หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อาการเมาเวลาเหตุจากการบินเกิดขึ้นได้อย่างไร?  (อ่าน 1036 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wikijug
Registered User
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 19


เว็บไซต์
« เมื่อ: 11 กันยายน 2014, 16:42:59 »

บทความเรื่องสุขภาพ

เราทุกคนมีนาฬิกาอยู่ภายในร่างกาย(บางครั้งเรียกว่า“นาฬิกาชีวิต”ที่กำหนดวงจรเวลาของร่างกายในแต่ละรอบวัน) ซึ่งควบคุมความรู้สึกง่วงนอนและความตื่นตัว นาฬิการ่างกายนี้ถูกควบคุมโดยแสงสว่าง เราจึงคุ้นเคยกับรอบจังหวะปกติของแสงสว่างในเวลากลางวันและความมืดในเวลากลางคืน ดังนั้นการเดินทางข้ามโซนเวลาที่แตกต่างกันจึงอาจทำให้นาฬิการ่างกายของคุณไม่สัมพันธ์กับเวลาของท้องถิ่นนั้น ทำให้คุณรู้สึกง่วงนอนในระหว่างวันและกลับนอนไม่หลับในเวลากลางคืน

โลกถูกแบ่งออกเป็น 24 โซนเวลา แต่ละโซนเวลาแตกต่างกันหนึ่งชั่วโมง โดยมีเวลามาตรฐานกรีนิชเป็นเวลาอ้างอิง การนั่งเครื่องบินข้ามโซนเวลาสามโซนขึ้นไปมักจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าการเมาเวลาเหตุจากการบิน โดยแนวโน้มการเกิดอาการจะเพิ่มขึ้นหากคุณเดินทางไปยังทิศตะวันออก เพราะร่างกายต้องปรับตัวให้เข้ากับวันที่สั้นลง ซึ่งยากกว่าการปรับตัวให้เข้ากับวันที่ยาวขึ้นเมื่อเดินทางไปยังทิศตะวันตก

อาการเมาเวลาเหตุจากการบินเป็นอย่างไร?

อาการเมาเวลาฯ มีความแตกต่างกันไปในแต่คน ทั้งยังขึ้นกับจำนวนโซนเวลาที่ข้ามและทิศทางที่เดินทาง โดยอาการที่เกิดคือความรู้สึกเหนื่อยล้าในช่วงกลางวัน และกลับมีปัญหาในการนอนหลับในเวลากลางคืน มักตื่นในตอนดึกหรือตื่นแต่เช้ามืด นอกจากนี้คุณยังอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร การขับถ่ายผิดปกติ และความรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว

ระยะเวลาที่มีอาการเมาเวลาเหตุจากการบิน

ความรุนแรงและระยะเวลาของอาการเมาเวลาฯ ขึ้นอยู่กับจำนวนของโซนเวลาที่มีการบินข้าม โดยคุณอาจจะเริ่มรู้สึกว่าอาการดีขึ้นได้ในเวลาสองถึงสามวัน แต่ถ้าเป็นการเดินทางระยะทางไกลมากก็อาจใช้เวลานานถึง 14 วันจึงจะรู้สึกดีขึ้น อนึ่งเนื่องจากระบบต่างๆ ในร่างกายสามารถปรับตัวได้เร็วช้าแตกต่างกัน ดังนั้นคุณอาจรู้สึกว่าอาการบางอย่างดีขึ้นแล้วแต่อาการบางอย่างยังคงอยู่ ตัวอย่างเช่น การย่อยอาหารของคุณกลับมาเป็นปกติแล้วแต่ปัญหาการนอนหลับยังคงมีอยู่

เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการเมาเวลาเหตุจากการบินได้อย่างไร?

บางสิ่งต่อไปนี้อาจทำให้อาการเมาเวลาฯ เป็นมากขึ้น
ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า คุณจึงควรพักผ่อนให้เต็มที่ก่อนเดินทางและในระหว่างการเดินทาง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าแอลกอฮอล์จะช่วยให้คุณสัปหงกได้ แต่ตัวแอลกอฮอล์เองก็มีผลเสียต่อคุณภาพของการนอนหลับ อีกทั้งอาการเมาค้างก็จะทำให้อาการเมาเวลาฯ ย่ำแย่ลง ดังนั้นหากคิดจะดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเดินทางหรือในระหว่างเที่ยวบิน คุณควรดื่มเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น
คาเฟอีน สามารถรบกวนการนอนหลับเช่นกัน ดังนั้นถ้าจะดื่ม คุณควรจะดื่มในปริมาณปกติที่เคยดื่ม และไม่ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนในช่วงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่คุณเตรียมจะเข้านอน
การปรับนาฬิกาชีวิตในร่างกาย

คุณอาจลองปรับนาฬิการ่างกายในตัวคุณให้เข้ากับเวลาในท้องถิ่นใหม่ โดยการตื่นนอน-เข้านอนเร็วขึ้นหากเป็นการเดินทางไปทางทิศตะวันออก และในทางตรงกันข้ามให้ตื่นนอน-เข้านอนช้าลง ถ้าเป็นการบินไปทางทิศตะวันตก
ทันทีที่ขึ้นเครื่องบินคุณควรปรับเวลานาฬิกาของคุณให้ตรงกับเวลาที่เมืองปลายทาง ถ้ากำหนดการเดินทางของคุณไปถึงจุดหมายในตอนเย็น ก็พยายามอย่านอนหลับมากเกินไปบนเครื่องบิน เพื่อที่คุณจะสามารถเข้านอนได้เมื่อคุณถึงจุดหมาย แต่ถ้าหากเที่ยวบินของคุณจะไปถึงจุดหมายในตอนเช้า คุณควรนอนบนเครื่องให้มากเท่าที่คุณสามารถนอนได้ เพื่อที่คุณจะสามารถตื่นอยู่ได้ตลอดทั้งวันเมื่อถึงที่หมายในตอนเช้า

เมื่อถึงจุดหมายปลายทางคุณควรพยายามปรับตัวตามสภาพท้องถิ่นในทันที โดยใช้เวลานอกบ้านในเวลากลางวันเพราะแสงสว่างจากธรรมชาติสามารถช่วยปรับนาฬิการ่างกายได้ หากเป็นการเดินทางไปยังทิศตะวันตกให้พยายามรับแสงแดดตอนเช้าและหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงบ่าย แต่ถ้าเป็นการเดินทางไปทางทิศตะวันออกให้พยายามรับแสงแดดยามบ่ายและหลีกเลี่ยงแสงแดดตอนเช้า วิธีการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดจ้า เช่น การใช้แว่นกันแดด การอยู่ภายในอาคารที่มีผ้าม่านทึบแสง เป็นต้น

ถ้าเป็นการเดินทางเพื่อมาทำธุรกิจ คุณควรนัดหมายการประชุมที่สำคัญให้ตรงกับเวลากลางวันในประเทศบ้านเกิดของคุณ แต่หากคุณต้องพักอยู่เพียงสองสามวัน ร่างกายของคุณอาจไม่มีเวลาพอที่จะปรับตัวเข้ากับเวลาท้องถิ่น ดังนั้นคุณเพียงพยายามจัดเวลาให้ตรงกับเวลาตามปกติที่บ้านเกิดของคุณก็น่าจะเพียงพอ

การรักษาอาการเมาเวลาเหตุจากการบิน

ยังไม่มียาชนิดใดสามารถใช้รักษาอาการเมาเวลาฯ ได้ แม้จะมีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) มีประโยชน์สำหรับผู้เดินทางข้ามโซนเวลามากกว่า 5 โซนเวลา แต่เมลาโทนินก็ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเพื่อเป็นยารักษาอาการเมาเวลาฯ ดังนั้นหากคิดว่าต้องรับการรักษาคุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในคลินิกเดินทาง โดยคุณอาจขอคำปรึกษาตั้งแต่ก่อนเดินทาง ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ยานอนหลับ 2-3 วัน จนนาฬิการ่างกายของคุณปรับตัวได้ ทั้งนี้คุณไม่ควรใช้ยานอนหลับในขณะอยู่บนเครื่องบินเพราะยาจะทำให้คุณอยู่กับที่นั่งนานเกินไป ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดดำชั้นลึกที่ขาอุดตัน (Deed Vein Thrombosis: DVT) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: