เครื่องปริ้นหรือเครื่องพิมพ์ที่เราใช้ปริ้นงานกันอยู่ทุกวัน ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการและฟังก์ชันการใช้งานที่พัฒนาขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา วันนี้เลยจะมาอัพเดทกันหน่อย ว่าเทคโนโลยีเครื่องปริ้นน่ะ ล้ำไปไกลขนาดไหนกันแล้ว
1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dotmatrix Printer) เป็นเครื่องแบบหัวเข็ม (pin) ใช้หลักการสร้างจุดลงบนกระดาษ คล้ายการทำงานของเครื่องพิมพ์ดีด ความคมชัดของข้อมูลที่พิมพ์ จะขึ้นอยู่กับจำนวนของหัวเข็ม ยิ่งหัวเข็มมากก็ยิ่งพิมพ์งานได้ละเอียดขึ้น ซึ่งหมึกพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบ 24 และ 32 หัวเข็ม สามารถรองรองรับงานพิมพ์ความละเอียดสูงสุดที่ 360X360 จุดต่อตารางนิ้ว ข้อดีของหมึกประเภทนี้ คือ ช่วยประหยัดหมึกมากกว่าหมึกแบบตลับ แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นหัวพิมพ์แบบสีเดียว ใช้พิมพ์ตัวอักษรเป็นหลัก และกระดาษที่ใช้พิมพ์จะเป็นแบบยาว เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น ตามสำนักงาน
2. เครื่องพิมพ์พล็อตเตอร์ (plotter)พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษที่ทำมาเฉพาะงานเหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม และงานตกแต่งภายใน ใช้สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Second : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ
3. เครื่องพิมพ์แบบอิ้งก์เจ็ท (Ink-Jet Printer)ถือเป็นเครื่องปริ้นที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ วิธีการทำงานของอิงก์เจ็ทจะเป็นการพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้วจะเป็นตัวอักษร หรือรูปภาพตามความต้องการ สามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่างกันมากๆ ได้ เครื่องปริ้นบางรุ่นสามารถรองรับกระดาษที่ขนาดมากกว่า A4 ได้ ซึ่งในปัจจุบันทางผู้ผลิตก็พยายามพัฒนาเครื่องพิมพ์ให้รองรับการใช้งานใน ระบบบ Input ข้อมูลเข้าเครื่องพิมพ์ได้สะดวกมากขึ้่นด้วยการใส่ USB เข้ามาเพิ่มความสะดวกในการพิมพ์ เพิ่มเครื่อง Scan เข้าไปในตัวเครื่อง เพื่อให้รองรับการพิมพ์เอกสารและลูกเล่นอื่น ๆ ที่รองรับการพิมพ์ที่มากขึ้น บางรุ่นสามารถใส่ USBรองรับการใช้งานในระบบ Input และยังมีลูกเล่นอื่นๆ อีกมายที่ผู้ผลิตพัฒนาออกมาเรื่อยๆ ปัจจุบันเครื่องปริ้นอิ้งก์เจ็ทจึงค่อนข้างเป็นที่ค่อนข้างได้รับความนิยมมาก เพราะราคาเครื่องไม่แพง แต่จะมีข้อเสียที่อย่างหนึ่งคือ หมึกไม่สามารถกันน้ำได้ และตลับหมึกมีราคาค่อนข้างสูง หลายคนจึงใช้วิธีติดแท็งก์แทนซื้อตลับหมึกใหม่ แต่จะทำให้เครื่องปริ้นหมดประกันไป
4. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์แล้วใช้ความร้อนในการรีดหมึกออกมา งานพิมพ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก
โดยในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบการพิมพ์ให้รองรับทั้งการพิมพ์แบบเลเซอร์สี และเลเซอร์ขาวดำ โดยเราเรียกกันว่า เครื่องพิมพ์เลเซอร์พรินเตอร์ขาว-ดำ (Monochrome Laser Printer) และเครื่องเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Color Laser Printer) ซึ่งคุณภาพในการพิมพ์ถือว่าดีกว่าเครื่องปริ้นแบบอื่นๆ มาก เพราะสามารถพิมพ์ไวและพิมพ์เงียบ อีกทั้งหมึกที่รีดด้วยความร้อนจากผงหมึกที่ให้ความละเอียดได้ดีกว่า Inkjet และยังสามารถกันน้ำได้ดีนะระดับหนึ่ง ทำให้เครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาที่สูง บวกกับการพัฒนาของผู้ผลิตเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่เอาเทคโนโลยีมัลติ ฟังก์ชัน(Multifunction Printer) เข้ามาใช้ เพื่อรองรับการใช้งานที่สะดวกขึ้นของผู้ใช้ทำให้การทำงานของผู้ใช้งานทำได้ สะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสั่งพิมพ์ผ่านระบบไร้สาย รองรับการพิมพ์ผ่านระบบเครือข่าย ส่ง Fax และทำการ Scan หรือถ่ายเอกสาร และยังออกแบบให้เครื่องมีขนาดเล็กลง จึงเป็นที่นิยมใช้ตามสำนักงานขนาดเล็กและตามบ้านกันมากขึ้น
5. เครื่องพิมพ์หมึกเจล (Gelsprinter)Gelsprinter ถือเป็นเทคโนโลยีปริ้นเตอร์ใหม่ล่าสุดในยุคปัจจุบันที่ Ricoh บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้สำนักงานอย่างเครื่องถ่ายเอกสารและกล้องถ่ายรูป พัฒนาขึ้นมา
เทคโนโลยี Gelsprinter จะให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ดีกว่าปริ้นเตอร์แบบอื่นๆ มาก เพราะหมึกพิมพ์ที่เป็นเจล มีคุณสมบัติกันน้ำได้ พิมพ์ภาพแล้วคมชัด สีไม่เพี้ยน ไม่เลอะง่ายเหมือนการพิมพ์ด้วยหมึกน้ำแบบอิ้งค์เจ็ท และไม่หลุดง่ายเหมือนหมึกผลแบบเครื่องเลเซอร์ทั่วไป อีกทั้งยังเป็นหมึกแบบ eco คือมีมลภาวะต่ำกว่าหมึกชนิดอื่นๆ ปลอดภัยต่อสุขภาพและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมี Gelsprinter ที่พัฒนาให้ใช้แบตเตอรี่แทนการใช้ปลั๊กเสียบ สามารถยกขึ้นรถไปพิมพ์งานนอกสถานที่ได้สะดวกสบายอีกด้วย แต่ตอนนี้ราคาเครื่องพิมพ์หมึกเจลยังค่อนข้างสูงมาก และมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวคือ Ricoh เท่านั้นที่ผลิตอยู่ตอนนี้
อ้างอิงจาก
https://sites.google.com/site/suraphongit/home/-ahttp://hitech.sanook.com/944273/