Vmodtech.com

กระดานซื้อขายแลกเปลี่ยนแห่ง Vmodtech => ประชาสัมพันธ์ข่าวสารทางธุรกิจ => ข้อความที่เริ่มโดย: iqpressrelease ที่ 26 มิถุนายน 2019, 11:19:34



หัวข้อ: ZTE ทำสัญญาให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ 25 ฉบับทั่วโลก
เริ่มหัวข้อโดย: iqpressrelease ที่ 26 มิถุนายน 2019, 11:19:34
          ตั้งเป้าสร้างความร่วมมือด้าน 5G กับผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 60 รายทั่วโลก

          ZTE Corporation (0763.HK / 000063.SZ) ผู้นำด้านโซลูชันโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมือถือสำหรับองค์กรและผู้บริโภค ได้ทำสัญญาให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ 25 ฉบับทั่วโลก พร้อมตั้งเป้าสร้างความร่วมมือด้าน 5G กับผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 60 รายทั่วโลก

          ZTE คือบริษัทที่มีนวัตกรรมเป็นแรงผลักดัน และยึดถือ 5G เป็นกลยุทธ์การพัฒนาหลัก บริษัทมีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันด้านการวิจัยและการกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยี 5G ในระดับสากล ข้อมูลล่าสุดจาก IPlytics ซึ่งเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลตลาดเพื่อวิเคราะห์เทรนด์เทคโนโลยี ความเคลื่อนไหวของตลาด และความสามารถในการแข่งขันของบริษัท เผยให้เห็นว่า ณ วันที่ 15 มิถุนายน ZTE ครอบครองและยื่นจดสิทธิบัตร 5G ประเภทที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม (SEP) ต่อสถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป (ETSI) รวมทั้งสิ้น 1,424 ฉบับ นับว่ามีสิทธิบัตรประเภทนี้มากที่สุดติดหนึ่งในสามของโลก

          ZTE ยื่นจดสิทธิบัตร 5G รวมทั้งหมดมากกว่า 3,500 ฉบับ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 คนของบริษัทก็ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรกำหนดมาตรฐานระดับโลกหลายแห่ง เช่น ตำแหน่งประธาน เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้ยื่นเอกสารกว่า 45,000 ฉบับไปยังองค์กรต่างๆ รวมถึงข้อเสนอกว่า 7,000 รายการเพื่อกำหนดมาตรฐาน 5G NR/NexGenCore ที่เป็นสากล

          ZTE มาพร้อมศักยภาพด้านผลิตภัณฑ์และโซลูชัน 5G ครบวงจร รวมถึงประสบการณ์ที่สั่งสมมานานในการสร้างเครือข่าย บริษัทจึงมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการเปิดตัวเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ ขณะเดียวกัน บริษัทยังคงเดินหน้ารักษาความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี และสานต่อความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งต้นน้ำและปลายน้ำทั่วทั้งอุตสาหรรม เพื่อสนับสนุนการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ต่อไป

          ในส่วนของการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ZTE มีผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ซีรีส์ 5G AAU ที่สามารถรองรับทุกสภาพการใช้งานเครือข่าย 5G ช่วยให้วางเครือข่าย 5G ได้อย่างรวดเร็วผ่านสถานีฐาน 5G NSA&SA แบบดูอัลโหมด และสถานีฐาน UBR แบบมัลติโหมด รวมถึงการแชร์สเปกตรัม โซลูชัน UniSite และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่นๆ ที่ช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้น นอกจากนี้ แพลตฟอร์ม IT BBU ที่มีความสามารถในการรองรับมากเป็นพิเศษ ยังรองรับการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบมัลติโหมดและได้รับการพัฒนาให้อาศัยการเชื่อมต่อน้อยที่สุด

          ในส่วนของเครือข่ายหลักนั้น ZTE ได้เปิดตัว 5G Common Core เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ซึ่งรองรับการทำงานร่วมกับ 2G/3G/4G/5G เต็มรูปแบบ รวมถึง 3GPP R15 SA และ NSA จึงช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถลดต้นทุนลงได้ถึง 40%

          สำหรับเครือข่ายการรับส่งข้อมูล 5G นั้น ผลิตภัณฑ์ 5G Flexhaul ของ ZTE ก็พร้อมใช้งานเชิงพาณิชย์ และเริ่มมีการใช้งานระดับมหภาคแล้ว โดยมีความหน่วงต่ำกว่าของบริษัทคู่แข่งมาก และมาพร้อมระบบนาฬิกาความแม่นยำสูงตามมาตรฐาน 3GPP จนใกล้เคียงกับคำว่า "สมบูรณ์แบบ" นอกจากนี้ เทคโนโลยีการกำหนดรูปร่างแบบหลายมิติและ FEC รุ่นใหม่ยังช่วยเพิ่มระยะการส่งข้อมูลทางไกลของเครือข่ายเกิน 100G ได้ถึง 30% รวมถึงลดความยุ่งยากในการติดตั้งเครือข่ายเกิน 100G และลดต้นทุนการอัพเกรดเครือข่ายด้วย

          ในส่วนของเทอร์มินัล ZTE ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 20 รายทั่วโลกในการพัฒนาเทอร์มินัล 5G โดยโซลูชันเทอร์มินัล 5G ของ ZTE ประกอบด้วยสมาร์ทโฟน 5G, เราเตอร์ 5G ภายนอกอาคาร, เราเตอร์ 5G ภายในอาคาร, ตัวกระจายสัญญาณมือถือ 5G, เทอร์มินัลข้อมูล 5G และโมดูล 5G รวมถึงผลิตภัณฑ์เทอร์มินัล 5G อื่นๆ พร้อมให้บริการโซลูชัน 5G แบบปรับแต่งได้แก่อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งนี้ ZTE เปิดตัว Axon 10 Pro โทรศัพท์มือถือเรือธง 5G รุ่นแรกของบริษัทในงาน Mobile World Congress ที่บาร์เซโลนา ประเทศสเปน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำในแวดวงโทรศัพท์มือถือ 5G เชิงพาณิชย์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 โทรศัพท์มือถือ ZTE Axon 10 Pro รุ่น 5G ประสบความสำเร็จในการเปิดตัวในจีน เยอรมนี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฟินแลนด์ ออสเตรีย และอีกหลายประเทศ โดยเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในฟินแลนด์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

          ZTE สนับสนุนผู้ให้บริการเครือข่ายในการวางเครือข่าย 5G ในอุดมคติตามหลักปรัชญาไตรภาคีที่ประกอบด้วย "ความยิ่งใหญ่ในความเรียบง่าย" "ความรวดเร็วคือความไร้เทียมทาน" และ "การลงมือปฏิบัติอย่างกระตือรือร้น" ส่วนในกระบวนการวางเครือข่ายนั้น บริษัทได้นำ 4 หลักการทางคณิตศาสตร์มาใช้ ได้แก่ การบวก การลบ การคูณ และการหาร

          การลบ คือ "ความยิ่งใหญ่ในความเรียบง่าย" ด้วยการสร้างเครือข่ายที่เรียบง่ายที่สุด รวมการควบคุมเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปรับปรุงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สำหรับการเชื่อมต่อ และทำให้ฮาร์ดแวร์สามารถใช้งานร่วมกันได้

          การบวก คือการเพิ่ม "ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา" หรือ "ไอคิว" ของเครือข่าย เพื่อให้มีความชาญฉลาดมากขึ้น ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุปกรณ์เครือข่ายด้วย

          การหาร คือการใช้เทคโนโลยีการแบ่งส่วนเพื่อแบ่งเครือข่ายกายภาพออกเป็นเครือข่ายมือถือเสมือนจริงหลายๆเครือข่าย เพื่อรองรับลูกค้าแนวดิ่งในเวลาเดียวกัน วิธีนี้ช่วยให้เครือข่ายนำกลับมาใช้ใหม่ได้และลดต้นทุนการสร้าง การดำเนินงาน และการบำรุงรักษาเครือข่าย รวมถึงลดต้นทุนที่เกิดจากการลองผิดลองถูก พร้อมกับเพิ่มความเร็วออนไลน์ด้วย

        

        



Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF