สถาบันดีคิวเปิดตัวมาตรฐานประเมินและรายงานผลลัพธ์ด้าน ESG ในภาคดิจิทัล มุ่งส่งเสริมความยั่งยืนในยุคปัญญาประดิษฐ์
องค์กรมันสมองระดับโลกอย่างสถาบันดีคิว เปิดตัวมาตรฐานประเมินและรายงานผลลัพธ์ด้าน ESG ในภาคดิจิทัล เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล พร้อมส่งเสริมแนวทาง "เทคโนโลยีที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง" ในยุคปัญญาประดิษฐ์
สถาบันดีคิว (DQ Institute) องค์กรชื่อดังระดับโลกซึ่งอุทิศตนในการกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีดิจิทัลทั่วโลก มีความภาคภูมิใจในการประกาศเปิดตัวมาตรฐานประเมินและรายงานผลลัพธ์ด้าน ESG ในภาคดิจิทัล (Digital-ESG Assessment and Reporting Standards) ด้วยความร่วมมือกับองค์กรมันสมองชั้นนำในเกาหลีอย่างสถาบันแทแจ ฟิวเจอร์ คอนเซ็นซัส (Taejae Future Consensus Institute) โดยได้มีการจัดการประชุมหัวข้อ "ยุคดิจิทัล เส้นทางสู่ความยั่งยืน" (Digital Age, A Pathway to Sustainability) ขึ้นที่มูลนิธิการศึกษาขั้นสูงแห่งเกาหลี (The Korean Foundation of Advanced Studies) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีบัน คีมูน (Ban Ki-moon) เลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 8, อิรินา โบโควา (Irina Bokova) อดีตผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก (UNESCO), คิม ยงฮัก (Kim Yong-Hak) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยยอนเซ และดร. ยูฮยอน ปาร์ค (Yuhyun Park) ผู้ก่อตั้งสถาบันดีคิว ร่วมเป็นสักขีพยาน
สถาบันดีคิวมีเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) และความเสี่ยงทางดิจิทัลอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความปลอดภัยของเด็กในโลกออนไลน์ ข่าวปลอม การโจมตีทางไซเบอร์ การปลุกปั่น และการรุกรานความเป็นส่วนตัว เพื่อรับมือภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ พร้อมจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลในคราวเดียวกัน ดังนั้น การนำมาตรฐานประเมินและรายงานผลลัพธ์ด้าน ESG ในภาคดิจิทัลมาใช้ จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการกำหนดวาระระดับโลกครั้งใหม่ แนวทางดังกล่าวมาพร้อมรายการตรวจสอบและกรอบการทำงานที่ครอบคลุม ให้บริษัทหรือชุมชนการลงทุนต่าง ๆ นำไปจัดการกับความเสี่ยงทางดิจิทัล ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริม "เทคโนโลยีที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง" ในยุคปัญญาประดิษฐ์
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและการนำปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาต้า การวิเคราะห์ และเทคโนโลยีเกิดใหม่อื่น ๆ มาใช้อย่างแพร่หลาย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลครั้งใหญ่ของบริษัทในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงมากมายอันเป็นผลจากเทคโนโลยีดิจิทัล ในขณะที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG) และกรอบ ESG ที่มีอยู่นั้นมุ่งเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศเป็นหลัก แต่ข้อกังวลในเรื่องดิจิทัลยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเพียงพอ ช่องโหว่นี้ทำให้ธุรกิจที่มีแนวโน้มสร้างผลกระทบด้านลบต่อสภาพแวดล้อมดิจิทัลหรือส่งผลกระทบด้านลบไปแล้ว หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบด้าน ESG ได้ โดยไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงต่อพอร์ตการลงทุนหรือชื่อเสียงของตน การนำองค์ประกอบด้านดิจิทัลและ ESG มารวมไว้กับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการควบคุมศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าวกับการปกป้องพลเมือง โลกดิจิทัลและโลกจริง และสังคมโลก
บัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 8 แสดงความคิดเห็นว่า "ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการบรรลุความยั่งยืน และจำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบในแง่สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) องค์ประกอบทางดิจิทัลจำเป็นต้องรวมอยู่ในหลักการ ESG ในขณะที่เราปรับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเรา ขณะที่ทั่วโลกพยายามช่วงชิงอิทธิพลในด้านปัญญาประดิษฐ์ เราจำเป็นต้องขยายกรอบ ESG ที่มีอยู่เดิมให้ครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ ในกิจกรรมทางดิจิทัลของภาคธุรกิจ เช่น ความเสมอภาคทางดิจิทัล ทักษะดิจิทัล ความปลอดภัยและความมั่นคงดิจิทัล สิทธิดิจิทัล และอื่น ๆ"
ติดต่อ
เอริส เซียห์ (Eris Seah)
อีเมล:
[email protected]โทร: +65 9818 7704
อ่านข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมได้ที่
https://www.thaipr.net/it/3362174