หัวข้อ: คอมพิวเตอร์ควอนตัมของควอนทินิวอัมรันอัลกอริธึมที่ทนต่อความผิดพลาด เริ่มหัวข้อโดย: iqpressrelease ที่ 29 กันยายน 2023, 12:15:59 คอมพิวเตอร์ควอนตัม เอช1 ของควอนทินิวอัม รันอัลกอริธึมที่ทนต่อความผิดพลาดได้อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยคิวบิตเข้ารหัสเชิงตรรกะ 3 ตัว
ทีมงานจากหลากหลายสาขาวิชาจากควอนทินิวอัม คิวเทค (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์) และมหาวิทยาลัยสตุตการ์ต ได้ใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัม เอช1 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอันน่าเหลือเชื่อในการดำเนินงานที่ทนต่อความผิดพลาด คอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ทนต่อความผิดพลาด (Fault-tolerant) ซึ่งมอบโซลูชันใหม่อันเป็นรากฐานให้กับปัญหาที่เร่งด่วนอันดับต้น ๆ ของโลกในด้านการแพทย์ การเงิน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยอำนวยความสะดวกให้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง กำลังทำให้เทคโนโลยีควอนตัมเป็นที่จับตา อย่างไรก็ตาม ตารางเวลาต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในการบรรลุกระบวนทัศน์เหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยความก้าวหน้าและนวัตกรรมที่สำคัญเพื่อให้ยังสามารถบรรลุได้ และไม่มีปัญหาใดเร่งด่วนไปกว่าการเปลี่ยนจากคิวบิตเชิงกายภาพ ไปสู่คิวบิตที่ทนต่อความผิดพลาดได้ ในความเคลื่อนไหวช่วงแรกที่มีความหมายยิ่งในเส้นทางนี้ เหล่านักวิทยาศาสตร์จากบริษัทด้านการประมวลผลควอนตัมแบบบูรณาการรายใหญ่ที่สุดในโลกอย่างควอนทินิวอัม (Quantinuum) พร้อมกับเหล่าผู้ร่วมงาน ได้แสดงวิธีที่ทนต่อความผิดพลาดได้เป็นครั้งแรก โดยใช้คิวบิตเข้ารหัสเชิงตรรกะ (logically-encoded qubits) 3 ตัวบนคอมพิวเตอร์ควอนตัม เอช1 (H1) ของควอนทินิวอัม ที่ได้รับการสนับสนุนโดยฮันนี่เวลล์ (Honeywell) เพื่อการดำเนินการตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์ วิธีการประมวลผลควอนตัมแบบทนต่อความผิดพลาด คาดว่าจะเป็นการเปิดทางไปสู่โซลูชันที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ในโลกความจริงในด้านต่าง ๆ ได้ อาทิ การจำลองโมเลกุล ปัญญาประดิษฐ์ การเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยไซเบอร์ และเมื่อบวกกับความก้าวหน้าครั้งสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการแก้ไขข้อผิดพลาดแล้ว ผลลัพธ์ที่ควอนทินิวอัมประกาศออกมาในวันนี้ในรายงานฉบับใหม่บนแพลตฟอร์ม arXiv อย่าง "การเพิ่มหนึ่งบิตที่ทนต่อความผิดพลาดด้วยรหัสสีขนาดเล็กที่สุด" (Fault-Tolerant One-Bit Addition with the Smallest Interesting Colour Code) ก็ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งใหม่ และสะท้อนถึงความเร็วในการเติบโตของกระบวนการนี้ บริษัทและกลุ่มวิจัยต่าง ๆ ได้มุ่งความสนใจไปที่การบรรลุการทนต่อความผิดพลาด โดยจัดการกับสัญญาณรบกวน (noise) ที่เกิดขึ้นตามปกติเมื่อคอมพิวเตอร์ควอนตัมทำงาน ควอนทินิวอัมเป็นผู้บุกเบิกที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว โดยบุกเบิกมาแล้วหลายเรื่อง เช่น การสาธิตประตูที่เชื่อมโยงกันระหว่างคิวบิตเชิงตรรกะ 2 ตัวในลักษณะที่ทนต่อข้อความผิดพลาดได้อย่างสมบูรณ์โดยอาศัยการแก้ไขความผิดพลาดแบบเรียลไทม์ และการจำลองโมเลกุลไฮโดรเจนด้วยคิวบิตที่เข้ารหัสเชิงตรรกะ 2 ตัว อ่านต่อเพิ่มเติม https://www.thaipr.net/it/3389909 (https://www.thaipr.net/it/3389909) |