเทศไทยทีมแรกที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้" เอกรัศมิ์ กล่าวทิ้งท้าย"
การแข่งขันในปีนี้ ผู้ชนะเลิศได้แก่ทีมจากประเทศจีน ซึ่งได้รับทุนการศึกษามูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐฯ จากผลงานการพัฒนาแพลตฟอร์มในการอัดรูปถ่ายที่เรียกว่า Gaitu เพือให้ลูกค้าชาวจีนสามารถนำภาพถ่ายผลิตภัณฑ์ที่ต้องการไปแชร์กับดีไซนเนอร์ที่มีบริการรองรับไฟล์รูปภาพ เพื่อออกแบบภาพถ่ายให้กลายเป็นศิลปะหรือสินค้าที่ต้องการได้ ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ที่ได้รับทุนการศึกษามูลค่า 20,000 เหรียญสหรัฐฯ คือทีมจากประเทศรัสเซีย ซึ่งออกแบบอุปกรณ์ทดสอบดีเอ็นเอแบบเคลื่อนที่ในราคาที่ไม่แพง เรียกว่า Maxygen-mobile DNA เพื่อตรวจเลือดให้แก่ผู้ติดเชื้อจากโรคติดต่อร้ายแรงกว่าพันชนิดได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงช่วยตรวจวิเคราะห์เพื่อหาความเสี่ยงทางพันธุกรรม (genetic predispositions) และความบกพร่องทางกรรมพันธุ์ (hereditary conditions) เป็นต้น สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสาม ได้รับทุนการศึกษามูลค่า 10,000 เหรียญสหรัฐฯ คือทีม nanoDiagX จากประเทศอียิปต์ ที่นำอนุภาคนานโนจากทอง มาพัฒนาเพื่อตรวจสอบเชื้อไว้รัสตับอักเสบซีได้ภายในเวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง ในราคาที่ต่ำกว่าชุดตรวจสอบปัจจุบัน ถึงหนึ่งในสิบ
ในประเทศไทย อินเทลยังได้ให้การสนับสุนนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก รวมถึง การประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติ หรืออินเทลไอเซฟ (Intel ISEF) ซึ่งปีนี้นักเรียนสามารถคว้ารางวัลอันทรงเกียรติจากการแข่งขันมาได้ และการร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงศึกษาธิการในโครงการ อินเทล® ทีช (Intel® Teach) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน โดยมีครูทั่วโลก10 ล้านคนที่ได้รับการอบรมจากโครงการนี้ ซึ่งรวมถึงครูของประเทศไทยจำนวน 150,000 คน
ตลอดหนึ่งทศวรรตที่ผ่านมาเพียง อินเทลได้ลงทุนกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และรวมถึงความทุ่มเทในโครงการต่างๆ ที่พนักงานจิตของอินเทลได้สละเวลาเกือบสามล้านชั่วโมงเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาในประเทศต่างๆกว่า 60 ประเทศทั่วโลก หากต้องการ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อการศึกษาจากอินเทลสามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์
www.intel.com/newsroom/education เฟซบุ๊ค
http://intel.ly/intel-edu และทวิตเตอร์
http://twitter.com/intel_education ผู้สนใจยังสามารถเข้าร่วมชุมชนเออนไลน์พื่อการแบ่งปันเรื่องราวที่จะเป็นเสียงที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการศึกษาทั่วโลกได้ที่
www.inspiredbyeducation.com.
###
Intel, Intel Atom และ Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์
* ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ