หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หัวเว่ย เผยกลยุทธ์บริการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจสู่ระบบคลาวด์  (อ่าน 882 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 09 กันยายน 2017, 10:42:54 »

 - ทุ่มเงิน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการบริการใน 5 ปีข้างหน้า

          ที่งาน HUAWEI CONNECT 2017 หัวเว่ยได้ประกาศเปิดตัวกลยุทธ์บริการสำหรับองค์กร ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ระบบคลาวด์ หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์แก่อุตสาหกรรม และเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยทุ่มเงินลงทุน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาบริการคลาวด์ระดับมืออาชีพ แพลตฟอร์มคลาวด์ และระบบนิเวศคลาวด์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะมอบโซลูชั่นบริการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์แบบครบวงจรให้แก่ลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้าง ใช้ และจัดการแพลตฟอร์มคลาวด์ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          บริการอัจฉริยะเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์สำหรับองค์กร

          ซุน เหมาลู่ ประธานฝ่ายการบริการทางเทคนิค กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัทหัวเว่ย กล่าวว่า "ด้วยการถือกำเนิดขึ้นของยุค "Cloud Only" หัวเว่ยจึงเลือกใช้กลยุทธ์บริการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์แบบระยะยาวเพื่อสนับสนุนการก้าวสู่ระบบคลาวด์ของลูกค้าองค์กร ซึ่งกลยุทธ์บริการของเรานั้นตั้งอยู่บนแนวคิด 'Grow with the Cloud' และการเป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรม 

          "โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริการองค์กรของหัวเว่ยจะมุ่งเน้น 4 ขอบเขตสำคัญได้แก่ นวัตกรรมคลาวด์ การสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัล การสนับสนุนปฏิบัติการอัจฉริยะ และการช่วยขับเคลื่อนแก่ธุรกิจ นอกจากนี้ หัวเว่ยจะเดินหน้าเพิ่มการลงทุนด้านการพัฒนาโซลูชั่นบริการและศูนย์บริการระดับโลก รวมทั้งเครื่องมือ แพลตฟอร์ม และห้องปฏิบัติการทดสอบสำหรับบริการระดับมืออาชีพเพื่อผลักดันกลยุทธ์ดังกล่าว โดยในอีก 5 ปีข้างหน้า เราจะขยายขอบเขตไปที่การวิจัยและพัฒนาเครื่องมือสำหรับอุตสาหกรรม เพิ่มงบประมาณการลงทุนมากกว่า 50% ต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น หัวเว่ยจะนำเสนอโครงการรับรองรูปแบบใหม่เพื่อฝึกฝนสถาปนิกไอซีที นักพัฒนาไอซีที และผู้เชี่ยวชาญไอซีทีในอุตสาหกรรมเฉพาะ เพื่อตอบสนองความสามารถด้านไอซีทีขององค์กรในยุคคลาวด์ ซึ่งคาดว่าจะมีมืออาชีพด้านไอซีทีในอุตสาหกรรมเฉพาะและมืออาชีพด้านระบบคลาวด์มากกว่า 150,000 คนที่ได้รับใบรับรองจากหัวเว่ยภายในปี 2021

          โซลูชั่นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์ในอุตสาหกรรมแบบครบวงจร

          เมื่อธุรกิจเริ่มเปลี่ยนแปลงสู่ระบบคลาวด์ พวกเขาจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ด้านกลยุทธ์ การวางแผน การวิเคราะห์ความต้องการ การบูรณาการธุรกิจ การประเมินระบบแอปพลิเคชั่น การเลือกสรรเทคโนโลยี การออกแบบกลยุทธ์ การติดตั้ง การจัดการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) และความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งนายสวี่ จิงปิน ผู้อำนวยการฝ่ายบริการเทคนิคไอที กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า "หัวเว่ยมีผลงานเป็นที่ยอมรับในด้านการส่งมอบโซลูชั่นคลาวด์ระดับอุตสาหกรรม โดยได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาบริการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบคลาวด์อย่างครอบคลุม ประกอบด้วยการให้คำปรึกษา ประเมิน วางแผนและออกแบบ การย้าย การแก้ไขหาระบบสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ (DR) ความปลอดภัย และการบำรุงรักษา เนื่องจากความต่อเนื่องของธุรกิจเป็นสิ่งจำเป็นระหว่างการเคลื่อนย้ายคลาวด์ที่ซับซ้อน หัวเว่ยจึงได้กำหนดกระบวนการเคลื่อนย้ายอย่างเชี่ยวชาญทั้งหมด 4 ระยะ 17 ขั้นตอน อีกทั้งยังมีเครื่องมือเคลื่อนย้ายแบบมืออาชีพ ที่ช่วยให้ลูกค้ามากกว่า 1,000 รายสามารถเคลื่อนย้ายธุรกิจสู่คลาวด์ได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ"

          หัวเว่ยเตรียมลงทุน 500 ล้านดอลลาร์ในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาบริการและความสามารถในการรับรองที่ครอบคลุมทุกสถานการณ์ เพื่อช่วยอุตสาหกรรมต่าง ๆ โอนย้ายสู่ระบบคลาวด์ได้อย่างสบายใจไร้กังวล

          เพื่อช่วยเหลือลูกค้าระหว่างการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ระบบคลาวด์ หัวเว่ยจะลงทุนมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์ในอีก 5 ปีข้างหน้าเพื่อพัฒนาบริการและความสามารถในการรับรองที่ครอบคลุมทุกสถานการณ์ให้แก่บริการสำหรับองค์กรของหัวเว่ย โดยในประเทศจีนนั้น หัวเว่ยได้ก่อตั้งห้องแล็บรับรองแผนและการออกแบบอุตสาหกรรม ห้องแล็บเพื่อการโอนย้ายระบบและกู้คืนระบบสารสนเทศที่ประสบปัญหาอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ไปจนถึงศูนย์รับรองเมืองปลอดภัย และศูนย์รับรองบริการทางการเงิน

          เลสลี โรเซนเบิร์ก ผู้อำนวยการ IDC Research กล่าวว่า "หัวเว่ยลงทุนเป็นจำนวนมากในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาผ่านการก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม ความแตกต่าง และการส่งมอบบริการของตนเอง บริษัทมีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านบริการ รวมถึงช่องทางเข้าถึงทั่วโลกเพื่อการให้คำปรึกษาและการมีส่วนร่วมด้านการบูรณาการอย่างสม่ำเสมอ ในการประเมินเมื่อไม่นานมานี้ของ IDC MarketScape: Worldwide Network Consulting Services 2017 Vendor Assessment หัวเว่ยถูกจัดให้เป็น ผู้เล่นหลัก (Major Player) ด้านความสามารถระดับโลกและความแข็งแกร่งด้านการวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ จากการสำรวจผู้ใช้งานปลายทางพบว่า ผู้ใช้งานได้กล่าวถึงหัวเว่ยว่าสามารถช่วยลดต้นทุนการปฏิบัติงานและเพิ่มความปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถพึ่งพาได้ ส่งมอบคุณภาพและความสามารถในการปรับตัวที่ตรงกับความต้องการและข้อกำหนดของลูกค้า"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: