หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Enapter เตรียมเปิดตัวเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ AEM Multicore ในปีหน้า  (อ่าน 1447 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
iqpressrelease
Vmodtech Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3688


อีเมล์
« เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2021, 11:03:24 »

เครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ AEM ระดับเมกะวัตต์ตัวแรกจะเพิ่มการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว และจะใช้เทคโนโลยีการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าแบบโมดูลในระดับกว้างขวางขึ้น

Enapter เตรียมขยายชุดผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมระดับเมกะวัตต์ด้วยเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ AEM Multicore โดยได้เริ่มพัฒนารูปแบบใหม่ถึงขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งจะใช้ศักยภาพในฐานะนวัตกรรมใหม่ของเทคโนโลยี Anion Exchange Membrane (AEM) มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จะมีการเปิดตัวเครื่องแบบ AEM Multicore ออกสู่ตลาดในปีหน้า ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตไฮโดรเจนสีเขียวด้วยต้นทุนต่ำ มีความยืดหยุ่น และเชื่อถือได้ โดยขณะนี้บริษัทเปิดรับการจองซื้อแล้ว

ในฐานะผู้นำเทคโนโลยีการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าแบบ AEM บริษัท Enapter จะลดต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวด้วยการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงเครื่อง AEM Multicore ที่มีคุณสมบัติเด่นเป็นโมดูลหลักของเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์จำนวน 440 โมดูล ที่สามารถผลิตออกมาได้เป็นจำนวนมาก  หรือ "AEM stack" และเมื่อใช้กับระบบที่สมบูรณ์ก็จะสามารถผลิตไฮโดรเจนได้ประมาณ 450 กก.ต่อวัน ได้พลังงานที่เทียบเท่ากับน้ำมันดิบราว 9.5 บาร์เรล และด้วยวิธีการใช้โมดูลนี้ เครื่อง AEM Multicore จึงเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนถูกกว่าเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ระดับเมกะวัตต์แบบเดิม และยังสามารถจัดการกับความผันผวนของปริมาณกระแสไฟฟ้าหมุนเวียนได้อย่างฉับไว

"AEM Multicore จะมีราคาถูกกว่าเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ PEM ในรุ่นที่เทียบเคียงกัน และการใช้โมดูล AEM stack ที่มีการผลิตเป็นจำนวนมากจะสร้างความแตกต่างได้แน่นอน วิธีการใช้โมดูลเช่นนี้ทำให้ระบบโดยรวมมีราคาย่อมเยามากขึ้น ทั้งยังเป็นระบบที่เสถียรขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและมีความยืดหยุ่นอย่างมากด้วย ข้อนี้จึงทำให้เครื่อง AEM Multicore เหมาะที่สุดสำหรับการใช้กับพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้ไม่คงที่" Sebastian-Justus Schmidt ประธานบริหารของ Enapter AG กล่าว

วิธีการแบบ Multi-core ของเครื่องนี้ยังให้ความได้เปรียบในเรื่องความน่าเชื่อถือเมื่อเทียบกับระบบแบบเดิม เพราะหากโมดูล stack ตัวหนึ่งไม่ทำงาน ก็สามารถเปลี่ยนได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน ในขณะที่ระบบ Balance of plant ที่รองรับการผลิตไฮโดรเจนนั้นถูกออกแบบมาให้มีภาระงานที่ซ้ำซ้อนกันอยู่ การแบ่งระบบออกเป็นโมดูลแบบไม่เหมือนใครนี้ ทำให้ AEM Multicore สามารถปรับระดับกำลังการผลิตได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณพลังงานหมุนเวียนได้

AEM ได้รับการยอมรับจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นเทคโนโลยีการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าที่คุ้มค่าที่สุด นอกจากนี้ Enapter ยังใกล้บรรลุเป้าหมายในการทำให้ศักยภาพทั้งหมดของ AEM กลายเป็นความจริงเพื่อเร่งการนำพลังงานไฮโดรเจนสีเขียวมาใช้ ด้วยการสร้าง "Campus" โรงงานผลิตขนาดใหญ่ที่เมืองเซเยอร์เบค ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้และมีกำหนดเสร็จสมบูรณ์และเปิดดำเนินงานในปี 2565 ด้วยโรงงานแห่งนี้ AEM Multicore จะมีความพร้อมในการให้การสนับสนุนในระดับกว้างขวางเพื่อขยายกำลังการผลิตเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์อย่างรวดเร็ว โดยความต้องการเครื่อง AEM Multicore นี้ เห็นได้จากการกำหนดเป้าหมายต่างๆ เช่น กำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งขนาด 5GW ที่เยอรมนีต้องการภายในปี 2568 และด้วยกำลังการผลิตต่อปีที่ 280 MW ของโรงงาน Campus บริษัทจึงมีแนวโน้มว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้เกิน 5% ต่อปี

ดาวน์โหลด Press kit ได้ที่ https://www.enapter.com/mc-launch-press-kit
ติดต่อทีมของเราเพื่อสอบถามเรื่องการจองซื้อได้ที่ https://www.enapter.com/contact

เกี่ยวกับ Enapter

Enapter คือผู้ผลิตเครื่องกำเนิดไฮโดรเจนที่มีประสิทธิภาพสูงที่ได้รับรางวัล โดยใช้เทคโนโลยี Anion Exchange Membrane (AEM) ซึ่งพัฒนาจากกระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า เทคโนโลยีหลักของบริษัทได้รับการจดสิทธิบัตรรับรอง และได้รับการยอมรับมานานถึง 10 ปี และเป็นรากฐานในการพัฒนาอิเล็กโทรไลเซอร์ราคาประหยัดที่สามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากและพร้อมใช้งานทันที สำหรับพลังงานไฮโดรเจนสีเขียวทุกระดับ เครื่องอิเล็กโทคไลเซอร์ของ Enapter มีการนำไปใช้ใน 34 ประเทศทั่วโลกในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น พลังงาน, ยานยนต์, อุตสาหกรรม, ความร้อน และโทรคมนาคม ทั้งนี้ Enapter มีสำนักงานในอิตาลี เยอรมนี ไทย และรัสเซีย

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1507680/Enapter_AEM_Multicore.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1312105/Enapter_Logo.jpg

ติดต่อ:
Andrea Spiegl
อีเมล: [email protected]
โทร: +49 30 92 100 81 35
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: