หัวข้อ: ทำความรู้จักโรคข้อเสื่อม โรคของคนเริ่มแก่ เริ่มหัวข้อโดย: bodsara ที่ 02 สิงหาคม 2016, 17:41:18 โรคข้อเสื่อมเป็นอาการของคนที่เริ่มมีอายุมากขึ้น เป็นอาการปวดบวมบริเวณข้อที่ใช้รับน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวมาก เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง ข้อกระดูกคอ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นที่ข้อเข่า ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีการกดกระแทกอยู่เป็นประจำ และข้อสะโพกที่เป็นข้อต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกต้นขา ทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกายในขณะยืน เดิน วิ่ง นั่ง และนอน หากใช้งานนานๆ กล้ามเนื้ออาจเมื่อยหรือเกิดการสึกหรอได้ ผู้ป่วยของโรคข้อเสื่อม (http://www.cynhite.com/3916/)จะมีอาการคล้ายกัน คือมีอาการปวดตามข้อบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ ไหล่ หลัง เอว แขน มือ เข่า และเท้า มีเสียงหรือเจ็บปวดเมื่อเคลื่อนไหวข้อ มีอาการบวมแดง ร้อนบริเวณข้อ รู้สึกขัด ตึง หรือเจ็บปวดบริเวณข้อ เมื่อปรับ เปลี่ยนท่าหลังจากอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ มีอาการปวดข้อ ตึง หรือขัดแบบเป็นๆหายๆ
โรคข้อเข่าเสื่อม หากข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดบริเวณข้อเข่า ข้อ มีอาการบวมแดงร้อนบริเวณข้อ รู้สึกขัด ตึง มีเสียงหรือเจ็บปวดเมื่อเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่าหลังจากอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น นั่งคุกเข่า หรือขัดสมาธิ มีอาการปวดข้อ ตึง หรือขัด แบบเป็นๆ หายๆ ซึ่งจากอาการข้างต้นนั้น นพ.วัลลภ สำราญเวทย์ ผอ.ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่ากรุงเทพ หรือ “Bangkok Hip & Knee Center” โรงพยาบาลกรุงเทพได้ให้ข้อมูลว่า “โรคข้อเข่าเสื่อมนั้นหากมีอาการมาก บางคนถึงขั้นเดินกะเผลก ข้อเข่าโก่ง เดินขัดๆ ผู้ป่วยบางคนเวลาเคลื่อนไหวเข่าจะได้ยินเสียงกระดูกลั่น หรือบางครั้งถ้ามีอาการมาก อาจจะรู้สึกร้อน บวม และปวดมากขึ้น” (http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/hip-and-knee-disease (http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/hip-and-knee-disease)) สาเหตุหลักของโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น มาจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนบุข้อ ที่เกิดจากการใช้งานหนัก เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของข้อต่อตามอายุและการใช้งาน ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ ส่วนอาการปวดข้อที่มักจะเกิดขึ้นในวัยทำงานส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ความเสื่อมที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา และรวมไปถึงกลุ่มความเสี่ยงที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปหรือกินยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ปริมาณมาก ผู้ป่วยส่วนหนึ่งรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและได้รับการยอมรับ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาข้อเข่ามาแล้วยังมีอาการปวดอยู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดด้วย โรคสะโพกเสื่อม อาการปวดสะโพกมีสาเหตุหลายอย่าง ผู้ป่วยบางคนไม่สามารถเดินในระยะไกลได้ เพราะปวดที่บริเวณก้นและต้นขาด้านหลัง อาจมีสาเหตุจากช่องทางเดินของเส้นประสาทในกระดูกสันหลังแคบลงกว่าปกติมาก ทำให้หลอดเลือดที่ถุง เส้นประสาทและเส้นประสาทถูกบีบรัด ซึ่งแตกต่างจากอาการปวดที่สะโพก เพราะมักจะปวดบริเวณง่ามขาด้านหน้าข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ปวดพร้อมกันทั้งสองข้าง เหมือนโรคกระดูกสันหลัง ที่สำคัญสามารถปวดในเข่าด้านในโดยเกือบไม่รู้สึกปวดที่สะโพกเลย ซึ่งอาการเหล่านี้จะรู้ได้ก็เมื่อหมั่นสังเกตอาการตัวเอง และสงสัยว่าเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที รักษาได้ด้วยการผ่าตัดเช่นเดียวกับโรคข้อเข่าเสื่อม และโดยทั่วไปแล้ว เมื่อได้รับการผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาข้อสะโพกและข้อเข่ามาแล้วยังมีอาการปวดอยู่ และเข้าใจผิดไปว่าอาการปวดเกิดจากการผ่าตัด ดังนั้นผู้ป่วยควรสังเกตว่าอาการปวดนั้นมาจากการผ่าตัดหรือไม่ หรือเกิดจากโรคที่จุดอื่นใกล้เคียงกับบริเวณข้อที่ผ่าตัด เช่น ผู้ป่วยกระดูกสันหลังเสื่อม ถ้ามีการกดทับเส้นประสาทอาจมีอาการปวดร้าวลงมาที่สะโพก และขาได้ เพราะนอกจากข้อแล้วในร่างกายคนเรายังมีระบบเส้นประสาท ซึ่งระบบเส้นประสาทของร่างกายมนุษย์ หากเป็นโรคที่สะโพก ระบบประสาทปลายจะวิ่งไปที่เข่า แต่ต้นตอของโรคอยู่ที่สะโพก หรือหลังรับการผ่าตัดข้อเข่า ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการอักเสบของเส้นเอ็นรอบข้อที่ผ่าตัด แต่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากภายในข้อก็เป็นได้ หากตรวจพบก่อนก็สามารถแก้ไขลดความเจ็บปวดทรมานลงได้ นพ.วัลลภ สำราญเวทย์ ผอ.ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่ากรุงเทพ ยังให้ข้อมูลอีกว่า“หลังการผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีอาการบวมตึง ปวดบ้างนานประมาณ 3-6 เดือน แต่ส่วนใหญ่จะยุบบวมกลับมาปกติใน 2-3 เดือน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่บริหารฟื้นฟูข้อตามคำแนะนำอย่างดี ไม่เคลื่อนไหวมากจนเกินไป จะทำให้ฟื้นตัวเป็นปกติได้เร็วขึ้น เดินได้โดยไม่เจ็บ มีกำลังมากขึ้น งอเหยียดเข่าได้ดี” (http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/hip-and-knee-disease (http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/hip-and-knee-disease)) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรดูแลและสังเกตอาการช่วงนี้อย่างใกล้ชิต ไม่ละเลยอาการปวดข้อเข่าหรืข้อสะโพก ซึ่งเป็นอวัยวะที่รองรับการทรงตัวของร่างกาย เมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ที่มาของข้อมูล: http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/hip-and-knee-disease (http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/hip-and-knee-disease) |