หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “เมอร์ค” ได้รับสิทธิบัตร CRISPR เพิ่มเติม 7 รายการ รวมเป็น 20 รายการทั่วโลก  (อ่าน 1133 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 20 สิงหาคม 2019, 10:19:34 »

 - สำนักงานสิทธิบัตรในยุโรป อิสราเอล เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร ได้ออกหนังสือรับรองสิทธิบัตรเทคโนโลยีปรับแต่งจีโนม CRISPR ของเมอร์คเพิ่มเติม 7 รายการ


          - ปัจจุบัน เมอร์คได้รับสิทธิบัตร CRISPR รวมกันแล้ว 20 รายการ โดยมีผลใน 9 ภูมิภาค

          เมอร์ค (Merck) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ ได้ประกาศวันนี้ว่าสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญายุโรป อิสราเอล เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร ได้ออกหนังสือรับรองคำขอรับสิทธิบัตรของเมอร์คเพิ่มเติม 7 รายการ ครอบคลุมเทคโนโลยีปรับแต่งจีโนม CRISPR ปัจจุบันบริษัทจึงมีสิทธิบัตรรวม 20 รายการทั่วโลก


          "การได้เห็นงานสำคัญทางวิทยาศาสตร์ได้รับการรับรองด้วยสิทธิบัตร CRISPR เหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ดี" อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าว "เป้าหมายของเราคือการเพิ่มคลังทรัพย์สินทางปัญญา CRISPR ของเราด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเช่น paired Cas9 nickase สำหรับลดการจับยีนเป้าหมายผิดพลาด (off-target effect) และ proxy-CRISPR ซึ่งช่วยให้นักวิจัยได้มีตัวเลือกมากขึ้นในการเร่งการพัฒนายาและเข้าถึงวิธีใหม่ ๆ ในการรักษา"


          รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิบัตร CRISPR ล่าสุดของเมอร์คมีดังนี้


          สำนักงานสิทธิบัตรยุโรป ได้อนุญาตสิทธิบัตรสำหรับ:
                    พาหะสำหรับเทคนิค CRISPR integration คำขอที่เพิ่งได้รับการอนุญาตนี้ ครอบคลุมในเรื่ององค์ประกอบพาหะรองรับการนำส่ง CRISPR และการแสดงออกของเซลล์ยูคาริโอต ซึ่งรวมถึงเทคนิคนำส่งไวรัสที่นิยมใช้กันทั้งในการวิจัยมะเร็ง (เลนติไวรัส) และการประยุกต์ใช้เพื่อรักษาโรคของมนุษย์ (adeno-associated virus หรือ AAV)
                    เทคโนโลยี proxy-CRISPR ซึ่งให้การเข้าถึงในการดัดแปลงจีโนมในตำแหน่งที่เข้าถึงยาก ช่วยเพิ่มตัวเลือกในการดีไซน์ CRISPR ทั้งยังช่วยลดการจับยีนเป้าหมายผิดพลาดด้วย
                    กลุ่ม endonuclease และ protein-RNA แบบ Engineered Ribonucleic Acid (RNA)-guided      

                              กลุ่มคำร้องที่เพิ่งได้รับอนุญาตทั้ง 2 นี้ ครอบคลุมองค์ประกอบรองรับการทำ gene knock-in และ gene knock-out

          สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาอิสราเอล ได้อนุญาตสิทธิบัตรสำหรับ:

                    เทคโนโลยี Paired Nickase เพื่อลดการจับยีนเป้าหมายผิดพลาด ถือเป็นก้าวสำคัญของการเพิ่มความปลอดภัยในการปรับแต่งจีโนม
          สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาเกาหลีใต้ ได้อนุญาตสิทธิบัตรสำหรับ:

                    เทคโนโลยี Paired Nickase.
          สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาสหราชอาณาจักร ได้อนุญาตสิทธิบัตรสำหรับ:

                    เทคโนโลยี proxy-CRISPR

          นอกจากยุโรป อิสราเอล สหราชอาณาจักร และเกาหลีใต้แล้ว เมอร์คยังมีสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ CRISPR ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย จีน และสิงคโปร์ โดยบริษัทได้รับสิทธิบัตรพื้นฐานครอบคลุม CRISPR integration เป็นครั้งแรกในออสเตรเลียเมื่อปี 2560 และได้รับสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับ CRISPR ฉบับแรกในสหรัฐอเมริกาสำหรับ proxy-CRISPR ในปี 2562


          ก่อนหน้านี้ เมอร์คได้ประกาศสิทธิบัตร CRISPR รายการอื่นในยุโรปเมื่อปี 2560 และในเกาหลีใต้และอิสราเอลเมื่อปี 2561


          เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2562 เมอร์คได้ประกาศกรอบการทำงานด้านการอนุญาตให้ใช้สิทธิใน CRISPR ร่วมกับ Broad Institute of MIT and Harvard เพื่ออนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา CRISPR โดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียว ภายใต้การดูแลของแต่ละฝ่ายในการนำไปใช้งานในงานวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ กรอบการทำงานใหม่นี้มุ่งทำให้การเข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญา CRISPR ง่ายดายและรวดเร็วยิ่งขึ้น


          ต่อมาในวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 เมอร์คได้ยื่นคำร้องกับสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายทางการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา ให้มีกระบวนการพิจารณาข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิบัตร CRISPR-Cas9 ที่บริษัทยื่นขอไปในปี 2555 และสิทธิบัตรที่ UC Berkeley ได้ยื่นขอหรือได้รับ

          เมอร์ค เป็นผู้นำในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านนี้มาเป็นเวลาถึง 15 ปี โดยมีประสบการณ์ครอบคลุมตั้งแต่การค้นคว้าไปจนถึงการผลิต


          ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ใช้งานและผู้จัดหาเทคโนโลยีปรับแต่งจีโนม เมอร์คสนับสนุนการวิจัยที่มีการปรับแต่งจีโนมภายใต้หลักจรรยาบรรณและมาตรฐานทางกฎหมาย โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางชีวจริยธรรม (Bioethics Advisory Panel) ภายนอก เพื่อกำหนดแนวทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวกับหรือที่ใช้การปรับแต่งจีโนม และได้ระบุหลักการดำเนินงานซึ่งคำนึงถึงประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม เพื่อเสนอแนวทางการรักษาสำหรับการใช้งานในวิจัยและรูปแบบต่าง ๆ


      


          รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/960122/Merck_CRISPR_Patents_Map_Infographic.jpg
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: