หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข่าว : ไมโครซอฟท์ เผยผลการศึกษาประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (อ่าน 925 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Comment Starter
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 0


« เมื่อ: 07 มีนาคม 2013, 01:12:24 »

ไมโครซอฟท์ เผยผลการศึกษาประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ระบุ 8 ใน 10 ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในไทยติดมัลแวร์
การตรวจสอบพบคอมพิวเตอร์แบรนด์ดังต่างได้รับผลกระทบ

กรุงเทพฯ 28 กุมภาพันธ์ 2556 – วันนี้  ไมโครซอฟท์  เปิดเผยรายละเอียดการศึกษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ที่ได้ดำเนินการตรวจสอบ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ยี่ห้อต่างๆ  ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์  รวมทั้งซอฟต์แวร์และดีวีดีปลอมจากประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์  มาเลเซีย และเวียดนาม โดยผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากประเทศไทย  ระบุร้อยละ 70 ของดีวีดีละเมิดลิขสิทธิ์และร้อยละ 84  ของฮาร์ดไดรฟ์ที่ตรวจสอบพบติดมัลแวร์ที่เป็นอันตราย  ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงกว่าอัตราการติดมัลแวร์โดยเฉลี่ยของทั่วทั้งภูมิภาค  ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 69

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อัตราการติดมัลแวร์ของซอฟต์แวร์แสดงผลอย่างมีนัยยะสำคัญ  โดยในประเทศฟิลิปปินส์ ในกลุ่มตัวอย่างพบจำนวนมัลแวร์ต่ำที่สุดที่ร้อยละ 42  อย่างไรก็ดี ทุก 2 ใน 5 คอมพิวเตอร์และดีวีดีที่ตรวจสอบพบว่าติดมัลแวร์  ส่วนประเทศเวียดนาม เป็นประเทศที่พบการติดมัลแวร์สูงสุด  โดยจากดีวีดีละเมิดลิขสิทธิ์ร้อยละ 66  ส่วนฮาร์ดไดรฟ์พบที่ร้อยละ 92



ผลการศึกษายังพบว่าทุกเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี 3 เครื่อง (หรือร้อยละ 33) ที่ตรวจสอบในประเทศไทย ฮาร์ดไดรฟ์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นฮาร์ดไดรฟ์ปลอม ซึ่งค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอัตราการที่ฮาร์ดไดรฟ์ถูกเปลี่ยนอยู่ที่ร้อยละ 28 จากกลุ่มตัวอย่างคอมพิวเตอร์พีซีที่ตรวจสอบ

การศึกษาดังกล่าวดำเนินการโดยทีมตรวจสอบความปลอดภัยของไมโครซอฟท์  (Microsoft Forensics Team) โดยเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2555  ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556  โดยได้ตรวจสอบคอมพิวเตอร์พีซีและดีวีดีจำนวนทั้งสิ้น 282 รายการ

ซอฟต์แวร์ที่ติดมัลแวร์ เพิ่มความเสี่ยงในการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว

นายวิพูล สันต์ ผู้อำนวยการฝ่าย Genuine Software Initiative ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไมโครซอฟท์ เปิดเผยในงานแถลงข่าวว่า  “ระบบปฏิบัติการที่ติดมัลแวร์อาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประสิทธิภาพการทำงาน ของคอมพิวเตอร์และข้อมูลส่วนตัวของคุณ เช่น ข้อมูลผู้ติดต่อ  หรือข้อมูลเกี่ยวกับธนาคาร  ซึ่งมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามจากเหล่าแฮกเกอร์หรืออาชญากร  ผู้บริโภคควรได้รับประสบการณ์การใช้งานจากแบรนด์ชื่อดัง  ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่มีปัญหาขัดข้องหรือมีความไม่สมบูรณ์ในทางใดทางหนึ่ง  ด้วยเหตุนี้ ไมโครซอฟท์จึงมุ่งมั่นให้ความรู้กับผู้ค้าปลีก ผู้จัดจำหน่าย  และผู้บริโภคเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้ซอฟต์แวร์ของแท้”

จากการศึกษา ไมโครซอฟท์ พบว่ามีมัลแวร์และการติดไวรัสที่แตกต่างกันถึง  1,131 สายพันธุ์ในกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งรวมไปถึงโทรจันตัวฉกาจ อย่าง “ซุส” (Zeus)  ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงมาก

ซุส เป็นโทรจันที่ขโมยรหัสผ่านโดยอาศัยการดักจับและบันทึกการพิมพ์บนแป้นพิมพ์  หรือ ที่เรียกว่า“keylogging” และกลไกอื่นๆ  เพื่อติดตามกิจกรรมออนไลน์ของผู้ใช้   โดยโทรจันตัวนี้จะดักจับและบันทึกการพิมพ์บนแป้นพิมพ์ หรือ keyloggers  จะบันทึกทุกจังหวะการพิมพ์ของผู้ใช้งานเพื่อทำการขโมยข้อมูลส่วนตัว  ซึ่งรวมไปถึงชื่อบัญชีผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน โดยอาชญากรจะนำข้อมูลในส่วนนี้  ไปขโมยความเป็นตัวตนของเหยื่อ และเข้าใช้งานบัญชีส่วนตัว

นายเอียน กาย กิลลาร์ด รองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าว ว่า  “การใช้คอมพิวเตอร์ที่ติดโทรจันเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่งโดยเฉพาะการทำ ธุรกรรมด้านการธนาคารแบบออนไลน์  โดยพวกแฮกเกอร์สามารถใช้ข้อมูลที่เจาะเข้าไปได้เพื่อถอนเงินจากบัญชีธนาคาร ของลูกค้า และทำการซื้อสินค้าออนไลน์โดยใช้ข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ   ซึ่งอาชญากรรมไซเบอร์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับคอมพิวเตอร์ทุกแพลตฟอร์ม  รวมถึงคอมพิวเตอร์พีซี (วินโดวส์ และอื่นๆ) และบนแพลตฟอร์มมือถือ  เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการติดไวรัสและโทรจันที่เป็นอันตรายดังกล่าว  เราขอแนะนำให้ลูกค้ามีความระมัดระวังและนำมาตรการเพื่อความปลอดภัยมาใช้  ตามที่ธนาคารของเราได้ระบุไว้ในโปรแกรม “Be SAFE online”  และเลือกใช้เฉพาะซอฟต์แวร์ที่เป็นของแท้เท่านั้น  ด้วยเหตุนี้  เราจึงสนับสนุนไมโครซอฟท์ที่มีความมุ่งมั่นและพยายามอย่างดียิ่งในการให้ ความรู้แก่ลูกค้า  และองค์กรธุรกิจอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับความสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์แท้เท่า นั้น”

จากข้อมูลในรายงาน RSA 2012 Cybercrime Trends Report  ระบุว่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมานี้   ซุส  ได้สร้างความเสียหายไปทั่วโลกแล้วคิดเป็นมูลค่าถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

คอมพิวเตอร์พีซีแบรนด์ดังต่างได้รับผลกระทบ

ข้อมูลจากทีมงานตรวจสอบความปลอดภัย (Security Forensics)  ของไมโครซอฟท์ยังได้ระบุอีกว่า พบ  วินโดวส์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีมัลแวร์ฝังอยู่แพร่ขยายไปยังคอมพิวเตอร์พีซี ที่เป็นที่รู้จักหลายแบรนด์  ไมโครซอฟท์เชื่อว่ารูปภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือมัลแวร์ไม่ได้มาจากหรือติด ตั้งโดยผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พีซีโดยตรง  หากแต่ถูกติดตั้งโดยบุคคลที่สามหรือบริษัทในซัพพลายเชนหรือช่องทางการค้า ปลายทาง  เพื่อมาแทนที่ระบบปฏิบัติการของแท้ที่ไม่ได้ติดตั้งมาจากผู้ผลิตติดตั้งแต่ แรก อัตราการติดมัลแวร์ของแต่ละแบรนด์มีตั้งแต่ขั้นต่ำที่ร้อยละ 33  ไปจนถึงขั้นสูงถึงร้อยละ 88

นายวิพูล สันต์ กล่าวเสริมว่า  “หลายคนคิดว่าการซื้อคอมพิวเตอร์พีซีที่มีแบรนด์จะสามารถรับประกันได้ว่าได้ รับการปกป้องจากซอฟต์แวร์ที่แฝงไว้ด้วยไวรัสหรือโทรจันที่เป็นอันตรายได้  แต่ผู้บริโภคควรระลึกว่า  หากตนเองไม่สามารถระบุว่าคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาได้ถูกส่งมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ วินโดวส์ของแท้หรือไม่  พวกเข้าก็เปิดประตูรับความเสี่ยงได้เช่นกัน”

พันตำรวจเอก ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์  รองผู้บังคับการและโฆษกกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า  “เราให้ความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ในการให้ความรู้กับประชาชนถึงอันตรายที่ เกิดจากการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์  ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการตรวจจับและลง โทษการซื้อขายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์  เพื่อปกป้องตนเองจากอาชญากรรมไซเบอร์  ผู้บริโภคจะต้องคิดให้รอบคอบว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์พีซีจากที่ใด  จากผลการศึกษานี้  พบว่ามีผู้ค้าปลีกที่ไม่ซื่อสัตย์บางรายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำหน่ายคอมพิวเตอร์แบรนด์ดัง ให้กับผู้บริโภค  พร้อมกับซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์และติดแฝงไว้ด้วยไวรัสหรือโทรจัน   ควรระลึกไว้เสมอว่าหากคุณไม่ทราบที่มาที่แน่ชัดของสินค้าไอทีที่ซื้อแล้ว  คุณก็ไม่มีทางทราบว่าจะมีอันตรายอะไรแอบแฝงมาบ้าง”





กรุงเทพฯ , 28 กุมภาพันธ์ 2556 – ไมโครซอฟท์ นำโดย นายวิพูล สันต์ ผู้อำนวยการฝ่าย Genuine Software Initiative ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ตรงกลาง) พร้อมด้วย พันตำรวจเอก ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษกกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ที่ 2 จาก ขวา) และตัวแทนจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็คทรอนิคส์ (องค์การมหาชน) ร่วมเผยผลการศึกษา  ที่สำรวจโดยไมโครซอฟท์ในการตรวจสอบพบคอมพิวเตอร์แบรนด์ดังที่ได้รับผลกระทบ จากการติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์รวมทั้งซอฟต์แวร์และดีวีดีปลอมใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่งานแถลงข่าว ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธีนี  เมื่อเร็วๆ นี้
###

ลำดับภาพจากซ้ายไปขวา

-          ดร.กิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

-          นายไพชยนต์ วิมุกตะนันทน์ ผู้เชี่ยวชาญสำนักความมั่นคงปลอดภัย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็คทรอนิคส์ (องค์การมหาชน)

-          พันตำรวจเอก ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการและโฆษกกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

นายเอียน กาย กิลลาร์ด รองประธานกรรมการบริหาร  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)



ข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน

วิธีการวิจัย:

ทีมพิสูจน์ความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ได้ทำการศึกษาสินค้าประเภทซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ปลอมตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2555 สิ้นสุดวันที่ 5 กุมภาพันธ์  2556  โดยในช่วงเวลาของการศึกษา จากกลุ่มดีวีดีตัวอย่าง จำนวน 127 แผ่น และ  กลุ่มฮาร์ดดิสก์ตัวอย่าง จำนวน 235 ชิ้น จาก 5 ประเทศ – ไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, เวียดนาม  และ ฟิลิปปินส์ มีจำนวนดีวีดี 66 แผ่น และ ฮาร์ดดิสก์ จำนวน 216 ชิ้น  ได้ถูกนำมาตรวจสอบ โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่นำมาวิจัยในครั้งนี้  เน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟท์ปลอมแปลงและสภาพการใช้งาน  โดยคัดตัวอย่างที่ติดมัลแวร์อยู่แล้วออกก่อนการวิเคราะห์

ประเภทของซอฟต์แวร์ดีวีดี:



ประเทศ
จำนวนตัวอย่าง
Windows
Office
SQL Server
อื่นๆ


ไทย
23
10
5
3
5


เวียดนาม
9
4
5
0
0


อินโดนีเซีย
19
18
0
0
1


มาเลเซีย
5
3
0
0
2


ฟิลิปปินส์
10
5
4
0
1


รวม
66
40
14
3
9


อัตราการติดมัลแวร์:
อัตราการติดมัลแวร์ในซอฟต์แวร์ดีวีดีคิดเป็นร้อยละ 74.24 และ ในฮาร์ดดิสก์คิดเป็นร้อยละ 67.59 ของภาพรวมทั้งหมด ตารางด้านล่างแสดงผลการตรวจสอบซอฟต์แวร์ดีวีดีและฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แบ่งตามชนิดและประเทศ



 ประเทศ
จำนวนตัวอย่าง
จำนวนซอฟต์แวร์ดีวีดีที่ติดมัลแวร์

อัตราการติดมัลแวร์ (%)







ไทย
23
16
69.6%



เวียดนาม
9
6
66.7%



อินโดนีเซีย
19
19
100.0%



มาเลเซีย
5
4
80.0%



ฟิลิปปินส์
10
4
40.0%



รวม
66
49
74.2%



* ตัวอย่างซอฟต์แวร์ดีวีดี SQL Server จำนวน 3 แผ่นไม่พบการติดมัลแวร์ใดๆ



 ประเทศ
จำนวนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่นำมาตรวจสอบ
จำนวนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ติดมัลแวร์

อัตราการติดมัลแวร์ในฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (%)







ไทย
51
43
84.31%



เวียดนาม
41
38
92.68%



อินโดนีเซีย
44
26
59.09%



มาเลเซีย
50
26
52.00%



ฟิลิปปินส์
30
13
43.33%



รวม
216
146
67.59%



การตรวจพบมัลแวร์:

ในระหว่างการตรวจสอบซอฟต์แวร์ดีวีดีจำนวน 66 แผ่น และ ฮาร์สดิสก์ไดรฟ์จำนวน 216 ชิ้น พบมัลแวร์เป็นจำนวนทั้งสิ้น 71,178 รายการ ซึ่งในจำนวนนี้พบเป็นมัลแวร์เฉพาะอยู่ถึง 5,623 ชนิด



ผลิตภัณฑ์
จำนวนตัวอย่าง
จำนวนที่ตรวจพบมัลแวร์


ซอฟต์แวร์ดีวีดี
66
1214


ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
216
69964


รวม
 
71178


มัลแวร์ 10 ชนิดที่ตรวจพบมากที่สุดในผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง:



ชื่อมัลแวร์
จำนวน
ประเภท
คำอธิบาย


SiSoftware.Sandra.Enterprise.v2012.06.22.13.Multilingual\Setup.exe

31

Virus
Cracker – การเลี่ยงใช้รหัสหรือใบอนุญาตสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์Hacker Tool –เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อสร้างมัลแวร์และโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์Trojan – แอพพลิเคชั่นที่มีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมทั่วไป แต่เป็นอันตรายและสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์

Virus –คือ มัลแวร์ที่แตกตัวโดยการนำไวรัสไปติดไฟล์อื่นๆ  ในคอมพิวเตอร์   ซึ่งเปิดช่องทางให้รหัสมัลแวร์ทำงานและแพร่กระจายตัวไปในขณะที่ไฟล์ทำ งานอยู่


Internet.Download.Manager.v6.11.7\ Keygen.exe

28

Cracker


wrar411.exe

27

Virus


SetupAnyDVD7031.exe

23

Virus


hidownload.platinum.v7.997\keygen.exe

20

Trojan


UltraISO.Premium.v9.5.3.2855\keygen.exe

20

Cracker


AutoKMS.exe

17

Hacker Tool


SiSoftware.Sandra.Enterprise.v2012.06.22.13.Multilingual\ Keygen.exe

16

Cracker


keygen-Lz0&patch\Patch.exe

16

Trojan


HAL7600v1.2\HAL7600.exe

16

Cracker


ผลกระทบของมัลแวร์ต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์:

วิธีที่เหล่าอาชญากรไซเบอร์ใช้กันบ่อยๆ คือ การปิดระบบป้องกันต่างๆ  ของไมโครซอฟท์  ซึ่งทำให้ซอฟต์แวร์ปลอมเหล่านี้เลี่ยงระบบแจ้งเตือนลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และ สามารถใช้การปรับปรุงรุ่นจากแหล่งอื่นๆ ได้  ทั้งหมดนี้ส่งผลให้การป้องกันความปลอดภัยจากการตั้งค่าพื้นฐานหย่อน ประสิทธิภาพลงอย่างเลี่ยงไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงต่างๆ  ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยและเปิดโอกาสให้มัลแวร์หรือแฮคเกอร์เข้า มาสร้างผลกระทบต่อการทำงานของระบบ ทำให้ข้อมูลมีโอกาสรั่วไหลหรือระบบล่ม

ความเสียหายทางการเงินและข้อมูลส่วนตัวที่อาจเกิดขึ้นได้

   ถูกโจรกรรมข้อมูลแผนการเงินและบัญชีธนาคาร
   ข้อมูลส่วนตัวถูกบุกรุก
   รหัสต่างๆ ถูกขโมย
   ภาพยนตร์ เพลง รูปภาพส่วนตัวต่างๆ สูญหาย
   เพื่อนและครอบครัวถูกหลอกจากบัญชีอีเมล์หรือบัญชีโซเชียล มีเดีย ของคุณเอง

ติดมัลแวร์ได้อย่างไร:

หากคุณซื้อคอมพิวเตอร์มาจากแหล่งจำหน่ายที่ไม่น่าเชื่อถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีโอกาสติดไวรัสได้จาก:

   ผู้ผลิต
   ร้านค้าที่ไม่ได้รับอนุญาต
   ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ติดตั้งไว้ก่อนแล้ว
   การขนส่ง

เลี่ยงการติดมัลแวร์ได้อย่างไร:

ไมโครซอฟท์มีคำแนะนำให้ผู้บริโภคปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนี้

   ถามหาซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ทุกครั้ง
   ซื้อจากผู้แทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือและหลีกเลี่ยงข้อเสนอที่ ‘คุ้มค่าเกินความเป็นจริง’
   ตรวจสอบให้มั่นใจว่าสินค้าที่ซื้ออยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เรียบร้อย
   หากเป็นคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์วินโดวส์  กรุณามองหาฉลากของแท้หรือใบรับประกันของแท้ที่ติดไว้กับคอมพิวเตอร์ทุก เครื่องที่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์แล้ว   สำหรับการตรวจสอบหลังการซื้อ สามารถเข้าสู่ระบบได้ที่ www.howtotell.com เพื่อยืนยันว่าฉลากที่มีอยู่นั้นเป็นของแท้

ทำอย่างไรเมื่อคอมพิวเตอร์ติดมัลแวร์:

หากลูกค้าที่สงสัยว่าซอฟต์แวร์ที่ซื้อมาเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถแจ้งได้www.microsoft.com/piracy ลูกค้า ที่แจ้งการละเมิดกฎหมายที่น่าสงสัยได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และช่วยให้ เราสามารถต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ดีขึ้น  ไมโครซอฟท์  ได้ให้ความสำคัญกับทุกเรื่องที่ร้องเรียนอย่างจริงจังเพื่อรับรองว่าทุกคนจะ มีชุมชนไซเบอร์ที่ปลอดภัย ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา  ไมโครซอฟท์ได้รับการรายงานการละเมิดลิขสิทธิ์ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากกว่า 10,000 คำร้องเรียน  จากลูกค้าที่ยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์ ‘ของแท้’ แต่ไม่สามารถหนีพ้นจากร้านค้าละเมิดลิขสิทธิ์เหล่านี้ได้ และสุดท้ายต้องพบกับความเสี่ยงและความไม่ปลอดภัยต่างๆ บนคอมพิวเตอร์
คลิกเพื่ออ่านฉบับเต็ม!
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: