หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แนวคิดการออกแบบโรงงานในยุค 4.0  (อ่าน 595 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
dreamyies
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 434


« เมื่อ: 08 ตุลาคม 2019, 13:48:37 »

แนวคิดการออกแบบโรงงานในยุค 4.0
SMART FACTORY 4.0
การออกแบบโรงงานอัจฉริยะ 4.0 : 5 หลักการก้าวสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะ

ในปัจจุบัน เราจะมองเห็น หรือได้ยินสิ่งต่างๆ ที่ลงท้ายด้วย 4.0 ซึ่งหมายถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ความทันสมัย และการก้าวสู่โลกอนาคต แน่นอนว่านิยามของ 4.0 นี้ ก็ส่งผลต่อการออกแบบโรงงานอัจฉริยะเช่นเดียวกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีการผลิตในยุค 4.0 จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรงงานในยุคปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง



อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ทำให้เปลี่ยนไปสู่ระบบการผลิตที่ยืดหยุ่นและปรับตัวได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการแข่งขันให้ทันต่อโลกในทุก ๆ ก้าว เริ่มด้วยการคิดถึงเป้าหมายสูงสุด และมองถึงความเป็นไปได้ในทุกมิติ ตั้งแต่ส่วนประกอบเล็ก ไปถึงใหญ่ ทุกอย่างต้องสามารถจัดการได้ เพื่อนำไปสู่การขยายขนาดอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าการนำมาซึ่งความสำเร็จนี้ จะต้องมีการออกแบบโรงงานอัจฉริยะที่ถูกต้องตามหลักการของการออกแบบโรงงานอัจฉริยะ 4.0


ทางเรา Alma Architect จึงได้รวบรวม 5 หลักการ ของการออกแบบโรงงานอัจฉริยะ 4.0 ไว้ ดังนี้
1. การเชื่อมต่อ ( Connecting )
การเชื่อมต่อกันถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง โรงงานอัจฉริยะ 4.0 จะต้องมีการเชื่อมต่อของกระบวนการ และวัสดุพื้นฐาน เพื่อสร้างและจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจแบบเรียลไทม์อย่างมีนัยสำคัญ
2. การเพิ่มประสิทธิภาพ ( Optimization )
โรงงานอัจฉริยะ 4.0 ต้องดำเนินการได้ โดยมีการแทรกแซงของมนุษย์น้อยที่สุด และต้องมีความน่าเชื่อถือสูงสุด นอกจากนี้ยังมีเรื่องการปรับปรุง การติดตามผล การกำหนดระยะเวลา และการใช้พลังงานในการดำเนินงาน ที่ควรจะเป็นในโรงงานอัจฉริยะ 4.0 ต้องทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตและคงคุณภาพ โดยลดระยะเวลาทำงาน รวมทั้งลดต้นทุนและของเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
3. ความโปร่งใส ( Transparency )
ข้อมูลทั้งหมดที่ถูกบันทึกในโรงงานอัจฉริยะ 4.0 ต้องมีความโปร่งใส มีเครือข่ายเชื่อมโยงที่สามารถเปิดใช้งาน และตรวจสอบได้ทั่วทั้งโรงงาน ทำให้มั่นใจได้ว่าองค์กรจะสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
4. เชิงรุก ( Proactive )
ในระบบเชิงรุกของโรงงานอัจฉริยะ 4.0 จะต้องมีระบบที่สามารถคาดการณ์ก่อนที่ปัญหาจะเกิด และหากปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ระบบก็จะต้องสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน รวมถึงระบบเชิงรุกจะต้องรองรับการตรวจสอบความปลอดภัยและการบำรุงรักษาตามนโยบายขององค์กร
5. ว่องไว ( Agile )
ความคล่องตัวจะช่วยให้การออกแบบโรงงานอัจฉริยะ 4.0 สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ โรงงานอัจฉริยะขั้นสูงจะต้องสามารถกำหนดค่าอุปกรณ์ และการไหลเวียนของวัสดุได้ด้วยตนเองแบบเรียลไทม์ โดยถูกแทรกแซงน้อยที่สุด



สุดท้ายนี้ หลักการออกแบบโรงงานอัจฉริยะที่เราได้อธิบายไว้ในบทความนี้ ไม่ควรจะถูกพิจารณาให้เป็น "สถานะสุดท้าย" เนื่องจากเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่มันจะเป็นการแสดงถึงวิวัฒนาการที่ต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่การสร้างและพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากคุณยังไม่ก้าววันนี้ ยังไงคุณก็ต้องก้าวสักวัน

Blog       : https://www.alma-architect.com/post/การออกแบบโรงงานในย-ค-4-0
Website : https://www.alma-architect.com/
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: