หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ระบบอัตโนมัติในโรงงาน ทางเลือกและทางรอดของภาคอุตสาหกรรมไทย  (อ่าน 1636 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2016, 14:44:10 »

โรงงานอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติในประเทศไทย
   ประเทศไทยพึ่งพาธุรกิจในภาคการผลิตเพื่อจัดหาผลิตภัณฑ์สำหรับการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกมาอย่างยาวนาน ผลการวิเคราะห์ระบุว่ากลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ระดับแถวหน้าของประเทศไทยนั้นล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และอุตสาหกรรมการผลิตวัตถุดิบเช่น ยาง1 เป็นต้น หากแต่ในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี 2559 การขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีของไทยอ่อนตัวลงอันเนื่องมาจากการส่งออกที่หดตัวลงซึ่งเป็นผลจากความผันผวนของตลาดการเงินโลกประกอบกับตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียก็ชะลอการเติบโตซึ่งส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทาน นอกจากนี้การชะลอตัวดังกล่าวยังส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจการผลิตทั่วประเทศ2


หากมองย้อนกลับไปในยุคแรกๆ ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนกระทั่งถึงช่วงวิกฤตการเงินในศตวรรษที่ 21     จะเห็นได้ว่า ธุรกิจการผลิตทั่วทุกอุตสาหกรรมและตลาดล้วนแต่ต้องเผชิญกับภาวะขาขึ้น-ขาลงของเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในรูปแบบใด สิ่งหนึ่งที่ผู้ผลิตยังต้องทำอยู่เสมอ คือ การลงทุนในอุปกรณ์เครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและช่วยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดผู้ผลิตในประเทศไทยก็เช่นเดียวกันที่แม้ว่าจะต้องเผชิญกับการผันผวนทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมากเพียงใดก็จำเป็นต้องลงทุนกับเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องจักรใหม่ๆ


ระบบอัตโนมัตินำสู่ความสำเร็จ
วงจรเศรษฐกิจที่ขึ้นๆลงๆ กลายเป็นแรงกดดันที่ทำให้กลุ่มผู้ผลิตต้องปรับตัวรับเอานวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้และสร้างความแตกต่างให้ตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามลดต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลไทยได้เล็งเห็นสถานการณ์ที่ผู้ผลิตกำลังเผชิญอยู่และเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือหลายประการ โดยในปี 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ประกาศมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับค่าใช้จ่าย  ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก 2 เท่าเป็น 3 เท่า (200% เป็น 300%) ซึ่งครอบคลุมไปถึงค่าใช้จ่ายในการลงทุนกับเทคโนโลยีที่ใช้ระบบอัตโนมัติและอุปกรณ์เครื่องจักรกล3อีกด้วย




 Oxford Business Group, Shifting Thailand's economy from manufacturing towards knowledge-based industries
2 Deloitte Consulting, Thailand: Getting back on its feet, April 2016
3 Thaiembassy.org, Science, Technology and Innovation Policies in Thailand: Achievements and Challenges, May 2015
ยิ่งกว่านั้น ในช่วงต้นปี 2559 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ออกมาตรการส่งเสริมการรวมกลุ่มของการลงทุนในอนาคตในสามอุตสาหกรรมซึ่งอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริม4


เป็นที่แน่นอนว่ามาตรการสนับสนุนดังกล่าวจะสร้างโอกาสมหาศาลให้กับอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลงได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย อาทิ การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติต่างๆ


   ปัจจุบัน หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่เข้ามาสู่ภาคการผลิตของไทยมีรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกันไป พื้นที่ในโรงงานขนาดกลางถึงเล็กหรือเงินลงทุนไม่ใช่ประเด็นที่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป ตัวอย่างเช่น แขนกลหุ่นยนต์ขนาดกระทัดรัดที่ใช้งานร่วมกับมนุษย์ได้ซึ่งมีราคาที่ไม่สูงจนเกินไปและยังเคลื่อนย้ายไปใช้งานตามจุดต่างๆ ทั่วโรงงานได้อย่างสะดวกและง่ายดาย อีกทั้งยังปรับใช้งานกับกระบวนการผลิตของโรงงานประเภทต่างๆ ได้อีกด้วย ตั้งแต่การใช้แขนกลเพื่อติดชิ้นส่วนอะไหล่ขนาดเล็กเข้ากับอุปกรณ์แกดเจตอิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงการหยิบและยกชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีขนาดใหญ่ในกระบวนการประกอบรถยนต์ โดยแม้ว่าจะได้รับการพัฒนาให้มีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีเพียงใด แต่แขนกลก็ถูกออกแบบมาให้มนุษย์ใช้งานและควบคุมได้อย่างง่ายดาย


ห่วงโซ่คุณค่าที่ขยายตัวขึ้น
กลุ่มผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยต่างก็ได้ประจักษ์ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์และการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้เปิดเผยตัวเลขการนำเข้าหุ่นยนต์และระบบการทำงานโดยอัตโนมัติว่ามีมูลค่าถึงกว่า 47.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณกว่า 1,700 ล้านบาท และยังคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรมที่มีการนำเข้าหุ่นยนต์มากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 5


การพัฒนาที่ก้าวไกลยิ่งขึ้นของเทคโนโลยีการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ อาทิ แขนกลที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้กลายเป็นทางเลือกที่ลงตัวของผู้ผลิตในประเทศไทยที่จะพัฒนาธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้ เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางสภาวการณ์ทางธุรกิจและสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในปัจจุบัน และยังช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพการผลิตตลอดจนบรรลุเป้าหมายในการลดต้นทุนอีกด้วย ธุรกิจการผลิตของประเทศไทยยังคงต้องติดอาวุธใหม่ๆ ให้กับตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ประเทศไทยจะยังคงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางด้านการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค


# # #


บทความประชาสัมพันธ์ โดย เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก


4 The Board of Investment (Thailand), BOI promotes investment in three clusters of the future: Food
Innovation, Aviation, Automation and Robotics, March 2016
5 The Board of Investment (Thailand), Robotics Manufacturing Takes Off In Thailand, July 2016
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: