อันนี้ จริงๆซิลิโคนมามันก็ อย่างที่เรารู้กันนะครับ ที่ว่า ช่องว่างระหว่าง พื้นผิวกระดอง กับ ฮีตซิงค์ มันไม่ได้แนบสนิทกัน บางที คนละแมททีเรียลอีก ซิลิโคนเลยกลายเป็น ป๋าหนั่น หูกาง ตายน้ำตื้น 45 ล้าน อะไรทำนองนั้นครับ ประมาณว่างานนี้กะมั่วนิ่มเลยครับป๋าแก เง้อ
ช่องว่างที่ว่าระหว่างพื้นที่ผิว ผมคิดว่า ตอนที่เราใส่ซีพียูลงไป และ ใส่ฮีตซิงค์ลงไป พื้นที่ผิวตรงส่วนที่ใส่ซิลิโคน มันมีจำกัดครับ
อันนี้ไม่นับบางทฤษฏีภาครถเมล์ร้อนรับซื้อรูปถ่ายให้ราคาสูงนะครับ ว่า ซีพียูมันจะแอ่นงอเป็นไม้บรรทัดถ้าใส่ซิงค์ไม่ดี ต้องขันน๊อตลงน้ำหนักให้เท่าๆกันทุกมุมมันถึงจะไม่แอ่น อันนั้น ออกแนว คล้ายๆ เหมือนเพ้อเจ้อ วิ่ง 350 แต่ดันขับรถเข้าไปเติมหัวจ่าย B5 อะไรทำนองนั้นครับ ปล่อยให้มันเป็นเรื่องของ Tee Kae Mae Yes ไป
ดังนั้น ส่วนเกินที่ทาๆมา มันก็ไหลออกข้าง อยู่ดีครับ
ที่เหลือก็จะอยู่ตรงช่องว่างตรงที่ว่ามา
ผมว่า วิธีทดสอบนี้ หลักๆเลยนะครับ เพื่อ ทดสอบว่า เราควรทาซิลิโคนปริมาณเท่าไหร่ เพื่อ ให้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด หมายถึง ไม่มีส่วนเกินเหลือล้นออกขอบมากจนเกินไป ยิ่งซิลิโคนสมัยนี้ ราคาแพงครับ ตามคุณภาพของมัน ครั้นจะใส่น้อยเกินไปแบบงกๆ ก็ไม่เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่ควรจะเป็นครับ อีกอย่าง สมัยนี้ กระดองซิพียู พื้นที่มันคลุมส่วนของซีพียูเกือบเต็มที่แผ่นแล้วครับ ยิ่งต้องใช้เยอะอยู่ด้วยครับ ถือว่า เป็นการ Optimize สิ่งที่เรามีได้ดีครับ
แต่ฮีตซิงค์บางตัว ชุดขายึดซอกเกตบนเมนบอร์ดมันก็ ไม่ได้สร้างแรงกดอะไรมากมายนะครับ ถ้าพวกนี้ ผมว่า กะการทาซิลิโคนอาจจะลำบากนิดนึงครับ ต้อง ทาให้มันพอดีจริงๆ มันถึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่ควรจะเป็นนะครับ หมายถึง แรงกดมันยังไม่มากพอที่จะให้ซิลิโคนที่หนาเกินไป ไหลออกไปด้านข้างได้ครับ หนาไป อันนี้ต้องไปวัดที่คุณสมบัติของซิลิโคนแล้วครับว่าจะแจ่มขนาดไหน ยังไง หนาไปก็ไม่เป็นผลดีครับ แถมเปลืองอีกต่างหาก แต่ถ้าพวก สร้างแรงกดได้มากๆหน่อย ฟิตๆหน่อย อันนั้นก็ดีครับ ส่วนเกินมันก็ไหลออกไปด้านข้างได้ กว่าจะรู้อีกที ว่ามันเกินมา ก็ตอนไปแง้มๆซอกเกตดูนั่นแหล่ะครับ
ส่วนซิลิโคนที่ไม่ได้ออกแนวเหลวๆ อันนี้ก็ ลำบากอีกครับ เคยเจอประเภทแบบ หนืดๆ พวกซิลิโคนแถมบางตัวนี่ ใช้ยากครับ
ระวังใส่ฮีตซิงค์ ลงน้ำหนักให้เท่ากันนะครับ ไม่งั้นเดี๋ยวขาซอกเกตล้มเป็นหย่อมๆ ซีพียูแอ่นเป็นไม้บรรทัดนะครับ อิอิกำจัญไร