หัวข้อ: อาการเตือนภัย..โรคหัวใจและหลอดเลือด เริ่มหัวข้อโดย: inkuma ที่ 04 สิงหาคม 2016, 15:36:09 การใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์และมีไขมันมากไปเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว การทำงานหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอและไม่มีเวลาออกกำลังกาย อีกทั้งยังต้องเผชิญความเครียดในแต่ละวัน ทำให้ในปัจจุบันสังคมของเรานั้นพบผู้ป่วยโรคหัวใจมากขึ้น อัตตาการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นเพิ่มขึ้นอันดับต้นๆ ของประเทศ และกว่าครึ่งของผู้เสียชีวิตนั้นเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล ดังนั้นเราควรทราบไว้ถึงอาการและสัญญาณอันตรายของโรคนี้ แม้โรคหัวใจเหล่านี้จะมีหลายอาการ แต่สามารถแบ่งตามโรคได้ดังนี้
ภาวะหัวใจล้มเหลว คือภาวะที่หัวใจทำงานได้ไม่ดีอย่างที่ควร เมื่อการทำงานของหัวใจอ่อนแอลง จึงทำให้ระบบร่างกายทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทำงานได้ไม่ดีตามไปด้วย เกิดความล้มเหลวในร่างกาย ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือภาวะหัวใจเต้นเร็ว (http://www.thairath.co.th/content/286535)หรือช้ากว่าปกติ เกิดจากความผิดปกติของการเกิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจหลายชนิด เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติหรือหลอดเลือด หัวใจตีบตัน รวมถึงความผิดปกติอื่นๆ เช่น การส่งกระแสลัดวงจร มีแผลเป็นหรือก้อนไขมัน เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย หมดสติ หรือหัวใจวาย สามารถรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติเบื้องต้นด้วยยาคลายเครียดในกรณีที่จับความผิดปกติไม่ได้ แต่ถ้าพบความผิดปกติจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์อาจให้ยาต้านการเต้นผิดปกติกลุ่มต่างๆ หรือยาอื่นๆ หรือใช้วิธีการจี้หัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงเท่าคลื่นวิทยุ และการฝังด้วยเครื่องมือพิเศษ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรค เช่น ความเครียด วิตกกังวล การพักผ่อนไม่พอเพียง ออกกำลังกายหักโหม การสูบบุหรี่ ดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน แอลกอฮอล์ การกินยาหรือฉีดยาที่กระตุ้นหัวใจ เป็นต้น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบถือว่าเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากในอดีตมากจนน่าตกใจ รองเพียงแค่โรคมะเร็งเท่านั้น ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่มีอายุเยอะ สูบบุหรี่จัด เป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง มีไขมันในเลือดสูง หรือผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยผู้ป่วยจะมักมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย จุกแน่น เสียดในบริเวณทรวงอก เหงื่่อออก ใจสั่น เป็นลม หากเกิดฉับพลันและรุนแรง ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหัวใจพิบัติ( Heart attack ) มีโอกาสเสียชีวิตสูงหากรักษาไม่ทัน ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน แต่ที่สำคัญคือ ผู้ป่วยโรคนี้ถึง 30% จากสถิติการเสียชีวิตมักจะไม่ตรวจพบโรคนี้ในระยะแรก เพราะเป็นโรคที่จะไม่แสดงอาการใดชัดเจน ไม่ได้มาพบแพทย์ ใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และมารู้ตัวก็ต่อเมื่อ อาการของโรครุนแรงมากแล้ว โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเกิดจากผนังของหลอดเลือดแดงใหญ่เสื่อมสภาพ หรือมีความผิดปกติอื่นใดที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการโป่งพองและแตกออกได้ ส่วนใหญ่พบบ่อยคือ หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้อง และในช่องอก ซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงมาก่อน มักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพเอ๊กซเรย์ทรวงอก หรือคลำก้อนเต้นได้ในช่องท้อง ผู้ป่วยจะได้รับผลจากอาการจากการกดเบียดของหลอดเลือดที่อวัยวะข้างเคียง เช่น ถ้ากดหลอดลมทำให้หายใจลำบาก กดเบียดหลอดอาหารทำให้กลืนลำบาก กดเบียดเส้นประสาทที่เลี้ยงกล่องเสียงทำให้เสียงแหบ เป็นต้น ถ้ามีอาการแน่นอก ปวดหลัง หน้ามืดหมดสติ หรือไอเป็นเลือด อาจบ่งชี้ว่ามีการปริแตกของหลอดเลือดแดงใหญ่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเกิดจากมีความผิดปกติของการเจริญเติบโตของหัวใจในขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เกิดจากการมีรูโหว่ที่ผนังกั้นภายในห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจตีบตันหรือรั่ว หลอดเลือดออกผิดจากตำแหน่งปกติ เป็นต้น สามารถวิเคราะห์ความผิดปกติได้ ตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์มารดาโดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) ผู้ป่วยจะมีอาการเขียวคล้ำตามลำตัวหรือกล้ามเนื้อ เนื่องจากเลือดดำไหลเข้าสู่เส้นเลือดแดงที่ส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกาย เจริญเติบโตช้า เหนื่อยง่ายเพราะร่างกายได้รับออกซิเจนที่ส่งมาในเลือดไม่เพียงพอและหัวใจมีการสูบฉีดเลือดได้น้อยลง อาการเต้นของหัวใจผิดปกติไม่สม่ำเสมอ เหงื่อออกมาก มีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ โรคหัวใจรูห์มาติค โรคหัวใจรูห์มาติคเป็นโรคหัวใจที่เกี่ยวข้องกับการการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเบต้าฮีโมไลติค สเตร็ปโตคอคคัสที่ลำคอ ทำให้มีไข้สูง คออักเสบ แต่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานกับโรคนี้ไว้ แต่หากรับนี้ซ้ำเข้าไปอีก อาจมีผลต่อหัวใจ เกิดการอักเสบโดยเฉพาะที่ลิ้นหัวใจ มีอาการบวม เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หอบ ปวดที่ข้อและมีผืนที่ลำตัว ซึ่งหากได้รับมากไปนั้นอาจทำให้หัวใจวายและเสียชีวิตได้ โดยโรคนี้มักพบในเด็กอายุ 7-15 ปี เด็กที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดหรือโรคหัวใจที่เกิดภายหลังคลอดนั้นจะมีอาการคล้ายกันคือ ดูดนมแล้วเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นแรง หายใจเร็วกว่าปกติคล้ายหอบ ปอดบวมบ่อย เจริญเติบโตช้า ผิวเขียวตามลำตัว ซึ่งการแพทย์ในปัจจุบัน จะทำการรักษาโรคหัวใจในเด็กหลายวิธี เช่น การให้ยาบำรุงหัวใจ การใช้บอลลูนช่วยขยายตรงหลอดเลือดหรือลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ, การใช้อุปกรณ์พิเศษอุดรูรั่วหรือเส้นเลือดผิดปกติโดยไม่ต้องผ่าตัด หรือถ้าเด็กมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ อาจรักษาโดยการจี้ด้วยไฟฟ้าบริเวณที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หรือการผ่าตัดเพื่อปรับเปลี่ยนความผิดปกติของหัวใจ ทั้งนี้การผ่าตัดหรือการรักษาในวิธีที่อ่านมานั้น อาจจะสำเร็จได้ในครั้งเดียวหรือเพียงบรรเทาอาการ เพื่อรักษาเมื่อเด็กโตขึ้น ที่มาของข้อมูล http://www.iurban.in.th/pr/114172/ (http://www.iurban.in.th/pr/114172/) |