หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร ?  (อ่าน 656 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Xiao_Tu
Registered User
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« เมื่อ: 02 สิงหาคม 2016, 13:54:32 »

อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่มนั้นเกิดขึ้นได้เสมอในเวลาที่ร่างกายออกแรงมาก เช่น หลังออกกำลังกาย ยกของหนัก หรือกิจกรรมที่ใช้แรงมาก เป็นต้น โดยจะมีอาการเหนื่อยง่าย แน่นและเจ็บหน้าอก ทำให้หายใจไม่ทัน จนหลายคนอาจสงสัยว่าอาการแบบนี้จะเป็นอาการขั้นแรกของกลุ่มโรคหัวใจต่างๆหรือไม่ เราสามารถตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยได้โดยการพบแพทย์ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกายตามมาตรฐาน ได้แก่ ตรวจเลือด ตรวจหน้าที่ตับ ไต ต่อมไทรอยด์ เอกซ์เรย์ทรวงอก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจสมรรถภาพปอด เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายนี้ว่ามาจากการเป็นโรคหรือไม่

   ผู้ป่วยที่มีสาเหตุของอาการเหนื่อยที่ไม่ใช่จากโรค
   ผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยหรือหอบง่าย มักเกิดจากการที่ไม่ค่อยออกกำลังหรือใช้แรงน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่สนิท กังวลและมีความเครียดสะสม จึงทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจไม่อิ่ม หรือหายใจไม่ทั่วท้อง จนเกิดอาการแน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกมาก รู้สึกอากาศไม่เข้าไปในปอด หายใจลึกๆ 3-4 ครั้งแล้วจะสบาย บางครั้งผู้ป่วยจะมีอาการอื่น เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก กรดในท้องมาก ท้องเดินบ่อย มึนศีรษะ ปวดศีรษะ หรือตกใจง่ายด้วย

   วิธีการรักษา ผู้ป่วยบางกลุ่มจะอาการดีขึ้นจากการได้รับยาคลายเครียด แต่บางกลุ่มอาจต้องปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อรับการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังหรือใช้แรงน้อย ทางหน่วยกายภาพบำบัดจะบอกว่า ผู้ป่วยมีการขาดการออกกำลังหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน ควรออกกำลังกายส่วนไหนเพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ (Physical Fitness Exercise Program) โดยจะแนะนำนำวิธีบริหาร ที่เหมาะสมกับโรค อายุ และอาชีพของผู้ป่วย

  ผู้ป่วยที่มีสาเหตุของอาการเหนื่อยที่มาจากโรคปอดและโรคหัวใจ
   ในประเทศไทย ในสถิติปี 2545 จากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เข้ามารับการตรวจจากแพทย์ปีละ 24.4 ล้านราย และระบบไหลเวียนของเลือด 7.2 ล้านราย อัตราตายของคนไทยจากโรคปอด เป็นโรคปอดบวมและวัณโรคด้วยอัตรา 31.9 ต่อประชากร 100,000 คน และเป็นโรคหัวใจในอัตราตาย 27.7 จากประชากร 100,000 คน
   สำหรับโรคปอด ในผู้ป่วยที่อายุน้อยมักเป็นโรคหอบหืด ส่วนอายุมากมักจะเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และถุงลมปอดโป่งพอง การตรวจเอ็กซ์เรย์ปอดและตรวจสมรรถภาพปอดจะตรวจพบผู้ป่วยได้เกือบทั้งหมด แต่บางคราวแพทย์อาจต้องการการตรวจและวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน และเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

   สำหรับโรคหัวใจ จะพบบ่อยคือโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ โดยโรคนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วยด้วย หากยิ่งสูงอายุจะยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ
   ผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 25 ปีมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ 0.2 รายต่อประชากร 100,000 ราย
   ผู้ป่วยอายุในช่วง 35-44 ปีมีโอกาสเป็น 14.7 รายต่อประชากร 100,000 ราย
   ผู้ป่วยอายุในช่วง 75-84 ปีมีโอกาสเป็น  1252.2 รายต่อประชากร100,000 ราย
   ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าผู้ป่วยมีอายุน้อยกว่า 44 ปี ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก หรือไม่มีโรคประจำตัว เช่น  โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โดยเฉพาะมีเอ็กซ์เรย์หัวใจและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG  โดยปกติแล้วอาจจะพูดได้ว่าอาการที่เหนื่อยง่าย มีโอกาสจากโรคหัวใจนั้นน้อยมาก แต่ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจก็มีความจำเป็นที่ต้องให้แพทย์ผู้ชำนาญทางโรคหัวใจตรวจหาสาเหตุที่แน่นอนและรักษาต่อ


ที่มาของข้อมูล:
http://learn-about-disease.blogspot.com/2016/06/blog-post_82.html

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: