หัวข้อ: KT SAT ผนึกกำลังทดสอบการเชื่อมต่อสัญญาณ 5G ผ่านดาวเทียมครั้งแรกของโลก เริ่มหัวข้อโดย: iqpressrelease ที่ 27 พฤศจิกายน 2019, 11:19:39 (https://uppicimg.com/file/fXe7rlNb.jpg) - KT SAT ร่วมมือกับ KT เพื่อส่งข้อมูล 5G - ดาวเทียม KOREASAT 6 รับประกันการส่งข้อมูลสำเร็จ แม้การเชื่อมต่อ 5G ขาดหาย - ส่งคอนเทนต์ไปยังสมาร์ทโฟนทุกเครื่องที่อยู่ในแบนด์วิดท์เดียวกันได้ - KT SAT และ KTICT เตรียมร่วมกันรายงานผลการทดสอบการส่งข้อมูล 5G ผ่านดาวเทียมให้ 3GPP ได้รับทราบ KT Corp. (KRX: 030200; NYSE: KT) ประกาศว่า KT SAT ซึ่งเป็นผู้ประกอบการดาวเทียมในเครือของบริษัท ประสบความสำเร็จในการส่งข้อมูล 5G ด้วยการเชื่อมต่อดาวเทียมเป็นครั้งแรกของโลก บริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า การทดสอบดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อขยายเทคโนโลยีการสื่อสารยุคที่ห้าที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย 5G ของ KT และดาวเทียม KOREASAT 6 ของ KT SAT ซึ่งลอยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรประมาณ 36,000 กิโลเมตร KT SAT และสถาบัน KT Institute of Convergence Technology ได้ร่วมกันดำเนินโครงการทดสอบ "การส่งข้อมูล 5G แบบไฮบริดระหว่างโลกกับดาวเทียม" ซึ่งรวมเครือข่ายที่แตกต่างกันเพื่อการส่งข้อมูลที่ดีกว่าบริการ 5G ตามปกติ และ "การส่งคอนเทนต์แบบ 5G edge cloud โดยใช้การเชื่อมต่อช่องสื่อสารภาคพื้นดินกับดาวเทียม" ซึ่งรวมการสื่อสารผ่านดาวเทียมเข้ากับระบบเครือข่ายการนำส่งข้อมูลขนาดใหญ่ (content delivery network: CDN) เพื่อการส่งวิดีโอจาก 5G edge cloud 5G edge cloud ถูกมองว่าเป็นศูนย์ข้อมูลแบบเสมือน (virtual data center) โดยทำหน้าที่จัดการข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณ (user terminals) ณ จุดที่ใกล้ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อขยายความจุ 5G ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการตอบสนองรวดเร็วขึ้นมาก (ultra low latency) กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของการส่งข้อมูล 5G แบบไฮบริดระหว่างโลกกับดาวเทียมก็คือ เราเตอร์ซึ่งเกิดจากการพัฒนาร่วมกันโดยสถาบัน KT Institute และบริษัท KT SAT โดยอุปกรณ์ 5G ต่าง ๆ ที่เชื่อมกับเราเตอร์ตัวนี้ สามารถส่งและรับข้อมูลที่หลากหลายได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน หรือใช้เส้นทางแยกกันในการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ 5G กับดาวเทียม การใช้เทคโนโลยีแบบไฮบริดทำให้ KT SAT ยังคงสามารถให้บริการต่าง ๆ ได้ตามปกติด้วยดาวเทียม KOREASAT 6 เพียงตัวเดียว หลังจากที่ได้ทดลองตัดการเชื่อมต่อสัญญาณ 5G การทดสอบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูล 5G แบบไฮบริด สามารถช่วยให้รถที่เคลื่อนที่อยู่หรือเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ใช้เครือข่าย 5G สามารถรักษาการเชื่อมต่อเครือข่ายเอาไว้ได้ เมื่อสัญญาณ 5G ขาดหาย หรือเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัจจุบัน KT SAT ให้บริการดาวเทียมเพื่อการสื่อสารห้าตัว ได้แก่ KOREASAT 5, 5A, 6, 7 และ 8 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ราว 60% ของพื้นผิวโลกทั้งหมด ขณะเดียวกัน KT SAT ใช้วิธีการเชื่อมต่อช่องสื่อสารภาคพื้นดินกับดาวเทียม เพื่อส่งข้อมูลสตรีมมิงแบบเรียลไทม์และคลิปวิดีโอสดจากศูนย์บริการดาวเทียม Kumsan Satellite Service Center ของบริษัท ไปยัง 5G edge cloud ที่ตั้งอยู่ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนา KT Research and Development Center ในย่าน Umyeon-dong ของกรุงโซล โดยเป็นการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม KOREASAT 6 ซึ่งผลปรากฏว่า การส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ 5G หลายเครื่องนั้น เป็นไปได้อย่างราบรื่น ไม่สะดุด เทคโนโลยีล่าสุดนี้สามารถรองรับการส่งคอนเทนต์พร้อมกันไปยังสมาร์ทโฟนทุกเครื่องที่อยู่ในแบนด์วิดท์เดียวกัน ขณะที่การสื่อสารผ่านดาวเทียมสามารถทำได้เพียงส่งภาพวิดีโอความละเอียดสูง (HD) ไปยังสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียวภายในแบนด์วิดท์ที่กำหนด ที่ผ่านมา บรรดาสถานีวิทยุโทรทัศน์และบริษัทคอนเทนต์ขนาดใหญ่ สามารถทำได้เพียงใช้เครื่องถ่ายทอดสัญญาณจากดาวเทียมเท่านั้น เพราะการสื่อสารผ่านดาวเทียมถูกจำกัดด้วยแบนด์วิดท์และราคาที่แพง KT SAT คาดการณ์ว่า หากเทคโนโลยีทั้งสองถูกนำไปใช้งานในเชิงพาณิชย์ การสื่อสารผ่านดาวเทียมด้วยความเร็วที่ค่อนข้างต่ำอาจได้รับการปรับปรุงให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นโดยที่สัญญาณไม่ถูกรบกวน ซึ่งจะเป็นการขยายโอกาสสำหรับผู้ใช้จำนวนมากในประเทศที่ระบบการสื่อสารยังด้อยพัฒนา ให้สามารถเข้าถึงคอนเทนต์คุณภาพสูงได้ ข้อมูลติดต่อสำหรับสื่อมวลชน หากมีคำถามหรือข้อสงสัย กรุณาติดต่อ Global Media Relations Team ที่อีเมล [email protected] - สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จากเว็บไซต์ภาษาอังกฤษของเราที่ https://corp.kt.com/eng/ รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20191125/2652864-1 คำบรรยายภาพ: ช่างเทคนิคประสบความสำเร็จในการส่งข้อมูล 5G ด้วยการเชื่อมต่อดาวเทียมเป็นครั้งแรกของโลก จากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ การทดสอบครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะขยายเทคโนโลยีการสื่อสารยุคที่ห้าที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย 5G ของ KT และดาวเทียม KOREASAT 6 ของ KT SAT |